ประกันสังคมฝากครรภ์ฟรี2565

“ไปฝากครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถเบิกประกันสังคมได้ไหม เบิกอย่างไร” เป็นสิ่งที่คู่สามีภรรยาหลายคู่สงสัย โดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ซึ่งในวันนี้ HDmall.co.th จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ ให้คุณเอง!

การฝากครรภ์นั้น ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้ตามปกติ หลังจากที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่จะพาไปพบคุณหมอแล้ว ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ แล้วทำการนัดตรวจฝากครรภ์ครั้งต่อไปนั่นเอง

ประกันสังคมฝากครรภ์ฟรี2565

เอกสารที่ใช้ในการฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง?

การฝากครรภ์ครั้งแรกจะต้องทำการลงทะเบียนกับโรงพยาบาลที่ไปใช้บริการ จึงจะต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้

  • บัตรประชาชนของคุณแม่และคุณพ่อ
  • ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว ความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม และการรับวัคซีน (ถ้ามี)
  • ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (นับจากวันแรกของการมีประจำเดิอนวันสุดท้าย)

หลังจากเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณหมอจะบันทึกข้อมูลลงใน “สมุดฝากครรภ์” หรือในบางโรงพยาบาลอาจเรียกว่า “สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก” หรือ “ใบฝากครรภ์” ซึ่งเปรียบเสมือนบัตรปจำตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องพกติดตัวเสมอ

สมุดฝากครรภ์ จะช่วยให้คุณหมอรู้ข้อมูลของมารดาและทารกในครรภ์ สามารถนำมาประกอบการประเมินในแต่ละครั้ง ทำให้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

เบิกประกันสังคม ฝากครรภ์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ในผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้สูงสุด 1,500 บาท โดยแบ่งจ่าย 5 ครั้ง ตามจำนวนการฝากครรภ์คุณภาพที่ใช้การฝากครรภ์ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง มีรายละเอียดดังนี้

  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 - น้อยกว่า 20 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 - น้อยกว่า 26 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 - น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
ประกันสังคมฝากครรภ์ฟรี2565

การเบิกค่าฝากครรภ์นั้น สามารถเลือกใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้ง “ฝ่ายชาย” หรือ “ฝ่ายหญิง” โดยสามารถเลือกใช้สิทธิได้แค่คนเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำได้ มาเบิกที่สำนักงานประกันสังคม ใช้เอกสารดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กดดาวน์โหลดได้ ที่นี่
  • ใบเสร็จค่าบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลที่ไปใช้บริการ (ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลไหนก็ได้)
  • ใบรับรองรองแพทย์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประจำตัวหญิงตั้งครรภ์ ที่มีชื่อของผู้ตั้งครรภ์ และรายละเอียดการบันทึกตามแต่ละช่วงอายุครรภ์
  • ในกรณีที่คุณพ่อ หรือสามีมาเบิก จะต้องใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีที่ไม่มีทะเบียนสมรส กดดาวน์โหลดได้ ที่นี่

การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญในหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยให้แพทย์ดูแลสุขภาพของมารดาและทารกได้อย่างใกล้ชิด ทำให้การตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นไปอย่างปลอดภัย

กำลังมองหาโรงพยาบาลชั้นนำเพื่อฝากครรภ์และคลอดบุตรอยู่ใช่ไหม HDmall.co.th ได้รวมรวมแพ็กเกจดีๆ มาไว้ให้คุณแล้ว กดเปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ของแต่ละโรงพยาบาลได้เลย หรือสอบถามแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth มีโปรโมชั่นดี ผ่อนฟรี 0% ด้วยน้า

รู้หรือไม่ว่า! ผู้ประกันตนที่เป็นว่าที่คุณแม่จะได้รับ 3 สิทธิประโยชน์ทั้งค่าคลอดบุตร -การฝากครรภ์ และสงเคราะห์บุตร เช็คเงื่อนไขการรับสิทธิทั้งหมดจากสำนักงานประกันสังคมที่นี่

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้ประกันตน ที่เป็นว่าที่คุณแม่ -คุณพ่อ โดยจะได้รับ 3 สิทธิจากประกันสังคม อันประกอบไปด้วย สิทธิคลอดบุตร ,สิทธิฝากครรภ์ และ สิทธิสงเคราะห์บุตร ซึ่งทั้ง 3 สิทธิจะมีเงื่อนไขอย่างไรบ้างนั้้น "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมมานำเสนอดังต่อไปนี้ 


สิทธิคลอดบุตร 

  • เหมาจ่ายค่าคลอดบุตร  15,000 บาท ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร (สิทธิเฉพาะผู้ประกันตนฝ่ายหญิง)  โดยจะเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน (ใช้สิทธิ์ได้ 2 ครั้ง)

 

เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตน ม. 33 และ 39 เมื่อจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนวันคลอดบุตร
ผู้ประกันตน ม.38 และ 41 เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
 

สิทธิฝากครรภ์ 
ค่าตรวจครรภ์และฝากครรภ์  1,500 บาท

  • อายุครรภ์ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
  • อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
  • อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
  • อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
  • อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท

 

ทั้งนี้สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่คลอดบุตร ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก 
 

สิทธิสงเคราะห์บุตร 
เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท/เดือน/บุตร 1 คน  (สูงสุดคราวละ ไม่เกิน 3 คน) ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

 

เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา33 และมาตรา39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

 

เงื่อนไขการหมดสิทธิ
1. เมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ หรือบุตรเสียชีวิต


2. ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น


3. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ทั้งนี้ สามารถยื่นเรื่องรับสิทธิได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ