ตัวอย่างการเขียนโครงการกิจกรรม

การเขียนโครงการแบบง่ายๆ

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2562

You are here:

ตัวอย่างการเขียนโครงการกิจกรรม

หลักการเขียนโครงการแบบง่ายๆ

6 หลักเพื่อการเขียนโครงการให้บรรลุ

  1. ทำอะไร?
  2. ทำไมต้องทำ?
  3. ทำแล้วได้อะไร?
  4. ทำอย่างไร?
  5. ใช้เงินเท่าไหร่?
  6. วัดผลอย่างไร? (การติดตามความก้าวหน้าโครงการ)

เทคนิคการเขียนชื่อโครงการ

  1. ใช้ำคำกิริยา ให้ดูที่กิจกรรมหลักว่าเราต้องการจะทำอะไร
  2. กิจกรรมหลักมีมากกว่าหนึ่ง โดยใช้คำเหล่านี้ ได้แก่ พัฒนา ส่งเสริม เสริมสร้าง สร้างเสริม สนับสนุน เป็นต้น
  3. เขียนให้ชัดเจน ทำอะไร ทำให้ใคร เช่น ด้านการผลิต มักจะทำกับวัตถุ สิ่งของ ด้านการบริการส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เป็นต้น
  4. เขียนให้สอดคล้องกับ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.หลักการและเหตุผล 2. วัตถุประสงค์ 3. เป้ามหาย และ 4. กิจกรรม

ใช้คำกิริยา เช่น ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมเสริม จัดซื้อ จัดทำ จัดฝึกอบรม สัมมนา ประชุม ยกตัวอย่างเช่น

  • โครงการจัดหาวัสดุสำหรับจัดทำสื่อการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • โครงการสัมมนาการส่งเสริมนวัตกรรมสู่การจดทรัพย์สินทางปัญญาและการตลาด
  • โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว
  • โครงการปรับปรุงห้องปฏิบัติการโลจิสติกส์

ใช้คำว่า พัฒนา ส่งเสริม เสริมสร้าง สร้างเสริม สนับสนุน ยกตัวอย่างเช่น

  • โครงการพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษนอกเวลาเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 
  • โครงการส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  • โครงการพัฒนาเครือข่ายและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมในประเทศ และต่างประเทศ

ใช้คำอื่นๆ  ยกตัวอย่างเช่น

  • โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษารร.สาธิตสู่ความเป็นเลิศ
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาคาวมยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

ตัวอย่างการเขียนโครงการกิจกรรม

เทคนิคการเขียนหลักการและเหตุผล

  1. ความเป็นมา ระบุจาก
    1) นโยบาย แผน มติคณะกรรมการจากการประชุม
    2) กฎหมาย
    3) สถานการณ์ เหตุการณ์
  2. สภาพปัญหา ความต้องการ (แก้ไข ป้องกัน พัฒนา)
    1) ปัญหาคืออะไร เกิดกับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่
    2) สาเหตุมาจากอะไร มากน้อยเเค่ไหน
  3. ความจำเป็น เร่งด่วน
    ต้องทำอะไร ทำแล้วแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างไร ถ้าไม่ทำจะเกิดผลอย่างไร?

ตัวอย่างการเขียนหลักการและเหตุผล

  • เนื่องด้วย ตามที่ ปัจจุบัน (ระบุที่มา)
  • จากการสำรวจ ศึกษา ….. ปัจจุบัน ….. (ระบุสภาพปัญหา)
  • เพื่อให้เกิด เพื่อให้พัฒนา …. เพื่อเป็นประโยชน์ โดยระบุความจำเป็น
    1) กิจกรรมหลักต้องทำอะไร
    2) วัตถุประสงค์เพื่อใครอย่างไร
    3) ผลกระทบส่งผลต่อส่วนรวมอย่างไร

ปัญหาที่พบในการเขียนหลักการและเหตุผล

  1. ไม่ตรงประเด็น (ไม่เกี่ยวข้อง)
  2. ไม่มีความสัมพันธ์ในเนื้อหา (ที่มา สภาพปัญหา ความจำเป็น)
  3. ไม่สอดคล้องกับหัวข้ออื่นๆ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม
  4. ไม่กระชับ (ยาวไป)
  5. ไม่เรียงลำดับ (วกวน)
  6. ไม่มีเนื้อหาสาระ (สั้น)
  7. Copy เนื้อหาจากโครงการเดิม หรือโครงการที่คล้ายคลึงกัน

หลักการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ : ทำเพื่อใคร+ได้ประโยชน์อะไร

  1. ทำกิจกรรมหลักเสร็จแล้ว ใครได้รับประโยชน์อย่างไร
  2. เขียน 1-3 ข้อ ดูที่จำนวนกิจกรรมหลักทำอะไร มีกี่ข้อเขียนให้ครบ
  3. เขียนต้องสอดคล้องกับ
    1) สภาพปัญหาในหลักการและเหตุผล (ลบ) ทุกประเด็น
    2) เป้าหมายของโครงการ ทุกประเด็น

องค์ประกอบวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • กลุ่มเป้าหมาย / ลูกค้าเฉพาะที่เข้าร่วมโครงการ คือใคร? เช่น ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ นักศึกษา/อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ
  • ประโยชน์เฉพาะ คุณค่า ที่ได้รับเป็นอย่างไร? เช่น มีความรู้ มีความเข้าใจ มีความสามารถปฏิบัติได้ นำไปใช้ประโยชน์

ระดับของวัตถุประสงค์ของโครงการอบรม

กลางน้ำ : ได้ใช้-ได้ทำ / ทำเป็น

ปลายน้ำ : มีอาชีพ มีรายได้

ความรู้ ความเข้าใจ การรับรู้ การเข้าถึง ตระหนัก

ท าได้ ทำเป็น ได้ทำ ได้ใช้ ปฏิบัติเป็น สามารถถ่ายทอด

ตัวอย่างวัตถุประสงค์ (OUTCOME)

  • นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการผ่านการอบรมมีความรู้และทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวนร้อยละ 90
  • จำนวนกิจกรรมที่ศึกษานำเสนอเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม 10กิจกรรม
  • ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมรับฟังการจัดสวัสดิการใหม่ของมหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • จำนวนช่องทางการร้องเรียนทุจริต จำนวน 3 ช่องทาง
  • จำนวนผู้เข้าใช้บริการระบบ e-learning ไม่น้อยกว่า 1000 คน/วัน