ประจําเดือนไม่มากี่วันท้อง

คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบการตั้งครรภ์ วันนี้ theAsainparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับการขาดประจำเดือนมาฝากเหล่าคุณผู้หญิงกัน มาดูกันว่าประจำเดือนขาดกี่วันถึงท้อง หากตรวจแล้วไม่ท้อง แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติบอกอะไรกับเรา ผลการตรวจแบบไหนแม่นยำที่สุด

คุณผู้หญิงหลาย ๆ ท่านอาจกำลังมีความกังวลใจในช่วงก่อนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประจำเดือนไม่มา แบบนี้แปลว่าท้องหรือไม่ หรือตรวจแล้วผลออกมาว่าไม่ได้ตั้งครรภ์แล้วทำไมประจำเดือนถึงไม่มา แท้จริงแล้วการขาดประจำเดือนนั้นมีสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน

โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา ได้อธิบายเกี่ยวกับประจำเดือนไว้ว่า ปกติแล้วร่างกายของผู้หญิงจะมีการตกไข่ประมาณ 28 วัน ซึ่งอาจมาก่อนหรือหลังเล็กน้อย โดยทั่วไปรอบประจำเดือนของผู้หญิงจึงอยู่ในช่วง 21 – 35 วัน อาจเป็นทุก ๆ 23 วัน ทุก ๆ  35 วัน หรือกี่วันก็ได้ ระหว่างนั้นตราบใดที่รอบเดือนของคุณมาสม่ำเสมอก็จะถือว่าประจำเดือนปกติ แต่เมื่อไรที่ไข่ตกช้าหรือไม่ตกไข่เลยก็จะทำให้ประจำเดือนเลื่อนออกไป บางคนอาจจะ 30-40 วัน ซึ่งบางคนอาจนานไปถึง 2 เดือนเลยก็ได้ เช่น บางครั้งมี 26 วัน เดือนถัดมามี 40 วัน ต่อมามี 30 วัน หากมาไม่สม่ำเสมอแบบที่กล่าวมาจะถือว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ

โดยในแต่ละเดือนผู้หญิงจะตกไข่ 1 ครั้ง เมื่อผู้หญิงมีการตกไข่ ไข่จะมีอายุได้เพียง 1 วันที่จะรอให้เชื้ออสุจิมาปฏิสนธิ เมื่อปฏิสนธิแล้ว ตัวอ่อนก็จะเริ่มฝังตัวเข้ากับผนังโพรงมดลูก ณ จุดนี้ถือว่าเริ่มตั้งครรภ์แล้ว จากนั้นจะเริ่มมีการสร้างฮอร์โมนเบต้า เอชซีจี (beta hCG) ขึ้นมา ถ้าตรวจเจอเบต้า เอชซีจี ก็เท่ากับว่าตั้งครรภ์

เบต้า เอชซีจีที่ถูกสร้างขึ้นมาจะอยู่ในกระแสเลือด และจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ แน่นอนว่าเบต้า เอชซีจี ก็จะถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะด้วย ถ้าจะตรวจการตั้งครรภ์โดยการเจาะเลือด เราจะตรวจเจอเบต้า เอชซีจีและรู้ว่าท้องได้ตั้งแต่วันที่ 10 หลังจากปฏิสนธิ และถ้าจะตรวจโดยการใช้ชุดตรวจปัสสาวะ จะตรวจได้ตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นไป

คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน

ประจําเดือนไม่มากี่วันท้อง

คนท้อง ประจำเดือน ขาดกี่วัน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า บางครั้งสาเหตุของการที่ประจำเดือนขาดอาจจะไม่ได้เป็นเพราะการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า อาการเหล่านี้คือการตั้งครรภ์ ต้องอธิบายก่อนว่าร่างกายมนุษย์นั้นซับซ้อนเกินกว่าจะกำหนดชัดเจนได้ว่าประจำเดือนขาดกี่วันถึงจะท้อง เพราะสาเหตุของการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งถึงแม้การตั้งครรภ์จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยก็ตาม

โดยปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นแตกต่างกันออกไปรายบุคคล ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการปฏิบัติตัวของคุณผู้หญิงด้วยเช่นเดียวกัน

  • ความเครียด คุณผู้หญิงหลาย ๆ ท่านที่เคยประสบปัญหานี้คงเข้าใจดีอยู่แล้วว่าความเครียดนั้นส่งผลต่อสุขภาพเรามากน้อยเพียงใด คุณผู้หญิงบางท่านอาจมีประจำเดือนขาดจากความเครียดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ไปจนถึง 2 เดือน หากคุณผู้หญิงไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การที่ประจำเดือนขาดก็อาจจะเป็นเพราะความเครียดนั่นเอง
  • ออกกำลังกายมากเกินไป
  • น้ำหนักมากเกินไป  ในส่วนผู้ที่มีน้ำหนักเยอะ อาจะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
  • น้ำหนักน้อยเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่เป็นปกติ น้อยเกินไป ส่งผลทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ตกไข่
  • ทานยาคุมกำเนิด
  • เข้าสู่วัยทอง วัยทอง จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้การตกไข่มีความไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะไม่ตกเลยก็ได้
  • มีโอกาสเป็นโรคถุงน้ำรังไข่ผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 18-45 ปี เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายตำแหน่งรวมทั้งที่รังไข่ ทำให้มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ

ซึ่งโดยปกติแล้ว หากคุณผู้หญิงไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การขาดประจำเดือนจะมีโอกาสน้อยมากที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งหากป้องกันแล้ว ประจำเดือนไม่มาตามกำหนดรอบเดือนที่ควรจะเป็น ให้คุณผู้หญิงรอไปอีก 2 – 3 วัน หากประจำเดือนยังไม่มาก็ให้ทำการตรวจครรภ์เพื่อความสบายใจ หากพบว่าท้องแม้ว่าป้องกันแล้ว อาจสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการที่ถุงยางอนามัยรั่ว หรือลืมทานยาคุมกำเนิดนั่นเอง

ประจําเดือนไม่มากี่วันท้อง

คนท้อง ประจำเดือน ขาด กี่วัน

อาการที่บอกว่าเรากำลังตั้งครรภ์

  • ประจำเดือนขาด ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการตั้งครรภ์ เพราะหากว่าปกติแล้วมีประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ แต่จู่ ๆ ก็ขาดหายไปอาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
  • คลื่นไส้และอาเจียน มักจะเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 1 เดือน แต่บางคนอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่มีอาการแพ้ท้องเลยก็ได้
  • คัดเต้านม เกิดจากเลือดไปเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้นจนทำให้มีอาการบวม ตึง และยังมีความไวต่อความรู้สึกคล้ายช่วงมีประจำเดือน
  • ปัสสาวะบ่อย เพราะร่างกายผลิตเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ มากขึ้นจึงทำให้ไตขับของเสียออกจากร่างกายมากขึ้นด้วย
  • ท้องผูก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง รวมถึงเกิดจากการขยายตัวของมดลูกทำให้ไปกดทับลำไส้
  • อารมณ์แปรปรวน จะมีอาการโกรธ หรือหงุดหงิดง่าย เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุล

การตรวจครรภ์สามารถตรวจได้ 2 แบบ คือ ตรวจจากปัสสาวะและตรวจจากเลือด

  • ตรวจจากปัสสาวะ

เป็นวิธีทั่วไปที่ใช้ร่วมกับที่ตรวจครรภ์ ทำง่าย ใช้สะดวก จะตรวจที่บ้านตัวเองก็ได้ เพราะว่าที่ตรวจครรภ์สามารถหาซื้อได้ง่าย และสะดวก วิธีตรวจก็สามารถทำได้ง่าย ตามที่ฉลากบอก

    • ถือที่ตรวจครรภ์ให้ตรงกับที่ ๆ จะปัสสาวะออกมา
    • นำปัสสาวะใส่ถ้วยแล้ว นำที่ตรวจครรภ์จุ่มลงในถ้วย
    • นำปัสสาวะใส่ถ้วยแล้วนำไปหยด ลงบนที่ตรวจครรภ์
  • ตรวจจากเลือด

การตรวจครรภ์โดยใช้เลือด เป็นวิธีที่ไม่ค่อยแพร่หลายมากเท่าการตรวจจากปัสสาวะ และต้องทำในโรงพยาบาลเท่านั้น  แต่วิธีนี้สามารถตรวจได้เร็วกว่าการตรวจที่บ้าน ซึ่งอาจจะเร็วถึง 6 – 8 วันเลยด้วย แต่ผลลัพธ์นั้นจะต้องใช้เวลารอนานกว่าการใช้เครื่องตรวจครรภ์

การตรวจการตั้งครรภ์นั้นสามารถทำได้ภายใน 14 – 20 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย อาจตรวจขึ้น 2 ขีดจางในช่วงอายุครรภ์อ่อนมาก ๆ บางคนอาจจะตรวจเจอได้ ตั้งแต่วันที่ 5-7 หลังมีเพศสัมพันธ์ แต่อาจจะอ่อน หรือไม่พบ ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลแน่นอนควรตรวจซ้ำอีกที 14 – 20 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย

ประจําเดือนไม่มากี่วันท้อง

คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน

วิธีดูแลสุขภาพเมื่อทราบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ

อย่าพึ่งกังวลใจไปนะคะ สำหรับคุณผู้หญิงท่านใดที่ตรวจครรภ์แล้วพบว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เกิดการวิตกกังวลว่าแล้วสาเหตุของการที่ประจำเดือนไม่มานั้นคืออะไร อันดับแรกขอแนะนำให้คุณผู้หญิงเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่า การขาดประจำเดือนดังกล่าวเกิดขึ้นสาเหตุใด เพื่อที่จะได้นำคำแนะนำที่เหมาะสมกับสาเหตุนั้น ๆ มาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่หากคุณผู้หญิงท่านใด ไม่สะดวก ไม่มีเวลาว่างพอที่จะเข้าพบแพทย์ ทางโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ได้อธิบาย และแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อทราบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติไว้ดังต่อไปนี้

  1. คำแนะนำแรกของคุณหมอโรงพยาบาลารุงราษฎร์ ได้แนะนำให้คุณผู้หญิงที่มีการขาดประจำเดือนลดความเครียดลง เพราะความเครียดนั้นมีผลต่อฮอร์โมนที่ทำให้ประจำเดือนเลื่อนได้
  2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ทำให้ร่างกายของเราปรับสมดุลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
  4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มากเกินไป หรือไม่น้อยจนเกินไป
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและถูกวิธี

ข้อควรปฏิบัติเมื่อทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์

  • เข้ารับการตรวจครรรภ์ เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อันดับแรกที่คุณแม่ควรทำ คือ ไปตรวจและไปหาคุณหมอก่อน
  • นับอายุครรภ์ โดยในส่วนนี้คุณหมอก็จะทำการตรวจดูภาวะโดยรวม แล้วจะทำการนับอายุครรภ์ เพื่อดูให้แน่นอนว่า อายุครรภ์เท่าไร
  • ดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัว โดยวิธีนี้จะเกี่ยวโยงกับการดูอายุครรภ์ เพื่อที่จะได้บริหารจัดการ กำหนดข้อปฏิบัติตัว และข้อพึงระวังของคุณแม่ว่าจะต้องทำอะไร โดยในหลักวิชาการ จะกำหนดระยะเวลาการตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์

โดยปกติแล้วกระบวนการตั้งครรภ์จะใช้เวลาทั้งหมด 40 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน โดยแบ่งออกได้ 3 ไตรมาส ได้แก่ ไตรมาสแรก คือ ช่วงเวลาเดือนที่ 1 ถึง เดือนที่ 3 ไตรมาสที่ 2 คือเดือนที่ 4 ถึง เดือนที่ 6 และไตรมาสสุดท้ายคือเดือนที่ 7 ถึงเดือนที่ 9 โดยกำหนดคลอดของคุณแม่แต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านร่างกาย โดยคุณแม่จะทราบวันคลอดได้จากแพทย์ประจำตัว

Source : phyathai sriracha 1 bumrungrad phyathai

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บันทึกการตั้งครรภ์ สำหรับแม่ท้องมือใหม่ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 8

วันที่ 28 ของการตั้งครรภ์ จุดเริ่มต้นของการเตรียมพร้อมสมองลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง ที่คุณแม่อาจยังไม่เคยรู้

เล็งเพิ่มวันลาคลอดเป็น 98 วัน จากเดิม 90 วัน ให้แม่ท้องที่เป็นลูกจ้างได้เฮ! ลาตรวจครรภ์ก็นับด้วย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!