หนังสือเดินทาง ต่าง ประเทศ

      ด้วยสถานการณ์โควิดในหลายๆ ประเทศดีขึ้น ทำให้ตอนนี้ เราสามารถ เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ กันได้บ้างแล้วค่ะ สำหรับใครที่ พาสปอร์ตหมดอายุ หรือ ต้องการ ทำพาสปอร์ตใหม่ เพื่อเดินทางระหว่างประเทศ มาดู วิธีทำพาสปอร์ต 2565 และ วิธีจองคิวล่วงหน้าทำพาสปอร์ต ออนไลน์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าไปใช้บริการที่สำนักงานหนังสือเดินทางตามนี้ได้เลยค่ะ

Show
  • อัพเดท สถานที่ทำพาสปอร์ต 2565 ในกรุงเทพ และ ปริมณฑล ต่ออายุพาสปอร์ต ที่ไหน ใกล้บ้าน สะดวก รวดเร็ว
  • พิกัด สถานที่ทําพาสปอร์ต ต่างจังหวัด ทำพาสปอร์ตที่ไหน สะดวก ไม่ต้องเข้ากรุงเทพ

วิธีทำพาสปอร์ต 2565 ขั้นตอนต่างๆจองคิวล่วงหน้าทำพาสปอร์ต ออนไลน์

วิธีจองคิวล่วงหน้าทำพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) ออนไลน์

  1. เข้าเว็บไซต์ https://www.qpassport.in.th
  2. เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ หากยังไม่ได้ลงทะเบียนสมาชิก (กรอกรายละเอียดส่วนตัวในการลงทะเบียนสมาชิก)
  3. เลือกพื้นที่ที่ต้องการเข้ารับบริการทำพาสปอร์ต (พื้นที่ในประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ)

    หนังสือเดินทาง ต่าง ประเทศ

  4. เลือกประเภทการเข้ารับบริการทำพาสปอร์ต (สำหรับตนเอง หรือ สำหรับครอบครัว ผู้เยาว์)
  5. เลือกสำนักงานหนังสือเดินทางที่ต้องการเข้ารับบริการทำพาสปอร์ต
  6. เลือกวันที่ต้องการเข้ารับบริการทำพาสปอร์ต (สามารถจองออนไลน์ได้ล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน)
  7. เลือกเวลาที่ต้องการรับบริการ
  8. เลือกวิธีรับเล่มพาสปอร์ต (เดินทางไปรับเอง หรือ ส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วัน)

================

เอกสารในการทำพาสปอร์ต


ผู้ทำพาสปอร์ตอายุ 20 ปี ขึ้นไป

ทำพาสปอร์ตครั้งแรก 

  1. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ขอพาสปอร์ต

พาสปอร์ตหมดอายุ

  1. บัตรประชาชนตัวจริง
  2. พาสปอร์ตเล่มที่หมดอายุ

พาสปอร์ตหาย

  1. บัตรประชาชนตัวจริง
  2. ใบแจ้งความฉบับจริง

* ในกรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือ ข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับข้อมูลภายในบัตรประชาชน ต้องนำเอกสารไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่

ผู้ทำพาสปอร์ตอายุต่ำกว่า 20 ปี (กรณี มาพร้อมบิดา มารดา)

อายุ 7 ปี ขึ้นไป 

  1. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ขอพาสปอร์ต
  2. ทะเบียนบ้าน

อายุต่ำกว่า 7 ปี 

  1. สูจิบัตรตัวจริงของผู้ขอพาสปอร์ต
  2. บัตรประชาชนตัวจริงของบิดา มารดา (ชาวต่างชาติใช้พาสปอร์ต)
  3. เอกสารแสดงความสัมพันธ์และอำนาจปกครองบุตร เช่น ทะเบียนสมรสบิดามารดา

กรณีบิดา หรือ มารดา มาไม่ได้ มีเอกสารเพิ่มเติมคือ 

  1. หนังสือยินยอมให้บุตรทำพาสปอร์ต
  2. กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่บิดาและมารดาไม่มาแสดงตน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นพาเด็กมาทำพาสปอร์ต

กรณีอื่นๆ เช่น บิดา มารดา หย่าร้าง หรือ เสียชีวิต, บุตรบุญธรรม สามารถดูรายละเอียดเอกสารเพิ่มะเติมที่ https://consular.mfa.go.th

บริการทำพาสปอร์ตด้วยเครื่อง Kiosk

      บริการทำพาร์สปอร์ตด้วยเครื่อง Kiosk ให้บริการทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 10.00-18.00 น. ณ สำนักงานหนังสือเดินทางฯ ปทุมวัน MBK Center ชั้น 5 โซน A

  • ให้บริการเฉพาะหนังสือเดินทางทั่วไปเท่านั้น
  • ยังมีบริการในบูธตามปกติ ทุกวันจันทร์-วันเสาร์
  • หยุดวันเสาร์ที่ 16 เมษายน, 14 พฤษภาคม, 13 สิงหาคม 2565

      ข้อควรรู้ในการทำพาสปอร์ต : ในปัจจุบัน หนังสือเดินทางมีคุณลักษณะที่ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น โดยมีการเก็บข้อมูลชีวมาตร ได้แก่ ภาพถ่ายใบหน้า การพิมพ์ลายนิ้วมือ และการบันทึกภาพม่านตา ดังนั้น ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ จึงควรใส่คอนแทคเลนส์ใสเท่านั้น เพื่อให้สามารถบันทึกภาพม่านตาตามธรรมชาติ

================

ค่าธรรมเนียมในการทำพาสปอร์ต

พาสปอร์ตธรรมดา

  • 1,000 บาท (เล่ม 5 ปี)
  • 1,500 บาท (เล่ม 10 ปี)

สถานที่รับพาสปอร์ต : กรุงเทพฯ และปริมณฑล จัดส่งไปรษณีย์ 3-5 วันทำการ
ต่างจังหวัด จัดส่งไปรษณีย์ 5-7 วันทำการ

พาสปอร์ตด่วนพิเศษ (รับเล่มในวันเดียวกัน)

  • 3,000 บาท 

*สามารถทำพาสปอร์ตแบบด่วนพิเศษได้ก่อนเวลา 11.00 น.
สถานที่รับพาสปอร์ต : กรมการกงสุล

================

การรับเล่มพาสปอร์ตด้วยตนเอง (เฉพาะที่กรมการกงสุล)

กรณีมารับพาสปอร์ตด้วยตนเอง

  1. ใบรับพาสปอร์ตฉบับจริง
  2. บัตรประชาชนตัวจริง


กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับเล่มแทน

  1. ใบรับพาสปอร์ตฉบับจริง ซึ่งระบุการมอบอำนาจ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจพร้อมลงนามรับรองเอกสาร
  3. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับมอบอำนาจ

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

กองหนังสือเดินทาง
โทร : 0-2572-8442 และ 0-2203-5000 ต่อ 32301
E-mail :

https://consular.mfa.go.th

หนังสือเดินทาง ต่าง ประเทศ

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)

  • ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)
  • การนัดหมายทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
  • การเตรียมเอกสารล่วงหน้า:
    1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่
    2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
    3. กรณีพิเศษอื่น ๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)

ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)

  • ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา สถานกงสุลใหญ่ ฯ ได้เข้าสู่ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) หากหนังสือเดินทางของท่านเคยต่ออายุมาแล้วครั้งหนึ่งและใช้งานมาครบ 10 ปีแล้ว ท่านต้องมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ด้วยตัวเอง โดยต้องสำรองนัดหมายออนไลน์ล่วงหน้าที่เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (เข้าสู่ระบบสำรองนัดหมายล่วงหน้าสำหรับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต))
  • หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) มีอายุใช้งาน 5 ปี หรือ 10 ปี เท่านั้น ไม่สามารถต่ออายุได้ ต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น
  • ควรติดต่อทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เล่มใหม่ล่วงหน้าภายใน 6 เดือน ก่อนหนังสือเดินทางเล่มเดิมหมดอายุ
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ต่อไปนี้

069-69 86 8 214 - จันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 14.30-16.30 น.
069-69 86 8 215 - จันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 14.30-16.30 น.

ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2564 สถานกงสุลใหญ่ฯ เปิดให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการใช้งาน 10 ปี

ค่าธรรมเนียม

ค่าหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อายุการใช้งาน 5 ปี) 35 ยูโร
ค่าหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อายุการใช้งาน 10 ปี) 50 ยูโร
ค่านิติกรณ์หนังสือเดินทาง 5 ยูโร

การนัดหมายทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

  • ท่านที่ต้องการทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องนัดหมายล่วงหน้า โดยนัดหมายออนไลน์ที่เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต โดยเข้าสู่ “ระบบสำรองนัดหมายล่วงหน้าสำหรับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)”
  • หลังจากที่ได้นัดหมายแล้ว ท่านต้องเดินทางมายื่นคำร้องด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ตามวันและเวลาที่ได้นัดหมาย
  • สำหรับท่านที่มายื่นคำร้องโดยไม่ได้นัดหมายมาก่อน จะไม่สามารถยื่นคำร้องได้ เพื่อไม่ให้ผิดหวังและเสียเวลา ท่านต้องสำรองนัดหมายล่วงหน้าก่อนที่ระบบข้างต้น
  • คำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกรอกเตรียมไว้ล่วงหน้า

การเตรียมเอกสารล่วงหน้า:หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่เอกสารประกอบการยื่นขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ผู้ใหญ่ในวันนัดหมายมีดังนี้

กรณีประสงค์จะใช้ชื่อ-นามสกุลเดิมในหนังสือเดินทางเล่มใหม่

  • คำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
  • หนังสือยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหนังสือเดินทาง 1 แผ่น
  • หนังสือเดินทางตัวจริง 
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง ซึ่งยังไม่หมดอายุ 
    • กรณีบัตรหมดอายุ/ชำรุด/สูญหาย ให้แจ้งขอทำบัตรใหม่ได้ที่หมายเลข 069 69 868 205 (จันทร์-ศุกร์ เวลา 14.30 – 16.30 น.)
    • กรณีผู้ที่ยังไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน สถานกงสุลใหญ่ฯ จะพิจารณาออกหนังสือเดินทางฉุกเฉิน อายุการใช้งาน 1 ปีเพื่อให้เดินทางกลับไปทำบัตรประชาชนใบแรกที่ประเทศไทยก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ หรือ บัตร Aufenthaltstitel หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี
  • ซองเขียนที่อยู่ถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์ 4.25 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืนให้ท่าน และเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารได้รับความเสียหายระหว่างทางไปรษณีย์ ขอแนะนำให้ใช้ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5
  • ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีประสงค์จะใช้ชื่อ-นามสกุลใหม่(หลังสมรส)ในหนังสือเดินทางเล่มใหม่

  • สำเนาทะเบียนสมรสและสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาประกอบคำร้อง
  • คำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
  • หนังสือยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหนังสือเดินทาง 1 แผ่น
  • หนังสือเดินทางตัวจริง 
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง ซึ่งได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่แล้ว และยังไม่หมดอายุ
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ หรือ บัตร Aufenthaltstitel หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี
  • ซองเขียนที่อยู่ถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์ 4.25 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืนให้ท่าน และเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารได้รับความเสียหายระหว่างทางไปรษณีย์ ขอแนะนำให้ใช้ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5
  • ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

***ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

เอกสารประกอบการยื่นขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ในวันนัดหมายมีดังนี้

  • ต้องกรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
  • หนังสือเดินทางตัวจริง 
  • สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และ ลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
  • บัตรประชาชนไทยตัวจริง ซึ่งยังไม่หมดอายุ (ในกรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง สามารถนำสำเนาบัตรประชาชนมาใช้ประกอบการยื่นคำร้องได้)
  • สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
  • บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ หรือ บัตร Aufenthaltstitel หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี
  • ผู้เยาว์อายุ 7 - 20 ปี หากยังไม่มีบัตรประชาชน จะต้องนำหนังสือรับรองการศึกษา (ภาษาอังกฤษ) จากสถานศึกษาในเยอรมนีประกอบการทำหนังสือเดินทาง
  • ซองเขียนที่อยู่ถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์ 4.25 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืนให้ท่าน และเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารได้รับความเสียหายระหว่างทางไปรษณีย์ ขอแนะนำให้ใช้ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5
  • ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
  • เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
  • กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
    • ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
    • เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
    • หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
    • ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

กรณีพิเศษอื่น ๆ

  • ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
  • กรณีนักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่ถือหนังสือเดินทางระบบเดิม ยกเว้นค่าธรรมเนียมหมวด G เมื่อมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องขอหนังสือรับรองจากสำนักงาน ก.พ. กรุงลอนดอน มาแสดง เนื่องจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ. กรุงลอนดอน แล้ว และนักเรียนทุนรัฐบาลไทยจะไม่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
  • กรณีข้าราชการลาศึกษาต่อ หากสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยไม่แจ้งรายชื่อให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ทราบล่วงหน้าเพื่อตรวจสอบ ขอให้ติดต่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยมาแสดงด้วยทุกครั้ง และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามประกาศของสถานกงสุลใหญ่ฯ
  • กรณีเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ต้องแสดงหนังสืออนุมัติของพระเถรสมาคมเพิ่มเติม อายุหนังสืออนุมัติต้องไม่เกิน 3 เดือน
  • กรณีที่ต้องการมีคำนำหน้านามนอกเหนือไปจาก (1) นาย (2) นาง (3) นางสาว (4) เด็กหญิง (5) เด็กชาย เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตรจารย์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. ฯลฯ ขอให้แสดงสำเนาหลักฐานการได้รับตำแหน่ง หรือบรรดาศักดิ์ดังกล่าวประกอบด้วย 1 ชุดทุกครั้ง และขอให้หารือกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องหนังสือเดินทางก่อนทุกครั้งเมื่อติดต่อนัดหมายก่อนยื่นคำร้อง เพื่อหารือกับกระทรวงการต่างประเทศเป็นรายกรณีไป
  • กรณีที่การเปลี่ยนชื่อตัว หรือ นามสกุล ทุกกรณี (เปลี่ยนหลังสมรส/หลังหย่า/หลังสามีเสียชีวิต/หลังจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม/ตามมารดา) จะต้องมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงประกอบทุกครั้ง และการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่สมบูรณ์ สามารถพิจารณาจากทะเบียนบ้านไทย หากการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลสมบูรณ์ ในทะเบียนบ้านไทยจะต้องปรากฏชื่อ หรือ นามสกุล ตามที่แจ้งแก้ไขไว้ และหนังสือเดินทางจะผลิตตามชื่อและนามสกุลที่ปรากฏในทะเบียนบ้านไทย ทั้งนี้ รวมถึงกรณีบุตรบุญธรรม แม้ว่าจะได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยแล้วก็ตาม ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขชื่อ/นามสกุล เช่นกัน หากว่ายังมิได้ดำเนินการแก้ไขในทะเบียนบ้านไทยให้เรียบร้อย ชื่อและนามสกุลขอฃบุตรบุญธรรมก็จะยังคงเดิม
  • เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น