รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

#เอกสารประกอบการสอน (สากล พรหมสถิตย์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ฯ 4/08/2564

Show

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2560

หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ได้มีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจการปกครอง

นรนิติ เศรษฐบุตร (2558 : 397) ได้สรุปไว้ว่า เมื่อศึกษาถึงวิวัฒนาของการได้มาของรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับแรกในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาจนถึงรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นับเป็นเวลาแปดสิบสองปีกว่าของการพัฒนาการเมืองไทย เราก็ได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญได้เป็นสถาบันการเมืองอันเป็นที่ยอมรับของมหาชนไทยมาตามลำดับ แม้ว่าตัวรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะถูกยกเลิกได้โดยคณะผู้ยึดอำนาจมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็จัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแทน

ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย จึงขอกล่าวถึงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับอย่างสั้นๆ พอสังเขป ดังนี้

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ประกาศใช้ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร โดยมีเจตนาที่จะประกาศใช้เป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร มีการบัญญัติแนวทางหลักในการปกครองประเทศ ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะกรรมการราษฎร อำนาจตุลการทางศาล และอำนาจนิติบัญญัติทางสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะการจำกัดอำนาจกษัตริย์และใช้เป็นเครื่องมือปกป้องและเอื้อประโยชน์แก่คณะราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 70 คน แต่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะราษฎร แลฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 84) มีผลใช้บังคับตามคำกราบบังคมทูลของคณะราษฎร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ความสำคัญในบทบาทของพระมหากษัตริย์มากขึ้น เช่น การให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงถือเป็นการคืนพระราชอำนาจบางส่วนให้แก่พระมหากษัตริย์ แต่กลับไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของคณะราษฎรที่ชัดเจนไว้ และไม่เปิดโอกาสให้มีการตั้งพรรคการเมือง จึงอาจกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มีเจตนาในการสร้างสรรค์การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ดูจะเป็นการเขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองของกลุ่มคน คณะตนเท่านั้น (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 84) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้นำหลักการการปกครองแบบรัฐสภามาใช้และให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเต็มที่ในการตราพระราชบัญญัติ รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ พฤฒสภา และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกของทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้ง โดยสมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อยู่ในวาระ 6ปี ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในวาระ 4 ปี และบุคคลจะดำรงตำแหน่งในสองสภาพร้อมกันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายรัฐบาลมากกว่าพฤฒสภา เพราะสามารถเปิดอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะและรายบุคคลได้ ในขณะที่พฤฒสภาไม่สามารถลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ จะทำได้เพียงการตั้งกระทู้ถามในรัฐสภา เว้นแต่วันแถลงนโยบายรัฐบาล มีการแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการการเมือง นั่นคือ ข้าราชการประจำจะดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้อำนาจฝ่ายตุลาการมีอิสระในการพิจารณาคดี โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลให้กับผู้พิพากษา เพื่อป้องกันอำนาจจากฝ่ายบริหารหรือ    นิติบัญญัติที่จะเข้าไปแทรกแซง (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 84-85) บังคับใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม       พ.ศ. 2489 จำนวน 96 มาตรา ถูกล้มเลิกลงในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยการรัฐประหารของ “คณะทหารของชาติ”

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังคงไว้ซึ่งการปกครองระบอบรัฐสภาที่มีสองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา (พฤฒสภา เดิม) แต่สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี เฉพาะในวาระแรก เมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้จับฉลากออกกึ่งหนึ่ง และสมาชิกวุฒิสภามีอำนาจเท่าเทียมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการเปิดโอกาสให้ข้าราชการประจำสามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองได้ และรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้ (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 85) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ถูกเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่น ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก ส่วนการปกครองยังคงกำหนดให้ปกครองในระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา โดยระบุว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งในสภาใดแล้วจะดำรงตำแหน่งในอีกสภาไม่ได้ หลักความเป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการประจำ ห้ามข้าราชการดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และห้ามข้าราชการเมืองดำรงตำแหน่งอื่นๆ ในรัฐวิสาหกิจหรือสัมปทานจากรัฐ (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 85) ประกาศใช้ในวันที่ 23 มีนาคม   พ.ศ. 2492 ถูกล้มเลิกอีก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้นำทางการเมือง เช่น ใช้ระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ที่ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภทที่มาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่ง 5 ปี กับประเภทที่มาจากการแต่งตั้ง ให้อยู่ในตำแหน่ง 10 ปี ในจำนวนสมาชิกที่เท่ากันของทั้งสองประเภท นอกจากนี้ยังไม่มีข้อห้ามข้าราชการประจำที่จะดำรงตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง และรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 85) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นพลพวงจากการรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้งของคณะผู้ก่อการชุดเดิม

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียง 20 มาตรา ซึ่งไม่มีข้อห้ามข้าราชการประจำที่จะไปดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ไม่มีการระบุถึงสิทธิอำนาจทางการเมืองของประชาชนแต่ประการใด แต่กลับให้อำนาจแก่หัวหน้าฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรีอย่างมาก ทั้งอำนาจด้านบริหาร อำนาจด้านตุลาการ และอำนาจด้านนิติบัญญัติ ทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจอย่างไม่มีขอบเขต (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 86) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการแยกอำนาจบริหารออกจากอำนาจนิติบัญญัติ โดยห้ามนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ การปกครองใช้รูปแบบ 2 สภา คือ วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร แต่ให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารได้เทียบเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งๆ ที่ วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง โดยอ้างว่าทั้งสองสภาถือเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย อีกทั้งไม่มีข้อห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง แต่มีบทบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและอนุญาตให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 86) ประกาศและใช้บังคับ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ถูกยกเลิกเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จากการรัฐประหารของ “จอมพลถนอม กิตติขจร” ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่แตกต่างไปจากธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 เท่าใดนัก จะต่างกันก็เพียงการให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติในการออกกฎหมายและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีเสนอมา และสามารถตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ ส่วนรูปแบบการปกครองยังคงใช้รูปแบบสภาเดียวที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด นอกจากนั้นยังคงเปิดโอกาสให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ และยังคงให้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตแก่นายกรัฐมนตรี และให้ใช้อำนาจตามมาตรานี้บังคับย้อนหลังได้อีกด้วย (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 86) ประกาศบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังคงเป็นการปกครองในระบบสองสภา มีการจำกัดอำนาจวุฒิสภาให้ทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารได้เฉพาะวิธีการตั้งกระทู้ถามเท่านั้น ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการเมือง นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น และที่สำคัญคือการคุ้มครองและรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางกว่าที่ผ่านมา (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 86) ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 อันเนื่องมาจากการรัฐประหาร

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่แตกต่างไปจากธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 คือ ให้อำนาจแบบเผด็จการโดยคนๆ เดียวแก่หัวหน้าฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี และให้มีผลบังคับย้อนหลังไปก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ เหมือนที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 สำหรับฝ่ายนิติบัญญัติได้กำหนดให้มี “สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งสภาปฏิรูปการปกครองประกอบด้วยสมาชิก 300-400 คน ที่มาจากการแต่งตั้งและอยู่ในวาระครั้งละ 4 ปี (จักษ์ พันธ์ชู-เพชร, 2557 : 87) ประกาศเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถูกยกเลิก ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520เนื่องจากการรัฐประหาร

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรวมบทบัญญัติจากรัฐธรรมนูญหลายฉบับ สิ่งหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของคณะปฏิวัติ ก็คือ การห้ามประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองและห้ามการจัดตั้งพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้บุคคลในคณะปฏิวัติทำหน้าที่เป็นสมาชิกของสภานโยบายแห่งชาติ โดยมีหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นประธาน สภานโยบายแห่งชาติทำหน้าที่กำหนดนโยบายและให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่สภานโยบายแห่งชาติกำหนด รวมไปถึงการมีอำนาจแต่งตั้งและสั่งปลดนายกรัฐมนตรีได้ด้วย (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 87) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกอบด้วยหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 กำหนดให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจเท่าเทียมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในหลายประการ และยอมให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (จักษ์ พันธ์ชูเพชร,2557 : 87) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 จากการรัฐประหาร โดย “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ “พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์”

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติอันประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญอีกประการคือ การให้อำนาจประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก็คือหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมีอำนาจเหนือกว่านายกรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยสรุปอำนาจเบ็ดเสร็จจึงรวมอยู่ที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เพราะการริเริ่มใดๆ ของนายกรัฐมนตรีจะกระทำไม่ได้หากไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 87) ประกาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 อันเนื่องมาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ระบบสองสภา โดยให้ประธานวุฒิ สภาเป็นประธานรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งโดยให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือก มีข้อกำหนดห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง แต่นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 88) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เน้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ประชาชนได้รับการรับรองเรื่องสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม รูปแบบการปกครองใช้ระบบ 2 สภา ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้มีได้ไม่เกิน 36 คน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม จึงมีองค์กรอิสระคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งและให้การรับรองผลการเลือกตั้งในทุกระดับ กำหนดบทลงโทษผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกที่กำหนดให้ใช้ระบบศาลคู่ โดยมีระบบศาลยุติธรรมร่วมกับศาลปกครองในลักษณะคู่ขนาน แยกความรับผิดชอบและมีวิธีการที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 88) ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จากการรัฐประหาร

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ บัญญัติให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ให้ใช้ระบบสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา และในการสรรหาให้คำนึงถึงบุคคลกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 36 คน แต่คงอำนาจกลุ่มรัฐประหาร ในนามของ คมช. ให้ประธาน คมช. มีอำนาจถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ ให้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 88) ประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 อันเนื่องมาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในหลักการมีการกล่าวถึงเจตนารมณ์ว่า จะให้การคุ้มครอง ส่งเสริม และขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ทำการเมืองให้มีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดการปกครองแบบ 2 สภา โดยวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งผสมกับการเลือกตั้ง ในด้านตุลาการยังคงให้ใช้ระบบศาลคู่เช่นเดิม (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 88) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 22 พฤษภา พ.ศ. 2557 อันเนื่องมาจากการรัฐประหาร

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ก็เหมือนหรือคล้ายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ที่ตราออกมาใช้เป็นการชั่วคราวระหว่างรอการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ซึ่งคาดว่านะจะประกาศใช้ได้ในปี พ.ศ. 2558 และแน่นอนว่าเมื่อเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ย่อมมีไม่กี่มาตรา เลือกเขียนเฉพาะมาตราที่จำเป็นเร่งด่วน สำหรับใช้ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านเท่านั้น

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

ฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ราชกิจจานุเบกษา, 2560 : 1-90) ตราไว้ ณ วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร) ถือกำเนิดมาบนแนวคิดในการปฏิรูปในทางการเมือง (Political Reform) มี 16 หมวด 279 มาตรา ประกอบด้วย

  • หมวดที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 1-5)
  • หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 6-14)
  • หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา 25-49)
  • หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 50)
  • หมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐ (มาตรา 51-63)
  • หมวดที่ 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ (มาตรา 64-78)
  • หมวดที่ 7 รัฐสภา (มาตรา 79-157)
  • หมวดที่ 8 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 158-183)
  • หมวดที่ 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (มาตรา 184-187)
  • หมวดที่ 10 ศาล (มาตรา188-199)
  • หมวดที่ 11 ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 200-214)
  • หมวดที่ 12 องค์กรอิสระ (มาตรา 215-247)
  • หมวดที่ 13 องค์กรอัยการ (มาตรา 248)
  • หมวดที่ 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 249-254)
  • หมวดที่ 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 255-256)
  • หมวดที่ 16 การปฏิรูปประเทศ (มาตรา 257-261)
  • บทเฉพาะกาล (มาตรา 226-279)

สรุป

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา
แนวคิดการนำรัฐธรรมนูญมาใช้ในการเมืองการปกครองไทย ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ประเทศไทยได้ติดต่อกับประเทศตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 และค่อยพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้นจนสุกงอมและเกิดการปฏิวัติ เมื่อ พ.ศ. 2475 รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอารัฐธรรมนูญมาใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ  ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก นั่นคือ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยในครั้งนั้นเรียกกันว่า “กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” จนต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475” จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” และถือเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

      • ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560
      • คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น ผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
      • จำนวน 279 มาตรา
      • รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร 500 คน วุฒิสภา 200 คน (วาระเริ่มแรกวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 250 คน)
      • คณะรัฐมนตรี ไม่เกิน 36 คน (นายกรัฐมนตรี 1 คน รัฐมนตรีอื่น 35 คน)

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี กี่ มาตรา

ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย

เอกสารอ้างอิง

  1. กิจบดี ก้องเบญจภุช. (2553). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  2. จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2549). การเมืองการปกครองไทย : จากยุคสุโขทัยถึงสมัยทักษิณ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มายด์ พับลิชชิ่ง.
  3.      . (2557). กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ธนภัทร (2006) พริ้นติ้ง.
  4. ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
  5. ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  6. นรนิติ เศรษฐบุตร. (2558). รัฐธรรมนูญไทยกับการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  7. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2558). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : ความเป็นมากและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
  8. มนตรี รูปสุวรรณ. (2543). กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  9. มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
  10. วิชัย สังข์ประไพ. (2543). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

    • รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
    • สิทธิและเสรีภาพ
    • พิพิธภัณฑ์รัฐสภา (รัฐธรรมนูญ)
    • ย้อนรอยรัฐธรรมนูญ

กลับหน้าหลัก