แนวทาง การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 

             หมายถึง หมายถึงอาชญากรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการหลอกลวงเพื่อเลี่ยงภาษีหรือเพื่อจะได้สวัสดิการต่างๆ ยักยอกเงินจากบัตรเครดิตของคนอื่น และไม่ส่งสินค้าให้ผู้สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ยังรวมถึงแผนฉ้อฉล เช่น หลอกให้ลงทุนหรือประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ต

แนวทางการแก้ไขปัญหา

-ด้านตัวผู้ใช้งาน

  1. การว่าจ้างอย่างรอบคอบและระมัดระวัง(Hirecarefully)  ดังที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่าปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มาจากพนักงานภายในองค์กร  ดังนั้นในกระบวนการจ้างคนเข้าทำงานต้องดูคนที่ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ  เป็นการยากที่จะสรรหาคนดังกล่าว  แต่เราสามารถสอบถามดูข้อมูลอ้างอิงเก่าๆ  ของเขาได้  หรือดูนิสัยส่วนตัวว่าดื่มสุรา  สูบบุหรี่  และเล่นการพนันหรือไม่  สิ่งเหล่านี้ประกอบกันเข้าจะเป็นสิ่งบ่งชี้นิสัยของคนได้

  2. ระวังพวกที่ไม่พอใจ (Beware  of  malcontents) ปัญหาหลักในการป้องกันอาชญากรคอมพิวเตอร์ก็คือพนักงานในองค์กรนั้นเอง  พนักงานเหล่านั้นมีความรู้และความเชียวชาญในระบบคอมพิวเตอร์แต่ไม่พอใจการบริหารงานของผู้บังคับบัญชาเนื่องจากไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่  บางครั้งถูกให้ออกจากงาน  และเกิดความแค้นเคือง  ทำให้มีการขโมย  การทำลาย  หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญภายในองค์กร

  3. การแยกหน้าที่รับผิดชอบของพนักงาน (Separate  employee  function)  ในกลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันเรากำหนดและบ่งบอกว่าใครคนใดคนหนึ่งเป็นอาชญากรทางคอมพิวเตอร์นั้นคงยาก  มีวิธีการใดบ้างที่จะแก้ปัญหาถ้าหากมีคนไม่ดีซึ่งประสงค์ร้ายต่อข้อมูลขององค์กร  ได้มีหลายบริษัททีเดียวที่พยายามจัดรูปแบบการทำงานของพนักงานที่คาดว่าน่าจะล่อแหล่มต่อการก่ออาชญากรรมข้อมูล  เป็นต้นว่า  คนที่มีหน้าที่จ่ายเช็ค  (Check)  ในองค์กรก็ไม่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ปรับข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน  หรือแม้แต่ในบางธนาคารก็จะกันพื้นที่จำเพาะบางส่วนในเช็คไว้ให้เป็นพื้นที่สำหรับเจ้าของเช็คได้ทำการเซ็นชื่อ

  4. การจำกัดการใช้งานในระบบ (Restrict  system use)  คนในองค์กรน่าที่จะมีสิทธิในการใช้ทรัพยากรข้อมูลเท่าที่เหมาะสมกับหน้าที่งานของเขาเท่านั้น  แต่ก็ยากที่จะบ่งชี้ชัดแบบนี้  องค์กรเองต้องหาขั้นตอนวิธีใหม่ในการควบคุมข้อมูลที่สำคัญขององค์การ  เราอาจจะไม่อนุญาตให้พนักงานมีการดึงหรือเรียกใช้ข้อมูลเกินลักษณะงานที่เขาควรจะเรียนรู้  โดยซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สามารถควบคุมการใช้ข้อมูลดังกล่าวได้  ยิ่งกว่านั้นเราควรกำหนดขั้นตอนการทำงานและลักษณะการใช้งานของข้อมูลไว้ด้วย  ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูล  และลักษณะเฉพาะขององค์กรนั้นๆ เองด้วย

  5. การป้องกันทรัพยากรข้อมูลด้วยรหัสผ่านหรือการตรวจสอบการมีสิทธิใช้งานของผู้ใช้  (Protect resources  with  passwords  or  other  user authorization  cheeks  a  password)   รหัสผ่าน (Password)  เป็นกลุ่มข้อมูลที่ประกอบไปด้วยตัวอักษร  ตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่นๆ  ที่ประกอบกันเข้า  และใช้สำหรับป้อยเข้าในระบบคอมพิวเตอร์  เพื่อเราสามารถที่จะใช้งานซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้อย่างถูกต้อง  และจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มคนที่มีรหัสผ่านเท่านั้น  เช่น  การใช้งานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe)  และการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจำเป็นต้องใช้รหัสผ่าน  เพราะระบบดังกล่าวออกแบบมาสำหรับผู้ใช้หลายๆ คน  และใช้ในเวลาเดียวกันได้ด้วยอย่างไรก็ตามรหัสผ่านต้องได้รับการเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ  ในช่วงเวลากำหนด ทั้งนี้เพื่อป้องกันและลดการล่วงรู้ไปถึงผู้อื่นให้น้อยที่สุด

  6. การเข้ารหัสข้อมูลโปรแกรม  (Encrypt  data and  programs)  การเข้ารหัสข้อมูลเป้นกระบวนในการซ้อนหรือเปลี่ยนรูปข้อมูลและโปรแกรมให้อยู่ในรูปของรหัสชนิดใดชนิดหนึ่ง  เพื่อไม่ให้คนอื่นทราบว่าข้อมูลจริงคืออะไร  ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญขององค์กรจำเป็นต้องเข้ารหัสก่อนการส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจจะจัดหาโปรแกรมการเข้ารหัสที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือจะพัฒนาขึ้นมาใหม่เองก็ได้  ในปี  ค.ศ  1988  วิธีการเข้ารหัสข้อมูลได้รับการพัฒนาขึ้นจากสำนักกำหนดมาตรฐานในสหรัฐอเมริกา  และธนาคารก็ได้ใช้ในการทำธุรกิจของตนเอง และการติดต่อกับกรมธนารักษ์ด้วย

  7. การเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของระบบข้อมูล (Monitor  system  transactions)  ในการเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของระบบข้อมูลเคลื่อนไหว  หรือระบบจัดทำรายการต่างๆ  นั้นจะมีโปรแกรมช่วยงานด้านนี้โดยเฉพาะโดยโปรแกรมจะคอยบันทึกว่ามีใครเข้ามาใช้ระบบบ้าง  เวลาเท่าใด  ณ  ที่แห่งใดของข้อมูล  และวกลับออกไปเวลาใดแฟ้มข้อมูลใดที่ดึงไปใช้ปรับปรุงข้อมูล  เป็นต้นว่า  ลบ  เพิ่ม  เปลี่ยนแปลงอื่นๆ  นั้นทำที่ข้อมูลชุดใด

  8. การตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ  (Conduct frequent  audit)  อาชญากรคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะถูกเปิดเผยและถูกจับได้โดยความบังเอิญ  บางครั้งก็ใช้เวลานานทีเดียวกว่าจะจับได้  ในกรณีตัวอย่างของนาย  M. Buss  และ  Lynn salerno ได้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในการลักลอบดึงข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตจากสำนักงานเครดิตและใช้บัตรดังกล่าวซื้อสินค้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน  50,000 เหรียญสหรัฐฯ และในที่สุดถูกจับได้เมื่อบุรุษไปรษณีย์ เกิดความสงสัยว่าทำไมถึงมีจดหมายและพัสดุต่างๆ

          9.  การให้ความรู้ผู้ร่วมงานในเรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล  (Educate  people  in  security measures)  พนักงานทุกคนควรต้องรู้ระบบความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรเป็นอย่างดี  ในกรณีตัวอย่างของพนักงานไม่พอใจผู้บริหารอาจเนื่องมาจากการที่ไม่ได้รับเลื่อนตำแหน่งหน้าที่  หรือเรื่องอื่นๆ  พนักงานในลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะคุกคามระบบความปลอดภัยข้อมูลขององค์กร  โดยพยายามที่เข้าไปดูข้อมูลที่สำคัญขององค์กร  และสอบถามข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยซึ่งไม่ใช่ภารกิจหรือหน้าที่ของพนักงานคนดังกล่าวที่จะต้องทำเช่นนั้น

-ทางภาครัฐบาล

            1.ควรมีการวางแนวทางและกฎเกณฑ์ในการรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทราบว่าพยานหลักฐานเช่นไรควรนำเข้าสู่การพิจารณาของศาล  เพื่อให้ลงโทษผู้กระทำความผิดได้

            2.ให้มีคณะทำงานในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ พนักงานสอบสวนและอัยการอาจมีความรู้ความชำนาญด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์น้อย  จึงควรให้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในด้านดังกล่าว  เข้าร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินคดี

            3.จัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะในการป้องปรามและดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าว

            4.บัญญัติกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมอาชญากรรมคอมพิวเตอร์  กฎหมายเฉพาะดังกล่าวต้องครอบคลุมการกระทำอันเป็นความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภท  และไม่กำหนดความผิดแก่การกระทำที่ผิดมารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์แต่ถึงขนาดไม่เป็นความผิดอาญา

             5.ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งโดยสนธิสัญญาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา หรือโดยวิธีการอื่น  ในการสืบสวนสอบสวน  ดำเนินคดี  และการป้องปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

              6.เผยแพร่ความรู้เรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ให้เข้าใจแนวคิด วิธีการของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์  เพื่อป้องกันตนจากอาชญากรรม

ส่งเสริมจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์  ทั้งโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคคลทั่วไปในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง  และโดยการปลูกฝังเด็กตั้งแต่ในวัยเรียนให้เข้าใจกฎเกณฑ์  มารยาทในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายดังกล่าว

แหล่งที่มาของข้อมูล :

http://www.jw.org/th/สิ่งพิมพ์และวีดิทัศน์/วารสาร/g201305/วิธี-ป้องกัน-ตัว-จาก-อาชญากรรม/

Show

http://bcom-technology.blogspot.com/2012/02/blog-post_238.html

http://course.eau.ac.th/course/Download/0000713/Lesson12

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

รับมือกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ควรเริ่มต้นจากการป้องกัน.
1. Backupข้อมูลสำคัญ ๆ อยู่เสมอ.
2. ระวังทุกครั้งเมื่อใช้ Email. ... .
3. ตั้ง Passwordที่ซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะ ... .
4. อัพเดตโปรแกรมด้านความปลอดภัยเสมอ.

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ใดใช้ได้ผลมากที่สุด เพราะเหตุใด

วิธีป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์.
1) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว.
2.ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง.

ความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง

การโจรกรรมหรือการขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต.
การปกปิดความผิดของตัวเอง เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ปกปิดความผิดตนเองโดยตั้งรหัสไม่ให้คนอื่นรู้.
การละเมิดลิขสิทธ์.
ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพหรือเสียงลามกอนาจาร.
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฟอกเงิน.
อันตพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปก่อกวน.
การหลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม.

ข้อใดคือการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย