เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

หม้อต้มน้ำร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องทำน้ำร้อน
เครื่องทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม

Boiler Water Heater

DUX STIEBEL ELTRON RHEEM
เครื่องทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม  เครื่องทำน้ำร้อนแบบผ่านร้อน

หม้อต้มน้ำร้อน
1. เครื่องทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม

          หลักการทำงานคือจะมีขดลวดความร้อน (ฮีตเตอร์) อยู่ในถังเก็บน้ำ ซึ่งขนาดของถังจะมีตั้งแต่ 15 ลิตรขึ้นไปและจะสามารถเก็บความร้อนไว้ได้นานหลายชั่วโมง เมื่อเปิดสวิตช์ของเครื่องทิ้งไว้ ขดลวดความร้อนจะทำให้น้ำในถังเก็บร้อนอยู่ตลอดเวลา เมื่อความร้อนถึงระดับที่กำหนดเครื่องก็จะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ แต่เมื่อน้ำในหม้อต้มลดลงมาประมาณ 8-10องศา เทอร์โมสตัทก็จะสั่งให้ฮีตเตอร์ทำความร้อนเพิ่มขึ้นมาให้ได้ตามที่ตั้งใว้ หรือเมื่อมีการเปิดใช้งานน้ำร้อนออกไป น้ำเย็นก็จะเข้าไปแทนที่ น้ำที่เข้าไปจะทำให้อุณหภูมิน้ำร้อนภายในลดลง เทอร์โมสตัทก็จะต่อไฟให้ขดลวดความร้อน (ฮีตเตอร์) ก็จะทำงานอีกครั้งโดยอัตโนมัติ

การใช้หม้อต้มน้ำร้อน ควนคำควณปริมาณการใช้ จำนวนจุดให้งาน และสุขภัณฑ์ต่างๆ ว่าควรใช้งานขนาดหม้อต้มกี่ลิตร จึงจะเหมาะสมและเพียงพอ

หม้อต้มน้ำร้อน กำลังไฟอาจจะไม่เยอะ แต่ก็ต้องเปิดให้ฮีตเตอร์ทำความร้อนให้ได้อุณหภูมิทั่วทั้งถังก่อนในครั้งแรงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่หลังจากนั้น น้ำร้อนก็จะหมุนเวียนเข้าไปทำอุณหภูมิเตรียมใว้ใช้งาน
หม้อต้มน้ำร้อน ต้องมีพื้นที่ในการติดตั้ง เพราะขนาดเครื่องจะใหญ่แล้วแต่ขนาดความจุ แต่จะทำอุณหภูมิได้สูงกว่า การไช้งานก็จะมากกว่า ผสมน้ำในการใช้ก็จะคงที่กว่าเครื่องทำน้ำร้อน
2. เครื่องทำน้ำร้อนแบบผ่านร้อน

          จะมีขดลวดความร้อนแช่อยู่ในหม้อน้ำ (แท้งค) หรือจะเป็นแบบขดลวดแล้วเป็นท่อแนบ หรือน้ำผ่านตามท่อขดลวดเลยก็มี แต่หม้อน้ำนี้จะมีขนาดเล็กกว่า ไม่มีระบบฉนวนป้องกันการเสียความร้อน และไม่ได้ทำหน้าที่เป็นถังเก็บน้ำ หม้อน้ำดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นจุดดักน้ำที่ไหลผ่านให้มารวมกันและค้างอยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการถ่ายเทความร้อนจากขดลวดไปยังน้ำที่อยู่ในหม้อน้ำ

(แท้งค์) และน้ำก็จะเป็นน้ำร้อนไหลออกทางท่อน้ำร้อน ไปตามจุดใช้งานที่จะต่อเป็นก๊อกผสมเพื่อใช้งาน

เครื่องทำน้ำร้อนแบบผ่านร้อน กำลังไฟจะสูงกว่าหม้อต้ม แต่ก็เปิดใช้งานได้เลย เครื่องจะเปิด ปิด ตามการใช้งาน แต่อุณหภูมิ และปริมาณน้ำจะสู้หม้อต้มไม่ได้ แต่ถ้าใช้งานบ้านทั่วไปไม่มีปัญหา ขนาดเครื่องเล็ก ติดตั้งง่าย ทั้งใต้เคาท์เตอร์ บนฝ้า ในห้องน้ำ

การใช้งานทั้งเครื่องทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม และเครื่องทำน้ำร้อนแบบผ่านร้อน ก็คือใช้งานได้หลายจุด โดยใช้วาล์วผสมเป็นตัวผสมน้ำร้อน กับน้ำเย็นเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ ตามจุดใช้งานต่างๆ

      หลายคนในที่นี้คงคิดว่าเครื่องทำน้ำอุ่นกับเครื่องทำน้ำร้อนไม่เหมือนกันเหรอ???? ใช่แล้วล่ะค่ะ เครื่องทำน้ำร้อนกับเครื่องทำน้ำอุ่นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีเพียงการทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นนี่คือข้อเดียวที่ทั้งสองอย่างมีเหมือนกันแต่ทั้งกระบวนการทำงาน และกระบวนการติดตั้ง ช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยล่ะค่ะ วันนี้ทางบาริโอบริษัทออกแบบตกแต่งภายในของเราจึงจะพาแฟนๆ ไปทำความรู้จักกับเครื่องทำน้ำร้อน และเครื่องทำน้ำอุ่นกันว่าแต่ละอย่างมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร.....

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

เครื่องทำน้ำอุ่น

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

 เครื่องทำน้ำร้อน

เครื่องทำน้ำอุ่น


      เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานคู่กับฝักบัวหรือก๊อกน้ำได้โดยตรงแต่จะนิยมใช้กับฝักบัวซะส่วนใหญ่โดยจะติดโชว์เครื่องไปและมีการต่อตรงง่ายๆ ธรรมดา โดยจะเป็นตัวกลางเปลี่ยนน้ำให้มีความร้อนขึ้นด้วยฮีตเตอร์ และปล่อยกระแสน้ำออกมา เพื่อให้น้ำเย็น ๆ ถูกแปรเปลี่ยนเป็นน้ำอุ่นในระหว่างใช้งาน


   เครื่องทำน้ำอุ่นจริงนิยมใช้กับหอพักและบ้านที่มีห้องน้ำและจุดจ่ายน้ำไม่มากนัก มีการควบคุมความปลอดภัยโดยการต่อสายดินและติดตั้งระบบตัดไฟโดยตรง

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

      การทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่นนี้เริ่มจากน้ำเย็นไหลเข้าเครื่อง ตามรูปด้านล่างนี้ก็คือสายที่มาจากก๊อกน้ำ เมื่อน้ำผ่านเข้าไปในเครื่องก็จะมีกระบวนการทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำอุ่นที่ออกมาจากตัวเครื่องถูกต่อเข้าฝักบัวโดยตรง แปลว่าน้ำที่เราอาบก็คือน้ำที่ออกจากเครื่อง 100% ถ้าเราอยากให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก็ปรับได้ที่ตัวเครื่อง

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

เครื่องทำน้ำร้อน


      เครื่องทำน้ำร้อนจะแตกต่างจากเครื่องทำน้ำอุ่นทั้งอุณหภูมิที่สูงกว่าและนิยมใช้มากกับการออกแบบตกแต่งภายในห้องน้ำเพื่อความสวยงามในการซ่อนเครื่องทำน้ำร้อนเพราะตัวเครื่องทำน้ำร้อนจะใช้เพียงตัวเดียวแต่สามารถที่จะกระจายระบบการทำงานไปยังก๊อกน้ำต่างๆให้น้ำเกิดความร้อนได้อย่างเป็นระบบโดยเราสามารถซ่อนตัวเครื่องไว้ได้อย่างสวยงาม


      เครื่องทำน้ำร้อนมักจะนิยมใช้กับบ้านที่ห้องน้ำหลายห้อง หรือสำหรับอพาร์ตเม้นในต่างประเทศจะมีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนหนึ่งตัวสำหรับทั้งหอพักเพื่อความสะดวกในการใช้งาน


      เครื่องทำน้ำร้อนจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างออกไป น้ำเย็นที่ไหลเข้าตัวเครื่องจะถูกทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนกลายเป็นน้ำร้อน (อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องทำน้ำอุ่น) น้ำร้อนที่ออกมาจากเครื่องจะไม่ต่อตรงเข้าฝักบัวในทันที แต่จะต้องผ่านก๊อกผสมน้ำก่อน ซึ่งเราสามารถปรับระดับความร้อนของน้ำที่อาบได้ที่ก๊อกนี้โดยไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับตัวเครื่องเลย ถ้าอยากได้น้ำร้อนมากขึ้น ก็ดันก้านก๊อกขึ้นด้านบน หรือก๊อกบางแบบก็ใช้วิธีบิดไปทางซ้าย ส่วนถ้าอยากได้น้ำเย็นลงก็ดันก้านก๊อกลงหรือบิดไปทางขวา

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

การติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องทำน้ำร้อน


การติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น


           เลือกตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น โดยควรให้เครื่องทำน้ำอุ่นอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.6 เมตร หรืออาจสูงกว่านั้นได้นิดหน่อยตามความสูงของผู้ใช้งาน จากนั้นใช้สว่านแบบกระแทกเจาะลงไปบนผนัง เพื่อฝังพุกสำหรับยึดเครื่องทำน้ำอุ่น


      เดินสายไฟจากสายหลัก มายังห้องน้ำ เพื่อเตรียมตัวต่อเข้ากับเครื่องทำน้ำอุ่น เพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งเบรกเกอร์บริเวณหน้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจทำอันตรายได้ หากในบ้านมีระบบสายดิน ให้ต่อสายดินเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย เพื่อป้องกันไฟดูด หากในบ้านไม่มีระบบสายดิน ให้ต่อสายดินเครื่องทำน้ำอุ่น โดยเสียบสายดินเข้ากับจุดต่อที่เครื่องทำน้ำอุ่น จากนั้นลากสายออกไปต่อลงดิน โดยใช้แท่งทองแดงทำเป็นหลักดิน โดยต้องปักให้ลึกอย่างน้อย 1.5 เมตร ต่อสายไฟเครื่องทำน้ำอุ่นตามคู่มือ ปิดวาล์วน้ำและต่อฝักบัวเข้ากับเครื่องทำน้ำอุ่นในบริเวณท่อปล่อยน้ำเมื่อเสร็จแล้วให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบความรั่วซึมอีกครั้ง

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

การติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อน


          ถ้าเป็นเครื่องทำน้ำร้อนส่วนใหญ่ตัวเครื่องจะสเปคไว้ว่าสามารถต่อได้กี่จุด แต่เครื่องทำน้ำร้อนส่วนใหญ่สามารถต่อได้อย่างน้อย 2 จุด ส่วนมากจะนิยมวางไว้ใต้อ่างล้างหน้าแล้วทำประตูปิดหรือมักจะเก็บซ่อนไว้ในผนังและปิดตกแต่งเพื่อความสวยงาม


      ส่วนการเดินท่อจะนิยมให้ช่างประปามาเดินให้แต่ต้องใช้ท่อสำหรับน้ำร้อนโดยเฉพาะนะคะ มีให้เลือกกันหลายแบบเลยทีเดียว แต่แนะนำให้ท่อน้ำร้อน PP-R คุณภาพ มาตรฐานเยอรมัน แต่นอกจากตัวนี้ก็ยังมีแนะนำอีกหลายตัวนะคะลองศึกษาดู แต่ถ้าอยากได้แบบราคาถูกน้ำหวานแนะนำท่อเหล็กเลยค่ะแต่จะทำให้เป็นสนิมและเกิดการรั่วซึมได้ง่ายนะคะอันนี้บอกไว้ก่อน


คำเตือน: ห้ามใช้ท่อธรรมดาเป็นอันขาด (ท่อสีฟ้า)


      ส่วนการเดินท่อก็สามารถฝังเข้าผนัง เหมือนการเดินท่อประปาทั่วไปได้เลยค่ะ ถ้าเครื่องทำน้ำร้อนสามารถต่อได้หลายจุดก็สามารถเดินท่อน้ำเย็นเข้าเครื่องแล้วออกมาเป็นน้ำร้อนและแยกไปยังจุดต่างๆ ส่วนใหญ่มักนิยมเดินทางฝ้าเพดาน แล้วแยกตามจุดที่ต้องการ หรือถ้ามีพื้นที่พอสมควรก็สามารถฝังผนังได้เลยค่ะ

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

เครื่องทำน้ำร้อนก็จะมี 2 ชนิดด้วยกันคือแบบขดลวด และแบบหม้อต้ม


      แบบขดลวดจะมีราคาไม่แพง และสามารถทำความร้อนได้รวดเร็วเมื่อเปิดก๊อกก็สามารถสัมผัสได้ถึงความร้อนทันที แต่ข้อเสียคือ จะร้อนไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวร้อนเดี่ยวเย็นแล้วแต่แรงดันน้ำค่ะ


      ส่วนแบบหม้อต้มมักจะนิยมใช้ในโรงแรมใหญ่ๆ และอพาร์ตเม้นต์นของต่างประเทศ เพราะต้องมีพื้นที่วางหม้อต้มขนาดใหญ่และเวลาใช้งาน ต้องรอน้ำเดือดก่อนถึงจะใช้งานได้แต่ค่อนข้างจะกินไฟ แต่ถึงจะกินไปแต่ก็ทำความร้อนได้เสมอต้นเสมอปลายไม่มีตะกุกตะกักเลยล่ะค่ะ!!

      แต่ถ้าเป็นเครื่องทำน้ำอุ่นก็มักจะใช้กับบ้านที่ต้องการต่อน้ำเพียงจุดเดียวหรือหอพักทั่วไป เพื่อง่ายต่อการควบคุมดูแลเพราะขั้นตอนการติดตั้งค่อนข้างจะง่ายกว่าเครื่องทำน้ำร้อน 

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด
 

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

ความปลอดภัยของเครื่องทำน้ำร้อน และเครื่องทำน้ำอุ่น


      อันตรายของเครื่องใช้ไฟฟ้ากับน้ำเป็นของคู่กัน ดังนั้นเราควรที่จะคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากคะมาดูตัวแรกกันเลยคือเครื่องทำน้ำอุ่น เราควรติดตั้งสายดินอันนี้เป็นอันขาด ไม่ได้เลยนะคะกับสายดินเพราะเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งของไฟฟ้าลัดวงจร นอกจากสายดินแล้วเราควรติดตั้งสวิตช์ตัดไฟไว้หน้าห้องน้ำเพื่อความปลอดภัย และที่สำคัญก่อนเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นค่ะ เพื่อความปลอดภัยของชาว บาริโอนะคะ...


      นอกจากน้ำอุ่นแล้วเครื่องทำน้ำร้อนก็เช่นเดียวกันคะ แต่การติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนนั้นต้องดูเรื่องสายไฟเป็นหลักเพราะบ้านบางหลังมีสายไฟเครื่องทำน้ำอุ่นไว้แค่เบอร์4 แต่เครื่องทำน้ำร้อนค่อนข้างจะกินไฟสูง จึงต้องใช้สายไฟเบอร์6 ไม่อย่างนั้นจะเกิดปัญหาไฟไม่เพียงพอก็จะทำให้ไปภายในบ้านตัดไป


      นอกจากนี้ควรติดเบรกเกอร์ไว้ต่างหากอย่างน้อยต้องอย่างน้อยๆ ก็ 32 amp เอารุ่นที่มีกันไฟดูดติดก่อนไฟเข้าเครื่องเมื่อเกิดการช๊อต จะมีการตัดของไฟทำให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น


      เครื่องทำน้ำร้อนจะต่างจากเครื่องทำน้ำอุ่นที่ต้องต่อสายดินแยกเพราะ ตัวเครื่องโดนน้ำโดยตรงแต่ตัวเครื่องทำน้ำอุ่นแทบไม่มีจุดไหนโดนน้ำเลย และตัวเครื่องทำน้ำร้อนจะมีไฟเลี้ยงตลอดเมื่อเปิดน้ำจึงสามารถใช้น้ำอุ่นได้เลยค่ะ

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

      จะสังเกตได้ว่าห้องน้ำที่มีการออกแบบภายในที่สวยงามมักจะนิยมใช้เครื่องทำน้ำร้อนเพื่อความสวยงามของห้องน้ำและไม่ต้องเปิดเครื่องใช้งานแต่จะทำงานอัตโนมัติตามความต้องการเลยคะ

เครื่องทำน้ำร้อน แบบหม้อต้ม กับ ขดลวด

ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นก็หาซื้อง่ายและราคาไม่แพงซึ่งต่างจากเครื่องทำน้ำร้อน


      เป็นไงกันบ้างคะสำหรับเรื่องของเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อนสำหรับใครหลายๆคน ที่ยังไม่รู้ วันนี้น้ำหวานก็ขอฝากสาระดีๆไว้เท่านี้หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการตกแต่งภายในห้องน้ำกันนะคะ ในครั้งหน้าน้ำหวานจะนำการเลือกซื้อและและการเลือกใช้งานเครื่องทำน้ำร้อนและเครื่องทำน้ำอุ่น ที่เหมาะกับบ้าน พร้อมครั้งเคล็ดลับการใช้งานและเลือกใช้งานมาฝากแฟนๆบาริโอกันด้วยอย่าลืมติดตามกันในภาค 2 นะคะ....


ที่มา: http://www.manager.co.th/ibizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000109622
http://macroart.net/2013/05/water-heater/