ตัวอย่างการใช้ cloud computing ในการเรียนรู้

เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่อการนํามาใช้ในงานทางการศึกษา มีส่วนสําคัญที่ทําให้ผู้เรียน และผู้สอน สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดมิติใหม่ทางการเรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา ได้อย่างแท้จริง ตอบสนองในการเคลื่อนที่ด้วย อุปกรณ์พกพา สนับสนุนการเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างแท้จริง เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ส่งเสริมความ ร่วมมือ และเชื่อถือได้ในความปลอดภัยของข้อมูลและการเก็บสํารองข้อมูล ประหยัดค่าใช้จ่าย ยืดหยุ่นในการใช้งาน

แนวคิดเรื่อง Social Network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักปรากฏให้เห็นในลักษณะของการนำมาใช้เพื่อดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร แต่ปัจจุบันคำว่า Social Network จะหมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

Social Network จึงหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารกันได้ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซด์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท Social Network เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไรนอกจะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อความสนุก เพลิดเพลิน บันเทิงแล้วเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำใช้เพื่อการศึกษาได้

ทวิตเตอร์ Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (Tweet – เสียงนกร้อง)

ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์, อีเมลล์, เอสเอ็มเอส, เมสเซนเจอร์ หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือสหัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอานาจักร

ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน

จากการจัดอันดับของเครื่องมือสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้

1. ทวิตเตอร์ทำให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายใปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว

2. ทวิตเตอร์ช่วยทำให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการสนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี

3. ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทำให้ได้รับข้อมูลไม่ยาวเกินความจำเป็น

4. มีแอพที่ทำให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิตเตอร์โดยอัตโนมัติ

การประยุกต์ใช้งาน Youtube เพื่อการเรียนการสอน

Youtube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวีดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยทำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวีดีโอ ซื่งซูทูบมีนโยบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง

เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ใช้จะสามารถใส่ภาพวีดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวีดีโอให้คนอื่นดูด้วย แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวีดีโอที่ผู้ใช้คนอื่นๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้ แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (Youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว

แต่ด้วยตัวยูทูบเองที่มีเนื้อหามากมายเป็นแสนชิ้น ทั้งสื่อและเครื่องมือการเรียนรู้ดีๆที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสื่อประเภทที่สุ่มเสี่ยง และทำให้เด็กและเยาวชนไขว้เขวไปได้ ทั้งจากมิวสิควีดีโอ การ์ตูน และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางเพื่อการเรียนรู้สักทีเดียว จึงเป็นที่มาของการเปิดหน้าการศึกษาล่าสุดของยูทูบขึ้น ที่เรียกว่า ยูทูบสำหรับโรงเรียนหรือ (Youtube for Schools) เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น โดยจะมีเนื้อหาแต่เรื่องการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้ร่วมมือกัยภาคีด้านการศึกษากว่า 600 แห่ง เช่น TED, Smithsonian เว็บไซด์ชื่อดังเรื่องที่ได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการต่างๆเอาไว้ , Steve Spangler แหล่งผลิตเกมส์และของเล่นเพื่อการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ หรือ Numberphile ที่สอนคณิตศาสตร์ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ยูทูบได้ทำงานร่วมกับครูในการจัดการแบ่งเนื้อหากว่า 300 ชิ้น ออกเป็นรายวิชา และระดับชั้น โดยสื่อเหล่านี้ยูทูบเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนสนุกสนานขึ้น และเด็กๆก็จะตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น

Youtube สำหรับโรงเรียน

1. กว้างขวางครอบคุม ประโยชน์ของ Youtube สำหรับโรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวีดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก Youtube EDU วีดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของ Youtube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน

2. ปรับแก้ได้ สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYoutube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์สิสต์วีดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน

3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวีดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และดูได้เฉพาะวีดีโอ Youtube EDU และวีดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวีดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวีดีโอ Youtube EDU เท่านั้น

4. เป็นมิตรกับครู Youtube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วีดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไปและจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสเหล่านี้สร้างขึ้น โดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง

การประยุกต์ใช้งาน Facebook เพื่อการเรียนการสอน

เฟสบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆนำเฟสบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริมความสำพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอนระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน

จากการค้น เฟสบุ๊กเพื่อการศึกษา (Youtube for Education)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922 ล้านรายการ และจากการค้น ศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟสบุ๊ก (Learning Center on Facebook)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนำเฟสบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟสบุ๊กได้เป็นสื่อสังคมยอดนิยมสำหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 เพียร์สัน ได้รายงานผลสำรวจการใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ2000แห่ง สรุปได้ว่า ครุผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟสบุ๊กในด้านส่วนตัว และครูผู้สอน ร้อยละ30 ใช้เฟสบุ๊กในด้านวิชาชีพ เว็บ พีซีเทคแม็กกาซีน ได้อ้างถึงเหตุผล 4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟสบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

1. การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เฟสบุ๊กในการติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆเกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟสบุ๊ก

2. การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

3. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มบนเฟสบุ๊ก

4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เฟสบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ หรือ แอพพริเคชั่น เพื่อการศึกษามากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น

- ไฟลล์ (Files) สำหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน

- เมอะควิซ (Make a Quiz) สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน

- คาเลนเดอร์ (Calendar) สำหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ

- คอร์ส (Course) สำหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน

การพัฒนาระบบช่วยสอนเสริมแบบปรับเหมาะ : Development of an Adaptive Tutoring System (ATS)

งานวิจัยเป็นการนำเสนอรูปแบบและวิธีการพัฒนาระบบช่วยสอนเสริมแบบปรับเหมาะ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมเสริมในกระบวนการเรียนการสอนของวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์โหมด สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยระบบจะทำการจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เรียนแต่ละบุคคล ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนได้ด้วยตนเองขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล หลักการทำงานของระบบใช้แนวคิดของระบบช่วยสอนแบบอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ขั้นตอนการทำงานของระบบเหมือนกับรูปแบบการเรียนแบบปกติทั่วไป และกรณีที่ค่าระดับความสามารถของผู้เรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะทำการนำเสนอบทเรียนเสริมพิเศษเพิ่มเติมขึ้น