ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ภาษาอังกฤษ

ว่าแต่ ตัวย่อภาษาอังกฤษเหล่านั้น มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง สำหรับคนที่อาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อน เฟมินิสต้าขอสรุปให้อ่านกันอย่างง่ายๆค่ะ



“แอล” (L) ตัวนี้ย่อมาจากคำว่า เลสเบี้ยน (Lesbian) หรือในภาษาไทย มีความหมายถึง ผู้หญิงที่รักผู้หญิงด้วยกันค่ะ ถ้าในบริบทต่างประเทศ เค้าจะมีแยกออกมาเป็น บุช (Butch) คือมีความห้าวๆ และ เฟม (Femme) คือมีความเป็นผู้หญิงมากหน่อยค่ะ ส่วนในบริบทของไทย ก็มีทั้งที่เรียกตัวเองว่าเป็น ทอมบอย และ เลดี้ หรือบางคนก็นิยามว่าเป็นเลสเบี้ยนเท่านั้นค่ะ



จี (G) ย่อมาจากคำว่า เกย์ (Gay) คำนี้หมายถึงชายรักชาย แต่ว่าในต่างประเทศ Gay ไม่ได้หมายถึงชายรักชายเท่านั้นนะคะ คำนี้ยังสามารถหมายถึง คนรักเพศเดียวกัน ที่เป็นเพศอื่นๆด้วยค่ะ เช่น หญิงรักหญิงบางคน อาจไม่ได้บอกว่าชั้นคือ เลสเบี้ยน แต่อาจใช้คำว่า ชั้นเป็นเกย์ หรือ “I am gay” ก็ได้เช่นกันค่ะ



บี (B) ย่อมาจากคำว่า ไบเซ็กช่วล (Bisexual) คำนี้หมายถึงคนที่สามารถรักได้ทั้งสองเพศค่ะ จริงๆแล้วคำนี้จัดอยู่ในหมวด วิถีทางเพศ (Sexual Orientation) นะคะ โดยในหมวดนี้ก็ยังมีคำว่า คนรักต่างเพศ (Heterosexual), คนรักเพศเดียวกัน (Homosexua)l และอื่นๆ อีกมากมายค่ะ



ที (T) ย่อมาจากคำว่า ทรานส์เจนเดอร์ (Trangender) ซึ่งหมายถึง คนข้ามเพศ ค่ะ ในที่นี้อาจจะข้ามจากชายเป็นหญิง หรือหญิงเป็นชาย ก็ได้ค่ะ โดยจะเรียกแยกได้ว่า หญิงข้ามเพศ (Transwoman) และ ชายข้ามเพศ (Transman) ค่ะ



ไอ (I) ย่อมาจากคำว่า อินเทอร์เซ็กส์ (Intersex) คำนี้จะหมายถึงคนที่เกิดมามีความซับซ้อนของเพศทางกายภาพมากกว่าหนึ่งนะคะ ซึ่งการเป็นอินเตอร์เซ็กส์ ไม่จำเป็นต้องมีอวัยวะเพศแบบหญิงหรือชายที่เห็นได้ชัดเจน แต่อาจเป็นโครโมโซมหรือสภาพร่างกายทางชีววิทยาที่บ่งบอกถึงความซับซ้อนของเพศทางกายภาพค่ะ



คิว (Q) ย่อมาจากคำว่า เควียร์ (Queer) หรือ เควสชันนิ่ง (Questioning) คำนี้ใช้ได้ทั้งสองความหมายนะคะ ความหมายแรกคือ เควียร์ คำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของกลุ่มคนที่ไม่ต้องการอยู่ในกรอบเพศใดๆค่ะ ส่วนคำว่า เควสชั่นนิ่ง หมายถึงคนที่ยังไม่แน่ใจในเพศสภาพหรือเพศวิถีของตัวเองค่ะ ยังอยู่ในช่วงค้นหาหรือทดลองอยู่ เลยเป็นเหมือนใส่เครื่องหมายคำถามเอาไว้


เอ (A) ย่อมาจาก เอเซ็กช่วล (Asexual) ซึ่งหมายถึงคนที่มีไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับเพศใดๆ หรือมีแรงดึงดูดทางเพศที่มีเงื่อนไข ซึ่งไม่ได้รวมถึงการมีความรักแบบโรแมนติกนะคะ คนที่นิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ก็อาจจะรู้สึกรักใครก็ได้ แต่อาจไม่ได้อยากมีความสัมพันธ์ทางเพศด้วย Asexual มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร สามารถแบ่งออกได้อีกหลายแบบเลยค่ะ



ทั้งหมดนี้ เป็นคำเรียกโดยย่อที่สื่อและองค์กรต่างๆนำมาใช้เรียกกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด เพราะยังมีคนที่ใช้ตัวย่ออื่นๆอีกมากมาย เฟมินิสต้าจะค่อยๆนำมาลงให้อ่านกันค่ะ

ปัจจุบัน ความเท่าเทียมทางเพศระหว่างเพศชายและเพศหญิงเป็นที่ยอมรับกันในสังคมมากขึ้น (รวมไปถึงเพศทางเลือกอื่นๆ ด้วย)

โดยล่าสุด Google กำลังปรับปรุงการแปลคำแบบใหม่ใน Google Translate เพื่อความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งที่ผ่านมานั้น คำศัพท์บางคำจะสามารถแปลได้ทั้งในรูปเพศชาย (Musculine) หรือเพศหญิง (Feminine) แต่ระบบของ Google Translate ที่ใช้ในปัจจุบันมักจะโชว์คำศัพท์เพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในบางภาษาจะยังมีการแปลคำทั้งสองเพศตามความเหมาะสม

ฟังก์ชันนี้จะมีเฉพาะการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปนเท่านั้น หากเลือกแปลจากภาษาตุรกีเป็นภาษาอังกฤษ (ดังภาพ) เมื่อแปลคำว่า “o bir doktor” จะยังพบคำศัพท์ทั้งสองเพศอยู่ คือ “he is a doctor” และ “she is a doctor” แทนที่จะแปลเป็นเพศใดเพศหนึ่งเพียงอย่างเดียว

เมื่อเดือนที่ผ่านมา Google ประกาศว่า ได้ลบคำสรรพนามที่บ่งชี้เพศทั้งหมด ออกไปจากฟังก์ชัน Gmail Smart Compose เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อลดอคติทางเพศจากข้อความในระบบ ส่วนพนักงานของกูเกิลกล่าวว่า พวกเขากำลังแก้ปัญหาอื่นๆ เพื่อป้องกันความลำเอียงทางเพศ แต่ไม่มีอะไรดีไปกว่าการถอดคำสรรพนามที่บ่งชี้เพศทั้งหมดทิ้งไป ทั้งนี้ กูเกิลได้นำ Machine Learning เข้ามาร่วมแก้ปัญหานี้มากขึ้น

Google กล่าวเสริมอีกว่า จะมีแผนในการแปลคำศัพท์ที่มีการผันเพศในภาษาอื่นๆ เพิ่มเติม รวมไปถึงการอัปเดตฟังก์ชั่นนี้ในแอป iOS และ Android นอกจากนี้กูเกิลกำลังพิจารณาการแปลแบบอื่นๆ ที่นอกเหนือจากทั้งสองเพศอีกด้วย

 

โหลดเพิ่ม

ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ภาษาอังกฤษ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าววงการไอทีfemininegendergooglegoogle translatemusculineunisexกูเกิ้ลผันเพศแปลภาษาข่าวไอทีbeartaiแบไต๋

คือแนวคิดที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างเพศ โดยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบาย ภาษา หรือ บทบาททางสังคมอื่นๆ จะมีความเป็นกลางทางเพศโดยไม่มีการแบ่งแยกตามเพศสรีระ (sex) หรือเพศสภาพ (gender) แนวคิดนี้ก็มีการนำมาปรับใช้กับกฎเกณฑ์เรื่องการแต่งกายเช่นเดียวกัน คือ gender neutral dress code และ gender neutral uniform เพื่อเคารพสิทธิการแต่งกายของแต่ละบุคคลและลดการแบ่งแยกระหว่างเพศ 

  • gender neutral dress code: การไม่กำหนดกฏระเบียบข้อแต่งกายตามเพศ แต่เป็นการออกกฎระเบียบข้อแต่งกายสำหรับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม เช่น การออกกฎให้ใส่สูทเมื่อพบลูกค้า การห้ามใส่ขาสั้นหรือรองเท้าแตะมาทำงาน การห้ามพนักงานบนเครื่องบินใส่แว่นด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย เป็นต้น จะสังเกตว่ากฎเหล่านี้จะมีขึ้นเพื่อกำหนดระดับความสุภาพและเป็นทางการของการแต่งกายและเหตุผลด้านความปลอดภัยเท่านั้นโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศ 
     
  • gender neutral uniform: การมีเครื่องแบบที่เป็นกลางสามารถใส่ได้ทุกเพศ โดยองค์กรอาจออกแบบเครื่องแบบเดียวที่สามารถใส่ได้ทุกเพศ หรือใช้วิธียกเลิกการระบุเพศให้เครื่องแบบแทน โดยอาจให้เครื่องแบบมีทั้งกระโปรงและกางเกงเหมือนเดิมแต่อนุญาตให้ผู้ชายสามารถเลือกใส่กระโปรงและผู้หญิงสามารถเลือกสวมกางเกงได้ตามรสนิยมหรืออัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละคน 

รู้หรือไม่ พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ 2558 ได้คุ้มครองสิทธิ์พนักงานในการแต่งกายตามเพศสภาพได้ หากไม่ขัดกับความปลอดภัย หลักศาสนา หรือความมั่นคงของประเทศ 
 
มาตรา ๑๗ การกําหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติ ของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระทํามิได้  
 
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ 

การปรับระเบียบข้อแต่งกายให้โอบรับความหลากหลายและสนับสนุนให้พนักงานทุกเพศได้มีสิทธิ์ในการแต่งกายอย่างเท่าเทียมกันเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนเพื่อให้สอดคล้องกับพรบ.ความเท่าเทียมทางเพศและความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนในสังคม  

ปัจจุบันองค์กรทั้งในไทยและต่างประเทศก็เริ่มมาให้ความสำคัญในการปรับกฎการแต่งกายให้สอดคล้องกับนโยบาย diversity ของแต่ละองค์กรและกฎหมายเรื่องความเท่าเทียมมากขึ้น เพราะการเปิดโอกาสให้พนักงานได้แต่งกายตามอัตลักษณ์ของตนไม่ได้ส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด ในทางกลับกันยังมีผลดีในการทำให้พนักงานมั่นใจในบุคลิกภาพและไม่รู้สึกอึดอัดในการแต่งกายตามกฏระเบียบ และไม่ถูกเหมารวมว่าต้องมีบทบาททางเพศตามเครื่องแต่งกาย ซึ่งจะช่วยสร้างความสบายใจในการทำงาน รวมถึงเสริมสร้าง