จรรยาบรรณของนายหน้าประกันวินาศภัย

การประกันชีวิต มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ทั้งในด้านการสร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัวผู้เอาประกัน การระดมเงินออมเพื่อพัฒนาประเทศ เกิดการลงทุนและการจ้างแรงงาน เพิ่มขึ้นเป็นต้น ธุรกิจประกันชีวิตจึงมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เพื่อเป็นการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้เจริญเติบโต ตัวแทนจะต้องช่วยกันสร้างภาพพจน์และทัศนคติที่ดี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปยอมรับและเชื่อมั่นในธุรกิจด้วยการตระหนักในจรรยาบรรณ หน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวแทน เพราะตัวแทนคือคนกลางระหว่างประชาชนทั่วไปหรือผู้เอาประกันกับบริษัท

จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต 10 ข้อ

  1. มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ

  2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

  3. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัย และของบริษัทต่อบุคคลภายนอก

  4. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกัน หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์

  5. ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์

  6. ไม่ลด หรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันภัย

  7. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่ หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์

  8. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิต หรือบริษัทอื่น

  9. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ

  10. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซื่อเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิณาณ

 

จรรยาบรรณของนายหน้าประกันวินาศภัย
 “อาชีวปฏิญาณ” หมายถึง การที่ผู้ประกอบวิชาชีพตัวแทนประกันชีวิตจะต้องปฏิญาณต่อวิชาชีพ กล่าวคือ จะต้องละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันประกันชีวิตและบริษัทประกันชีวิตต้นสังกัด

จรรยาบรรณของนายหน้า คือ หลักความประพฤติอันเหมาะสมที่แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพที่เป็นกลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพนั้นๆยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมวิชาชีพ เกียรติคุณ ศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของผู้ประกอบวิชาชีพนั้น

หน้าที่ของนายหน้าประกันภัย

ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการและความสามารถของลูกค้า การให้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เข้าใจง่าย เพียงพอต่อการตัดสินใจด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องและเพียงพอต่อการใช้บริการต่อไป มีการสอบถามคุณภาพการขายที่รัดกุม เอกสารการขาย สื่อการขาย โฆษณา ให้ข้อมูลครบถ้วน ไม่เกินจริง ไม่บิดเบือน

จรรยาบรรณและศีลธรรมสำหรับนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต

  • มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ
 
  • ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เอาประกันภัย
  • ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของผู้เอาประกันภัย
 
  • ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์
  • รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
 
  • ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมนายหน้าหรือบริษัทประกันภัยอื่น
  • เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันหรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์
 
  • หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
  • ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัย ทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยหรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย
 
  • ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ
     

ข้อกำหนดที่ใช้เสนอขายกรมธรรม์ประกัน

  • อธิบายหลักการเปิดเผยข้อเท็จจริงในใบคำขอเอาประกันภัยและผลที่จะเกิดขึ้นหากมีการแถลงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ
 
  • แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตลอดจนกระบวนการในการเรียกร้องให้ชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
  • ระบุแจ้งชัดว่ากรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายเป็นกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทใด
 
  • บริหารจัดการกรณีเกิดการขัดกันทางผลประโยชน์ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องเพียงพอประกอบการตัดสินใจทำสัญญาประกันภัย
  • ไม่กระทำการใดๆอันเป็นการรบกวน หรือก่อความรำคาญให้แก่ลูกค้า 
 
  • แจ้งลูกค้าทราบจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระระยะเวลาเอาประกันภัย ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย  
  • แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่การฝากเงินและห้ามใช้คำว่า “ฝาก”หรือ “ฝากเงิน”แทนคำว่า“ชำระเบี้ยประกันภัย”
   

ข้อปฏิบัติในการขายประกัน

  • ต้องมีใบอนุญาต นายหน้าประกันชีวิตและวินาศภัย
 
  • ต้องแจ้งชื่อบริษัทรับประกันภัย
  • ต้องแนะนำผลิตภัณฑ์บนพื้นที่ที่กำหนด
 
  • ต้องสอบความต้องการของลูกค้า
  • ต้องพิจารณาความเหมาะสมและความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน
 
  • ต้องอธิบายความคุ้มครองให้ครบถ้วน
  • ต้องเพิ่มเติมความระมัดระวังสำหรับลูกค้าที่เปราะบาง 
 
  • ต้องอธิบายหลักการเปิดเผยข้อมูลความจริงในใบคำขอเอาประกันภัยและผลที่เกิดขึ้นหากมีการแถลงข้อเท็จจริง
  • ต้องแนะนำตัว แจ้งเลขที่ใบอนุญาตพร้อมแสดงใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าวินาศภัย
     
 
  • ให้นำส่งเอกสารยืนยันการชำระเบี้ยให้กับลูกค้า (หลักฐานการับประกันภัย) เพื่อเป็นการยืนยันว่าลูกค้าได้รับความคุ้มครองจริง
     

ข้อห้ามปฏิบัติในการขายประกันภัย

  • ห้าม บังคับขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ประกันชีวิต  
 
  • ห้าม เร่งรัดลูกค้าในการตัดสินใจ
  • ห้าม ชวนยกเลิกกรมธรรม์เดิม เพื่อให้มาซื้อกรมธรรมฉบับใหม่
 
  • ห้าม ขายประกันแฝง
  • ห้ามปกปิดข้อมูลสำคัญ เช่น สุขภาพ ตัวอย่าง ในการขอเอาประกันภัยหากบริษัทประกันภัยทราบในภายหลังว่าลูกค้ามีการปกปิดข้อมูลสาระสำคัญบริษัทอาจใช้สิทธิบอกล้างสัญญาและสัญญาจะเป็นโมฆียะได้