กรุงรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ใด

การก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและเมืองหลวงใหม่ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2328 หลังจากนั้นจึงโปรดให้สมโภชพระนครพร้อมทั้งพระราชทานนามว่ากรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ทรงโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากธนบุรี          มาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ที่ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งพระราชทานนามใหม่ว่าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

กรุงรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ใด

        การสร้างพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจและเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและการอัญเชิญพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญมาประดิษฐานที่เมืองหลวงแห่งใหม่เป็นการฟื้นฟูขวัญและกำลังใจแก่คนไทยในยุคนั้นที่จะสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป


การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระ -
ยามหากษัตริย์ศึกภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล
เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไข
วิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย
สืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์
จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการ
สถาปนาราชวงศ์จักรี)

     ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษก
เป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน โดยบริเวณที่
ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระ-
นารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนเมื่อได้ทรงชดเชย
ค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างรั้วไม้แทน
กำแพงขึ้นและสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์
ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ” แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยม
เรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่ง
วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6
เมษายน พ.ศ.2325 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จ
ในปี พ.ศ.2328 ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา
มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุ
กรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระ
บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมร
รัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม) และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตน-
ศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่และเมื่อสร้าง
พระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้
ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่

กรุงรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ใด

บทความ: "สถาปนากรุง" เรียบเรียง วัฒนรักษ์ [email protected] 21 เมษายน เป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การกำหนดเอาวันที่ 21 เมษายน เป็นหมุดหมายนั้น เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา ซึ่งได้จารึกติดอยู่ที่เสาหลักเมืองว่า “วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144 เวลาย่ำรุ่ง 54 นาที” ซึ่งใน พ.ศ. 2564 ราชธานีแห่งนี้ก็จะมีอายุครบ 239 ปี หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตามสาระที่ปรากฏในแบบเรียนชาติไทยของเราเคย “สถาปนา” คือ ยกย่อง ก่อตั้ง หรือตั้งเมืองสำคัญขึ้นเป็นเมืองหลวงของรัฐมาทุกยุคทุกสมัย นับแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี มาจนถึงรัตนโกสินทร์ และเมื่อมองลึกเข้าไปถึงการถือกำเนิดของเมือง รัฐ หรืออาณาจักรหลายๆ แห่งในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าการตั้งถิ่นฐานขึ้นเป็นบ้านเป็นเมืองนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ ผู้คนดั้งเดิมในท้องถิ่น จนทำให้เกิดขื่อบ้านนามเมืองกำหนดขึ้นมาให้เป็นที่รับรู้ร่วมกัน อีกทั้งยังมักจะสร้างตำนานขึ้นมาอธิบายความเป็นมาของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่รายล้อมสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่สถาปนาขึ้นมาด้วย ปัจจัยพื้นฐานของการที่ผู้นำแต่ละสังคมต่างมีความคิดเห็นตรงกันก่อนที่จะลงหลักปักฐานขึ้นเป็นบ้านเป็นเมืองเมื่อครั้งอดีตนั้น ก็คงไม่พ้นการพิจารณาถึงเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ถัดมาก็เป็นเรื่องความสะดวกในการคมนาคม ตั้งอยู่ในเส้นทางค้าขาย สุดท้ายก็ต้องมีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ในการที่จะป้องกันบ้านเมืองของตัวเองจากการรุกรานได้ด้วย มาถึง ณ จุดนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะพอเห็นพัฒนาการบ้านเมืองก่อนที่จะสามารถสถาปนาตนเองขึ้นมาให้ปรากฏโดดเด่นได้ว่า ต่างล้วนต้องมีเวลาในการก่อร่างสร้างตัวให้เข้มแข็ง ไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะออกมาประกาศตนเองขึ้นมาเป็นเมือง เป็นรัฐ หรือเป็นอาณาจักรได้ในช่วงเวลาแค่ข้ามวัน ข้ามเดือน หรือข้ามปี คราวนี้มาไล่ดูวันและเหตุในการสถาปนากรุงในแต่ละยุคสมัยกัน โดยของเริ่มตั้งแต่อาณาจักรที่มีอายุโดยรวมยาวในราว 215 ปี คือ สุโขทัย (ราว พ.ศ. 1792 – 2006 อายุราว 215 ปี) เมื่อครั้งอดีตก่อนที่จะเป็นรัฐบนที่ราบลุ่มแม่น้ำยมที่สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ก็มีฐานะเป็นดังสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1782 เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ ก็ได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย จนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ มาถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนที่จะค่อยๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด ส่วนอยุธยานั้น เรามักจะได้ยินได้ฟังนิทานเรื่อง พระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่าแล้วก็มาสร้างกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคิดๆ ไปแล้วราวกับว่าอาณาจักรแห่งนี้เกิดขึ้นง่ายเหลือเกิน ทั้งๆ ที่บริเวณที่สถาปนากรุงขึ้นนั้น รายล้อมไปด้วยเมืองที่มีอำนาจไม่ได้ยิ่งหย่อนกัน ไม่ว่าจะเป็นอโยธยาศรีรามเทพนคร สุพรรณภูมิ หรือละโว้ แล้วก็มีน้อยคนนักที่จะอธิบายเหมือนกับที่อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า “…สิ่งที่น่าสังเกตในทางภูมิวัฒนธรรมเกี่ยวกับพัฒนาการของอยุธยา…ก็คือเป็นเรื่องของการขยายตัวและเติบโตของบ้านเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสำคัญ ในสมัยอโยธยาบ้านเมืองเติบโตและเติบโตอยู่เฉพาะลุ่มน้ำป่าสักอันอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่เมื่อเกิดเป็นพระนครศรีอยุธยาแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานั้น พัฒนาการของบ้านเมืองดูเหมือนเกิดขึ้นทางฝั่งตะวันตกเป็นส่วนใหญ่…” โดยที่ “อโยธยา” ในคำอธิบายของท่านนี้ไม่ใช่กรุงศรีอยุธยา แต่เป็นบ้านเป็นเมืองที่มีมาก่อนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือที่ใครต่อใครมักจะเรียกกันว่า พระเจ้าอู่ทอง จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ.1893 หรือ 1894 แล้วแต่วิธีการนับปฏิทินว่าจะเป็นแบบไทยในสมัยนั้นหรือแบบตะวันตก และอันที่จริงแล้วท่านก็ได้ระบุลงไปชัดๆ ด้วยว่าอโยธยาก็คือ “ละโว้” หรือ “ลพบุรี” หากจะสรุปว่าความเป็นอยุธยาก็คือ การที่อโยธยาหรือลพบุรีมาผสมผสานเข้ากับพวกเสียมหรือสุพรรณบุรี ที่ในเอกสารเก่าเรียกว่าสุพรรณภูมิ ก็คงไม่ผิดนัก แล้วมีพัฒนาการถึงขั้นจัดการเครือข่ายทางการคมนาคมต่างๆ จนในที่สุดอยุธยาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี ดังที่ได้เรียนรู้กันมา หลังการกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2310 พระเจ้าตาก (สิน) พร้อมสมัครพรรคพวกได้รวบรวมผู้คนเพื่อขับไล่ข้าศึก ทำการสู้รบจนสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 หรือเพียง 7 เดือน หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา หนังสือเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กล่าวถึงการตั้งราชธานีในลักษณะตำนานว่า เมื่อพระเจ้าตากถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศแล้ว ทรงมีพระประสงค์ที่จะปฏิสังขรณ์พระนครเพื่อตั้งเป็นเอกราชดังเดิม หลังจากทรงตรวจตราดูสภาพกรุงศรีอยุธยา เห็นว่าถูกเผาทำลายไปเป็นอันมาก ที่ยังดีอยู่ก็มีน้อย แล้วในคืนหนึ่งขณะที่ประทับแรม ณ พระที่นั่งทรงปืนภายในกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงพระสุบินนิมิตไปว่าพระมหากษัตริย์แต่ก่อนมาขับไล่ไม่ให้อยู่ รุ่งเช้าจึงตรัสเล่าให้ขุนนางทั้งปวงฟัง แล้วตรัสว่าเราคิดสังเวชเห็นว่าบ้านเมืองจะรกร้างเป็นป่า จะมาช่วยปฏิสังขรณ์ ทำนุบำรุง ให้ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิมยังหวงแหนอยู่ เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด จากนั้นพระองค์ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง และพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 28 ธ.ค. 2311 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ที่ 8 หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ขุนนาง ไพร่ฟ้าราษฎรนิยมเรียกพระองค์ท่านว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน” แต่กรุงธนบุรีก็มีอายุได้เพียง 15 ปี เมื่อมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแทน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ดังที่เล่าให้ฟังกันมาแล้วตั้งแต่ต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ถูกสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ใด

วันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกถึงวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีแห่งที่ ๔ ของสยามประเทศ และในปี พุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ กรุงรัตนโกสินทร์ บรรจบครบรอบเป็นปีที่ ๒๓๘ แล้ว ย้อนไปเมื่อ ๒๓๘ ปีก่อน ในวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุง ...

วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตรงกับวันใด

21 เมษายน วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุกี่ปี 2565

21 เมษายน 2565 ครบรอบ 240 ปี แห่งการสถาปนา "กรุงรัตนโกสินทร์"

ปี2325เกิดอะไร

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสืบทอดต่อจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย