ละ บ บ ปะ ติ บัด กาน เคึอ ข่าย แม่น

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการบนเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Operating System : NOS ) เป็นโปรแกรมที่ทำงานในลักษณะที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงกันสามารถให้บริการต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ โดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่แบ่งปันทรัพยากรต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ ซีดีรอม ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆ ให้กับผู้ขอใช้บริการจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ที่ต่ออยู่ในระบบเครือข่าย

การทำงานของระบบปฏิบัติการเครือข่าย ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่ทำงานในเซิร์ฟเวอร์ เพื่อควบคุมการเข้าทรัพยากรบนเซิร์ฟเวอร์หรือในระบบ และส่วนที่ทำงานกับเครื่องไคลเอ็น เพื่อตรวจสอบและเปลี่ยนทิศทางการร้องขอบริการที่แอปพลิเคชั่นสร้างขึ้น และส่งต่อการร้องขอไปยังเซิร์ฟเวอร์

ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Server

เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมโครซอฟต์ มุ่งเน้นการบริการที่ใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นหลัก เช่น

การจัดการบัญชีผู้ใช้ให้อยู่ในลักษณะของ Domain Controller และเปลี่ยนเป็น Active Directory ใน Windows 2000 เป็นต้นมา กำหนดกลุ่มผู้ใช้เพื่อง่ายต่อการระบุตัวผู้ใช้ กำหนดระดับของผู้ใช้เพื่อสิทธิที่ต่างกัน

กำหนดสิทธิ์การใช้งานทรัพยากรที่ละเอียด เช่น สิทธิ์ในดิสก์บนเซิร์ฟเวอร์

บริการสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เช่น บริการไฟล์ บริการเครื่องพิมพ์ บริการค้นหาเครื่อง

เพิ่มเติมการบริการด้านอินเตอร์เน็ตใน Windows 2000 เป็นต้นมา

ที่มาhttps://www.bestinternet.co.th/single_blog.php?id=94&Windows%20Server%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

ระบบปฏิบัติการ Unix

เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากภาษาซี ( C Language ) ของมหาวิทยาลัยเบอร์คเลย์ (Berkeley) เป็นระบบปฏิบัติการประเภทที่รองรับผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน (Multi-user) และทำงานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน (Multitasking) พื้นฐานเดิมของ Unix มีการทำงานเป็นแบบ Text mode มีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ประมวลผล และส่วนที่สัมผัสกับผู้ใช้เรียกว่า Terminal มีเพียงจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น

การพัฒนาในภายหลัง ได้เพิ่มความสามารถให้ติดต่อกับผู้ใช้งานแบบ Graphics mode ได้ เรียกว่า X-Windows

ที่มาhttps://sites.google.com/site/hongfuupiyatida/sxftwaer-rabb-os/1-1-rabb-ptibati-kar-operating-system

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)

รู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (อังกฤษ: GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน

เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ

ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C

ระบบปฏิบัติการ Novell Netware

NetWare คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ที่พัฒนาโดยบริษัท Novell การทำงานของระบบปฏิบัติการ NetWare นั้นเป็นลักษณะ File Sever ที่คอยให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ในเครือข่าย รวมทั้งการบริการให้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครื่องในเครือผ่านInternet

เวอร์ชันล่าสุดของเน็ตแวร์คือ เวอร์ชัน 6.5 ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์, ใช้เครื่องพิมพ์, ไดเร็คทอรี่, อีเมล, ฐานข้อมูล ระบบจัดเก็บข้อมูลและไคลเอนท์หลายแพลตฟอร์ม ซึ่งประโยชน์ของการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี่ก็คือ ทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายขององค์กรได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก หรือผู้ใช้ที่เดินทางเพื่อทำธุรกิจก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายขององค์กรเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น

ที่มาhttps://mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2270-netware-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบอื่น

จากพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่าดัมพ์เทอร์มินอล (Dunp Terminail) เข้ากับเครื่องเมนเฟรม จนปัจจุบันอุปกรณ์ระบบเครือข่ายข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเวิร์คสเตชัน เครื่องเซิร์ฟเวอร์อุปกรณ์เราเตอร์ สวิตซ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ผ็ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจำเป็นต้องแชร์ข้อมูล ซึ่งกันและกัน ข้อมูลที่แชร์นั้นต้องการระบบรักษาความปลอดภัย

และการบริหารจัดการที่ดีจึงได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่แรกว่า ระบบปฎิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) เพื่อทำหนาที่บริหารจัดการเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย

ระบบปฎิบัติการในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ Operating System จะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและการเข้าใจทรัพยากรผ่าน

ระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบปฎิบัติการ เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายโดยปกติแล้วคอมพิวเตอร์

แม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะติดตั้งระบบปฎิบัติการเครือข่ายที่จะสามารถ บริหารจัดการบริการหลักของระบบเครือข่ายได้ดังนี้ คือ

1.1 บริการไฟล์ข้อมูลและการพิมพ์ (File and Print Services)

การทำงานระดับพื้นฐานของระบบปฎิบัติการเครือข่าย คือการให้บริการในการแชร์เครื่องพิมพ์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งท่อยู่ในรูปแบบของเครือข่ายแบบมีสายหรือเครือข่ายแบบไร้สาย รวมถึงความสามารถในการให้บริการพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล และบริหารจัดการในการเข้าใช้โดยการระบุสิทธิในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลเข้าถึงเครื่องพิมพ์ตามความสำคัญ

หรืออำนาจหน้าที่ของผู้ใช้t

1.2 บริการดูแลจัดการระบบ (Mangement Services)

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย และสมาชิกหรือผู้ใช้ หรือการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อผิดพลาดและการเฝ้าระวัง บริการดูแลจัดการระบบของระบบปฎิบัติการเครื่อข่าย จะใช้ลดการซ้ำซ้อนและการทำให้การบริการดูแลจัดการระบบยิ่งง่ายขึ้น

1.3 บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)

ปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยแล้ว จะมีความเสี่ยงรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบ ที่อาจจะถูกรบกวนจากบุคคลภายนอก หรือแม้กระทั้งการจัดการกำหนด สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลให้กำผู้ใช้งานในองค์กรเอง ระบบปฎิบัติการเครือข่ายที่ดีจึงควรมีฟังชั่นรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่าย รวมถึงฟังก์ชั่นในการกำหนดสิทธิของผู้ใช้และกลุ่มผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลด้วย

1.4 บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet and Intranet Services)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรปัจจุบัน ส่วนมากต้องมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออย่างน้อยก็จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้บริการอินทราเน็ตรวมอยู่ด้วย ดังนี้นระบบปฎิบัติการเครือข่าย จะต้องมีบริการด้านอินเทอร์เน็ต เพื่อรับรองบริการฟังก์ชั่นดังกล่าว เช่น DNS Server, Web Server, Mail Server และ Ftp Server เป็นต้น

1.5 บริการมัลติโพรเซสซิงและคลัสเตอริง (Multiprocessing and Clustering Services)

มัลติโพรเซสซิ่ง : Multiprocessing ถือได้ว่าเป็นระบบมัลติโปรเซสเซอร์ คือ ระบบที่มี CPU มากกว่าหนึ่งตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ การที่เซิร์ฟเวอร์มี CPU หลายตัวจะช่วยนการทำงานของ Application ที่ทำงานบนระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากระบบปฎิบัติการเครือข่ายและ Application ดังกล่าวรับรองบริการมัลติโปรเซสซิ่ง

คลัสเตอริง : Clustering ในการให้บริการเครือข่ายหากต้องการเพื่องประสิทธิภาพในการทำงาน

ของระบบโดยรวมแล้ว บริการคลัสเตอริ่ง เป็นรูปแบบที่เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์มีจำนวนหลายๆเครื่อง มาช่วยกันทำงานงานใดงานหนึ่ง หรือหลายๆงาน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น ทั้งในด้านทำงานในรูปแบบการให้บริการแทนกันได้ หากมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา หรือการแบ่งงานจากเครื่องอื่นท่รับรองงานมากเกินไป

ที่มาhttp://thebns.125mb.com/website/08.html

คำถาม

1.ระบบปฎิบัติเครือข่ายมีบริการหลักกี่เครือข่าย

ก.2 เครือข่าย

ข.3เครือข่าย

ค.4เครือข่าย

ง.5เครือข่าย

2.ระบบปฏิบัติการโซลาริสชื่อภาษาอังกฤษคือ

ก.The Solaris Operating Enciornment

ข.The Solaris Enciornment

ค.Operating Enciornment

ง.The Solaris Operating