อธิบายธุรกิจ netflix ในการใช้ข้อมูล big data

การวิเคราะห์ Big Data เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบข้อมูลจำนวนมาก เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจและกำหนดทิศทางให้กับธุรกิจที่เหมาะสม โดยทั่วไประบบการวิเคราะห์ Big Data ที่ทันสมัยช่วยให้กระบวนการวิเคราะห์รวดเร็วและมีประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้นและการบรรลุความคล่องตัวนี้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็มีต้นทุนที่ต่ำลง

Show

องค์กรต่างๆมีการลงทุนในการวิเคราะห์ Big Data มากขึ้นทำให้องค์กรการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความคล่องตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันบนโลกออนไลน์ 

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 7 ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการทำธุรกิจ มีแบรนด์ไหนบ้างไปดูกันเลยค่ะ

คำศัพท์ควรรู้ก่อนอ่าน

  1. Big Data – ปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ในบริษัทของคุณทุกรูปแบบ ไม่ว่าแหล่งที่มาจะมาจากภายในบริษัทหรือภายนอกก็ตาม 
  2. การบริหารความเสี่ยง – กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดต้นเหตุและลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตลดน้อยลง
  3. Supply Chain Management (SCM) – กระบวนการดำเนินงานของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค
  4. Suppliers – คนหรือองค์กรที่จัดหาสินค้าและบริการให้กับธุรกิจอื่น
  5. Point Of Sale (POS) – ระบบขายหน้าร้านหรือเครื่องที่ทำการบันทึกข้อมูลสินค้าที่ขายออกไป 

#1 การใช้ข้อมูลในการดึงดูดและรักษาลูกค้า 

ลูกค้าคือทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดที่คุณควรใส่ใจ ไม่มีธุรกิจใดที่สามารถประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรง อย่างไรก็ตามต่อให้คุณมีฐานลูกค้าที่แข็งแรง แต่หากคุณละเลยที่จะศึกษาว่าลูกค้าของคุณจริงๆแล้วต้องการสิ่งใด มันง่ายมากเลยที่คุณจะนำเสนอสิ่งที่ “ลูกค้าไม่ต้องการ” ในที่สุดก็จะทำให้คุณสูญเสียลูกค้าไปและสิ่งนี้จะเป็นอุปสรรคต่อเส้นทางสู่ความสำเร็จของคุณ

การใช้ Big Data ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถสังเกตรูปแบบและแนวโน้มของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหมายความว่าเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นที่จะเข้าใจลูกค้าในยุคดิจิทัล ด้วยกลไกการวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าจะทำให้ธุรกิจของคุณได้รับข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึก ที่จำเป็นต่อการรักษาฐานลูกค้าของธุรกิจ

การทำความเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าจะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถส่งมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ นี่เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สุดเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายในการดูแลรักษาลูกค้าของคุณ และเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความภักดีต่อธุรกิจหรือแบรนด์

ตัวอย่าง ธุรกิจที่ใช้ข้อมูลในการดูแลและดึงดูดลูกค้า

McDonald’s ร้านฟาสต์ฟู้ดที่โด่งดังระดับโลกที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในหลายๆด้านของการทำธุรกิจ รวมถึงการใช้ข้อมูลในการดูแลลูกค้าผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อและชำระเงินเกือบทุกขั้นตอนผ่านอุปกรณ์มือถือ และเพื่อให้ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น McDonald’s เองก็สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้ใช้บริการของพวกเขา เช่น การสั่งอาหาร การใช้บริการ ความถี่ที่ใช้ ใช้ผ่านเครื่องมือใด ข้อมูลทั้งหมดนี้ช่วยให้  McDonald’s สามารถออกแบบโปรโมชันและข้อเสนอที่ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่ใช้แอปพลิเคชันมือถือของ McDonald’s ได้มียอดการซื้อที่มากขึ้นถึง 35% เนื่องจากการนำเสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าก่อนที่พวกเขาพร้อมที่จะสั่งอาหาร

#2 การใช้ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้โฆษณาและเสนอข้อมูลเชิงลึกทางการตลาด

การวิเคราะห์ Big Data สามารถช่วยจับคู่ระหว่างความคาดหวังของลูกค้ากับธุรกิจได้ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนสายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากขึ้น และมั่นใจได้ว่าในการทำแคมเปญการตลาดและการโฆษณานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นหลายธุรกิจได้สูญเสียเงินไปจำนวนมาก ในการทำแคมเปญโฆษณาที่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามความต้องการ นั้นอาจเป็นเพราะพวกเขาได้ข้ามขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนลงมือทำโฆษณานั้นเองค่ะ

ในการทำการตลาดและการทำโฆษณานั้นเราสามารถทำการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่นการสังเกตความเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ ตรวจสอบ ณ จุดขาย รวมไปถึง การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีที่นักการตลาดและนักโฆษณาใช้ในการทำงานเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากยิ่งขึ้น โดยนำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายในการทำแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้า

แคมเปญที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและมีความเฉพาะบุคคลนั้นหมายความว่า ธุรกิจสามารถประหยัดเงินและสามารถมั่นใจในประสิทธิภาพของแคมเปญได้ เนื่องจากพวกเขาได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงบวกกับสินค้าที่เหมาะสม ดังนั้นธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาไปจำนวนมากแต่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

ตัวอย่าง แบรนด์ที่ใช้ข้อมูลสำหรับกำหนดเป้าหมายในการทำโฆษณา

Netflix เป็นตัวอย่างที่ดีของแบรนด์ใหญ่ที่ใช้ Big Data ในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในการนำส่งโฆษณา ด้วยสมาชิกมากกว่า 100 ล้านราย บริษัทได้รวบรวมข้อมูลจำนวนมากซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ Netflix ประสบความสำเร็จ หากคุณเป็นสมาชิกของ Netflix เราจะคุ้นเคยดีกับวิธีที่ Netflix ส่งคำแนะนำของภาพยนตร์เรื่องต่อไปที่คุณควรดู ขั้นตอนนี้ได้ใช้ข้อมูลจากการค้นหาย้อนหลังของคุณในการประกอบคำแนะนำได้อย่างแม่นยำ ซึ่งบอกได้ถึงจำนวน % ของภาพยนตร์ว่าตรงต่อความชื่นชอบของคุณแค่ไหน และข้อมูลนี้ทำให้ Netflix สามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างเป็นประโยชน์และนำเสนอได้ตรงใจกับลูกค้าค่ะ

#3 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการจัดการความเสี่ยง

แผนการจัดการความเสี่ยงเป็นการลงทุนที่สำคัญสำหรับหลายๆธุรกิจเพราะปัจจุบันหลายๆอย่างต่างเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความสามารถในการมองเห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและสามารถลดความเสี่ยงนั้นก่อนที่จะเกิดขึ้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการทำธุรกิจ ซึ่งเราจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการวางแผน ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถวัดและจำลองถึงความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหน้า หรืออีกนัยหนึ่งการลดความเสี่ยงทำให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากขึ้น 

การวิเคราะห์ Big Data มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาทางเลือกให้แก่การบริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและความหลากหลายของสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพมหาศาล ดังนั้นธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง แบรนด์ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการบริหารความเสี่ยง

Starbucks ในฐานะบริษัทกาแฟชั้นนำของโลก Starbucks สามารถเปิดสาขาใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับร้านค้าอื่น ๆ ในขณะที่ยังรับประกันถึงอัตราการประสบความสำเร็จที่สูง เพราะโดยปกติแล้วในการตัดสินใจเปิดสาขาใหม่ขึ้นมานั้นเป็นความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แต่ Starbucks ได้ใช้ฐานข้อมูลในวิเคราะห์คำนวณถึงอัตราความสำเร็จของทุกตำแหน่งที่ตั้งใหม่ก่อนจะลงมือปฏิบัติ ด้วยข้อมูลตามพื้นที่นั้นๆว่ามีจำนวนประชากร การจราจร มีผู้คนจำนวนเท่าไหร่ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นทำให้ Starbucks สามารถคำนวณถึงข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของแต่ละสาขาที่ต้องการเปิดใหม่ได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถเลือกสถานที่ตั้งตามแนวโน้มการเติบโตของรายได้ และสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนจำนวนมากของแต่ละสาขา

#4 การใช้ข้อมูลในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

Supply Chain Management (SCM) หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทานคือ กระบวนการดำเนินงานของวัสดุ สินค้า ตลอดจนการผลิต ข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค

Big data ช่วยให้ซัพพลายเออร์หรือคนที่มีหน้าที่จัดหาวัตถุดิบต่างๆให้แก่โรงงานนำไปผลิตสินค้าเพื่อขายนั้นสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและชัดเจนมากขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากปลายทางเช่น ลูกค้าชื่นชอบสินค้ารูปแบบไหน สีไหนเป็นพิเศษทำให้ซัพพลายเออร์สามารถคำนวณได้ว่าควรจัดหาวัตถุดิบแบบไหนเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้เหมาะสมกับจำนวนที่ลูกค้าต้องการซื้อ

ด้วยวิธีการที่ทันสมัยจะช่วยให้ระบบการทำงานในขั้นตอนของการสั่ง ผลิตและการขนส่งสินค้าสามารถทำได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นและสามารถลดความผิดพลาดสินค้าขาดหรือเกินสต็อกอีกด้วย ซึ่งทำได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบการผลิตในแต่ละส่วนมาทำการรวบรวมและวิเคราะห์ อีกส่วนมาจากการแบ่งปันความรู้และการทำงานร่วมกันของแต่ละฝ่ายมันจะเป็นรากฐานสำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทานทำให้ซัพพลายเออร์สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

อธิบายธุรกิจ netflix ในการใช้ข้อมูล big data

ตัวอย่าง แบรนด์ที่ใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Supply Chain

PepsiCo เป็นบริษัทบรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาสามารถเติมเต็มชั้นวางของร้านค้าปลีกด้วยปริมาณและประเภทของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ลูกค้าของบริษัทจัดทำรายงานซึ่งรวมถึง สินค้าคงคลัง รายการสินค้า และ POS(Point Of Sale) เก็บข้อมูลการขายหน้าร้านให้กับบริษัทและข้อมูลนี้จะใช้ในการวางแผนพยากรณ์การผลิตและการจัดส่ง ด้วยวิธีนี้บริษัทมั่นใจว่าผู้ค้าปลีกจะมีผลิตภัณฑ์เหมาะสม ในปริมาณที่พอต่อความต้องการ และเวลาที่เหมาะสม

#5 การใช้ข้อมูลเพื่อสร้าง A/B Testing ให้ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

การทำ A/B Testing เป็นวิธีการสร้างชิ้นงานที่ต้องการทำการทดสองขึ้นมา 2 รูปแบบ และเก็บข้อมูลจากค่า CTR หรือ Conversion Rate ว่าชิ้นงานไหน มีคนตัดสินใจคลิกมากว่ากัน หรือมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้ามากกว่ากัน ซึ่งการเก็บข้อมูลจากการทำ A/B Testing มักจะมาจากการทำคอนเทนต์ในช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำ Facebook Ads, การส่ง Email, รูปแบบกราฟิก หรือรูปภาพที่คนเลือกคลิก และอื่น ๆ

ในการทดสอบ A/ B Testing ที่มีประสิทธิภาพและสามารถวัดผลได้ดีนั้น นักการตลาดควรกำหนดเป้าหมายก่อน เพื่อกำหนดตัวแปรเพื่อวัดผลหลังจากที่มีการทดสอบเกิดขึ้น

ช่น ต้องการวัดค่า CTR จากการคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ หรือ ต้องการวัดค่า Conversion Rate จากการคลิก Email

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ข้อมูลเพื่อสร้าง A/B Testing ให้ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

TheJoyWithin เป็นโรงเรียนสอนการทำสมาธิที่ทำ A/B Testing บนหน้าบล็อกของเว็บไซต์เพื่อหาดีไซน์ และ คอนเทนต์ที่ตรงใจนักเรียนที่สุด ด้วยการนำแบนเนอร์ออกจากมุมบนของเว็บไซต์ เปลี่ยนดีไซน์ของเว็บไซต์ และ เปลี่ยนเนื้อหาในคอนเทนต์ให้มี Keyword ที่คนนิยมค้นหา ผลปรากฏว่ายอดการคลิกออกจากหน้าเว็บไซต์ (Bounce Rate) ลดลง และมีคนสมัครเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นจาก 12.5% เป็น 70%

อธิบายธุรกิจ netflix ในการใช้ข้อมูล big data
ภาพจาก https://www.marketingsherpa.com

ตัวอย่างถาพด้านบนนี้ เป็นผลลัพธ์จากการทำ A/B Testing ที่มีการทดลองนำแบนเนอร์ในส่วนบนของเว็บไซต์อยู่ และเปลี่ยน Keyword โดนเน้นคำว่า How Can we help และเปลี่ยนรูปภาพมุมด้านขวา ให้น่าคลิกมากขึ้น

#6 นำผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูล ไปทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง

การทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงหรือ Personalization เป็นวิธีการที่แบรนด์สามารถนำข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์ความสนใจ และพฤติกรรมของลูกค้าได้แบบรายบุคคล ซึ่งในปัจจุบัน การทำ Personalization ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากแบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการได้แบบส่วนตัว ที่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ และการทำ Personalization ช่วยทำให้แบรนด์นำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น

ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำ Personalization

Spotify 

อธิบายธุรกิจ netflix ในการใช้ข้อมูล big data

Spotify เป็นแบรนด์ที่ให้บริการสตรีมเพลงดิจิทัล และ  พอดแคสต์ ที่ผู้ใช้สามารถเลือกฟังเพลงใหม่ ๆ จากทั่วมุมโลกได้ และสามารถสร้าง Playlist เองได้ในแอปฯ ซึ่ง Spoify ได้นำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์ด้วยการเก็บข้อมูลจากประวัติการฟังของลูกค้า ว่าชอบเพลงแนวไหนเป็นพิเศษ หรือหัวข้อพอดแคสต์ประเภทไหนที่ผู้ใช้ฟังเป็นประจำ เพื่อนำไปสร้างคอนเทนต์ในการนำเสนอให้ถูกใจผู้ใช้งานมากขึ้น

ในแวดวงของผู้ที่สร้างคอนเทนต์อย่าง Content Creator  นักการตลาด หรือเจ้าของกิจการสตาร์ทอัพที่ทำคอนเทนต์ด้วยตัวเอง สามารถนำผลวิเคราะห์ Data มาวิเคราะห์หารูปแบบคอนเทนต์ที่ลูกค้าสนใจได้ โดยนำเครื่งอมือการตลาดมาใช้เช่น Google Analytics Google Search Console หรือ การดู Report หลังบ้านของ Facebook เพื่อประเมินประสิทธิภาพของคอนเทนต์ที่เราได้โพสต์ไปก่อนหน้าว่าได้รับความสนใจมากน้อยแค่ไหนจากผู้ติดตาม เพื่อมองหาช่องทางที่จะนำเสนอคอนเทนต์ที่จะเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า และให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่ง

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ข้อมูลในการมอบประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า

Mint

Mint เป็นแอปพลิเคชั่นที่ผู้ใช้งานสามารถทำากรบันทึกรายรับรายจ่าย และมีระบบแจ้งเตือนการชำระบิลต่าง ๆ ซึ่งความน่าสนใจของ Mint คือการนำเสนอรายรับรายจ่ายในรูปแบบของ Infographic ตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ เมื่อเวลาผู้ใช้งานมีการบันทึกแผนรายรับ รายจ่าย Mint ก็จะทำการแสดงผลออกมาในรูปแบบของรูปภาพ ให้เห็นแบบ Data Visualization ทำให้ดูน่าสนใจ และเห็นภาพรวมได้ดีขึ้น

อธิบายธุรกิจ netflix ในการใช้ข้อมูล big data
ภาพจาก https://visage.co

สรุป

ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ทำให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว มีความคล่องตัว และเพิ่มความสามารถให้คุณแข่งแกร่งมากยิ่งขึ้นบนโลกออนไลน์ ด้วย 7 วิธีดังนี้ค่ะ

#1 การใช้ข้อมูลในการดึงดูดและรักษาลูกค้า

#2 การใช้ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้โฆษณาและเสนอข้อมูลเชิงลึกทางการตลาด

#3 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการจัดการความเสี่ยง

#4 การใช้ข้อมูลในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

#5 การใช้ข้อมูลเพื่อสร้าง A/B Testing ให้ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

#6 นำผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูล ไปทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง

#7 ใช้ข้อมูลเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่มอบประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า

พบกันใหม่บทความหน้าจะนำความรู้อะไรฝากกัน
ฝากติดตามด้วยนะคะ 🙂

Big Data ใช้ในธุรกิจอะไรบ้าง

รู้จัก Big Data แล้ว แต่สงสัยว่าจะนำมาใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ไหม หรือ ธุรกิจอะไรบ้างที่สามารถนำ Big data ไปใช้ได้.
ด้านอุตสาหกรรมดนตรี การแสดง และภาพยนต์ (Music, Shows, and Movies).
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ หรือทางการแพทย์ (Healthcare and Medical Services).
ธุรกิจห้างสรรพสินค้า และการตลาด (Shopping and Marketing).

การใช้ประโยชน์จาก data ของเว็บไซต์ Netflix คือการใช้ Data ในการให้บริการประเภทใด *

บางคนอาจไม่รู้ว่าภาพยนต์ดังหรือซีรีส์ยอดนิยมในวันนี้นั้นมีการใช้ Big Data ที่ผ่านการทำ Data Analytics มากมาย อย่างซีรีส์ House of Cards ก็เหมือนกัน เพราะอย่างที่เราพอรู้กันว่า Netflix เป็นบริษัทที่ใช้ Data-Driven Business อย่างมาก เพราะบริษัทนี้ใช้ Data มหาศาลที่เกิดขึ้นจากลูกค้าหรือผู้ใช้งานมาปรับปรุงสินค้าและบริการ ...

Starbug ใช้ Big Data อย่างไร

Starbucks. Starbucks ธุรกิจร้านกาแฟที่มีสาขาทั่วโลก ได้นำ Big Data ไปใช้ในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้า ผ่านMobile App โดยให้ลูกค้าสามารถ สั่งเครื่องดื่ม และอาหารล่วงหน้าผ่านทาง Starbucks App โดยข้อมูล Orderที่ลูกค้าสั่งก็จะส่งตรงไปถึง Barista ทันที

Big Data นํามาใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจได้อย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่างมา 1 ธุรกิจ

ยกตัวอย่างการใช้ Big Data ในโรงงานและสายการผลิต ช่วยให้จัดการธุรกิจได้แบบองค์รวม โดยสามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น งานคลัง การตลาด ง่ายขาย ง่ายจัดหาจัดซื้อ ฯลฯ หากมีออเดอร์เข้ามามาก ระบบจะรู้ทันทีว่า มีวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพียงพอหรือไม่ สายผลิตต้องการอะไรเพิ่ม ระบบสามารถแจ้งล่วงหน้าได้ทันที เป็นต้น