ขยายเขตไฟฟ้า 500 เมตร ราคา

����ͧ��â͢���ࢵ俿��

���¹ ��ҹ�Ҩ����

���鵡ŧ���ͷ�Ѿ�� �ͧ��Ҥ�� ������ç�ҹ��� ���� 19 �� �ն������͡��� ���ҧ 6 ���� �繶���Թ�١�ѧ �ѧ�����¡������Ҹ�óл���ª�� ��Ѻ �ѧ�繶����ǹ�ؤ�������Ѻ �������ѡ���� �Ǥ�Ѻ �����ѧ⩹������ �ա�è����Ш������� ��Ѻ   ��俿���ç�٧ ������� 900 ���� ��ͧ�͢���ࢵ 俿�� �ա 500 ���� �֧�ç�ҹ  ���俿�� �͡��ҵ�ͧ��� ��Ңͧ��������ŧ �繵� �Թ������ �ѡ�������Թ ��ҹ˹�ҷ��Թ �ͧ�����ŧ ��Ѻ ����繷��Թ ��ҧ��������Һ���������Ңͧ��ҧ ��Ѻ

1��ҡ��Һ��Ҩ��繵�ͧ��͹حҵ� �����ŧ���¤�Ѻ

2���� ��� �ҧ��Ңͧ���Թ���ӡ�� �Ѵ��� �鹵��Թ�������Ѻ ������騴����¹�Ѵ��� ��Ѻ

3 �ҧ��Ңͧ���Թ��� �ӡ�èѴ��� ���¡ ���Թ 40,000 �ҷ �֧�Ш����Ш������� ��ǹ�ͧ��� 俿�� �л� ��ѧ⩹�����Ѻ �Ҩ���¤Դ��Ҥ�èШ���¤�Ѻ ��Ҩ����Ǩ��ջ���¹� �����Ҥ˹����¤�Ѻ

�͢ͺ��Фس��ҹ�Ҩ���� �ժ�� ���ҧ�٧

⪤���

ไม่มีไฟฟ้าใช้

<< < (2/3) > >>

tae:
ผมก็เช่นกันครับ อยู่ห่างจากเสาต้นสุดท้าย 500 เมตร ไปติดต่อขยายเขต เกือบแสนครับ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่างๆอีกมากมาย ญาติผมก็แบบผมเลยก่อนติดมีใบมาว่าใช้จ่ายเท่าไร 9หมื่นกว่าบาท พอทำจริง 150,000บาทครับ  ตอนนี้ผมก็ยังไม่มี แต่มีพี่บอกว่าให้ไปติดต่อที่
อบต ว่าจะขอใบเซ็นรับลองใช้ไฟเกษตร แล้วก็ไปติดต่อที่เกษตอำเภอครับ ผมกำลังจะดำเนินงานมาเจอกระทู้นี้พอเลย ถ้าได้เรื่องยังไงเดียวผมจะเข้ามาบอกนะครับ

คนทะโมน:
พึ่งเอาไฟเข้าที่สวนยางใหม่ๆ ขั้นตอนการขอไฟฟ้า
1. ต้องขอบ้านเลขที่ก่อน  โดยไปขอใบรับรองจากผู้ใหญ่บ้านที่นาหรือสวนเราตั้งอยู่ 
และขอใบรับรองการมีส้วมที่อนามัย ตำบลที่นาหรือสวนเราอยู่
2. แล้วนำเอกสารที่ได้ไปขอบ้านเลขที่ใหม่ที่ว่าการอำเภอที่นาหรือสวนตั้งอยู่
เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท คุณก็จะได้เป็นเจ้าบ้านใหม่ ต้องได้ย้ายตัวเองออกจากสำเนาทะเบียนบ้านเดิม
โดยย้ายปลายทางตอนไปขอบ้านเลขที่ใหม่เลยคะ  แล้วก็ได้ถ่ายบัตรใหม่เลย
3. แล้วก็ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านใหม่ บัตรใหม่ ไปขออนุญาตใช้ไฟฟ้า ที่การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาคอำเภอนั้น เลย แต่มีข้อแม้ว่าคุณต้องติดตั้งสายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้แล้วเสร็จก่อน
ที่เจ้าหน้าที่เขาจะไปตรวจว่ามีบ้านนั้นอยู่จริง แล้วเขาก็จะมีติดมิเตอร์ใช้ไฟให้ หม้อ 5 แอม เสียค่าธรรมเนียม
728 บาท แต่ถ้าจะเอาหม้อ 15 แอม อยู่ที่ 4000 กว่าบาท  ที่สวนใช้หม้อ 5 แอมเหมือนไฟบ้านทั่วๆไป
แต่ถ้าอนาคตจะใช้ไฟเยอะๆๆ ก็ควรเลือก 15 แอม 
    การต่อสายไฟ ที่สวนใช้สายไฟอะลูมิเนียม  เรียกว่าสายเมน เบอร์ 16 มีหลายยี่ห้อ
ม้วน 500 เมตร ราคาระหว่าง 3500 - 3700 บาท ม้วนละ 100 เมตร ก็มี นะ ที่สวนอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าต้นสุดท้าย
ประมาณ 950 เมตร ซื้อสายเมน หมดงบประมาณ 13,000 บาท   ต้องเดินสายไฟคู่อ่ะ คำนวณระยะทางก่อนซื้อ แล้วซื้อสายไฟสาย เดินในอาคารอีก 1000 เมตร  สีขาวอีก ขนาดเท่าไรจำไม่ได้  ตกเมตรละ 10 บาทคะอีก 1000 บาท
และเสาไฟฟ้า สั่งเขาหล่อเสาปูนใช้ 22 เสา  อีก 9000 บาท เสาหน้า 12 cm ยาวเสาละ 3.5 เมตร
ไม่เอาสูงเนื่องจาก ไม่ได้ผ่านถนนใหญ่ ลากเสาผ่านสวนคนอื่น ตกเสาละ 420 บาท  อันนี้คือราคาต่อรองสุดๆ  หล่อเมตรละ 120 บาท
แล้วก็ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ   และจ่ายค่าต่อจากหม้อแปลงคนอื่นเขาลงทุนซื้อหม้อแปลงเอง ราคาญาติ อีก 5000 บาท
คือ เขาติดตั้งหม้อแปลงเองหมดไป 7หมืนกว่าๆ  รวมทั้งสิ้นกับการมีไฟฟ้าใช้ งบประมาณ
9000 (เสา) + 14000 (สายไฟ) +728 ( ค่าธรรมเนียมมิเตอร์ ) + 1000 (อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ/หลอดไฟ /อุปกรณ์ต่อพ่วง)
+5000 ค่าต่อพ่วงหม้อแปลงสวนคนอื่น+เลี้ยงคนงานที่มาช่วยต่อไฟฟ้า 1500 = ทั้งหมด 3 หมื่นต้นๆ

ForestGum:
มีปัญหานี้เหมือนกันครับ ที่เป็นซอยห่างจากถนนใหญ่ 700 เมตร
ขยายเขตแสนกว่าบาท แต่มีเจ้าหน้าที่เค้างานนอกเดินไฟโดยติดมิเตอร์ที่หน้าปากซอย แล้วเดินสายเข้ามาเองคิดราคาเหมา 60,000 บาท

แต่ยังไม่ได้เดินครับ ตอนนี้ใช้ Solar Cell อยู่ก็พอเปิดพัดลมกับหลอดตะเกียบได้ทั้งคืน โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 17,000 บาท(แผง solar cell 40w x 3 = 3,500 x 3 = 10,500, Battery 100 Amp. 3,300, ตัว charge bat + converter 150W = 3,100, สายไฟ 200 )

ลองดูครับเป็นอีกหนึ่งทางเลือก

ลุงแว่น:
ถ้าขอไฟเกษตรได้นะ
ผมแนะนำให้ปักเสา แบบของไฟฟ้าเลย
ผมเคยเช็คราคา เสาต้นนึง พร้อมปักให้ประมาณ ต้นละ 1200 (เสาปูนมาตรฐาน)
เสาพวกนี้ ร้านขายวัสดุก่อสร้างใหญ่ๆตามต่างจังหวัดมีครับ
ถ้า 600 เมตรใช้เสาประมาณ 15 ต้น ก็ประมาณ 18000
ใช้สายอลูมิเนียมเฉลี่ยตกเมตรละ  14 บาท คู่(สายเดียว16 สแควมิล 2 เส้น)
600 เมตรก็ประมาณ 8400 บาท
ค่าลูกถ้วยยึดสาย ค่าสายไฟภายใน ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่น่าจะมากนะครับ
ส่วนค่าขอมิเตอร์แบบไฟเกษตร จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างผมไม่แน่ใจ ว่ามีค่าประกันมิเตอร์รึเปล่า นะ
อันนี้ต้องลองเช็คราคาเองละกัน

คนทะโมน:
ถ้ามีเถียงนา ลักษณะประมาณบ้าน คือมีคนมาอยู่อาศัย
ก็ขอบ้านเลขที่ใหม่เลยคะ ทำเหมือนบ้านทั่วไป ก็ขอไฟฟ้าได้เลย
ที่ขอมาไม่ได้เสียค่าประกันมิเตอร์ใดๆๆ ทั้งสิ้นคะ มิเตอร์ 5 แอม แค่ 728 บาท เองคะ
เสาไฟฟ้าถ้าอยากได้คงทน ก็ให้ร้านปูนหล่อให้เลยคะ ก็ลองคำนวณว่าต้องการความสูงเท่าไร
ถ้าไม่ได้ผ่านถนนใหญ่  ทีสวนไม่ได้ผ่านถนนใหญ่ หล่อเสา 3.5 เมตร ฝังลึก 0.5 เมตร
ที่สวนก็ถือว่าใช้ได้ทีเดียว วางระยะห่างเสาละ 40-50 เมตร ตอนนี้มีไฟฟ้าใช้
แบบไม่ได้จ่ายมากมาย ในราคาย่อมเยาว์ คะ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ระยะเวลาในการขยายเขตระบบจำหน่าย

ขั้นตอนและระยะเวลาในการขยายเขตระบบจำหน่าย

   (1) ติดตั้งระบบจำหน่ายแรงต่ำไม่เกิน 250 เมตร
   (2) ติดตั้งระบบจำหน่ายแรงต่ำไม่เกิน 1,000 เมตร
   (3) ติดตั้งระบบจำหน่าย แรงสูงไม่เกิน 33 เควี ระยะทางไม่เกิน 500 เมตร และหม้อแปลงไม่เกิน 250 เควีเอ
   (4) ติดตั้งระบบจำหน่าย แรงสูงไม่เกิน 33 เควี ระยะทางไม่เกิน 5,000 เมตร และหม้อแปลงไม่เกิน 500 เควีเอ

ขั้นตอน

ระยะเวลาในการขยายเขตระบบจำหน่าย(วัน)

1

2

3

4

1. รับคำร้องและนัดวันสำรวจ

-

-

-

-

2. สำรวจรายละเอียด 

-

-

-

-

3. จัดทำแผนผังและประมาณการค่าใช้จ่าย

7

10

15

25

4. อนุมัติแผนผังและประมาณการค่าใช้จ่าย 

-

-

-

-

5. แจ้งค่าใช้จ่ายให้ผู้ขอใช้ไฟทราบ 

-

-

-

-

* รวมระยะเวลาตั้งแต่รับคำร้องจนถึงแจ้งค่าใช้จ่าย 

7

10

15

25

6. รับชำระเงินและเตรียมการก่อสร้าง 

8

20

25

35

7. ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ 

-

-

-

-

* รวมระยะเวลาตั้งแต่รับคำร้องจนดำเนินการก่อสร้างเสร็จ

15

30

40

60

หมายเหตุ:ระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาทำการ และเป็นการดำเนินการตามปกติ ไม่ต้องแก้ไขระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สภาพพื้นที่ไม่เป็นที่ทุรกันดาร และหรือการคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีปัญหาภายนอกอำนาจการดำเนินการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการติดต่อยื่นคำร้องขอขยายเขตไฟฟ้าต้องติดต่อ ณ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

วันที่แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 28/04/2565
ผู้รับผิดชอบข้อมูล : กองกลยุทธ์ลูกค้าและการตลาด
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 1129 PEA Conact Center