มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

แม้จะปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดแล้ว แต่ก็ยังไม่วายเกิดอุบัติเหตุ ในบทความนี้ มาดูกันครับ ว่ามีจุดไหนบ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ


มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

สี่แยก เป็นจุดที่มักเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เพราะรถที่วิ่งผ่านทางแยกมักใช้ความเร็วสูง ผู้ขับขี่ควรชะลอความเร็วลง ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรอย่างเคร่งครัด สัญญาณไฟเหลือง ให้เตรียมชะลอความเร็ว หยุดรถหลังเส้นที่กำหนด

สำหรับแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร กรณีที่ขับมาถึงทางแยกพร้อมกัน กฎหมายกำหนดให้รถด้านซ้ายมือผ่านไปก่อน แต่อย่าชะล่าใจ ควรมองซ้าย-ขวาให้ดี จนแน่ใจว่าไม่มีรถวิ่งผ่านมาจึงค่อยขับข้ามทางแยกไป

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

ทางโค้ง ควรชะลอความเร็ว ห้ามแซงหรือหยุดรถกะทันหันบริเวณทางโค้งอย่างเด็ดขาด พยายามขับให้อยู่ในช่องทางของตนเอง หากเจอทางโค้งที่แคบมาก หรือตามตรอก ซอยแคบๆ มีกำแพงตรงทางโค้งหรือทางแยก ควรเพิ่มความระมัดระวัง ก่อนเข้าโค้ง ให้สังเกตสภาพเส้นทางจากกระจกโค้งมุมถนน หากไม่มีกระจกโค้งติดอยู่ ควรบีบแตรให้สัญญาณในเวลากลางวัน และกระพริบไฟสูงในเวลากลางคืน เพื่อให้สัญญาณเตือนเพื่อนร่วมทาง

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

จุดกลับรถ เป็นจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุทางถนนอยู่บ่อยครั้ง ผู้ขับขี่ที่ต้องการกลับรถจึงควรหยุดรถรอ และกลับรถในจุดที่กำหนดเท่านั้น ไม่ควรเคลื่อนรถไปกีดขวางช่องทางจราจร มองอย่างละเอียดถี่ถ้วนจนมั่นใจ พร้อมกะระยะวงเลี้ยว และเร่งความเร็วในการออกตัวให้เหมาะสม 

สำหรับผู้ขับขี่ที่ขับผ่านจุดกลับรถ ควรชะลอความเร็วหรือเปลี่ยนช่องทางไปทางด้านซ้าย เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับกลับรถ เพิ่มความปลอดภัยของตัวเราและเพื่อนร่วมทาง

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

ริมไหล่ทาง จุดอันตรายที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพราะหากมีรถจอดริมข้างทางแล้วมีรถแซงซ้ายด้วยความเร็วสูง ผู้ขับขี่อาจหยุดรถไม่ทัน ทำให้พุ่งชนรถที่จอดริมข้างทางอย่างรุนแรง จึงไม่ควรจอดรถริมไหล่ทาง โดยเฉพาะบริเวณทางขึ้น-ลงสะพาน ถนนที่มีไหล่ทางแคบ หรือเป็นคอขวดอย่างเด็ดขาด หากจำเป็นควรให้สัญญาณไฟล่วงหน้า เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือจอดในจุดจอดรถริมข้างทางที่จัดไว้เท่านั้น และไม่ควรขับรถแซงด้วยความเร็วสูงในระยะกระชั้นชิดอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นมุมอับ ทัศนวิสัยการมองเห็นไม่ชัดเจนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

จุดตัดทางรถไฟ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ชะลอความเร็ว สังเกตป้ายเตือนว่าเป็นทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น หรือหากเป็นจุดตัดทางรถไฟแบบไม่มีเครื่องกั้น ให้ฟังสัญญาณเสียง หรือสังเกตสัญญาณไฟวาบ และควรหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่ต่ำกว่า 5 เมตร

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car

หน่วยที่ 6 การขับรถยนต์ให้ปลอดภัย

6.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถ

6.1.1 ทราบถึงสิ่งที่เป็นสาเหตูที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุว่าเกิดจากเหตุใด 

เช่น เกิดจากสถาพบุคคล เกิดจากสภาพยานพาหนะ เป็นต้น

6.1.2 สามารถจำแนกได้ว่าในแต่ละสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมีปัจจัยใดมาเกี่ยวข้อง

เช่น คนหนึ่งขับรถใช้ความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง

6.1.3 การตัดสินใจว่าจะทะอย่างไรให้ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ในสถานการณืนั้น จะนำประสบการณ์ความรู้หรือข้อสังเกตุต่างๆ

6.1.4 มุมอันตรายในตัวรถยนต์ รถยนต์รอบคันจะมีมุมอันตราย มีจุดบอดในตัวรถ 

เช่น การมองด้านซ้าย (แถบซ้าย) การมองด้านขวา (แถบขวา) ของตัวรถ หรือการมองด้านหลังตัวรถยนต์ขณะขับขี่นั้นจะมองเห็นเฉพาะจุดไม่สามารถมองเห็นได้ทั้งหมด

6.1.5 การมองขณะขับรถ ขณะที่ขับรถต้องมองโดยคำนึงถึงระยะทางและเวลา 

เช่น ถ้าขับรถยนต์ด้วยอัตราความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง

6.1.6 ระยะทางสำหรับการหยุดรถยนต์ ป็นสิ่งจำเป็นในการขับขี่ที่ปลอดภัยที่จะต้องทราบ ระยะเบรกมี 2 ช่วง คือ

-ช่วงที่คุณคิดว่าจะต้องใช้เบรก คุณจะเสียระยะทางไปจำนวนหนึ่งก่อนที่เบรกจะเริ่มทำงาน
-ช่วงที่เบรกทำงาน จะใช้ระยะทางหนึ่งตั้งแต่เบรกเริ่มทำงานจนกระทั่งรถหยุดเคลื่อนที่
ระยะที่ต้องใช้ในการหยุดรถยนต์จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง ได้แก่
-อัตราเร็วในการขับขี่ของคุณ
-การขับขี่นั้นขึ้นทางชันหรือลงทางลาดหรือพื้นราบ
-สภาพภูมิอากาศและถนน
-สภาพของเบรกและยางรถยนต์ของคุณ
-การตอบสนองต่อการใช้เบรกของตัวคุณเองนั้นรวดเร็วเพียงใด

ถยนต์จะเคลื่อนที่ไประยะทางหนึ่งก่อนที่เบรกจะเริ่มทำงาน ระยะทางนี้จะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาการตอบสนองของตัวคุณเอง โดยเฉลี่ยทั่วไปแล้วจะใช้เวลามากกว่าครึ่ง วินาที แต่ถ้าคุณเหน็ดเหนื่อยหรือไม่สบายจะใช้เวลามากกว่านี้
ถ้าคุณขับขี่ด้วยอัตราเร็วประมาณ 30 กม./ชม. คุณจะใช้ระยะทางประมาณ 6 เมตรก่อนเบรกจะเริ่มทำงาน
ที่อัตราเร็ว 50 กม./ชม. ระยะทางช่วงการคิดว่าจะใช้เบรกจะเป็น 9 เมตร และที่อัตราเร็ว 80 กม./ชม. ระยะทางช่วงการคิดจะเป็น 15 เมตร
ระยะทางช่วงที่เบรกทำงานแล้วนั้นจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับอัตราเร็ว ขนาด และนํ้าหนักของรถยนต์ ระยะทางช่วงการเบรกนี้มีความสำคัญต่อระยะทั้งหมด
ที่อัตราเร็ว 30 กม./ชม. เบรกที่ดีจะหยุดรถได้ในระยะทางประมาณ 6 เมตร บนถนนแห้ง
ที่อัตราเร็ว 60 กม./ชม. (เพิ่มขึ้นเท่าตัว) จะหยุดรถได้ในระยะทางประมาณ 24 เมตร ซึ่งจะเป็น 4 เท่า ของระยะที่ต้องใช้ที่อัตรา 30 กม./ชม.
ในสภาพภูมิอากาศที่เลว จะต้องเผื่อระยะทางไว้มากขึ้นกว่าปกติ เพราะการยึดเกาะถนนของยางจะเลวลงในขณะที่ถนนเปียก
ระยะทางการเบรกทั้งหมดจะเป็นผลรวมระหว่างระยะทางช่วงการ คิดว่าจะใช้เบรกกับระยะทางช่วงที่เบรกทำงาน

6.1.7 การใช้สัญญาณ

    1. สัญญาณไฟเลี้ยว เป็นสัญญาณที่ถูกละเลยและทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเมื่อรถที่จะเปลี่ยนช่องทางแต่ดันไม่เปิดสัญญาณ ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความใส่ใจระลึก
    2. สัญญาณเสียงแตร แตรคือต่อย เสียงแตรในปัจจุบันท่ามกลางสภาพการจราจรในเมืองใหญ่กลายเป็นเสียงแห่งการกระตุ้นความโกรธสำหรับนักขับอารมณ์ร้อน ไม่ควรบีบแตรแบบ
    3. สัญญาณไฟฉุกเฉินหรือไฟขอทาง ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ สัญญาณฉุกเฉินที่เห็นกันจนชินตาในบ้านเราเกิดจากการใช้ตามความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก 
    4. สัญญาณไฟสูง การกะพริบไฟสูงเปรียบเหมือนการแจ้งเตือนคล้ายกับการใช้สัญญาณแตร มักใช้ในเวลากลางคืนแต่ก็ใช้ตอนกลางวันในบางจังหวะจะโคนที่ต้องการเตือนรถ

    5. สัญญาณขอบคุณรถคันอื่น การก้มหัวขอบคุณให้กับรถที่หยุดให้ทางคุณอย่างมีน้ำใจนั้นแทบจะหายไปบนท้องถนนของประเทศไทย แม้จะติดฟิลม์จนมืดราวกับถ้ำหมี 
6.1.8  การใช้ไฟฉุกเฉิน

    1. ในกรณีที่ต้องข้ามสี่แยกที่ไม่มีไฟจราจร การเลือกเปิดไฟฉุกเฉิน “ถือว่าไม่ถูกต้อง” เพราะอย่างที่ผมบอกครับว่ามันจะทำให้เราเห็นไฟจากรถที่มาทางด้านซ้ายกับด้านขวากระพริบเพียงข้างเดียวเท่านั้น และทำให้เราเข้าใจผิดว่ารถคันนั้นจะเลี้ยว ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องในกรณีที่ต้องขับรถข้ามสี่แยกที่ไม่มีไฟจราจร คือ ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน ใช้การชะลอรถ พร้อมกับสังเกตรถที่มาจากรอบด้านให้ดี เมื่อมั่นใจว่าสามารถขับผ่านไปได้แล้ว จึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งไปครับ

    2. ไฟฉุกเฉินสำหรับรถที่จอดเสีย หรือจอดนิ่งเฉยๆ ซึ่งตาม พรบ. จราจร มาตรา 9 และกฏหมาย ข้อ 11 กำหนดให้ใช้ไฟฉุกเฉิน เฉพาะกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้น

    3. ในกรณีที่ขับรถในขณะฝนตกหนัก หรือทัศนวิศัยแย่ การเปิดไฟฉุกเฉินถือเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะหากคุณต้องการเปลี่ยนเลน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากรถที่วิ่งมาในเลนที่คุณต้องการจะไป อาจไม่รู้ว่า จริงๆ คุณเปิดไฟฉุกเฉินหรือแค่ไฟเลี้ยว ฉะนั้นในกรณีที่ขับรถเมื่อฝนตกหนัก หรือทัศนวิศัยแย่ การชะลอความเร็วและเปิดไฟหน้าจึงเป็นวิธีที่ทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัยและถูกต้องครับ

4. การใช้ไฟฉุกเฉินพร่ำเพื่อ แถมจอดแช่นิ่งๆ อาจทำให้รถที่ขับตามมาเข้าใจผิดว่ารถคันนั้นเสีย จนทำให้เกิดการจราจรที่ติดขัดตามมา

6.1.9 การใช้ไฟเลี้ยว เพื่อให้เพื่อให้ทางการแซง

ให้ดูความเร็วของรถยนต์ตัวเองเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น หากใช้ความเร็ว 30 กม./ชม. ให้เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าก่อนอย่างต่ำ 30 เมตร หรือหากใช้ความเร็ว 60 กม.ชม. ให้เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าก่อนอย่างต่ำ 60 เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้รถด้านหลัง เตรียมตัวชะลอ หรือตัดสินใจเปลี่ยนช่องทางเดินรถไป

6.2 การคาดคะเนล่วงหน้า

ในระหว่างการขับขี่จะต้องระมัดระวังข้างหน้า-ข้างหลัง อยู่ตลอดเวลา และจำเป็นจะต้องรู้อย่างถูกต้องและรวดเร็วเกี่ยวสถาพของถนนเป็นต้น