กาพย์ยานี 11 1 บท มี กี่ บาท

กาพย์กาพย์มี ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ที่จะกล่าว ณ ที่นี้

กาพย์ยานี ๑๑

คณะ ของกาพย์ยานี มีดังนี้

Show

กาพย์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียก ว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละ บาทมี ๒ วรรค คือ วรรคแรก และวรรคหลัง

พยางค์

ในแต่ละบาทมี ๑๑ พยางค์ หรือ ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๖ พยางค์ จึงเขียนเลข ๑๑ ไว้หลังกาพย์ยานี

กาพย์ยานี 11 1 บท มี กี่ บาท

กาพย์ยานี 11 1 บท มี กี่ บาท


สัมผัส มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ยานีดังนี้ก.สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในแผนกาพย์ยานี
๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคแรก ตามปกติสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคหลัง แต่อาจอนุโลมให้สัมผัสกับคำที่ ๑ ของวรรคหลัง ก็ได้ (โผน-โจน)

๒) คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทเอก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบาทโท (ฟอง-พอง)

๓) คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทโท ของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลัง ในบาทเอกของบทที่ ๒ (กัน-ขัน)

ข.สัมผัสใน (ไม่บังคับ)
๔) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทที่ ๑ และ บทที่ ๒ ได้แก่คำที่เขียนเส้นโยงไว้ในแต่ละ บทคือ สิงห์-วิ่ง, คลื่น-ฝืน, ยิ่ง-สิงห์, ท่อง-ล่อง และคา-หน้า, เขม้น-เห็น, มังกร-ถอน, หน้า-วา เป็นสัมผัสที่ช่วยให้ไพเราะ

๕) สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร ได้แก่ เผ่น-โผน, ฝืน-ฝ่า-ฟอง, แถว-ท่อง, ขบ-ขัน, พาย-พัน

กาพย์ฉบัง ๑๖คณะ คณะของกาพย์ฉบังมีดังนี้
กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง ๑ บาท แต่มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น วรรกลาง และวรรคท้าย พยางค์พยางค์หรือคำในวรรคต้นมี ๖ คำ วรรกลางมี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบทมี ๑๖ คำ จึงเขียนเลข ๑๖ ไว้หลังกาพย์ฉบัง

กาพย์ยานี 11 1 บท มี กี่ บาท


สัมผัส

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ฉบังดังนี้

ก.สัมผัสนอก(บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสประกอบ

๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคกลาง (บูชา-มารดา)

๒) คำสุดท้ายของวรรคท้ายในบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคต้นในบทที่ ๒ (ตน-กมล) และในบทต่อ ๆ ไปก็มีสัมผัสทำนองเดียวกับข้อ ๑ และ ข้อ ๒

ข.สัมผัสใน

(ไม่บังคับ)

๓) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ มีในบทที่ ๑ วรรคท้าย คือ กำเนิด-เกิด ในบทที่ ๒ วรรคท้าย คือ มหา-สาครินทร์ ในบทที่ ๔ วรรคท้าย คือ วิชา-อาทร ภาษา-จริยา-สง่าศรี

๔)สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษรมีดังนี้

บทที่ ๑ ข้า-ขอ บิดร-มารดา ก่อ-กำเนิด-เกิด บทที่ ๒ กตัญญู-ยึด มั่น-กมล บทที่ ๓ ข้า-ขอ-คุณ สั่ง-สอน บทที่ ๔ ถ่าย-ทอด-อาทร ภาษา-สง่าศรี

การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี ๑๑

            กาพย์ยานี ๑๑                                                                                                                                                                                                                                                                                                               กาพย์ยานี หรือ กาพย์ยานี ๑๑ คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ

           กาพย์ยานี มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์ ดังนี้คือ
           1.คณะ
    • ใน ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ 
    • ใน ๑ บท มี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค รวมเป็น ๔ วรรค 
           2.สัมผัส
           สัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๒ คู่ คือ 
  • คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับ คำที่สามของวรรคหลัง 
  • คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สาม 
           สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ 
  • คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทที่ตามมา 
           3.ลักษณะอื่นๆ
           กาพย์ยานีอาจมีความยาวร้อยต่อกันกี่บทก็ได้ไม่จำกัด  บาทที่สองของแต่ละวรรค อาจไม่ต้องมีสัมผัส จากคำท้ายวรรคหน้า ไปยังคำที่สามของวรรคหลังก็ได้

กาพย์ยานี 11 1 บท มี กี่ บาท

อันนี้ก็คือหน้าตาของ แผนผังกาพย์ยานี 11

         ตัวอย่างคำประพันธ์
            สิบเอ็ดบอกความนัย            หนึ่งบาทไซร้ของพยางค์
            วรรคหน้าอย่าเลือนราง        จำนวนห้าพาจดจำ
            หกพยางค์ในวรรคหลัง         ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
            สัมผัสตามชี้นำ                   โยงเส้นหมายให้เจ้าดู

กาพย์ยานี 11 ใน 1 บท แต่ละบาทมีจำนวนกี่วรรค

1. บทหนึ่งมี2 บาท บาทหนึ่งมี2 วรรค วรรคแรกมี5 คำ วรรคหลังมี6 คำ รวมเปน 11 คำ จึงเรียกวา กาพยยานี11.

กาพย์ยานี 11 ใน 1 บทมีจำนวนกี่คำ

กาพย์ยานี ๑๑ เป็นคำประพันธ์ไทย ประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีรูปแบบดังนี้ บทหนึ่งมีสองบาท เรียกว่า บาทเอกและบาทโท บาทละ ๑๑ คำ วรรคหน้ามีคำ แบ่งการอ่านได้๒/๓ วรรคหลัง ๖ คำ แบ่งจังหวะ การอ่านได้ ๓/๓ ตัวอย่างการแบ่งจังหวะการอ่านกาพย์ยานี 11. (เพลงไทยของคนทุกข์: ไพวรินทร์ขาวงาม)

กาพย์ยานี 11 บทแรกเรียกว่าอะไร

กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียก ว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละ บาทมี ๒ วรรค คือ วรรคแรก และวรรคหลัง

กาพย์ยานี 11 สัมผัสอะไร

(1) สัมผัสระหว่างวรรค ได้แก่ คำสุดท้ายวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ 1 หรือคำที่ 2,3 ของวรรคที่สอง คำสุดท้ายของวรรคที่สองส่งสัมผัสไปที่คำสุดท้ายของวรรคที่สาม (2) สัมผัสระหว่างบท ได้แก่ คำสุดท้ายของบทแรกส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่สองในบทต่อไป