การสืบทอด ตํา แห น่ ง ผู้ปกครอง หัวเมือง ชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร

การสืบทอด ตํา แห น่ ง ผู้ปกครอง หัวเมือง ชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร

การปกครองสมัยอยุธยา

การปกครองสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดใน การปกครอง แผ่นดิน ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรง มอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครอง ดูแลเมือง ลูกหลวง หลานหลวง ต่างพระ เนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชมีเจ้านายใน ราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองราชธานี ศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงปฎิรูปการปกครอง ลดทอนอำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหาร ราชการแผ่นดิน ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือน นั้นยัง แบ่งออกเป็น ๔ กรมหรือ จตุสดมภ์ คือ สี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาลทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง กรมวังหรือธรรมมาธิการณ์ ทำหน้าที่ดูแล กิจการพระราชวัง กรมคลังหรือโกษาธิบดีทำหน้าที่ดูแลด้านการค้าและการต่างประเทศ กรมนา หรือเกษตราธิการทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ ใช้สืบต่อมา ตลอด สมัยอยุธยา
การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง คือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนต้น

ในสมัยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก พระเจ้าอู่ทองทรงวางราฐานการปกครองไว้ ดังนี้
1.1 การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)
พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กรมเวียง (กรมเมือง) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร เช่น ปราบปรามโจรผู้ร้าย นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ มีเสนาบดี ตำแหน่ง ขุนเวียง หรือ ขุนเมือง เป็นหัวหน้า
2) กรมวัง มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิพากษาคดีความของราษฎร มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนวัง เป็นผู้รับผิดชอบ
3) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนนา เป็นผู้รับผิดชอบ

1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค

การสืบทอด ตํา แห น่ ง ผู้ปกครอง หัวเมือง ชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร

เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
1) เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง) เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครอง
2) หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม อยู่ไม่ไกลจากราชธานี สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองาพรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี
ทิศใต้ เมืองเพชรบุรี
ทิศตะวันออก เมืองปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก เมืองราชบุรี

3) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก
ทิศใต้ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง
ทิศตะวันออก เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี
ทิศตะวันตก เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย

4) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย เมืองประเทศราชในสมัยนี้ ได้แก่ เขมร มอญ มะละกา

สมัยอยุธยาตอนกลาง

ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 1991 – 2231) สมัยนี้เป็นสมัยที่อาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเริ่มเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีอำนาจทางการเมืองการปกครองเจริญรุ่งเรืองสูงสุด รวมทั้งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป
สาเหตุที่ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองอาณาจักรอยุธยา มีดังนี้
1. สืบเนื่องจากการที่อยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปกว้างขวาง และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนทั้งหมดไว้ได้
2. เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง
3. ทรงต้องการปรับปรุงระเบียบการปกครองที่มีมาแต่เดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น

       1.1 การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร
ในยามที่บ้านเมืองสงบสุข หน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจะแยกจากกัน เพื่อรับผิดชอบบริหารบ้านเมืองตามที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อยามเกิดสงคราม ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกำลังกัน เพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันประเทศให้มั่นคงปลอดภัย
ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียง สามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้
ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร และคอยกำกับดูแลการทำงานของเหล่าเสนาบดีจตุสดมภ์เดิม ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง 4 ใหม่ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย ดังนี้
-กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี
-กรมวัง (ธรรมมาธิกรณ์) มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก งานราชพิธี และพิพากษาคดีความของราษฎร
-กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
-กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่ ทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง

1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปกครองส่วนภูมิภาคให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับส่วนกลาง และได้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ โดยแบ่งเขตของการปกครองเป็น 3 เขต ดังนี้
1) หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เช่น ราชบุรี เพชรบุรี ชัยนาถ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชลบุรี เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง
2) หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของแต่ละเมือง ดังต่อไปนี้
– เมืองชั้นเอก เป็นเมืองใหญ่ มีประชาชนมาก เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช
– เมืองชั้นโท เป็นเมืองที่สำคัญรองลงมา เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร สวรรค์โลก
– เมืองชั้นตรี เป็นเมืองที่ขนาดเล็ก เช่น ไชยา ชุมพร นครสวรรค์
3) หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เช่น ปัตตานี มะละกา เชียงกราน ทวาย ผู้ปกครองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาถวายกษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมีข้อกำหนด 3 ปีต่อหนึ่งครั้ง และต้องส่งกองทัพมาช่วยสู้รบกับข้าศึกศัตรูเมื่อเมืองหลวงเกิดมีศึกสงครามขึ้น วิธีการปกครองยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น

1.3 การปกครองส่วนท้องถิ่น
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยเริ่มจากหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบลมีกำนันดูแล แขวงมีหมื่นแขวงดูแล และเมืองมีเจ้าเมืองดูแล การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

สมัยอยุธยาตอนปลาย

ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชาถึงสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศ (พ.ศ. 2231 – 2310) รูปแบบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงยึดรูปแบบการปกครองตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดระเบียบไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองบางส่วนในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ดังนี้
1. ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีด้านงานพลเรือน และด้านงานทหาร
2. ให้สมุหพระกลาโหมรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ตั้งแต่เพชรบุรีลงไป
3. ให้สมุหนายกรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและดูแลจตุสดมภ์ในส่วนกลาง
4. ให้เสนาบดีกรมคลังรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก และดูแลเกี่ยวกับรายได้ของแผ่นดินและการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ