หา งาน ช่วง ไหน ดี

เตรียมเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการสมัครงาน และรูปถ่ายให้พร้อม ก่อนการสมัครงานทุกครั้งเพื่อป้องกันการตกหล่นหรือความผิดพลาด

นักศึกษาจบใหม่ ช่วงวัยที่กำลังจะเริ่มก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน และการที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานนี่เองก็ทำให้หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยกับ “การสมัครงาน” ซึ่งจริง ๆ แล้วการสมัครงานไม่ได้ใช้เพียงแค่ใบ Transcript หรือใบจบการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีรายละเอียดยิบย่อยต่าง ๆ อีกมากมาย ที่อาจกำหนดชีวิตของเราในอนาคตเลยก็ได้ JobThai เลยไม่รอช้า รีบรวบรวม 4 ขั้นตอนเตรียมตัวสมัครงานง่าย ๆ สำหรับนักศึกษาจบใหม่มาฝาก

1. ตัดสินใจเรื่องสายอาชีพของตัวเองให้ดี 

เรื่องแรกที่นักศึกษาจบใหม่ควรทำก่อนการสมัครงาน นั่นก็คือเราต้องตัดสินใจก่อนว่าชีวิตวัยทำงานของเราจะไปในสายงานไหน งานอะไรที่เราชอบ และงานอะไรที่เราอยากใช้ชีวิตอยู่กับมันถึง 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และ 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งหากเราไม่ได้ชอบงานนั้นจริง ๆ เราก็อาจอึดอัด เสียโอกาส และเสียเวลาไปเปล่า ๆ เราอาจต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับสายอาชีพนั้น ๆ และไตร่ตรองให้ดีก่อน อาจปรึกษาครอบครัว เพื่อน หรือสอบถามจากคนที่อยู่ในสายอาชีพที่เราสนใจ เพื่อจะวางแผนสายอาชีพได้อย่างเหมาะสม

2. เก็บรวบรวมผลงานและประสบการณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม  

ผลงาน และประสบการณ์ ทั้งในระหว่างการเรียนหรือการฝึกงาน เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกตัวตนของเราได้อย่างดีที่สุด ลองคิดย้อนถึงประสบการณ์หรืองานพาร์ทไทม์ต่าง ๆ เหล่านั้นที่เคยทำมา เพื่อนำข้อมูลมาเขียนลงในเรซูเม่ หรือเอกสารสมัครงานของบริษัท รวมไปถึงเก็บรวบรวมเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประสบการณ์หรือกิจกรรมที่เคยทำ แล้วทำ Portfolio แนบไปกับตอนสมัครงานด้วย

3. จัดเตรียมทำ Resume ให้สมบูรณ์ที่สุด 

Resume เป็นสิ่งที่เราต้องใช้ในการสมัครงานทุกครั้ง และเป็นเหมือนเอกสารแนะนำตัวชิ้นแรกที่บริษัทจะได้ทำความรู้จักกับเรา ดังนั้นเราต้องเขียนรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวเองให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลส่วนตัว จุดมุ่งหมายในอาชีพ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อกลับ นอกจากนี้อย่าลืมเช็กความถูกต้องของข้อมูลใน Resume ก่อนส่งด้วย

4. เตรียมเอกสารการสมัครงานให้พร้อม 

ในการสมัครงานหนึ่งครั้ง ต้องใช้เอกสารในการสมัครงานมากมาย ทั้งเรซูเม่ จดหมายแนะนำตัว (Cover Letter) รวมไปถึงสำเนาต่าง ๆ ซึ่งเอกสารเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่อาจตกหล่นหรือผิดพลาดได้ทั้งนั้น ก่อนที่จะส่งใบสมัครงาน หรือเดินทางไปสัมภาษณ์งานที่บริษัท อย่าลืมเตรียมเอกสารเหล่านี้ให้พร้อม รวมถึงเตรียมถ่ายรูปสำหรับใช้ในการสมัครงาน เพราะรูปถ่ายก็ถือเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสมัครงานเช่นกัน

tags : งาน, หางาน, สมัครงาน, นักศึกษาจบใหม่, อาชีพ, job interview, career & tips, เด็กจบใหม่, สัมภาษณ์งาน, คนทำงาน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, แนวคิดในการทำงาน, fresh graduate, เอกสารสมัครงาน, จบใหม่ต้องรู้

หลายๆ ครั้งที่ผมรับสมัครคนเข้าทำงาน ผมเห็นผู้สมัครงานหลายๆ คนโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่เรียนดี กิจกรรมเด่น ไม่รู้จักวิธีการ “ทำการตลาดและการขาย” ตัวเอง เมื่อทำการตลาดไม่เป็น HR หรือบริษัทก็จะไม่แล หรือถ้าทำการตลาดให้ตัวเองเป็น ถูกเรียกไปสัมภาษณ์ หลายๆ คนมักจะขายตัวเองไม่เป็น ตกม้าตายในตอนนั้น

สาเหตุที่ผมเขียนบทความ “5 ขั้นตอนการหางานให้ได้งานสำหรับนักศึกษาจบใหม่” นี้ขึ้นมานั้นเป็นเพราะช่วงนี้ผมเจอนักศึกษาจบใหม่ที่ทำการตลาดและการขายตัวเองไม่เป็นบ่อยเหลือเกิน

บทความนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานให้กับคุณแม้ว่าคุณจะยังไม่ได้มีความรู้ความสามารถสำหรับงานนั้นๆ (แต่อย่างน้อยต้องมีความอยากทำ) เพราะผมเชื่อว่าสำหรับนักศึกษาที่จบใหม่แล้ว เรื่อง Hard Skill อาจจะยังไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นหลักๆ แล้ว HR หรือบริษัทจะดู Soft Skill มากกว่า

ถ้าคุณอ่านบทความนี้จบ ผมรับรองว่าคุณจะสามารถเพิ่มโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์และโอกาสในการได้งานอย่างน้อยๆ เท่าตัวแน่นอนครับ

พร้อมแล้ว มาเรียนรู้วิธีการหางานให้ได้งานกันนะครับ 🙂

ป.ล. แนวคิด วิธีการ และตัวอย่าง ในบทความนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับทุกเคสต์ เพราะฉะนั้นพอคุณอ่านจบแล้วคุณต้องเอามันไปตกผลึกและประยุกต์ใช้ต่อนะครับ

ป.ป.ล. บทความนี้ถูกเขียนขึ้นมาโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (ตาม Common Sense) เพราะฉะนั้นถ้าคุณจบอักษรแล้วอยากทำงานสายวิศวะที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ หรือจบวิศวะแล้วอยากเป็นหมอผ่าตัด แนวคิด วิธีการ และตัวอย่าง คงช่วยอะไรไม่ได้นะครับ

5 ขั้นตอนการหางานให้ได้งาน (สำหรับนักศึกษาจบใหม่)

จริงๆ แล้วการหางานก็เหมือนกับการที่คุณทำการตลาดและขายของนั่นแหละครับ ถ้าคุณเข้าใจหลัก ทำการตลาดได้และขายเป็น คุณก็จะหางานได้ เพราะฉะนั้นขั้นตอนทุกอย่างในบทความนี้ ผมจะเขียนผูกเรื่องการหางานเข้ากับการตลาดและการขายนะครับ

1. เตรียมคอนเทนต์สำหรับการทำการตลาด: เขียน Resume/CV ให้ดี

Resume/CV ถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่ HR หรือบริษัทจะเห็นจากคุณ ถ้าคุณเขียน Resume/CV ได้ไม่ดี โอกาสที่คุณจะถูกเรียกสัมภาษณ์ก็จะยิ่งน้อยลงไปด้วย

ผมมีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมเรียนรู้มาจากการนั่งอ่าน Resume/CV มาแชร์เพื่อทำให้คุณทำ Resume/CV ของคุณให้ดีขึ้นครับ

ความแตกต่างระหว่าง Resume และ CV คือ 1. โดยปกติแล้ว Resume จะไม่เกิน 1 หน้า ในขณะที่ CV จะเกินหนึ่งหน้าได้ 2. Resume บอกถึงความสามารถและประสบการณ์ของคุณแบบคร่าวๆ ในขณะที่ใน CV คุณสามารถสาธยายความสามารถ ประสบการณ์ และความรู้ของคุณได้ 3. Resume ปรับเปลี่ยนได้ตามงานที่สมัคร ส่วน CV จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง (เพราะเป็นการลิสต์ทุกอย่างที่สำคัญที่คุณเคยทำมา) สำหรับนักศึกษาจบใหม่ ผมคิดว่าใช้แค่ Resume ก็พอ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง Resume และ CV ได้ที่นี่

1. เปิดตัวต้องทำให้น่าสนใจ

บ่อยครั้งที่ผมเจอคนเขียน Statement ที่ใช้สรุปรวมความสนใจ ความชอบ และความต้องการของตัวเองแบบทั่วๆ ไป เช่น I am looking for a meaningful job that will fulfil myself as a professional

อ่านแล้วรู้สึกเป็นยังไงบ้างครับ?

สำหรับผม ผมรู้สึกว่าคนคนนี้ไม่มีความน่าสนใจอะไรเลย ถ้าสมมุติลองปรับสักนิดให้เป็น I am a creative professional that is seeking for a digital planner position จะดูน่าสนใจมากขึ้นเยอะเพราะว่า 1. คุณอธิบายถึงคุณลักษณะของตัวเอง 2. คุณอธิบายถึงงานที่อยากทำ

2. ค่าพลัง… อย่าใส่

การใส่ค่าพลังพวก Teamwork, Leadership, Communication หรืออื่นๆ ลงไปใน Pie Chart หรือ Bar Chart นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

ถ้าคุณสงสัยว่าทำไม ผมอยากให้คุณลองคิดตามดูนะครับว่าการที่คนคนนึงมีค่าพลัง Teamwork 90% หรือค่า Leadership 5 เต็ม 5 นั้น เขาเอาเกณฑ์การวัดมาจากไหน? เขารู้ได้ยังไงว่าความสามารถ (ที่เป็น Soft Skill) นั้นวัดออกมายังไง?

เห็นไหมล่ะครับว่ามันไม่ค่อยสมเหตุสมผล

เพราะฉะนั้น ในความเห็นของผม แทนที่จะบอกว่าคุณเก่งอะไร (โดยเฉพาะในด้าน Soft Skill) วิธีการนำเสนอความสามารถที่ดีกว่าคือการบอกว่าคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้าง (เช่นเคยประกวดการแข่งขันแผนการตลาดได้ที่ 1 หรือถ้าจะให้ดีใส่ลิงก์ผลงานที่คุณเคยทำลงไปด้วยเลย)

ารใส่คะแนนสอบภาษาอังกฤษเช่น TOEFL/IELTS หรือผลการสอบวัดระดับอื่นๆ ที่มีมาตรฐาน สามารถใส่ลงไปใน Resume สามารถทำได้ (และถ้าคุณทำคะแนนได้ดี มันก็เป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความสามารถของคุณ)

3. อธิบายตัวเองให้เหมาะกับตำแหน่ง

“กุนซือมักจะไม่แข็งแรงเท่าแม่ทัพ เช่นกัน แม่ทัพก็ไม่ลึกซึ้งเท่ากุนซือ”

คุณไม่ควรบอกว่าทำอะไรได้หลายสิ่งหลายอย่างเพราะแต่ละตำแหน่งอาศัยความรู้ความสามารถที่ต่างกัน เช่นถ้าคุณสมัครงานเกี่ยวกับการวางแผน คุณก็ควรที่จะพูดถึงความสามารถในการวางแผนของคุณ แต่ถ้าคุณสมัครงานเรื่องขาย คุณก็ควรที่จะเน้นชูทักษะด้านการสื่อสารของคุณ

ผมเห็นเด็กจบใหม่หลายคนมากๆ ที่ชูความสามารถของตัวเองได้ไม่เหมาะกับงาน เช่นคนที่บอกว่าชอบวางแผนแต่ดันเน้นบอกว่าตัวเองพูดเก่งเป็นพิธีกรนู่นนี่นั่น อีกอย่างที่พบเจอบ่อยคือการชูโรงตัวเองมีความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดีมากๆ (โดยการใส่คะแนน 5 เต็ม 5 ใน Chart สวยๆ) ซึ่งเอาจริงๆ “ทักษะความเป็นผู้นำ” เป็นสิ่งที่ทางบริษัทไม่ได้โฟกัสกับผู้สมัครงานในตำแหน่ง Junior (โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยผ่านการทำงานจริงมาก่อน) เพราะการที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ คุณควรที่จะเรียนรู้การเป็นผู้ตามที่ดีก่อน

ทุกอย่างมีข้อยกเว้นนะครับ บางงาน บางตำแหน่ง ต่อให้เป็นระดับ Junior ความเป็นผู้นำอาจจะเป็นสิ่งสำคัญก็ได้

4. การออกแบบ Resume/CV เป็นสิ่งที่สำคัญ

การออกแบบ Resume คือการออกแบบ User Experience ความหมายก็คือคุณสามารถออกแบบได้ว่าต้องการให้ HR หรือบริษัทนั้นเปิดอ่าน Resume ของคุณอย่างไร ทำการบริโภคคอนเทนต์ของคุณอย่างไร และรู้สึกกับคุณในขั้นต้นอย่างไร

คุณสามารถหา Best Practice (เช่นการทำไฟล์ Resume ให้เป็น pdf ก่อนส่ง การเอาประสบการณ์ล่าสุดขึ้นมาก่อนประสบการณ์ในอดีต หรือการเอาประสบการณ์มาก่อนการศึกษา) ได้เพียงแค่ลองค้นหาผ่าน Google

นอกจากเรื่องแนวคิดของการเขียน Resume ที่คุณจะหาได้จากเว็บไซต์ต่างๆ บน Google แล้ว คุณสามารถใช้โปรแกรมอย่าง Canva ที่มี Template ของ Resume ให้มากมายอยู่แล้วมาใช้สร้าง Resume ของคุณก็ได้

2. ทำการตลาดให้ตัวเอง: ไปอยู่ในที่ที่คนจ้างอยู่

เมื่อมีคอนเทนต์ที่ดีแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณทำการตลาดให้กับตัวเอง

สิ่งที่คุณต้องคิดในขั้นนี้ก่อนที่จะเริ่มทำการตลาดก็คือลูกค้าของคุณ (HR หรือบริษัท) นั้นชอบจะไปอยู่ที่ไหนและชอบรับสารจากช่องทางไหน

จากประสบการณ์ของผม (ทั้งในฐานะคนที่เคยสมัครงานตอนจบใหม่ๆ และปัจจุบันนี้เป็นเจ้าของบริษัทที่รับสมัครงาน) ผมคิดว่าที่ที่คุณควรจะไปพบปะกับ HR หรือบริษัทนั้นมีอยู่ประมาณ 6 ที่ครับ

1. สมัครงานตรงกับบริษัท

หลายๆ บริษัทมีการประกาศรับสมัครงานบนช่องทางของตัวเองอย่างเช่นเว็บไซต์หรือบนโซเชียลมีเดีย

คุณสามารถเข้าไปดูช่องทางของบริษัทที่คุณอยากทำงานด้วยแล้วก็มองหา Section ที่เขียน Career, Jobs หรือ We are hiring เพื่อดูรายละเอียดได้

ข้อดีของวิธีนี้คือคุณจะรู้ได้เลยว่าบริษัทต้องการให้คุณสมัครงานกับพวกเขาด้วยวิธีไหน (ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการถูกเชิญสัมภาษณ์ให้กับคุณได้) แต่ข้อด้อยคืออาจจะทำให้คุณใช้เวลาเขียนและปรับใบสมัครให้เหมาะกับงานนั้นๆ ค่อนข้างมากเพราะบริษัทแต่ละบริษัทก็มีความต้องการไม่เหมือนกัน

บริษัทของผมก็กำลังตามหาเพื่อนร่วมงานอยู่หลายคน เข้าไปดูในเว็บไซต์ได้นะครับ 🙂

2. สมัครงานในมหาวิทยาลัย

หลายๆ บริษัทจะมีการไปออกบูธตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งนั่นอาจจะหมายรวมถึงมหาวิทยาลัยของคุณด้วย เพราะฉะนั้นคอยติดตามข่าวหรือประกาศเกี่ยวกับการออกบูธรับสมัครงานต่างๆ ให้ดี เพราะนั่นเป็นหนึ่งในวิธีการสมัครงานที่ Resume ของคุณจะถูกส่งไปให้กับ HR ได้เร็วที่สุด

3. Jobboard

Jobboard ถือเป็นช่องทางการโปรโมตตัวเองที่ง่ายที่สุดช่องทางนึง เพียงแค่คุณเข้าใจสร้างโปรไฟล์ไว้ใน Platform นั้นๆ

ควร โทรไปสมัครงาน กี่โมง

การโทรไปหาลูกค้าช่วงเช้าๆ หรือช่วงสายๆ หลังจากที่พวกเขาเริ่มเข้างานแล้ว เช่น เวลา 9.30-10.00 หรือ 11.00 เป็นเวลาที่ดีเพราะช่วง 9.00-9.30 เป็นช่วงที่พวกเขากำลังง่วนกับการจัดตารางงาน บางคนมาถึงหน้าคอมและกำลังเปิดเช็คอีเมล์อยู่เลย มันจึงเป็นช่วงที่ถ้าคุณโทรมาได้ถูกจังหวะ พวกเขาจะมีแนวโน้มนั่งเช็คตารางเวลาให้คุณและรอรับ ...

สมัครงานตอนไหนดีที่สุด

3 เดือนก่อนเรียนจบ – นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสมัครงานหรือการขอไปฝึกงาน การส่งใบสมัครงานของคุณอย่างถูกที่ถูกเวลามีความสำคัญพอ ๆ กันกับการมีเรซูเม่ที่โดดเด่น และมีใบสมัครงานที่ดี – ติดต่อคอนเนคชั่นที่คุณมีไม่ว่าคุณจะรู้จักพวกเขาเป็นการส่วนตัวหรือผ่านการฝึกงานเพื่อให้พวกเขารู้ว่าคุณพร้อมที่จะทำงานแล้ว