การทํางานกับสารเคมีให้ปลอดภัยต้องปฎิบัติอย่างไร

ในการทดลองหรือการปฏิบัติงานในห้องทดลองทางเคมี ผู้ผฏิบัติงานจำเป็นต้องรู้ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายผู้ทดลองหรือผู้อื่น และความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่น ๆ

ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ

1. ด้านกายภาพ

  • ผู้ทดลองต้องรู้แผนผังอาคาร แผนผังห้องปฏิบัติการ ทางเข้า ทางออก ทางหนีไฟ
  • ผู้ทดลองต้องรู้ตำแหน่งอ่างล้างหน้า ตำแหน่งเครื่องดับเพลิง จุดทิ้งกากสารเคมี 

2. ด้านการแต่งกาย

  • ผู้ทดลองต้องสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการ หรือเสื้อกาวน์
  • ผู้ทดลองต้องสวมรองเท้าหุ้มปลายเท้า ห้ามสวมรองเท้าแตะ
  • ผู้ทดลองต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้เรียบร้อย เช่น หน้ากาก ถุงมือ แว่นนิรมัย งดใช้คอนแทคเลนส์ ขณะทำการทดลอง
  • ผู้ทดลองควรสวมใส่เสื้อผ้ารุ่มร่าม และรวบผมให้รัดกุม
  • ผู้ทดลองควรควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางขณะอยู่ในห้องปฏิบัติการ

3. ด้านการปฏิบัติการ

  • ผู้ทดลองต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อหรือหยอกล้อกัน
  • ผู้ทดลองต้องไม่ทำการทดลองใดๆ นอกเหนือไปจากการทดลองที่มีไว้ในคู่มือปฏิบัติการ หรือที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ควบคุมเท่านั้น
  • ในการทดลองที่เกี่ยวข้องกับสารที่มีกลิ่นรุนแรงหรือเป็นแก๊สพิษให้ทำการทดลองในตู้ดูดไอสารเท่านั้น (ขั้นตอนการทดลองจะระบุในคู่มือ ผู้ควบคุมจะแจ้งเตือน)
  • ห้ามสูบบุหรี่ ในห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ในห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามชิมสารใดๆ และหลีกเลี่ยงการดมสารเคมีโดยไม่จำเป็น
  • ห้ามทิ้งเศษไม้ขีดไฟ กระดาษกรอง กระดาษลิตมัส ลงในอ่างล้าง ให้ทิ้งลงในถังขยะเท่านั้น
  • ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดืมไปแช่ในตู้เย็นแช่สารเคมี
  • หากมีสารเคมีหกต้องรีบทำความสะอาดทันทีด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • กรดหรือด่างหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายหกรดผิวหนังหรือเสื้อผ้าให้รีบล้างด้วยน้ำทันที
  • ทิ้งสารเคมีอันตรายในถังเก็บสารเคมี (อาจารย์ผู้ควบคุมจะแจ้งให้ทราบ)
  • หากผู้ทดลองเกิดอุบัติเหตุในขณะทำการทดลองไม่ว่าจะเล็กน้อย เช่นเศษแก้วบาด ขวดสารแตกหรือไฟใหม้ ต้องรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้งต่ออาจารย์ผู้ควบคุม (แบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุ)
  • เมื่อเกิดไฟไหม้ในห้องปฏิบัติการ ผู้ทำการทดลองต้องประเมินว่าจะสามารถระงับไฟได้ไม่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้รีบออกจากห้องทันที
  • เมื่อมีการถ่ายเทสารออกมา  ต้องมีฉากติดชื่อสารไว้ด้วยเสมอ
  • ไม่เทสารเคมีที่เหลือลงในขวดสารเดิม  เนื่องจากเกิดปนเปื้อน
  • ล้างอุปกรณ์  เครื่องมือ  และความสะอาดพื้นที่หรือบริเวณที่ทดลอง ปิดน้ำ ปิดแก๊ส ปิดไฟเมื่อทำการทดลองเสร็จ
  • กากสารเคมีที่เกิดจากการทดลอง  ต้องแยกประเภท  และรวบรวมใส่ขวดพร้อมติดฉากชื่อกลุ่มสาร เพื่อสะดวกในการนำไปกำจัดต่อไป
  • เมื่อทำงานเกี่ยวกับสารเคมีเสร็จแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ

การทํางานกับสารเคมีให้ปลอดภัยต้องปฎิบัติอย่างไร

หลักการที่ 1 แหล่งกำเนิดของสารเคมี (เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด)

  • กำจัดสารที่เป็นอันตราย หรือทดแทนโดยการใช้สารอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่า
  • เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
  • แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก
  • สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร

 

การทํางานกับสารเคมีให้ปลอดภัยต้องปฎิบัติอย่างไร

หลักการที่ 2 ทางผ่านของสารเคมี

  • การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
  • การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป
  • เพิ่มระยะทางให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
  • การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุง แก้ไขหากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย

การทํางานกับสารเคมีให้ปลอดภัยต้องปฎิบัติอย่างไร

หลักการที่ ๓ การป้องกันที่ผู้ปฏิบัติงาน

  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพอันตราย
  • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาดร่างกาย สถานที่เปลี่ยนและเก็บเสื้อผ้า รวมถึงการจัดการซักผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมี
  • ติดป้ายสัญลักษณ์ ห้ามปฏิบัติ/สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เพื่อเตือนอันตราย เช่น ระวังสารเคมีอันตราย ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น

ที่มา

: กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖

: คู่มือการฝึกอบรม “ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการใช้สารเคมีในการทำงาน” สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

: คู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม

: การป้องกันและควบคุมสารเคมี (Safety with chemical) สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์