การทำความสะอาดห้องเรียนให้ปลอดภัยมีแนวทางอย่างไร

การเจือจางสารเคมีอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงยังมีความปลอดภัยอีกด้วย เนื่องจากการเจือจางมากเกินไปอาจนำไปสู่การใช้น้ำและของเสียที่ไม่จำเป็น กลุ่มผลิตภัณฑ์การควบคุมการจ่ายน้ำยาอัตโนมัติ 3M™ นั้นมีความแม่นยำในการเจือจางน้ำยาเคมีชนิดเข้มข้นมากกว่าระบบคู่แข่งที่ใกล้เคียงกันที่สุดถึง 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการด้วยแรงดันน้ำตั้งแต่ 20 ถึง 120 psi ความแม่นยำที่ได้รับการปรับปรุงแล้วยังช่วยหลีกเลี่ยงการเจือจางที่ไม่เหมาะสมและของเสียสารเคมี

เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและเจ้าหน้าที่ สิ่งสำคัญคือการใช้สารเคมีที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอก 3M นำเสนอวิธีการนวัตกรรมพร้อมสารเคมีที่ได้รับการรับรองผ่านหลายโปรแกรม ได้แก่ Green Seal®, NSF International, USDA Certified Biobased และ National Floor Safety Institute

การ ทำความสะอาดสถานศึกษา  เพื่อป้องกันโควิด ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่พวกเรา จะช่วยกัน เพื่อควบคุม การแพร่ระบาดของเชื้อ โรงเรียนเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่มีโอกาสเสี่ยง ต่อการแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย เพราะมีคนมารวมกันค่อนข้างเยอะ ทั้งครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และ เจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย เวลามีมาตรการควบคุมการแพร่เชื้อ สถาณศึกษาจึงเป็นสถานที่อันดับต้น ๆ ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ปกติสถานที่มีคนมารวมตัวกันอยู่เยอะ ๆ จะต้องมีการทำความสะอาดทุกวันอยู่แล้ว แต่ในสถาณการณ์ที่เกิดโรคระบาด เช่น โควิด-19 จะต้องเพิ่มความพิถีพิถันการทำความสะอาดมากขึ้นไปอีก

 

ขั้นตอนในการ ทำความสะอาดสถานศึกษา เพื่อป้องกันโควิด –19

  • ทำความสะอาดบ่อยขึ้นกว่าเดิม ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส และ สิ่งของต่าง ๆ ในโรงเรียนทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง โดยเฉพาะพื้นผิวหรือสิ่งของที่มีการใช้งานร่วมกัน เช่น โต๊ะเรียน โต๊ะอาหาร อุปกรณ์กีฬา ที่จับประตู สื่อการเรียนการสอน ก๊อกน้ำ ตู้กดน้ำ เป็นต้น
  • ในการทำความสะอาด ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือ ผงซักฟอก ที่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้เท่านั้น อย่าใช้น้ำเพียงอย่างเดียว
  • ฆ่าเชื้อทุกครั้ง แค่การใช้น้ำยาทำความสะอาด คงไม่เพียงพอในเวลานี้ จึงต้องมีขั้นตอนการฆ่าเชื้อเพิ่มขึ้นมาด้วย
  • ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดQUAT ระดับ Food Grade หรือ น้ำยาซักผ้าขาว 2 ฝา ต่อ น้ำ 1 ลิตร สำหรับการฆ่าเชื้อโรคพื้นผิว
  • สำหรับของของชิ้นเล็ก ๆ หรือ สิ่งของที่ซักล้างไม่ได้ ให้ใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 70% สำหรับการเช็ดฆ่าเชื้อโรค
  • ระบายอากาศ ต้องมีการระบายอากาศทุกห้องในสถานศึกษา โดยการเปิดประตู – หน้าต่าง ไว้ตลอดเวลาที่มีการเรียนการสอน หรือ การใช้งานใด ๆ ก็ตาม หากจำเป็นต้องปิดห้องเรียน หลัง และ ก่อน ใช้งาน ควรมีการเปิดเพื่อระบายอากาศเสมอ หากใช้เครื่องปรับอากาศ ให้ทำความสะอาดให้ดี และ บ่อยขึ้นด้วย และควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศได้ไหลเวียนระหว่างวันบ้าง
  • กำจัดขยะทุกวัน  ถังขยะต้องมีฝาปิดทุกจุด เพื่อป้องกันการกระจายสิ่งสกปรก จากนั้น รวบรวมขยะออกไปทิ้งจากห้องทุกห้อง และ ทุกวัน นอกจากนี้ ควรมีการทำความสะอาดบริเวณโดยรอบถังขยะ และ ล้างถังขยะก่อนนำกลับมาวางที่ห้อง
  • อุปกรณ์ทำความสะอาดต้องสะอาด ผ้าที่ใช้เช็ดทำความสะอาด และ ไม้ถูพื้น ให้ซักอย่างดี ด้วยน้ำผสมผงซักฟอก หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อ จากนั้นล้างให้สะอาด และ นำไปผึ่งแดดให้แห้ง นอกจากนี้ อุปกรณ์ทำความสะอาดอื่น ๆ ก็ต้องทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานด้วย

 

แนวทางการทำความสะอาดอาคารและพื้นที่ในสถานศึกษา

(หมายเหตุ: คำว่า “การทำความสะอาด” ที่เราใช้ในบทความนี้ หมายถึง การทำความสะอาดปกติ รวมกับ การฆ่าเชื้อโรค)

 

ห้องเรียน 

  • ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์การเรียนการสอน และ จุดสัมผัสเสี่ยง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ก่อนเริ่มเรียน และ พักเที่ยง
  • ในกรณีที่มีการย้ายห้องเรียน ต้องเช็ดทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกัน ก่อน และ หลังเรียนจบคาบทุกครั้ง

ห้องสมุด

  • ทำความสะอาดโต๊ะเก้าอี้ อุปกรณ์ในห้อง และจุดสัมผัสเสี่ยงทุกวัน วันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเปิดให้บริการ และ พักเที่ยง

ห้องประชุม 

  • ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ และ จุดสัมผัสเสี่ยง ก่อนและหลังใช้งานห้องประชุมทุกครั้ง

โรงยิมและสนามกีฬา 

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ และ เครื่องเล่นแต่ละชนิดหลังใช้งานทุกครั้ง

สระว่ายน้ำ 

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของระบบฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อตลอดเวลา
  • ดูแลความสะอาดของสระน้ำ ไม่ให้มีขยะ หรือ เศษใบไม้
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนหลังใช้งานทุกครั้ง

สนามเด็กเล่น 

  • ทำความสะอาดเครื่องเล่น และ ของเล่นทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ให้นักเรียนล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการเล่นทุกครั้ง

ห้องน้ำ 

  • ทำความสะอาห้องน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • เน้นเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย ได้แก่ พื้น โถส้วม ที่กดชักโครก โถปัสสาวะ สายฉีดชำระ กลอนหรือลูกบิดประตู ฝารองนั่งชักโครก ก๊อกน้ำ อ่างล้างมือ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

รถรับส่งนักเรียน

  • ก่อนและหลังรับส่งนักเรียนแต่ละรอบ ให้เปิดหน้าต่างและประตูรถเพื่อถ่ายเทอากาศภายในรถทุกครั้ง
  • ทำความสะอาดในจุดที่มีการสัมผัสบ่อย ได้แก่ มือจับเปิดประตู เบาะนั่ง ที่วางแขน

ห้องพยาบาล

  • จัดพื้นที่หรือห้องแยกอย่างชัดเจนระหว่างนักเรียนที่ป่วยจากอาการไข้หวัดกับนักเรียนที่ป่วยจากอาการสาเหตุอื่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรค
  • ทำความสะอาดเตียงและอุปกรณ์ของใช้ทุกวัน หรือหลังจากใช้งานทุกครั้ง

โรงอาหาร เป็นอีกทำความสะอาดสถานที่ที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านอาหาร  จึงต้องคอยดูเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ

  • พื้นที่ประกอบอาหาร พื้นผิวเคาเตอร์ที่ใช้ทำอาหาร หรือวางภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหาร ต้องทำให้ความสะอาดและเช็ดให้แห้งทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  • ภาชนะและอุปกรณ์เครื่องครัว ต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจานและฆ่าเชื้อด้วยการแช่ในน้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไปเป็นเวลา 30 นาที ทุกครั้งหลังใช้งาน หรือแช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งหรือเช็ดให้แห้งก่อนนำไปใส่อาหาร ผ้าที่เช็ดก็ต้องสะอาดด้วย
  • พื้นที่นั่งรับประทานอาหาร เช็ดทำความสะอาดโต๊ะและที่นั่งด้วยแอลกอฮอล์ 70% หลังจากมีคนใช้งาน

 

ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เสี่ยงมากหรือน้อย หากไม่มีการป้องกันและทำความสะอาดที่ดีก็ทำให้เรารับเชื้อโรคมาได้เช่นกัน แต่ถ้าหากมีการทำความสะอาด ฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง และป้องกันตัวเองให้ดี เราก็จะสามารถใช้ชีวิตให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ได้