การนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์แบบบรรยาย

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

ในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อการรวบรวมวิเคราะห์ตลอดจนสามารถที่จะนำเสนอข้อมูลได้ยิ่งการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาที่อยู่ห่างไกลจากประเทศไทยซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากและหลายด้านเครื่องมือทางภูมิสาสตร์ก็ยิ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีหลายชนิด หลายประเภท ซึ่งแต่ละอย่างมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไปดังนั้น การศึกษาเรียนรู้ลักษณะของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ช่วยทำให้สามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและมีประสิทธิภาพ

๑.ประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

  เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทวีปต่างๆโดยเฉพาะเครื่องมือที่แสดงลักษณะทางกายภาพและสังคมมีหลายประเภทจำแนกได้ดังนี้

๑.๑ลูกโลก

     ลูกโลกหรือลูกโลกจำลอง เป็นการย่อส่วนของโลกลงบนวัสดุต่างๆ  เช่น  กระดาษอัด  พลาสติกมีลักษณะรูปทรงกลม  บนผิวของโลกมีแผนที่โลก  แสดงพื้นดิน  พื้นน้ำ  สภาพภูมิประเทศ   ที่ตั้งประเทศ  เมืองพิกัดทางภูมิศาสตร์  รายชื่อของสิ่งต่างๆ มีสัญลักษณ์แสดงลักษณะทางภูมิปะเทศแบบเสมือนจริง

     ลูกโลกส่วนใหญ่จะมีฐานรองรับ  โดยวางลูกโลกและแกนขั้วโลกเหนือเอียงตามลักษณะการหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์  แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้สร้างลูกโลกให้ลอยอยู่กลางอากาศได้

     ลูกโลกให้ข้อมูลทางด้านลักษณะทางกายภาพเป็นหลัก  ทางด้านสังคมจะมีน้อย  และช่วยให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ  ของเมือง  ลักษณะภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว  เพราะมองเห็นได้ง่าย

๑.๒แผนที่

    แผนที่เล่มเป็นการนำเอาแผนที่ต่างๆ  เช่น  แผนที่แสดงลักษณะทางภูมิประเทศ  แผนที่เศรษฐกิจ  แผนที่ทางหลวง  เป็นต้น  รวบรวมนำมาไว้อยู่ในเล่มเดียวกัน  เป็นแผนที่ที่นิยมใช้กันมากข้อมูลมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย  พกพาและใช้งานได้สะดวก

แผนที่เล่มส่วนมากยังแบ่งย่อยออกไปตามลักษณะของการใช้งาน  เช่น  แผนที่เล่มสำหรับเด็กจะดูง่าย  มีภาพประกอบเล่มแต่ละเล่มต่างกันที่ความละเอียดของข้อมูล  ถ้าเป็นแผนที่สำหรับเด็กจะดูง่าย  มีภาพหระกอบข้อมูลไม่ลึกมาก  อาจเป็นเพียงแสดงลักษณะที่ตั้งของประเทศ  ของเมืองสำคัญเท่านั้น  แต่แผนที่เล่มสำหรับคนทั่วไปจะมีข้อมูลละเอียด  ซับซ้อน  บางเล่มให้ข้อมูลลึกมากไปจนถึงระดับเมือง

     ข้อมูลที่บันจุในแผนที่เล่มขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต  ส่วนใหญ่จะแสดงลักษณะภูมิประเทศ  ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ  เมือง  อานาเขต  พรมแดน  เส้นทางคมนาคม  ละติจูด  ลองจิจูดมีการผนวกแผนที่ทางลักษณะทางภูมิอากาศ  ความหนาแน่นของประชากร  แหล่งเพราะปลูกและชนิดของพืชที่เพราะปลูก  แหล่งแร่และชนิดของแร่  ปริมาณสินค้านำเข้า   สินค้าส่งออก  และอื่นๆ รวมเข้าไว้ในเล่มด้วย

     แผนที่เล่มในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลายแบบ  ทั้งคุณภาพที่ผลิต  ความลึกและซับซ้อนของข้อมูล  มีทั้งที่ให้ข้อมูลรวมทั้งทวีปหรือแยกย่อยออกเป็นแต่ละทวีป  แต่ละประเทศก็มี

     การเลือกใช้แผนที่ที่ใช้ศึกษาเรื่องราวของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ควรใช้แผนที่เล่มที่ให้ข้อมูลรวมทั้งโลก  และที่เป็นรายทวีป  เพราะแสดงข้อมูลที่มีความละเอียดกว่า

     แผนที่เล่มมีความสะดวกแก่การใช้งาน แต่ก็ต้องตรวจสอบระยะเวลาที่ผลิตออกมาด้วยเพราะถ้าผลิตออกมานาน  ข้อมูลจะไม่ทันสมัย  โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในแต่ละปี  และควรทำความเข้าใจสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในแผนที่จึงจะตีความข้อมูลที่ปรากฏบนแผนที่ได้ถูกต้อง

๑.๓ภาพจากดาวเทียม

   ภาพจากดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อีกประเภทหนึ่งที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย  ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการแลงสัญญาณข้อมูลดิจิทัลออกมาเป็นภาพ  ทำให้ภาพจากดาวเทียมมีความคมชัดสูงมาก  ภาพที่มีรายละเอียดต่างกัน เช่น ภาพที่มีรายละเอียดสูงใช้ในการติดตามการขยายตัวของเมือง  ส่วนภาพที่มีรายละเอียดไม่มากใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นต้น

     ภาพจากดาวเทียมมีทั้งแบบที่เหมือนจริง เช่น  ภาพแสดงลักษณะภูมิประเทศ  ภาพแสดงพื้นที่การเกิดภัยธรรมชาติ  ภาพแสดงตำแหน่งที่ตั้งชุมชน  และแบบแสดงสัญลักษณ์เป็นสี เช่น  ภาพแสดงของพื้นที่ป่าไม้  ภาพแสดงพื้นที่การเพราะปลูกพืชผลทางการเกษตร  ต้องมีการแปลความหมายของสิ่งที่แสดงออกมาเสียก่อน  จึงจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้

     ในการใช้ภาพจากดาวเทียมอาจมีข้อจำกัดที่บางภาพจะต้องมีการแปลความหมายของข้อมูลก่อน  บางภาพไม่ได้แสดงเส้นอาณาเขต  ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิสาสตร์ผู้ใช้งานจำเป็นต้องดูประกอบกับแผนที่และเครื่องมืออื่นๆ ทางภูมิศาสตร์

๑.๔เว็บไซต์

   การศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก  ตัวอย่างเช่น  ถ้าสืบค้นคำว่า  สภาพภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป”จะมีเว็บที่ให้ข้อมูลประมาณ ๘๕,๙00 เว็บไซต์ และถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะมีมากถึง ๑0๙ ล้านเว็บไซต์

     การศึกษาทั้งของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตประกอบ  โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ เช่น รายได้ประชาชาติของแต่ละประเภท  ความหนาแน่นของประชากร  จำนวนพลเมือง  มูลค่าของสินค้าส่งออก  เป็นต้น  เพราะจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้นและทันสมัย

     ในเว็บไซต์มีทั้งภาพที่เป็นภาพถ่ายและวีดิทัศน์ที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจเรื่องที่จะศึกษาได้ดียิ่งขึ้น  เช่น  สภาพบ้านเมืองของประเทศต่างๆ  ประเพณีของชาติต่างๆ  เป็นต้น


Google earth

โปรแกรมGoogle earth เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการศึกษาเนื้อหาและดูภาพได้ทั่วทุกมุมโลกจากดาวเทียม ซึ่งมีความละเอียดสูงมาก

โปรแกรมGoogle earth สามารถขยายภาพจากโลกทั้งใบไปสู่ประเทศและลงไปจนถึงถนน  ตรอก  ซอย  รถยนต์  อาคาร  บ้านเรือน  สนามบิน  ท่าเรือ  เป็นต้น  เป็นการท่องโลกแบบ    มิติ รวมทั้งสามารถปรับให้เป็น  Google  mapแสดงเส้นทางต่างๆ ได้ ตลอดจนมีเครื่องมือต่างๆ ให้ผู้ใช้เลือกกำหนดได้ตามความต้องการ เช่น แสดงแหล่งมรดกโลก  สถานที่น่าสนใจในแต่ละบริเวณ  สภาพอากาศ  สภาพภูมิประเทศ   เป็นต้น

๑.๕เครื่องมืออื่นๆ

     ในชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า  มีสื่อต่างๆ  ที่สามารถให้ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ได้มากมีทั้งสื่อทั่วๆไป  และสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภูมิศาสตร์โดยตรง  เช่น  หนังสือพิมพ์ วารสาร  นิตยสาร รวมทั้งสื่อสารมวลชนที่เป็นโทรทัศน์  และวิทยุ  ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือประเภทนี้จะเป็นรายงานข่าว  การวิเคราะห์ข่าว  อาทิ สถานการณ์ภัยเล้งในแอฟริกา  สภาพอากาศในยุโรปการเกิดไฟป่าในที่ต่างๆ  สภาพสิ่งแวดล้อม  ผลกระทบจากภาวะโรลกร้อน  เป็นต้น  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ได้ทั้งนั้น  แต่ควรต้องมีการตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลหรือกับรายงานข่าวจากที่อื่นเปรียบเทียบด้วย

๒.แนวทางใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีประโยชน์มากมาย  ในด้านที่ให้ข้อมูลแก่เราในการศึกษาเรื่องราวของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา  แต่การที่จะศึกษาได้มีประสิทธิภาพ  นอกจากคุณภาพของเครื่องมือแล้วคุณภาพของผู้ใช้มีความสำคัญด้วย  ดังนั้นจึงควรทราบถึงแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์   ดังนี้

๑)ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ

     เพราะถ้าใช้เครื่องมือที่ด้อยคุณภาพ  จะทำให้เราได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน  เช่น  แผนที่เล่มสำหรับเด็กเล็กที่ทำให้ดูง่าย  ไม่เคร่งครัดในเรื่องความถูกต้องของลักษณะภูมิประเทศ  ขนาดของสิ่งต่างๆทางภูมิศาสตร์  รวมทั้งสีที่นำมาใช้  อาจไม่ได้สื่อถึงลักษณะภูมิประเทศจริงตามลักษณะสากลที่ใช้กัน

การใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ก็ควรเลือกใช้จากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ  ได้มาตรฐานจากหน่วยราชการ  หน่วยงาน  องค์กรที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนั้นๆ  โดยตรง  หรือจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับกัน  จะต้องมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน  เช่น  หน่วยงานของสหประชาชาติ(UN) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือนาซา (NAS) ไม่ควรใช้คำกล่าวอ้างของบุคคล

๒.ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย

    ความทันสมัยในที่นี้  มิได้หมายความถึง  เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีสูง  มีความสลับซับซ้อน  หากแต่เป็นเครื่องมือที่มีความเป็นปัจจุบัน  ทันสมัยต่อเหตุการณ์   ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  ตัวอย่างเช่น  จำนวนประเทศในทวีปยุโรปเมื่อ  O ปีที่แล้วกับปัจจุบันจะต่างกัน หรือจำนวนประชากร ความหนาแน่นของประชากร รายได้ประชาชาติของประเทศต่างๆ ข้อมูลมีการเปลี่ยนในทุกปี ถ้าใช้เครื่องมือที่จัดทำมานานก็จะได้ข้อมูลเก่า เป็นต้น

๓)ตรวจสอบข้อมูล

     ข้อมูลได้จากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ควรจะต้องทำการตรวจสอบก่อน  เพราะอาจมีความคลาดเคลื่อนได้  โดยเฉพาะข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ต้องทำการตรวจสอบ  และตรวจสอบจากหลายๆ แห่งเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  ตัวอย่างเช่น  มีหลายเว็บไซต์ที่ระบุจำนวนและทวีปในแอฟริกาไม่ครบ  บางเว็บไซต์นำชื่อประเทศในอเมริกาใต้มาอยู่ในทวีปแอฟริกา  นิตยาสารบางเล่มก็ให้ข้อมูลทำให้เข้าใจภาพของทวีปแอฟริกาคลาดเคลื่อน  อาทิ  ทวีปแอฟริกามีความล้าหลังด้อยพัฒนาไปเสียหมดทั้งทวีป ทั้งๆที่ความเป็นจริงบางเมืองของทีปแอฟริกา  เช่น  เมืองคาวาบลังกา  ในประเทศโมร็อกโก   เมืองเคปทาวน์ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้  มีความเจริญมากกว่าบางเมืองในทวีปยุโรปเสยอีก

๔)ใช้เครื่องมือหลากหลายผสมกัน

      เนื่องจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในแต่ละประเภทจะมีข้อดีข้อจำกัดในการผลิตและการใช้แตกต่างกัน  เป็นต้นว่ากราฟแสดงจำนวนประชากรของประเทศในทวีปแอฟริกาในแผนที่เล่ม  ควรใช้สถิติข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ปีล่าสุดประกอบเพื่อตรวจสอบ  หรือเมื่อหนังสือกล่าวถึงสภาพภูมิอากาศตอนเหนือของทวีปยุโรปที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นเป็นน้ำแข็ง  การไปชมภาพที่อยู่ในเว็บไซต์จะช่วยให้มีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น   การรู้จักประยุกต์ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์อย่างหลากหลาย  ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพได้ความรู้เรื่องราวทางภูมิศาสตร์ที่กำลังศึกษาได้ดีแล้ว  ยังจะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์   ในการนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

๓.การนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์

      ในการศึกษาเรื่องราวทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา  หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือทางภูมิสาสตร์ประเภทต่างๆแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล  จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์  เป้นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     การนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์  ทำได้หลากหลายรูปแบบ  ตัวอย่างเช่น

๑.แบบบรรยาย

 เป็นวีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นพื้นฐาน  การนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์สามารถใช้แบบบรรยายเพียงแบบเดียวในการนำเสนอ  ไม่ต้องมีแบบอื่นร่วมด้วยหรือจะช่วยเพื่ออธิบาย  เพื่อขยายข้อมูลแบบอื่นๆให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นก็ได้การนำเสนอข้อมูลแบบบรรยาย  ควรใช้ข้อความสั้นๆ  กระชับ  ตัวอย่างเช่น

     คลื่นความร้อน (heat   wave) อุณหภูมิสูง   ๔๓ องศาเซลเซียส ได้แผ่ปกคลุมพื้นที่ทางตะวันตกและทางใต้ของทวีปยุโรป นับตั้งแต่ประเทศฝรั่งเศสไปจนถึงประเทศโรมาเนีย ฮังการี และกรีซ ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตประมาณ ๓0, 000 คน โดยฝรั่งเศสมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ๑๔,๘00 คน”

๒.แบบตาราง 

       ใช้แสดงข้อมูลที่มีตัวเลขหลายชุด  เพื่อบอกเล่าข้อมูลหลายๆด้านพร้อมกัน   หรือเพื่อแสดงการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง  ตัวอย่างเช่น  การบอกข้อมูลทางด้านพื้นที่จำนวนประชากร  ความหนาแน่นประชากร  จีดีพี (GDP: ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ของประเทศต่างๆ ถ้าใช้แบบบรรยายจะเข้าใจยาก การทำเป็นตารางจะมีความชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจมากกว่า

๓.แบบแผนภูมิ  

     มีอยู่หลายลักษณะขึ้นอยู่กับการออกแบบ  มักใช้ข้อมูลแสดงการเปรียบเทียบในแต่ละส่วน  อาจกำหนดข้อมูลเป็น ๑00% แล้วคำนวณส่วนย่อยๆว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดในร้อยละ หรือจะกำหนดให้เป็นอัตราส่วนก็ได้ เป็นต้นว่า ๑ ต่อ ๑0

     การนำเสนอข้อมูลแบบนี้ จะง่ายกว่าการทำความเข้าใจในเชิงปริมาณ ว่าตรงส่วนใดมากกว่าส่วนใด เช่น การนำเข้าสินค้าของทวีปแอฟริกาจำนวน ๑0 อันดับแรก มูลค่าสินค้าทั้งหมดคิดเป็น ๑00% นำสินค้าแต่ละชนิดมาคำนวณว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดของ ๑00% นำสัดส่วนที่ได้มาทำเป็นแผนภูมิ ก็จะเห็นมูลค่าของสินค้าแต่ละชนิดได้อย่างชัดเจน

๔.แบบกราฟ    

      เป็นการนำเสนอข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบหรือแสดงการเคลื่อนไหวเหมาะกับการแสดงข้อมูลหลายๆ ชุดให้เป็นภาพ หรือเพื่อให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลแต่ละชุด ในการนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น มักแสดงเป็นกราฟเส้น กราฟแท่ง

     ตัวอย่างข้อมูลที่สามารถนำเสนอข้อมูลเป็นกราฟได้ เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยของทวีปยุโรปย้อนหลังไปในแต่ละปีจำนวน ๒0 ปี การเปรียบเทียบจำนวนประชากรของทวีปยุโรปในแต่ละภูมิภาค เป็นต้น

๕.แบบแผนที่ 

      เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ สามารถสร้างความเข้าใจง่าย ช่วยทำให้มองเห็นเป็นภาพรวม ไม่ต้องอธิบายความมาก แต่มีข้อจำกัดที่จะแสดงข้อมูลที่เป็นรายละเอียดได้ยาก มักจะใช้ในการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น การแสดงข้อมูลที่ประสบภัยแล้งออกเป็น ๓ ระดับ มาก ปานกลาง น้อย แล้วใช้สีแต่ละสีแทนค่าระดับ ระบายลงในพื้นที่ทุกประเทศในทวีปแอฟริกา ก็จะเห็นภาพรวมว่า มีประเทศใดบ้างที่ประสบภัยแล้งอย่างหนัก และภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณใดของทวีปแอฟริกา

      กล่าวโดยสรุปก็คือ  การศึกษาเรื่องราวทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาให้ได้ผลดีนั้น ต้องรู้จักรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์แต่ละประเภท ข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้น ต้องนำมาวิเคราะห์ จากนั้นก็นำเสนอใหม่ด้วยประสบการณ์ของตนเองซึ่งแนวทางเช่นนี้ นิอกจากจะช่วยทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะเป็นความรู้ที่ติดตัวนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิชาอื่นๆ และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ภาคผนวก

ข้อสอบ

เรื่อง  เครื่องมือทางภูมิศาสตร์     มีจำนวน ๕ ข้อ

๑.      แนวทางการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีทั้งหมดกี่แนวทางอะไรบ้าง

ก.      ๔ แนวทาง ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ, ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย, ตรวจสอบข้อมูล, ใช้เครื่องมือหลากหลายผสมกัน

ข.      ๓ แนวทาง ใช้เครื่องมีที่มีคุณภาพ,ตรวจสอบข้อมูล,ใช้เครื่องมือหลากหลายผสมกัน

ค.      ๑ แนวทางใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ

ง.       ๒ แนวทาง ตรวจสอบข้อมูล ,ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย

๒.     ลูกโลกจะบอกลักษณะภูมิประเทศเกี่ยวกับอะไร

ก.      เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ

ข.      เกี่ยวกับที่ตั้งประเทศ

ค.      แสดงพื้นดินและพื้นน้ำ

ง.       ถูกทุกข้อ

๓.     แผนที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร

ก.      เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาโชคลาภ

ข.      เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

ค.      เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเดินทาง

ง.       เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

๔.     ปัจจุบันฐานข้อมูลส่วนใหญ่ของแผนที่ภูมิประเทศได้มาจากแหล่งใด

ก.      การเดินเท้าสำรวจ

ข.      ข้อมูลจากดาวเทียมและรูปถ่ายทางอากาศ

ค.      ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

ง.        การสำรวจทางอากาศ

๕.     ข้อใดหมายถึงข้อมูลเชิงพื้นที่

ก.ข้อมูลเป็นตัวเลข

ข. ข้อมูลที่ใช้อธิบายตารางข้อมูล

ค.ข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของกราฟ

ง.ข้อมูลที่ใช้แสดงภูมิกัดทางภูมิศาสตร์

               เฉลย

ข้อ

คำตอบ

๑.

ก.

๒.

ง.

๓.

ค.

๔.

ข.

๕.

ง.