การจัดซื้อ สัมพันธ์กับ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร บ้าง

ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่องค์กรณ์ควรจะให้ความสำคัญเพราะระบบการผลิตจะเป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้านั้น ๆ

ระบบการผลิตเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าของเราได้อย่างไร?

คำตอบก็คือ ระบบการผลิต จะทำการแปรสภาพสินค้าของเราให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าในที่นี้หมายถึงได้ทั้งผู้บริโภคลำดับสุดท้ายหรือว่าลูกค้าของบริษัทซึ่งอาจจะหมายถึงผู้บริโภคลำดับต่อไปในโซ่อุปทานซึ่งอาจจะยังเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทอื่นๆอยู่ก็เป็นได้

ประเด็นที่ ระบบการผลิต เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ มากที่สุดก็คือเรื่องของปริมาณของวัตถุดิบที่จะต้องสั่งในแต่ละครั้ง ส่วนเรื่องรอง ๆ ลงมาคือปริมาณของสินค้าที่จะผลิตในช่วงเวลาที่บริษัทได้วางแผนไว้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า อีกทั้งการเก็บสต็อคควรต้องสอดล้องสัมพันธ์กับปริมาณและประเภทที่ลูกค้าต้องการอีกด้วย

อีกสิ่งหนึ่งของระบบการผลิตที่โลจิสติกส์สามารถช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็คือ ความหลากหลายของสินค้าที่สามารถใช้วิธีการผลิตแบบเดียวกันได้ ซึ่งในทางโลจิสติกส์เชื่อว่าถ้ามีความหลากหลายมาก ปริมาณต่อล็อตก็จะไม่ค่อยมาก มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบเพื่อที่จะผลิตและสามารถผลิตสินค้าออกมาได้ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งความหลากหลายและยืดหยุ่นนี่จะส่งผลเกี่ยวกับเรื่องการขนส่งและบริการทางด้านคลังสินค้าโดยเฉพาะ

การจัดซื้อ สัมพันธ์กับ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร บ้าง

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อเทคโนโลยีเป็นอีกประการหนึ่งที่ โลจิสติกส์ จะช่วยได้มากได้แก่ ปริมาณการผลิต อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และการจัดตั้งการเปลี่ยนระบบ  สำหรับการขัดขวางทางปริมาณการผลิตก็จะเกี่ยวกับว่าจะผลิตสินค้าได้ครั้งละกี่หน่วยต่อเครื่องจักรหนึ่งเครื่องในระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น สำหรับทางด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก็คือการใช้ เครื่องจักรชนิดหนึ่งเพื่อมาทำงานหลายๆอย่าง บางครั้งโรงงานไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามจำนวนที่ต้องการได้เพราะเครื่องจักรมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอและไม่สามารถปรับให้เข้ากับความหลากหลายและยืดหยุ่นของสินค้าได้ ส่วนเรื่องของการจัดตั้งและเปลี่ยนระบบนี่ก็เป็นเรื่องของการที่ผู้ผลิตต้องการจะผลิตให้ได้หลากหลายและยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้บริโภค จึงทำให้มีการเปลี่ยนหรือซื้ออุปกรณ์มาเพิ่มและบางกรณีการติดตั้งที่ต้องเสียเวลา ทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตเป็นการชั่วคราวส่งผลให้เวลาที่ได้วางแผนไว้จะล่าช้าไปด้วย

สิ่งสุดท้ายที่โลจิสติกส์จะสามารถช่วยระบบการผลิตได้มากถึงมากที่สุดคืิอเรื่องของการกำหนดระยะเวลา นับตั้งแต่สั่งซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งได้รับวัตถุดิบนั้นจากผู้ผลิต โลจิสติกส์ จะช่วยในเรื่องของระยะเวลารอคอยสินค้าที่จะซื้อวัตถุดิบเพื่อที่วัตถุดิบจะมาทันเวลา และไม่ทำให้ระบบการผลิตที่ได้วางแผนไว้ติดขัด โลจิสติกส์จะช่วยในเรื่องของการปริมาณการกักตุนสินค้าเพื่อป้องกันทางเรื่องของความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติหรือในเรื่องของการผิดพลาดทางระบบการผลิต เป็นต้น

เทคนิคต่างๆ ทางโลจิสติกส์ที่จะสามารถช่วยระบบการผลิตของคุณให้มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายลดลงก็คือ การผลิตแบบทันเวลาพอดีได้รับการสนใจอย่างมากในยุคนี้เพราะช่วยบริษัทประหยัดทางด้านค่าคลังสินค้าที่จะต้องเก็บกักตุนวัสดุเพื่อผลิตในล็อตต่อไป การวางแผนความต้องการวัสดุก็เป็นอีกอย่างหนึ่งในเทคนิคโลจิสติกส์ที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก ซึ่งระบบ MRP จะช่วยในการสื่อสารระหว่างผุ้ซื้อและผู้ขายอย่างมาก แนวทางการบริหารคลังินค้าเป็นอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากสองอย่างแรกที่จะช่วยให้องค์กรใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกแบบของผลิตภัณฑ์เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณของวัตถุดิบที่ควรกักตุนไว้ได้

การจัดซื้อ สัมพันธ์กับ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร บ้าง

โลจิสติกสามารถช่วยระบบการผลิตได้อย่่างมากดังที่เห็นจากประโยชน์ข้างต้นที่กล่าวมา แต่ถ้าไม่มีการช่วยเหลือของการไหลเวียนของข้อมูล การสื่อสารของผู้ซื้อและผู้ขายก็จะเป็นไปได้ยากขึ้นและทุกอย่างก็จะใช้เวลานานกว่า

การจัดซื้อ (Purchasing) หมายถึง กระบวนการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ ตามความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรและเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่าง ๆ ใน Supply Chain และทำหน้าที่ในการประสานงานในด้านการไหลของข้อมูลระหว่างองค์กรและผู้ขายวัตถุดิบ เนื่องจากการมีวัตถุดิบพร้อมเป็นปัจจัยด่านแรกที่กำหนดความสามารถในการผลิตสินค้าและการบริการเพื่อนำส่งให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่กำหนด

ดังนั้นกระบวนการ Procurement จึงมีความสำคัญต่อระดับบริการลูกค้าทางด้าน Logistics (Logistics customer service) นอกจากนี้ ต้นทุนการจัดซื้อหรือต้นทุนวัตถุดิบนั้นถือเป็นต้นทุนที่มีอัตราส่วนสูงที่สุดในบรรดาต้นทุนต่าง ๆ ของสินค้าหรือบริการ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีกระบวนการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ

หน้าที่สำคัญของหน่วยงานจัดซื้อ คือ จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบให้มีพร้อมตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ อย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด ซึ่งรวมถึง การเลือกสรรผู้ขายวัตถุดิบที่เหมาะสม การสั่งซื้อ และการตรวจสอบควบคุมการทำงานของ Supplier แต่ละรายเพื่อตรวจสอบหาจุดที่ควรปรับปรุงเพื่อที่จะปรึกษากับ Supplier รายนั้น ๆ เพื่อหาวิธีที่ดีเหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา หรือพัฒนา

การจัดซื้อในห่วงโซ่อุปทาน(Purchhasing) หมายถึง กระบวนการที่บุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ (Buyer) ทำสัญญากับอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้จัดหาหรือผู้ขาย (Vender) ให้ทำการส่งมอบวัตถุดิบ ชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือเครื่องมือ สินค้าสำเร็จรูป หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้การผลิต
บทบาทของการจัดซื้อที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ด้านการผลิต

  • 1.สนับสนุนให้การผลิตสินค้าและบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ
  • 2.เพื่อให้ได้มาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและทำให้ลดของเสียที่เกิดขึ้นในสายการผลิต
  • 3.ทำให้การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านต้นทุนและค่าใช้จ่าย

  • 1.ก่อให้เกิดการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายหากสามารถจัดซื้อวัตถุดิบได้ใน ราคาที่เหมาะสมหรือต่ำกว่าคู่แข่ง
  • 2.บทบาทของการจัดซื้อในการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสมใน การเป็นแหล่งสำรองวัตถุดิบ ทำให้เป็นการประหยัดต้นทุนรวม
  • 3.ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดภาระด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ

ด้านการตลาดและภาพลักษณ์ขององค์การ

  • 1.การจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพมีผลต่อการรักษาหรือขยายส่วนแบ่งทางด้านการตลาด
  • 2.ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่สามารถจัดหาวัตถุดิบหรือสินค้าได้ทันกับความต้องการของลูกค้า

ประเภทของสิ่งที่ธุรกิจต้องการการจัดซื้อโดยทั่วไป ได้แก่

  • 1.วัตถุดิบ (Raw Materials)
  • 2.ชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือส่วนประกอบ (Components)
  • 3.วัสดุสำหรับการรักษา ซ่อมบำรุงและการผลิต (Maintenance Repair and Operating Material)
  • 4.สินค้าหรือเครื่องมือประเภททุน (Investment or Capital Equipment)
  • 5.สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)
  • 6.การบริการ (Service)

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related Posts

  • โซ่อุปทาน หรือห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คืออะไร ?
  • มารู้จัก 1PL 2PL 3PL 4PL และ 5PL คืออะไร ?
  • งานแสดงสินค้าและงานประชุมด้านคลังสินค้า Asia Cold Chain Show & Asia Warehousing Show 2017
  • คำศัพท์การจัดซื้อ (purchase) และซัพพลายเออร์ (supply) มีอะไรบ้าง ?
  • ความแตกต่างโลจิสติกส์ (Logistics) กับ ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) คืออะไร ?