ยกตัวอย่างการประสบอันตราย

คำนิยาม

         ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ การกระทำหรือสภาพการทำงาน ซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน

         

อันตราย คือ สภาวการณ์ที่มีเหตุอันจะทำให้เกิดความสูญเสีย

         

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุคือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดแล้วไม่มีผลของการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

ประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

อุบัติเหตุจากการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ

         1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย

- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด

- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควรสมควร

- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน

- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี

- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย

- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย

- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน

ยกตัวอย่างการประสบอันตราย


          2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

- อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม

- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี

- การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี

- ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ

- แสงสว่างไม่เพียงพอ

- ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

- ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก

  1. มาตฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน,
    สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
  2. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (ปรับปรุง),พ.ศ.๒๕๖๓
    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  3. ความปลอดภัยในงานวิศวกรรม,พ.ศ.๒๕๖๓ (สืบค้นออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก : http://chuonchoom.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

มาตรา ๕  ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

“เจ็บป่วย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน

ค่ารักษาพยาบาล หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เพื่อให้ผลของการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยบรรเทาหรือหมดสิ้นไป และหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ หรือวัตถุที่ใช้แทนหรือทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะที่ประสบอันตรายด้วย

หมวด ๒

เงินทดแทน

มาตรา ๑๓  เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๘  เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย ให้นายจ้างแจ้งเหตุดังกล่าวต่อสำนักงาน ตามแบบและวิธีการที่เลขาธิการประกาศกำหนด ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบ หรือควรจะได้ทราบถึงการประสบอนตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย

มาตรา ๔๙  เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย ให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา ๒๐ ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนต่อสำนักงาน ตามแบบและวิธีการที่เลขาธิการประกาศกำหนดภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย

หมวด ๙

บทกำหนดโทษ

มาตรา ๖๒ นายจ้างผู้ใดไม่จัดให้ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๑๓ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๔๔ วรรคสองหรือวรรคสาม หรือมาตรา ๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ