กฎหมาย ที่ เกี่ยวข้อง กับ ธุรกิจ ร้าน อาหาร

กฎหมาย 𝗣𝗗𝗣𝗔 (𝗣𝗲𝗿𝘀𝗼𝗻𝗮𝗹 𝗗𝗮𝘁𝗮 𝗣𝗿𝗼𝘁𝗲𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗔𝗰𝘁) เป็น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อห้ามใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทั้งส่วนบุคคลและธุรกิจทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหาร ดังนั้น วันนี้ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ จึงมาแบ่งปันข้อมูลกฎหมายใหม่ฉบับนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน

ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และมีกี่ประเภท

ข้อมูลส่วนบุคคลคือ ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ โดยในทางกฏหมาย PDPA แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐาน เป็นข้อมูลที่สามารถระบุ หรือบอกได้ว่าใครคือเจ้าของ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร เลขบัตรประชาชน บัญชีธนาคาร หรือทะเบียนรถ เป็นต้น
  2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน ซึ่งสามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ เช่น ศาสนา รสนิยมทางเพศ หรือความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA

ก่อนจะมาดูกันว่ากฎหมาย PDPA มีผลต่อผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างไร ลองมาดูสิ่งที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA โดยทั่วไปกันก่อน

  • การถ่ายภาพหรือถ่ายคลิป ที่ติดภาพบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมถือว่าผิด PDPA
    • ในกรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยไม่เจตนา และไม่ได้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
  • การนำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่น ไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
    • หากเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ทำให้คนที่โดยถ่ายเสียหาย ก็สามารถโพสต์ได้
  • ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
    • หากเป็นการป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านจึงไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน
  • เจ้าของข้อมูลส่วนตัวต้องยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
    • ที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลที่เป็นในลักษณะการทำตามสัญญา การใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ การใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล การใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ การใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ข้อกฎหมาย PDPA ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรรู้

  • การติดกล้อง CCTV หรือกล้องวงจรปิดภายในร้านอาหาร แน่นอนว่าการติดกล้องกล้องวงจรปิด เป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับร้านอาหาร ซึ่งในส่วนของบุคคลหรือลูกค้าที่โดนถ่าย ถือว่าเป็นการถ่ายภาพบุคคลที่อยู่ในข้อมูลส่วนบุคคลคุ้มครอง PDPA ดังนั้นร้านอาหารจึงจำเป็นต้องขออนุญาตบุคคลที่จะเข้าร้านก่อนถ่าย โดยสามารถขอความยินยอมได้อัตโนมัติจากการติดประกาศ หรือติดสติกเกอร์ให้ลูกค้าทราบก่อนเข้าร้านทุกครั้ง
  • ระบบสมาชิก สำหรับร้านอาหาร เชื่อว่าหลาย ๆ ร้านคงมีการทำระบบสมาชิกเพื่อส่งเสริมการขาย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ อีเมล โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไปทางร้านจะต้องมีการขอความยินยอมจากลูกค้า เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคล โดยต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลว่าจะนำข้อมูลไปทำอะไร โดยในอนาคตลูกค้าที่ได้สมัครสมาชิกกับทางร้านนั้น ก็มีสิทธิในการขอลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้
  • การทำการสื่อสารทางการตลาด การโปรโมทภาพหรือคลิปวิดีโอเพื่อโปรโมทร้านอาหารในช่วงก่อนหน้านี้อาจเป็นเรื่องปกติ และเชื่อว่าหลาย ๆ ร้านน่าจะไม่พลาดการคอยอัปเดตกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร้านผ่านวิธีการเหล่านี้ แต่รู้หรือไม่ว่าตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย. 2565 ร้านค้าในเชิงพาณิชย์ ไม่สามารถนำรูปหรือวิดีโอที่ถ่ายติดบุคคล เพื่อเป็นการโปรโมท หรือ สร้างประโยชน์ให้กับตนเอง ลงในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ โดยทางร้านสามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอได้ แต่ต้องไม่ให้รู้ถึงตัวบุคคล ด้วยการเบลอหน้าก่อนนั่นเอง ในกรณีที่ผู้ขายต้องการ ส่งโปรโมชัน หรือรายละเอียดการส่งเสริมการขายให้กับกลุ่มลูกค้า ผู้ขายสามารถส่งโปรโมชันต่าง ๆ ให้กับลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกได้ แต่หากเป็นลูกค้าที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทางร้านจะต้องทำฟอร์มขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าใหม่ยินยอมในการรับโปรโมชัน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการขาย โดยลูกค้าสามารถขอให้ทางร้านลบข้อมูลส่วนตัวได้ในอนาคต
  • การออเดอร์อาหารผ่านออนไลน์ การออเดอร์อาหารออนไลน์ หรือแชตคุยซื้อขายเป็นธุรกรรมที่ทำได้ตามเดิม ไม่ต้องมีเอกสารยินยอม เนื่องจากการสนทนาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าเริ่มทักไปหาร้านค้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงความต้องการของลูกค้าก่อนเป็นที่เรียบร้อย

บทความอื่นๆ เกี่ยวกับการตลาดร้านอาหาร

8 เมษายน 2565

รวม 6 กฎหมายสำคัญ

ที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการด้านอาหาร ต้องรู้

เพื่อทราบการกำหนดนโยบาย ขั้นตอน-การขอใบอนุญาต
และการกำหนดโทษ

พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522

มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก

ควบคุมคุณภาพของอาหาร

-การขออนุญาต

– การตรวจสอบ

– การขึ้นทะเบียน

– การโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร

โทษทางอาญา

-ฝ่าฝืนผลิตอาหารที่ห้ามผลิต หรือนำเข้า

โทษจำคุก 6 เดือน – 2 ปี และ ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท

-ฝ่าฝืนตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ฝ่าฝืนผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์

โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2561

กำหนดกระบวนการตรวจสอบ และเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร

-พืช สัตว์ ประมง

-เพื่อควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัยแก่ประชาชน

กําหนดการควบคุมกิจกรรมอื่นที่ต่อเนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตร

-การขนส่งสินค้าเกษตร

-คลังสินค้าเกษตร

-สะพานปลา

-โรงฆ่าสัตว์

ให้อำนาจสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

-มอบหมายให้หน่วยงานอื่นของรัฐมีอำนาจออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ

กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรบางขนาดหรือลักษณะของกิจการ ยกเว้น
ไม่ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต

-ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับการตรวจสอบและได้รับใบรับรองตามมาตรฐานบังคับจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558

มุ่งหมายเพื่อจัดระเบียบการประมง ในประเทศไทยและน่านน้ำ

-ป้องกันการประมงผิดกฎหมาย

-รักษา ทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์

-รักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามมาตรฐานสากล

-คุ้มครองสวัสดิภาพของคนประจําเรือ และป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมาย

โทษ สำหรับบุคคลผู้กระทำการฝ่าฝืน เช่น

การใช้เรือไร้สัญชาติทำประมง มีโทษเปรียบเทียบปรับตามขนาดของเรือ

-โทษสูงสุดเป็นเรือ 150 ตันกรอส มีโทษปรับ 5 – 30 ล้านบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ ขึ้นกับจำนวนที่มากกว่า

จ้างแรงงานผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่น้อยกว่า 4 – 8 แสนบาทต่อราย

-ผู้ประกอบกิจการโรงงาน หากเกิดกรณีเดียวกัน นอกจากปรับ 2 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท หรือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ 1-5 แสนบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน

พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2550

เพื่อควบคุมและคุ้มครองให้เกษตรกรได้ใช้พันธุ์พืชที่ดีในการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ

-กำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้า-ส่งออก สินค้าพืชให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพืชที่นำเข้ามาในประเทศ รวมถึงการส่งออกพืชไปยังตลาดต่างประเทศด้วย

กำหนดให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพันธ์พืช ในการค้าเมล็ดพันธุ์ควบคุม พืชสงวน และพืชต้องห้าม
-เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ควบคุม กํากับดูแลพืชสงวน และพืชต้องห้ามเป็นไปอย่างทั่วถึง

กําหนดคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตรวบรวม ขาย นําเข้า หรือส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม
-เพื่อการค้า ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดเพื่อความเหมาะสม

กำหนดเกณฑ์ของขอความที่ระบุในฉลาก สําหรับภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า
-ให้แสดงจํานวนเมล็ดพันธุ์ควบคุมหรือหน่วยวัดอื่นๆ ของพืชแต่ละชนิด ให้เป็นไปตามหลักสากล

พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อสัตว์

-เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย

ควบคุมการชําแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ และสถานที่ชําแหละตัดแต่งเนื้อสัตว์

-เพื่อให้ครอบคลุมทุกห่วงโซ่การผลิตสินค้าปศุสัตว์และปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ควบคุมการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์

-เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาด หลักสวัสดิ์ภาพสัตว์

-เพื่อให้เนื้อสัตว์มีคุณภาพ ตั้งแต่โรงฆ่าสัตว์ถึงผู้บริโภค
ตามหลัก From Farm Fork

กำหนดขั้นตอนขออนุญาตและออกใบอนุญาต เพื่อประกอบกิจการฆ่าสัตว์

-ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อน เพื่อออกใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์

กําหนดอายุของใบขออนุญาต เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์

-มีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ

กำหนดนโยบาย และกำหนดยุทธศาสตร์ด้านอาหาร

-ด้านคุณภาพ

-ความปลอดภัยของอาหาร

-ความมั่นคงอาหาร

-ศึกษาด้านอาหารโดยครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน

-เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ เช่น

-ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร ความมั่นคงด้านอาหาร
และอาหารศึกษา

-จัดให้มี ส่งเสริม สนับสนุนให้มีกระบวนการในการพัฒนานโยบาย
และยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร
ความมั่นคงด้านอาหาร และอาหารศึกษา

-เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย