กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในชุมชนเมือง

     

 กฎหมายที่เกี่ยวกับการนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดคุณค่าและพึงประสงค์ 

       สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่หลายฉบับด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ และกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

       3.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

       พระราชับญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญดังนี้ 

       3.1.1 ความหมายของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

       ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น

       ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึง ดุลยภาพของธรรมชาติ ซึ่งได้แก่สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของประชาชนและความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ

       3.1.2 สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ

       เพื่อประโยชน์ในการร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้

        1. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ

        2. มีสิทธิได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ จากกิจการหรือโครงงานมี่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มจากสนับสนุนหรือดำเนินการ

        3. มีสิทธิร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

        4. ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฎิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

        5. ปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

        3.1.3 การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

        1. มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม

หมายถึง ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ อากาศ เสียง และสภาวะอื่นๆ ของสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่างๆ เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน โดยจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

         2. เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม สำหรับเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งถือว่าเป็นเขตอนุรักษ์หรือเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สูงกว่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนดข้างต้น

         ในกรณีที่ปรากฎว่าพื้นที่้ต้นน้ำลำธารหรือมีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นทั่วไป หรือมีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่อาจถูกทำลายหรืออาจจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์ และพื้นที่นั้นยังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดมาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น

          1) กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือมิให้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศตามธะรมชาติหรือคุณค่าของสิ่งแวดล้อม

          2) ห้ามกระทำการที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่นั้น

          3.1.4 การควบคุมมลพิษ

          มลพิษ หมายถึง ของเสีย วัตถุอันตราย และมวลสารอื่นๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิด เช่น ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือน หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือภาวะเป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมไปถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่นๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด 

           1. เขตควบคุมมลพิษ ในกรณีที่ปรากฎว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศกำหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้

           2. มลพิษทางอากาศและเสียง

               1) ยานพาหนะที่นำมาใช้จะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าได้มีการใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานกำหนดก็จะออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะนั้นโดยเด็ดขาด หรือจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงแก้ไข

               2) ในการออกคำสั่งห้าม พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำเครื่องหมายเป็นตัวอักษรที่มีข้อความว่า "ห้ามใช้เด็ดขาด" หรือ "ห้ามใช้ชั่วคราว" หรือเครื่องหมายอื่นใดที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ณ ส่วนใดส่วนหนึ่งของยานพาหนะนั้นให้เห็นเด่นชัด

               3) ในการตรวจสอบยานพาหนะ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ยานพาหนะหยุดเพื่อตรวจสอบ หรือเข้าไปในยานพาหนะหอกระทำการใดๆ ที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของยานพาหนะนั้นได้ 

               4) เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศมีหน้าที่ต้องติดตั้งหรือจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย อุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดสำหรับควบคุม กำจัด ลด หรือขจัดมบพิษซึ่งอาจมีผลกระทบต่ออากาศ

           3. มลพิษทางน้ำ

               1) เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมบพิษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร สิ่งก่อสร้าง สถานประกอบกิจการ เป็นต้น มีหน้าที่ต้องก่อสร้าง ติดตั้ง หรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนด

               2) ในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่ที่ทางราชการได้จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมไว้ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่ประสงค์จะก่อสร้างหรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียขึ้นเอง มีหน้าที่ต้องจัดส่งน้ำเสียหรือของเสียเหล้านั้นไปทำการบำบัดหรือกำจัดโดยระบบบำบัดหรือระบบกำจัดรวมที่มีอยู่ภายในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่นั่น แต่ต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่กำหนด ยกเว้นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผู้ใช้รายย่อยไม่ต้องเสียค่าบริการ

               3) ในกรณีที่ทางราชการยังไม่ได้จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมในเขตควบคุมมบพิษหรือเขตท้องที่ใด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดวิธีการชั่วคราวสำหรับการบำบัดน้ำเสียหรือการกำจัดของเสียได้ตามที่จำเป็น จนกว่าจะได้มีการจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกจัดของเสียรวมในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่นั่น

          4. มลพิษอื่นและของเสียอันตราย

              1) การเก็บรวบรวม การขนส่ง และการจัดการมลพิษอื่นและของเสียอันตราย เช่น ขยะมูลฝอย วุตถุระเบิด วัตถุมีพิษ วัตถกัมมันตรังสี เป็นต้น ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องนั้นๆ

              2) ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษมีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนดชนิด ประเภท การเก็บรวบรวม การขนส่ง และการจัดการมลพิษและของเสียอันตรายนั้นด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

          3.1.5 ค่าบริการและค่าปรับ 

          1. อัตราค่าบริการ อัตราค่าบริการสำหรับการบำบัดน้ำเสีย หรือกำจัดของเสียจากแหล่งกำเนิดกำหนดให้มีอัตราแตกต่างกันตามความเหมาะสม

          2. ค่าปรับ มีบทบัญญัติที่ควรรู้ควรที่

              1) เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่หลีกเลี่ยง ไม่จัดส่งน้ำเสียหรือของเสียไปทำการบำบัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบจัดของเสียรวม และลักลอบปล่อยน้ำเสียหรือของเสียทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกเขตที่ตั้งเหล่าแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องเสียค่าปรับ 4 เท่า ของอัตราค่าบริการ จนกว่าจะปฎิบัติถูกต้องตามกฎหมาย

              2) เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหรือทางน้ำละเว้นไม่ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือของตนที่มีอยู่สำหรับการควบคุมมลพิษทางอากาศ เสียงและความสั่นสะเทือนหรือละเว้นไม่ทำการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียโดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียของตนที่มีอยู่

              3) เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดน้ำเสียมีหน้าที่จัดเก็บค่าบริการ ค่าปรับ และเรียกร้องค่าเสียหาย

         3.1.6 ความผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษ

         1. ความผิดทางแพ่ง มีบทบัญญัติที่ควรรรู้ดังนี้

             1) แหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดหรือเป็นแหล่งกำเนิดของการรั่วไหลหรือแพร่กระจายมลพิษอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัย หรือเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของรัฐเสียหาย เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นนั้นด้วย

             2) ผู้ที่กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทำลายหรือทำให้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นรัฐหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสูญหายหรือเสียหาย ต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมด

         2. บทกำหนดโทษ มีบัญญัติที่ควรรู้ดังนี้

             1) ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง หรือขัดขวางการกระทำใดๆ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้สั่งเพื่อดำเนินการป้องกันแก้ไขอันตรายจากเหตุฉุกเฉินหรือภยันตรายต่อสาธรณชน อันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติหรือภาวะมลพิษ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             2) ผู้ที่บุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าไปกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลาย ทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่การทรัพยากรธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์

             3) ผู้ที่เผยแพร่หรือให้ข่าวที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับแหล่งอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษโดยมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือความไว้วางใจของสาธารณชนต่อการดำเนินกิจการโดยชอบด้วยกำหมายของแหล่งกำเนิดมลพิษพิษนั้น

             4) ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่ก่อใก้เกิดมลพิษ มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท

             5) ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ยินยอมหยุดพาหนะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             6) เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่จัดส่งน้ำเสียหรือของเสียที่เกิดจากการดำเนินกิจการของตนไปทำการบำบัด หรือกำจัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมที่มีอยู่ในเขตควบคุมมลพิษ

             7) ผู้ที่ขัดขวางไม่ยินยอมให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเข้าไปในอาคารสถานที่และเขตที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือเขตที่ตั้งของระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสีย

        3.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550

        3.2.1 การกำจัดสิ่งปฎิกูลและมูลฝอย

        1. สิ่งปฎิกูล หมายถึง อุจจาระหรือปัสสาวะ และสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็นส่วนมูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษสินค้า เศษวัตถุ หรือสิ่งที่อื่นใดที่เกี่ยวกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือสิ่งที่อื่นรวมทั้งมูลฝอยติดเชื้อ

         2. การจัดการสิ่งปฎิกูลมูลฝอยและมูลฝอย การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฎิกูลหรือมูลฝอยในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น และร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

       3.2.2 สุขลักษณะของอาคาร

       1. เมื่อพบว่าอาคารหรือส่วนของอาคาร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต่อเนื่องกับอาคารมีสภาพชำรุดทรุดโทรมหรือรกรุงรังจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อาศัย หรือมีลักษณะไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง

       2. เมื่อพบว่าอาคารใดมีสินค้า เครื่องเรือน หรือสัมภาระสะสมไว้มากเกินสมควร หรือจัดสิ่งของเหล้านี้ซับซ้อนกันเกินไป จนอาจเป็นเหตุให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ให้โทษได้ หรืออาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย

       3.2.3 เหตุรำคาญ

     1.  ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ 

ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ

             1) แหล่งน้ำ ทางระบาน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใดซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษ

             2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

             3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์โรงงานหรือสถานประกอบใดที่ไม่มีการระบายอากาศ การรระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฎิกูล หรือารควบคุมเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างเพียงพอ

             4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่นแสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีลอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

             5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

       2. เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษาบรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่างๆ

       3. ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ เจ้าพนักง่นท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะทำให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น

       4. ในกรรีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะทำให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้

       3.2.4 ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร

     1. ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด ยกเว้นได้รับใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น
        2. ผู้ที่ขายของหรือช่วยขายของในตลาด ต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่น

        3. ผู้ที่จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรและไม่ใช่เป็น การขยายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถื่น

        4. ผู้ที่จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร และผู้จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง หรือเก็บสะสมอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

       3.2.5 บทลงโทษ

      1. ผู้ที่ดำเนินการกิจการทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฎิกูลหรือขยะมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       2. ผู้ที่จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10000 บาท ส่วนผู้ที่จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร

       3. เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถื่นที่มีคำสั่งให้จัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอนอาคารที่มีสภาพทรุดโทรมหรือรกรุงรัง

       3.3 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

           พระราชบัญญัติฉบับนี้ถือว่าเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนมิให้กระทำการใดๆ อันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม วึ่งมีบทบัญญัติสำคัญที่ควรศึกษา ดังนี้ 

      3.3.1 การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ

      1. ที่สาธารณะ หมายถึง สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน นอกจากที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งรวมถึงถนนและทางน้ำด้วย

      2. สถานสาธารณะ หมายถึง สถานที่ที่จัดไว้เป็นสาธารณะสำหรับประชาชนใช้พื่อการบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจ หรือการชุมนุม

      3. การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ มีบทบัญญัติที่ควรรู้ดังนี้ 

      1) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารกรือบริเวณของอาคารที่อยู่ติดกับทางเท้ามีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดทางเท้าที่อยู่ติดกับอาคารหรือบริเวณอาคาร

      2) ห้ามอาบน้ำหรือชักล้างสิ่งใดๆ บนถนน หรือในสถานสาธรณะซึ่งไม่ได้จัดไว้เพื่อการนี้ หรือในบริเวณทางน้ำเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ประกาศห้สมไว้

      3) ห้ามโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นปรกาศหรือใบปลิวในที่สาธารณะ ยกเว้นจะได้รับหนังสืออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และต้องปฎิบัติตามกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำนดไว้ในหนังสืออนุญาต 

      4) ห้ามขูด กะเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำด้วยวิธีการใดๆ ให้ภาพ ข้อความ หรือรูปรอยต่างๆ ปรากฎที่กำแพงที่ติดกับถนน บนถนน ที่ต้นไม้ที่อยู่ติดกับถนนหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะยกเว้นเป็นการกระทำของราชการส่วนท้องถิ่น

      3.3.2 การดูแลรักษาสนามหญ้าและต้นไม้บนถนนและสถานสาธารณะ

      1. ถนน หมายถึง ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าทตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้

      2. การดูแลรักษาสนามหญ้าและต้นไม้บนถนนและสถานที่สาธารณะ มีบทบัญญัติที่ควรรู้ ดังนี้

          1. ห้ามโค่นต้นไม้ ตัด เด็ดหรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เกิดความเสียหาย หรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ต้นไม้ ใบ ดอก ผล หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ปลูกไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในที่สาธารณะ ยกเว้นเป็นการกระทำของผู้ได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่

          2. ห้ามปล่อยหรือจูงสัตว์เข้าไปในบริเวณที่ราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนอื่น หรือ รัฐวิสาหกิจได้ปลูกหญ้าหรือต้นไม้ไว้

      3.3.3 การห้ามสิ่งปฎิกูล

      1. ห้ามถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในที่สาธารณะหรือสถานสาธารณะซึ่งมิใช่สถานที่ราชการท้องถิ่นได้จัดไว้เพื่อการนี้

      2. ห้ามเท ปล่อย หรือระบายอุจจาระหรือปัสสาวะจากอาคารหรือยานพาหนะลงในทางน้ำถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามมีโทษปรับไม่เกิน 10000 บาท

      3. ห้ามบ้วนหรือถ่มน้ำลาย เสมหะ บ้วนน้ำหมาก สั่งน้ำมูก เท หรือสิ่งใดๆ ลงบนถนนหรือบนพื้นรถหรือพื้นเรือโดยสาร ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 2000 บาท

      4. ห้ามทิ้งสิ่งปฎิกูลหรือมูลฝอยในสถานที่สาธารณะนอกภาชนะ หรือที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดไว้ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 2000 บาท

      5. ห้ามเทหรือสิ่งปฎิกูล มูลฝอย น้ำโสโครกหรือสิ่งอื่นใดลงบนถนนหรือในทางน้ำ ถ้าฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 10000 บาท

      3.3.4 การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย

      1. ห้ามกระทำด้วยประการใดๆ ให้โคมไฟ ป้าย ศาลาที่พัก ม้านั่ง ส้วม หรือสิ่งอื่นใดที่ราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนอื่น หรือรัฐวิสาหกิจได้จัดทำไว้เพื่อสาธารณชนเกิดความเสียหาย

      2. ห้ามปีนป่าย นั่ง หรือไปบนรั้ว กำแพง ต้นไม้ หรือสิ่งค้ำยันต้นไม้ใรที่สาธารณะ

      3. ห้ามเล่นว่าว ฟุตบอล ตะกร้อ หรือกีฬาใดๆ บนถนน หรือในสถานสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสถานสาธารณะที่มีประกาศของเจ้าพนักงานท้องถิ่นห้ามไว้ 

      3.4 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

            พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายที่กำหนดพื้นที่เฉพาะไว้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อความสะดวกในการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ดังนี้

      3.4.1 ความหมายของป่าและป่าสงวนแห่งชาติ

      1. ป่า หมายถึง ที่ดิน ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ 

      2. ป่าสงวนแห่งชาติ หมายถึง ป่าที่ได้กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ 

      3.4.2 การควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ

      1. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาสัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำการใดๆ 

      2. ผู้รับใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ต้องจัดให้คนงาน ผู้รับจ้างหรือผู้แทน มีใบคู่มือสำหรับทำการตามที่ได้รับอนุญาต ตามแบบ 

      3.4.3 บทกำหนดลงโทษ 

      1. ผู้ที่ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ 

      2. ไม้อื่นที่เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง2อย่างรวมกันเกิน20ต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกิน4ลูกบาศก์เมตร

      3. ต้นลำธาร ผู้กระทำความผิดมีโทษจำคุกตั้งแต่2ปี ถึง15 ปี และผรับตั้งแต่ 20000 บาท ถึง 150000บาท ในกรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำผิด ถ้าปรากฎว่าบุคคลน้นยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

      3.5.1 ความหมายของสัตว์ป่า

      ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง โดยธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และรวมไปถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นด้วย

      3.5.2 ประเภทของสัตว์ป่า

      1. สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากมี 15 ชนิด 

      2. สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองแบ่งออกเป็น 7 จำพวก

      1) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

      2) สัตว์ป่าจำพวกนก

      3) สัตว์ป่าจำพวกนก

      4) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน

      5) สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลัง

      6) สัตว์ป่าจำพวกปลา

      7) สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ

      3.5.3 การล่า การเพาะพันธุ์ การครอบครอง และการค้า

      1. ห้ามล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการที่ได้รับการยกเว้น

      2. ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

      3.5.4 การนำเข้า ส่งออก นำผ่าน และนำเข้าเคลื่อนที่ซึ่งสัตว์ป่า และด่านตรวจสัตว์ป่า

      1. ห้ามนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดหรือผ่านซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว

      2. การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่วสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ต้องมีใบอนุญาตหรือใบรับรองการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่า

       3.ผู้ใดนำสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า ต้องแจ้งเป็นหนังสือตามแบบอธิบดีกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า โดยแสดงใบอนุญาตให้นำการเคลื่อนที่เพื่อการค้า ให้นำเข้า ให้ส่งออก หรือให้นำผ่าน

       3.5.5. สวนสัตว์สาธารณะ

   ผู้ที่จะประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะต้องได้รับใบอนุญาติจากอธิบดีในการดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดในกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

       3.5.6. บริเวณหรือสถานที่ห้ามล่าสัตว์ป่า

       ที่ดินที่กำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของบุคคลซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามีบทบัญญัติที่ควรศึกษาและปฎิบัติ ดังนี้ 

       1. ห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ รวมทั้งห้ามเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า เว้นแต่จะกระทำเพื่อการศึกษาหรือวิจ้ยทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี

       2. ห้ามยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ปลูกหรือก่อสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทำลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติอื่นๆ

       3. ห้ามล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ในป่าบริเวณวัด หรือในบริเวณสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

       4. ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานอื่นใดมีความจำเป็นต้องเข้าไปปฎิบัติการตามกฎหมาย หรือปฎิบัติการเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นต้องปฎิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

       3.5.7 บทกำหนดโทษ

       ผู้ที่ล่าหรือไม่ปฎิบัติตามบัญญัติในพระราชบัญญัติฉบับนี้มีโทษหลายประการ แล้วแต่กรณี เช่น

       1. ผู้ที่ล่าหรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือมีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าของสัตวืป่าสงวนคุ้มครอง

       2. ผู้ที่นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศที่กำหนด มีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

       3. ผู้ที่เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือจัดตั้งและดำเนินกิจกรรมการสวนสัตว์สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       4. ผู้ที่มีสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือวากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 10000 บาท

       5. ผู้ที่ทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มากจากการเพาะพันธุ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท