หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

5 เว็บไซต์ หางานในต่างประเทศ

เชื่อว่าการไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน ยิ่งค่าแรงที่สูงและคุณภาพชีวิตที่ดี ต่างจากประเทศไทย ยิ่งน่าดึงดูดให้ใคร ๆ ก็ไปอยากไปทำงาน อย่างไรก็ตาม คนมักจะคิดว่าการสมัครงานต่างประเทศเป็นเรื่องยาก ไหนจะมีข้อจำกัดในด้านภาษาและสกิล แต่เชื่อว่าไม่ยากเกินความพยายามอย่างแน่นอน

ถ้าหากได้รู้จัก 5 เว็บไซต์และทริคดี ๆ ที่จะทำให้การสมัครงานต่างประเทศเป็นไปได้และเป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่ง Globish ได้รวบรวมไว้ที่นี่แล้ว

แต่ก่อนจะไปดูว่า 5 เว็บสมัครงานต่างประเทศมีอะไรบ้าง ไปอัพสกิลภาษาอังกฤษกันก่อนได้ที่

#ไม่รู้ตกเทรนด์ 10 คำศัพท์อังกฤษเกิดใหม่ในช่วง WFH

รวม 30 Phrasal verb ที่ห้ามแปลตรงตัว

44 คำขึ้นต้นและลงท้ายอีเมล ที่ต้องรู้ #ใช้ได้ทุกสถานการณ์

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

1. Linkedin

Linkedin เป็นเว็บไซต์สมัครงานต่างประเทศอันดับ Top ที่ถูกใช้งานใน 200 ประเทศทั่วโลก เรียกได้ว่าใคร ๆ ก็ต้องมี Linkedin จากผลสำรวจของ Jobvite Recruiter Nation 87% ของแมวมองหรือ HR ในต่างประเทศ ใช้ Linkedin ในการหาผู้สมัคร แต่ผู้สมัครเองก็ต้องอัพเดตโปรไฟล์ สกิล ประสบการณ์ของตัวเองอยู่เสมอ และอย่าลืมสร้าง Connection กับเพื่อน ๆ ในที่ทำงานปัจจุบันไว้ด้วย เพราะ Linkedin จะเน้นตัวบุคคลเป็นหลัก

เว็บไซต์ Linkedin : https://www.linkedin.com

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

2. Glassdoor

เว็บไซต์หางานที่แตกต่างจากเจ้าอื่น เพราะ Glassdoor.com บอกข้อมูลบริษัท รีวิวจากพนักงานจริง คำถามสัมภาษณ์งานต่าง ๆ แถมยังมีข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยไม่ได้ อย่างเรทเงินเดือน  เรียกได้ว่าช่วยชีวิตและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้สมัครมาก ๆ แต่ข้อเสียของเจ้าเว็บนี้คือฐานข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ที่อเมริกา จึงเหมาะกับคนที่ต้องการสมัครงานต่างประเทศโดยเฉพาะในโซนอเมริกา

เว็บไซต์ Glassdoor.com : http://www.glassdoor.com

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

3. Careerjet

เว็บหางานที่รวมงานจากประเทศอื่นกว่า 90+ ประเทศทั่วโลก เหมาะกับคนที่อยากสมัครงานต่างประเทศ แต่ยังไม่รู้ว่าอยากย้ายไปทำงานประเทศไหนดี แถมตำแหน่งงานยังครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม มีตำแหน่งให้เลือกมากมาย ถึงแม้ว่าตัวเว็บของ Careerjet อาจจะดูไม่น่าใช้ แต่เรื่องงานต้องบอกเลยว่าครบ จบ ในเว็บเดียว

เว็บไซต์ Careerjet : https://www.careerjet.co.th

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

4. Upwork

ถึงเวลาของชาว Freelance ที่อยากสมัครงานต่างประเทศแล้ว! เว็บ Upwork รวบรวมงานสำหรับชาว Freelance โดยเฉพาะ มีทั้งงานในและต่างประเทศ โปรเจคระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งถ้าคนมีสกิลภาษาอังกฤษสูง ๆ ยิ่งได้เปรียบ เพราะจะมีตัวเลือกงานที่มากขึ้นนั่นเอง ส่วนค่าตอบแทนแน่นอนว่าสูงกว่ารับงาน Freelance ในประเทศไทยแน่นอน

เว็บไซต์ Upwork : https://www.upwork.com

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

5. Indeed.com

เว็บไซต์หางานแบบครอบจักรวาล มีฟีเจอร์ไม่ต่างจาก Linkedin เท่าไหร่ เช่น สร้างโปรไฟล์ อัพเดตประสบการณ์ หรือสมัครงานผ่านเว็บ Indeed ได้โดยตรง แต่จุดแข็งเลยคือ ข้อมูลที่เยอะ ครบ และน่าเชื่อถือ เช่น งานที่กำลังมาแรงในตลาดแรงงาน สายงานที่เป็นที่ต้องการ และเงินเดือน สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเมื่ออยากสมัครงานต่างประเทศ

เว็บไซต์ Indeed : www.indeed.com

ที่สำคัญ สำหรับคนที่อยากสมัครงานต่างประเทศ อย่าลืมอัพสกิลภาษาอังกฤษให้พร้อม เตรียมรับทุกโอกาสที่จะเข้ามา ถ้าหากมีทั้งภาษาและสกิล การไปทำงานต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องยาก

เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มความโปร พูดโฟลว์ได้อย่างมั่นใจ ได้ที่ Globish คอร์สเรียนภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดสำหรับวัยทำงาน พิสูจน์แล้วจากผู้เรียนกว่า 10,000 คน ว่าพูดได้จริง ไม่ใช่แค่ท่องจำ

การหางานใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับทุกๆ คน ในสมัยนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างก้าวไกล เว็บไซต์หางานหลายแห่งทำให้เราไม่ต้องลำบากไปยื่น resume เหมือนกับในอดีตอีกต่อไป

ในโพสนี้มาดูกันครับว่าเว็บไซต์หางานทั้งในประเทศและต่างประเทศมีอะไรบ้าง

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

เว็บไซต์ใช้หางานได้ทั่วโลก

เว็บไซต์ที่ผมจะไล่ต่อไปนี้จะเป็นเว็บไซต์คุณภาพที่จะช่วยให้คุณหางานได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยและต่างประเทศ และสามารถหาได้ทั้งบัณฑิตจบใหม่ และผู้ที่มีประสบการณ์เคยทำงานมาก่อนแล้วครับ

1. Linkedin.com

Linkedin เป็นทั้งเว็บไซต์จัดหางาน และ social network สำหรับผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงาน อาชีพที่อยู่ในเว็บไซต์แห่งนี้มีหลากหลายสาขาอาชีพ และครอบคลุมทั่วทั้งโลก

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

เว็บไซต์แห่งนี้มีส่วนช่วยให้คุณได้งานอย่างมาก เพราะว่า HR ของบริษัทต่างๆ มักจะเข้ามาดูหาผู้ที่มีความเหมาะสมจาก profile ในเว็บไซต์นี้อยู่บ่อยครั้ง ทำให้คุณอาจจะถูกเรียกไปสัมภาษณ์โดยที่ยังไม่ได้สมัครด้วยซ้ำไป นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่ม connection ของคุณผ่านทางเว็บนี้ได้ด้วยการเล่น social network ของตัวเว็บด้วย บางที HR จะติดต่อมาหาคุณเองด้วยซ้ำไปครับ

จุดแข็งที่ผมชอบเกี่ยวกับ Linkedin คือจุดสามารถระบุอย่างละเอียดได้เลยว่า คุณมีทักษะด้านใดบ้าง ซึ่งจะทำให้ HR ประทับใจในตัวคุณมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น Linkedin ยังมีโพสหางานเหมือนกับเว็บอื่นๆ ด้วย งานที่อยู่ในเว็บมีมากมายมหาศาลไม่ว่าจะทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เว็บนี้เป็นเว็บต้นๆ ที่คุณควรจะใช้เพื่อที่จะหางานให้ได้

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี
โพสหางานในเว็บไซต์ LinkedIn

น้องๆ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงาน (Internship) ได้ด้วยเช่นกัน

2. Indeed.com

Indeed เป็นเว็บหางานที่รวมงานทั้งหมดในสากลพิภพ นับตั้งแต่เว็บไซต์หางานทั่วไปไปจนถึงเว็บไซต์ของบริษัท เรียกได้ว่างานทุกประเภทที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตแทบจะปรากฏให้เห็นในเว็บนี้ทั้งหมด Indeed ยังให้บริการทั่วทั้งโลก ดังนั้นถ้าคุณต้องการหางานในไทยและต่างประเทศ คุณสามารถใช้เว็บนี้ได้อย่างสบายๆ

จุดแข็งของ Indeed อีกอย่างหนึ่งคือ นอกจากคุณจะสมัครงานผ่านเว็บได้แล้ว คุณยังสามารถศึกษาตลาดแรงงานได้ด้วยว่างานนี้ควรจะได้เงินเดือนประมาณเท่าไร เช่นเดียวกับตรวจสอบได้เช่นกันว่าอาชีพไหนกำลังมาแรง มีความต้องการพนักงานสูง

การ search หางานทำอย่างง่ายและสะดวกสบายครับ คุณสามารถระบุได้ว่าต้องการอาชีพแบบไหน ทำงานที่ไหน และค่าตอบแทนเท่าไร ฯลฯ

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี
โพสต์สมัครงานในเว็บไซต์ Indeed.com

ไม่เพียงเท่านั้น Indeed ยังมีฟีเจอร์ที่ทำให้คุณสามารถอ่าน “รีวิว” ของบริษัทที่มารับสมัครงานด้วยว่า ปฏิบัติต่อพนักงานดีหรือแย่เพียงใด

น้องๆ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วยเช่นกัน

3. Glassdoor.com

Glassdoorเป็นเว็บหางานที่สามารถใช้ได้ทั้งโลก (รวมถึงประเทศไทยด้วย) และครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

จุดแข็งอย่างมากของ Glassdoor คือเป็นเว็บไซต์หางานที่คุณสามารถรู้ความคิดเห็นของ “คนใน” ได้ว่าภายในบริษัทเป็นอย่างไร เงินเดือนเป็นอย่างไร สวัสดิการเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถเปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ด้วย ซึ่งจะช่วยคุณตัดสินใจถ้าคุณได้งานหลายบริษัทครับ แต่ข้อมูลบริษัทไทยจะไม่ละเอียดเท่ากับบริษัทต่างประเทศครับ

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี
Glassdoor

ไม่เพียงเท่านั้นคุณยังสามารถเตรียมตัวในการสัมภาษณ์กับเว็บแห่งนี้ได้ด้วย เพราะผู้ที่เคยสมัครงานกับบริษัทนี้จะมาโพสว่าคำถามตอนช่วงสัมภาษณ์มีอะไรบ้าง และการสัมภาษณ์ดำเนินเป็นแนวไหน คุณจะได้เตรียมพร้อมได้ทันท่วงทีครับ

โดยรวมแล้วผมชอบ Glassdoor เป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาเว็บหางานต่างประเทศเลยครับ เพราะ user interface ดีมาก ใช้งานง่ายและดูทันสมัย แถมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ยังเยอะมากด้วยครับ

น้องๆ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วยเช่นกัน

4. Idealist.org

Idealistเป็นเว็บหางานที่ทุกสาขาอาชีพสามารถใช้หางานได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแบบ full-time, part-time หรือแม้กระทั่งการหาอาสาสมัครในธุรกิจแบบไม่แสวงหาผลกำไร อย่างไรก็ดีงานที่ลิสต์อยู่บนเว็บไซต์นี้จะน้อยกว่าเว็บไซต์หางานอื่นๆ ครับ

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี
Idealist

เช่นเดียวกับ Linkedin คุณสามารถสร้าง connection ผ่านเว็บไซต์แห่งนี้ได้ เพียงแค่ระบุความสนใจของคุณลงไป เว็บจะหากลุ่มหรือบุคคลที่มีความสนใจเหมือนกับคุณมาให้คุณสร้างความสัมพันธ์ได้

น้องๆ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วยเช่นกัน

5. Upwork.com

Upwork เป็นเว็บไซต์หางานที่ไม่เหมือนเว็บอื่น เพราะเป็นเว็บหางานที่เน้นการหาเหล่า freelance ทั้งหลายมาทำงานให้กับบริษัทที่เข้ามาจ้าง ไม่ว่าคุณจะต้องการโปรเจ็คระยะสั้น หรือระยะยาวก็สามารถหาได้จากเว็บแห่งนี้

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

ฟรีแลนซ์ที่เข้ามาสมัครงานในเว็บนี้ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ถ้าคุณสามารถใช้ภาษาอังกฤษและมีทักษะที่ดี คุณสามารถทำงานกับบริษัทต่างชาติที่อยู่ในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลียได้ แถมยังได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าทำงานในประเทศไทยด้วย!

6. Careerbuilder.com

Careerbuilderเป็นหนึ่งในเว็บหางานที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่ง คุณสามารถใช้หางานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสมัครผ่านเว็บไซต์แห่งนี้ได้ทันที เช่นเดียวกับกับเว็บไซต์หางานอื่นๆ ด้านบน

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี
Careerbuilder

จุดเด่นของ Careerbuilder คือตัวเว็บจะให้คำแนะนำของคุณหลายเรื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครงานไปจนถึงคำแนะนำเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของคุณ ทำให้คุณสามารถได้ความรู้มากมายจากเว็บนี้เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Trending Searches ที่ให้คุณได้ทราบว่าคนที่กำลังหางาน search หาอะไรมากที่สุดด้วยครับ

7. Careerjet.in.th

Careerjet เป็นอีกเว็บหางานที่คุณสามารถหางานได้ทั่วทั้งโลก นอกจากนี้ยังครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งสูงหรือเริ่มต้นก็สามารถหาได้ทั้งสิ้น

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี
Careerjet

ในเรื่องฟีเจอร์ Careerjet อาจจะสู้เว็บอื่นไม่ได้ แต่ในเรื่องจำนวนของงานในเว็บไซต์สามารถสู้ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นงานในต่างจังหวัดของไทยหรือเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพก็ตาม การใช้งานก็สะดวกสบายเพราะมีเว็บไซต์ภาษาไทยครับ

8. Craigslist

Craigslistเป็นเว็บที่ไม่ใช่เว็บไซต์หางานเสียทีเดียว แต่ก็มีส่วนของการรับสมัครงานที่ใหญ่ไม่น้อย งานใน Craigslist นี้มีทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย และครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรม

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

อย่างไรก็ดี Craigslist เป็นเว็บไซต์ยุค 90 ซึ่งพอเข้าไปจะรู้สึกว่ามันโบราณๆ อย่างมาก และฟีเจอร์ไม่อาจเทียบได้กับเว็บยุคใหม่ครับ

น้องๆ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วยเช่นกัน

เว็บหางานเฉพาะในประเทศไทย

รายชื่อเว็บไซต์ต่อไปนี้จะสามารถใช้หางานในประเทศไทยหรือจำกัดเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เท่านั้น

9. jobsDB.com

jobsDB เป็นเว็บไซต์หางานที่สามารถหางานในประเทศไทยและในเอเชียแปซิฟิกอย่างเช่นฮ่องกง และอินโดนีเซีย งานใน jobsDB มีมากมายแทบจะทุกอุตสาหกรรม ทำให้คุณสามารถหางานในฝันผ่านเว็บไซต์แห่งนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร

หา งาน ใน เว็บ ไหน ดี

จุดเด่นของ jobsDB คือคุณสามารถ search ตำแหน่งงานได้โดยใช้เงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายชั่วโมง ซึ่งจะช่วยตัดงานที่คุณไม่อยากได้ออกไปจำนวนมาก การค้นหางานจะได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและไม่เสียเวลาครับ

บนหน้าเว็บของ jobsDB ถือว่าสวยงาม นอกจากนี้ยังมีบทความดีๆ เกี่ยวกับการสมัครงานให้อ่านด้วย เช่นจะทำอย่างไรถ้าเกรด (GPA) ของเราไม่ดีเป็นต้น

10. jobtopgun.com

jobtopgun เป็นเว็บไซต์หางานอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ต่างจากเว็บไซต์อื่นๆ jobtopgun มีระบบการหางานที่เรียกว่า “Super Match” ซึ่งจะช่วยหางานที่เหมาะสมให้คุณได้ในชั่วพริบตา หรือถ้าอยากจะ search ด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน

ไม่เพียงเท่านี้ jobtopgun ยังมีระบบ Super Resume ซึ่งจะช่วยจัดการ resume ที่ไม่เรียบร้อยของคุณให้เนี๊ยบก่อนที่จะสมัครงาน คุณจะได้มีโอกาสถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานมากยิ่งขึ้นครับ

11. Jobthai.com

jobthai เป็นเว็บไซต์หางานทุกระดับในประเทศไทย ซึ่งต้องบอกจริงๆว่ามีงานจำนวนมากมายมหาศาลอยู่ในเว็บแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานในกรุงเทพ ต่างจังหวัด และในนิคมอุตสาหกรรมก็มีทั้งหมด

จุดเด่นมากๆ ของ Jobthai คือผู้หางานสามารถ search หางานที่ทำใกล้กับรถไฟฟ้าและรถเมล์ได้ เพื่อที่การเดินทางจะสะดวกสบาย นอกจากนี้เว็บไซต์ยังลิสต์บริษัทที่ต้องการพนักงานโดยด่วนด้วย

12. jobbkk.com

jobbkk เป็นอีกเว็บไซต์ที่รวบรวมงานต่างๆ ภายในประเทศไทยไว้นับแสนงาน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อได้เลยว่าเว็บนี้มีงานให้ค้นหาทุกอุตสาหกรรมอย่างแน่นอน เว็บนี้ยังเป็นเว็บหางานเว็บแรกๆ ของประเทศไทยด้วย เพราะเปิดมามากกว่า 10 ปีแล้ว

แม้ว่าจะชื่อ “bkk” แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถหางานแค่ในกรุงเทพได้เท่านั้น คุณสามารถหางานจาก jobbkk ได้ในทุกภาคของประเทศไทย ที่เด่นไปกว่านั้นคุณยังสามารถหางานแบบ part-time ได้อีกด้วย

ในการค้นหา คุณยังสามารถระบุได้ว่า ต้องการเห็นเฉพาะงานที่ยินดีรับนักศึกษาจบใหม่ ผู้ไม่มีประสบการณ์ หรือผู้พิการได้

น้องๆ นักศึกษาในประเทศไทยสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วยเช่นกัน

13. JobTH.com

JobTH อีกหนึ่งเว็บไซต์หางานที่ไว้ใจได้ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย งานในเว็บนี้ครอบคลุมทุกภาค ดังนั้นถ้าคุณกำลังหางานอยู่ เว็บนี้เป็นอีกเว็บหนึ่งที่ต้องเปิด และมาฝากประวัติเอาไว้ให้ได้

เว็บนี้เข้มงวดมากเรื่องการตรวจสอบงานที่มีคุณภาพ บริษัทที่มาโพสต์งานและไม่ปฏิบัติตามกฎจะถูกนำออกจากระบบทันที ทำให้ผู้สมัครไว้ใจได้ว่าไม่โดนหลอกอย่างแน่นอน

14. WorkVenture.com

WorkVenture เป็นเว็บไซต์หางานหน้าใหม่ที่มีความโดดเด่นต่างจากเว็บไซต์หางานของไทยอื่นๆ นั่นคือมีระบบรีวิวเหมือนกับเว็บไซต์หางานของต่างประเทศ คุณสามารถอ่านรีวิวของพนักงานจริงๆ ได้ว่าบริษัทไทยที่กำลังจะสมัครมีปัจจัยอย่างเช่น สมดุลชีวิตการทำงาน ความก้าวหน้า และบรรยากาศที่ทำงานเป็นอย่างไร

การหางานสามารถหาได้ทุกระดับ ทุกอุตสาหกรรม และทุกภูมิภาค และเว็บจะพิจารณาจากข้อมูลใน profile ของคุณด้วย ว่าคุณเหมาะสมกับงานที่ลิสต์ไว้เพียงใด อย่างไรก็ดี ด้วยความที่เพิ่งตั้งได้ไม่นานนัก ทำให้จำนวนงานในเว็บไซต์น้อยกว่าเว็บอื่นๆ

น้องๆ นักศึกษาในประเทศไทยสามารถใช้เว็บนี้ในการหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วยเช่นกัน

15. ThaiBestJobs.com

ThaiBestJobs เป็นเว็บไซต์หางานที่สามารถระบุการค้นหาได้อย่างละเอียดถึงระดับ เขตหรืออำเภอของประเทศไทยเลยทีเดียว ทำให้ผู้หางานสามารถหางานในฝันที่ตรงใจได้ดียิ่งขึ้น การใช้งานก็ถือว่าเรียบง่ายและสะดวกสบาย ไม่ซับซ้อนแต่ประการใดครับ

ข้อควรทราบในการหางาน

นอกเหนือจากการหางานบนเว็บไซต์เหล่านี้แล้ว คุณยังควรเข้าไปดูในเว็บไซต์ของแต่ละบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะในบางบริษัทอาจจะไม่โพสลงในเว็บไซต์หางานเลยก็ได้ครับ และอาศัยการรับโดยตรงอย่างเดียว

ยกตัวอย่างเช่นบริษัทในสาขา Finance อย่าง Investment Banking หรือ Management Consulting มักจะเปิดรับพนักงานใหม่โดยที่ไม่ได้โพสลงในเว็บไซต์หางานแต่อย่างใดครับ

สำหรับนักศึกษาจบใหม่ (โดยเฉพาะใครที่เรียนอยู่ในต่างประเทศ) ถ้ามหาวิทยาลัยของคุณมีบริการ career service ที่มีบริษัทมาโพสงานบนแพลตฟอร์ม ผมแนะนำให้คุณสมัครงานผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวครับ โอกาสที่คุณจะถูกเรียกไปสัมภาษณ์จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าเลยทีเดียว

อีกทางเลือกที่น่าสนใจคือการโทรศัพท์หรืออีเมล์ไปหา HR โดยตรงเพื่อสอบถามว่ามีตำแหน่งว่างหรือไม่ และฝาก Resume ไปในคราวเดียวกันครับ วิธีนี้ใช้ได้ทั้งในไทยและต่างประเทศครับ

ส่วนใครที่หางานเท่าไรก็ยังไม่ได้สักที อย่าเพิ่งสิ้นหวังครับ ผมแนะนำว่าให้ลองพิจารณาใช้บริการของ Headhunter หรือมืออาชีพเรื่องการหางานดูครับ พวกเขาอาจจะหางานในฝันให้คุณได้ครับ