GDP อาเซียน 10 ประเทศ 2022

เมื่อมาเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้ว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) แถลงว่าเศรษฐกิจไทยเติบโต 2.2% ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และหากเทียบช่วงไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าเศรษฐกิจไทยโตขึ้น 1.1%

สศช. ได้ชี้ว่าปัจจัยสำคัญของการเติบโตในไตรมาสนี้ก็คือมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ภาคการเกษตรเองยังได้รับผลดี ส่งผลทำให้ตัวเลขภาคการบริโภคของไทยในไตรมาส 1 นี้เติบโตได้ถึง 3.9%

สภาพัฒน์ฯ แถลง GDP ไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 โต 2.2% เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนแล้วยังถือว่าต่ำกว่า มาดูกันว่าประเทศอื่นเติบโตกันเท่าไหร่บ้าง

GDP อาเซียน 10 ประเทศ 2022

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) แถลงว่าเศรษฐกิจไทยเติบโต 2.2% ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และหากเทียบช่วงไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าเศรษฐกิจไทยโตขึ้น 1.1%

อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ฯ ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยทั้งปีลงเหลือ 2.5-3.5% จากที่เคยคาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้าว่าจะเติบโตที่ 3.5-4.5% โดยมีสาเหตุจากภาวะเงินเฟ้อและสภาพเศรษฐกิจโลกที่ถูกกระทบจากกรณีรัสเซียบุกยูเครน

2.2% มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับชาติอื่น

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เศรษฐกิจไทยยังมีฟื้นตัวได้ช้ากว่าในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2565 ที่น้อยกว่าจากข้อมูลจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและสถิติประเทศต่างๆ 

โดยแต่ละประเทศในอาเซียนมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจดังนี้

  • ฟิลิปปินส์ 8.3% (หน่วยงานสถิติฟิลิปปินส์)
  • เวียดนาม 5.03% (สำนักงานสถิติเวียดนาม)
  • อินโดนีเซีย 5.01% (สำนักงานสถิติอินโดนีเซีย)
  • มาเลเซีย 5% (ธนาคารกลางมาเลเซีย)
  • สิงคโปร์ 3.4% (ประมาณการล่วงหน้า กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม)
  • ไทย 2.2% (สภาพัฒน์ฯ)

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจับตาจากแถลงของสภาพัฒน์ฯ ครั้งนี้ คือ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เพราะข้อมูลชี้ว่าธุรกิจที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัว (จากฐานต่ำ) ได้ถึง 34.1% 

โดยถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปี จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด การเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบ Test & Go และการผ่อนคลายมาตรการเดินทางออกนอกประเทศของหลายประเทศทั่วโลก 

GDP อาเซียน 10 ประเทศ 2022
ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 5 แสนคน เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีนักท่องเที่ยวประมาณ 2 หมื่นคนเท่านั้น

ที่มา – สภาพัฒน์ฯ, Nikkei Asia (1)(2)(3)(4), MTI

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Share this:

  • Tweet

Related

  • TAGS
  • GDP
  • อาเซียน
  • เวียดนาม
  • ไทย

รชต สนิท

บาส รชต สนิท - นักข่าว นักเขียน ที่ Brand Inside | สนใจด้าน Future of Work, สิทธิคนทำงาน, สิ่งแวดล้อม, การเมืองโลก, ปัญหาทุนนิยม และ สิทธิมนุษยชน

ล่าสุด สภาพัฒน์ได้เปิดเผยตัวเลข ‘ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ’ หรือ GDP ของประเทศไทยในไตรมาส 3/2565 ปรากฎตัวเลขเติบโตเกินคาดที่ 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

รวมถึงยังเติบโตดีขึ้นจากไตรมาส 1 และ 2 ที่เติบโต 2.2% และ 2.5% ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชนและภาคธุรกิจ การกลับมาเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว และการผ่อนคลายความตึงเครียดของสถานการณ์โลก

คำถาม คือ จนถึงตอนนี้เมื่อเทียบการเติบโต GDP อาเซียน ไทยอยู่ตรงไหน เมื่อเทียบเพื่อนบ้าน TODAY Bizview รวบรวม GDP ทั้ง 3 ไตรมาสของประเทศที่มีรายงานแล้วมาให้ดูกัน

หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินถึงคำว่า GDP อยู่บ่อยครั้ง เวลาที่มีการพูดถึงภาพรวมของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศว่าทิศทางของเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ มีแนวโน้มอย่างไร GDP ในประเทศนั้น ๆ เป็นบวกหรือลบ ซึ่งอาจมีหลายคนสงสัยว่าคำ ๆ นี้แท้จริงนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ และทำไมจึงมีความสำคัญจนสามารถที่จะบอกถึงภาวะเศรษฐกิจได้

 

GDP ย่อมาจากคำว่า Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งก็คือมูลค่าทางการเงินหรือตลาดรวมของสินค้าและบริการสําเร็จรูปทั้งหมดที่เกิดขึ้นของประเทศในช่วงเวลาที่กําหนด ซึ่ง GDP จะทําหน้าที่เป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าโดยทั่วไป GDP จะถูกคํานวณเป็นประจําทุกปี แต่ในบางครั้งก็สามารถคํานวณเป็นรายไตรมาสได้เช่นกัน และถึงแม้ว่า GDP จะมีข้อจํากัดบางประการหรือจุดอ่อนอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการกําหนดนโยบายหรือข้อตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ให้กับรัฐบาลและนักลงทุน โดย GDP สามารถที่จะคำนวณได้ 3 วิธี

 

คือ คำนวณด้านผลผลิต ด้านรายได้ และด้านรายจ่าย โดยค่า GDP ที่ได้จะมีทั้งแบบปรกติ (Normal) และแบบต่อหัว (per capita) ซึ่งเป็นการนำค่า GDP มาหารด้วยจำนวนประชากรในประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะกลายเป็นค่าเฉลี่ย(Average) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มักจะวิเคราะห์ค่า GDP per capita เพื่อที่จะได้เห็นภาพความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ และเป็นค่าที่มักนิยมใช้กันทั่วโลก

 

ซึ่งจากการรายงานของเว็บไซต์ www.statista.com โดยอ้างอิงข้อมูลการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ได้แสดงให้เห็นถึงลำดับของ GDP แบบ Normal และแบบ per capita ของประเทศไทยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนดังนี้

 

1. อันดับของ GDP แบบปรกติ โดยมีหน่วยเป็น พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (billions of $) เรียงจากมากไปน้อย คือ อินโดนีเซีย (1,150.25) ไทย (546.22) ฟิลิปปินส์ (385.74) สิงค์โปร (378.65) มาเลเซีย (371.11) เวียดนาม (368) เมียนมาร์ (66.74) กัมพูชา (26.08) ลาว (19.38) และบรูไน (15.69)

2. อันดับของ GDP แบบต่อหัว หรือ GDP per capita โดยมีหน่วยเป็นดอลลาร์สหรัฐ ($) คือ สิงค์โปร (66,263.42) บรูไน (33,979.37) มาเลเซีย (11,124.67) ไทย (7,808.66) อินโดนีเซีย (4,224.98) เวียดนาม (3,742.86) ฟิลิปปินส์ (3,492.07) ลาว (2625.61) กัมพูชา (1647.02) และ เมียนมาร์ (1,246.32)

 

เมื่อมองถึงอันดับ GDP ไทยในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยนั้นมีค่า GDP อยู่ที่ลำดับที่ 2 ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของกลุ่ม ในขณะที่ค่า GDP per Capita ของไทยนั้นอยู่ที่ลำดับที่ 4 ซึ่งไทยเองได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แต่เศรษฐกิจก็ยังคงเดินหน้าได้จากการส่งออกและนโยบายทางการค้าบางประการ ในขณะที่ประเทศสิงค์โปรนั้นมีค่า GDP per capita อยู่ในลำดับแรกสุดของอาเซียนซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแรงหนุนในภาคการบริการและการผลิตนั่นเอง