การแบ่ง generation ตามปีเกิด

เราเชื่อว่า Silent Generation คนรุ่นปู่รุ่นย่า อายุ 70-80 ที่เกิดในช่วงหลังสงครามโลกที่ 2 เป็นช่วงที่โลกเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ด้วยสภาพสังคมคนรุ่นนั้นก็ต้องอดทนและใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้นประชาชนก็สามารถสร้างกิจการ สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาได้ ด้วยสภาพสังคมทำให้เป็นคนเคร่งครัด ขยันอดทน ขณะที่เด็ก Gen Y ที่เกิดมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี ความรวดเร็วทำให้คนรุ่นนี้ขี้เกียจและหลงตัวเอง

ทฤษฎีและความเชื่อเรื่อง ‘ช่วงวัย’ ว่าคนแต่ละวัยเป็นอย่างไรก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่พยายามอธิบายและทำความเข้าใจคนอย่างคร่าวๆ แต่ระยะหลังดูเหมือนว่าคำอธิบายพวกนี้จะกลายเป็น ‘คำอธิบายสำคัญ’ โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจที่นิยมใช้ทั้งในแง่ของการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายไปจนถึงการบริหารงาน เพราะในการทำงานเราจะมีเจ้านายอายุมากกว่าที่มีทัศนคติแตกต่างจากลูกน้อง มักมีคำพูดแบบ จะจัดการพวกพนักงานเจนวายที่ไม่อดทน เปลี่ยนงานใหม่ได้ยังไง

แนวคิดเรื่อง Generations มาจากไหน จริงๆ เป็นแนวคิดที่นักสังคมศึกษาเพิ่งจะพัฒนาขึ้นเมื่อช่วงศตวรรษที่ 20 นี้เอง

 

การแบ่ง generation ตามปีเกิด

LinkedIn

 

Generations มาจากไหน

แนวคิดเรื่อง Generations แบบที่เรานิยมแบ่งกันเป็นแนวคิดใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 20 นี้เอง คำว่า Generation สมัยก่อนหมายถึง ‘รุ่นของคนในครอบครัว’ เป็นหลักแบบคนรุ่นย่ารุ่นยาย จนกระทั่ง Karl Mannheim นักสังคมศาสตร์ชาวฮังกาเรียนตีพิมพ์งานชื่อ The Problem of Generations ในปี 1923

งานของ Karl Mannheim เสนอและศึกษาว่านี่ไงผู้คนในสังคมยังไงก็ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคมและทางประวัติศาสตร์ คนในยุคหนึ่งๆ ที่เกิดและเติบโตขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์ใหญ่ๆ บางอย่างร่วมกันก็จะมีลักษณะอย่างหนึ่ง และลักษณะนั้นๆ ก็จะมากำหนดอนาคตของโลกใบนี้ต่อไป แต่แมนไฮมน์เองก็บอกว่าถึงเหตุการณ์สำคัญอย่างสงครามโลกหรือนวัตกรรมที่มีผลกับชีวิตจะมีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัยของผู้คน แต่ว่าไอ้แนวคิดเรื่องเจนเนอเรชั่นนี้ก็ใช่ว่าจะอธิบายได้อย่างสัมบูรณ์ คือถึงคนจะเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน แต่คนก็มีภูมิหลังอื่นๆ ที่หลากหลายเช่นพื้นที่ ชนชั้น หรือวัฒนธรรมที่ต่างกัน ดังนั้นท่าทีหรือทัศนคติของคนนั้นถึงจะเจอเหตุการณ์เดียวกัน แต่สุดท้ายก็มีความจำเพาะเจาะจงอยู่ดี

 

การแบ่ง generation ตามปีเกิด

Wikipedia

ที่มาของแต่ละ Gen ใครเป็นคนเรียก

ด้วยความที่แต่ละเจนเกิดจากการสังเกตการณ์ของแต่ละยุค ดังนั้นพวกชื่อแต่ละเจนก็เกิดจากกระแสและคำเรียกที่มันค่อยๆ ก่อตัวเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้น

คำเช่น Baby Boomer อ้างอิงถึงอัตราการเกิดของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น Oxford English Dictionary บอกว่าคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ The Washington Post จนกระทั่ง William Strauss และ Neil Howe นักทฤษฎีที่ศึกษาประวัติศาสตร์อเมริกาและเชื่อมโยงเข้ากับช่วงวัยของผู้คนนิยามคนยุค Boomer ว่าคือกลุ่มคนที่เกิดช่วงปี 1943 ถึง 1960 เป็นกลุ่มคนที่เด็กเกินกว่าจะมีความทรงจำเกี่ยวกับตัวสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่แก่พอที่จะจดจำผลกระทบของสงครามได้ ส่วนคำว่า Generation X เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อสื่อถึงกลุ่มวัยรุ่นทำตัวแปลกแยกจากสังคมบ่อยครั้ง

 

การแบ่ง generation ตามปีเกิด

BBC

 

ปัญหาในตัวเองของการแบ่งคนด้วยปีเกิดก็อย่างที่แมนไฮมน์ว่าคือถึงเราจะผ่านเหตุการณ์เดียวกันมาแต่ท่าทีของคนที่มีต่อเหตุการณ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้การแบ่งคนแต่ละเจนจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีที่มีต่อผู้คน

Greatest Generation (หรือ G.I. Generation) เกิดระหว่างปี พ.ศ.2444-2467 (ค.ศ.1900-1924) คนยุคนี้อยู่ในยุคที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความยากลำบากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ คนยุคนี้น่าจะมีความอดทนและรู้จักการใช้เงิน รู้จักประหยัดเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวหนีจากความลำบาก

Baby Boomer (หรือ Gen-B) เกิดระหว่างปี พ.ศ.2489-2507 (ค.ศ.1946-1964) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่มีค่านิยมที่จะต้องมีลูกหลายคนเพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ มีการเพิ่มอัตราประชากรอย่างรวดเร็ว คนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มแรกที่เติบโตมาในยุคเศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบัน Baby Boomer คือกลุ่มคนที่เข้าสู่ช่วงวัยกลางคนตอนปลายและเริ่มเข้าสู่วัยชรา ปัจจุบันนี้ Baby Boomer ยังถูกมองว่ามีบุคลิกอดทน ใจเย็น รอคอยได้ ไม่รีบร้อน และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ลักษณะนิสัยที่โดดเด่นคือการทำงาน มัธยัสถ์ รู้จักใช้จ่าย และเป็นผู้นำทางความคิด ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่มีทัศนะคติแบบ 'อนุรักษนิยม' สำหรับในประเทศไทยคนรุ่นนี้มีประสบการณ์ยุคสงครามเย็น และการปกครองโดยเผด็จการทหาร

Generation X (หรือ Gen-X) เกิดระหว่างปี พ.ศ.2508-2522 (ค.ศ.1964-1979) อาจเรียกอีกชื่อว่า ‘Yuppie’ ที่ย่อมาจาก Young Urban Professionals รุ่นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต่อจากยุค Baby Boomer คน Gen-X เป็นคนยุคแรก ๆ ที่พ่อและแม่ต้องออกไปทำงาน บางครอบครัวมีการหย่าร้าง คน Gen-X เป็นคนคนรุ่นแรกที่ให้ความสำคัญกับ 'จิตวิญญาณขบถ' และ 'การแสวงหา' เมื่อครั้งที่ยังเป็นวัยรุ่น  สำหรับในประเทศไทยคนรุ่นนี้มีประสบการณ์ช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานในยุคตุลาคม 2516 จนถึงยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  ปัจจุบัน Gen-X  ก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ไปหมดแล้ว ส่วนใหญ่มักจะกลับไปหาค่านิยมที่ได้รับอิทธิพลและถูกสอนมาจากคนรุ่นก่อนหน้าให้รู้ถึงการประหยัดและการอดทน ให้ความสำคัญกับการสร้างเนื้อสร้างตัวสร้างครอบครัว เพื่อวางรากฐานให้กับลูกหลานและคนรุ่นต่อ ๆ ไป

Millennial Generation (หรือ Generation Y, Gen-Y) เกิดระหว่างปี พ.ศ.2523-2540 (ค.ศ.1980-1997) คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายายกับรุ่นพ่อแม่ นอกจากที่จะเติบโตมาในยุคที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด (อีกครั้งหนึ่งของโลก) แล้ว กลุ่มคน Gen-Y ยังเติบโตมาท่ามกลางความผันผวนในหลาย ๆ ด้านทั้งการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ รวมทั้งเติบโตมาในยุคที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติการสื่อสารของโลก ปัจจุบัน คนรุ่นนี้ถือเป็นกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายและวัยทำงาน

Generation Z (หรือ Gen-Z) เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) เป็นต้นไป กลุ่ม Gen-Z นี้ เติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ส่วนใหญ่คน Gen-Z  มีพ่อแม่คือคนรุ่น Gen-X และพ่อแม่ Gen-Y