ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจาก

จากสำนักงานธนาคารชาติ...ธนาคารแห่งประเทศไทย 


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจริญสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ในปี ๒๓๙๘ โปรดให้ทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศอังกฤษ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ อันเป็นการเปิดประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น


เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้  

ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารกลางได้มีขึ้นอีกครั้งภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ สืบเนื่องจากการเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ร่าง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภาแทนราษฎร 


ภายหลังเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงมีการสนับสนุนให้มีธนาคารชาติขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้นำเรื่องเข้าหารือกับ นายเจมส์ แบกซ์เตอร์ ที่ปรึกษาการคลังในขณะนั้น ซึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีผู้รู้ผู้ชำนาญทางด้านการธนาคาร ไม่มีทุน และยังไม่มีระบบธนาคารพาณิชย์ของคนไทยด้วย


รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องการตั้งธนาคารกลางอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๔๗๘ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งหลวงวรนิติปรีชาเป็นผู้ร่างขึ้น  เสนอให้ควบรวมบริษัทแบ๊งค์สยามกัมาจล ทุนจำกัด ให้เป็นธนาคารชาติ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียง ๘ มาตรา ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางในเวลานั้นพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ยังขาดความรอบคอบและรายละเอียดยังไม่ชัดเจน

ต่อมาเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย อธิบดีกรมศุลกากรย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ซึ่งแต่เดิมจะใช้ที่ปรึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น ในครั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงการคลัง ให้เข้าใจถึงความจำเป็นและเจตนารมณ์ของทางการ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการช่วยร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติไทยขึ้น นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การตั้งธนาคารกลางของประเทศไทยในที่สุด

ในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารชาติไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่ปรึกษากระทรวงการคลังฝ่ายไทยรับผิดชอบในการร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติต่อจากที่ปรึกษาต่างประเทศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในที่สุดก็ได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเตรียมการจัดตั้งธนาคารชาติไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยก็เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับการทำงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล

สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ  สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็นเช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด  พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕  และในปี ๒๕๕๐ สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่  ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์ 

การเกษตรสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 -2411) ได้ทรงคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศมาก มีการทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในยุโรป รวมไปถึงสหรัฐอเมริกา นอกจากเป็นการเปิดทางทำมาค้าขายและการเดินเรือระหว่างกัน และเพื่อความเป็นประเทศเอกราชที่ทัดเทียมกันแล้ว ยังได้เปิดโอกาสให้ชาวไทยคบหากับชาวต่างประเทศมากขึ้น มีการจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาปฏิบัติงานและแต่งตั้งราชทูตไปมาหาสู่กัน เริ่มมีการส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีต่อกันทางด้านการทหาร การปกครอง และการคลัง

เมื่อมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในการทำให้ประเทศทันสมัย ในส่วนของการเกษตรมีการส่งสินค้าออกที่เกี่ยวกับการเกษตรมากขึ้น และกำหนดภาษีแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของสินค้า เช่น ข้าว ไม้สัก ปลาแห้ง น้ำตาล ฝ้าย ไหม พริกไทย ยาสูบ เทียนไข ปลาทู และช้าง ด้านการผลิต มีการปลูกข้าวกันทั่วไปทางภาคเหนือพืชสำคัญได้แก่ ข้าว ยาสูบ และฝ้าย การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแทนเงินก็มีอยู่มาก โดยเฉพาะตามชนบท เช่น แลกฝ้ายกับไหมที่มาจากยูนนาน ประเทศจีน ส่วนปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ ในทางภาคเหนือมีพ่อค้าเงี้ยวต้อนจากเชียงตุงเข้ามาขายในไทย ส่วนทางเมืองเพชรบุรีมีต้นตาลมาก และชาวบ้านปาดตาลเพื่อทำน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ ทางราชบุรีมีการปลูกอ้อย ยาสูบ ซึ่งเป็นไร่ของชาวจีน การเก็บของป่า เช่น เห็ด ปลา กบ บึ้ง ไม้ฝาง มาเป็นอาหารและใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นมีอยู่มาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศ สำหรับพริกไทยที่ส่วนมากส่งเป็นสินค้าออกนั้นปลูกกันมากทางภาคใต้ เมื่อราคาพริกไทยในตลาดโลกตกต่ำได้มีการรณรงค์ปลูกพืชอื่นทดแทน ได้แก่ หมาก จันทน์เทศ มะพร้าว และยางพาราจากมลายูซึ่งนำมาทดลองปลูก จัดว่าเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน อย่างไรก็ดี ในตอนปลายรัชกาลปรากฏว่าสินค้าออกของไทยมีเพียงข้าวและไม้สักเท่านั้น

ใน พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการจัดประกวดพันธุ์ข้าวที่เมืองธัญบุรี นับเป็นการประกวดครั้งแรกเพื่อเสาะหาข้าวพันธุ์ดีให้ราษฎรปลูก และมีการจัดประกวดอีกในระยะต่อมา ผลการประกวดข้าวในครั้งนั้นมีผลให้ข้าวไทยได้พัฒนามีชื่อเสียงไปทั่วโลก

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาการเกษตรซึ่งส่งผลไปถึงรัชกาลต่อๆ มาที่ทรงยึดพระราโชบายที่จะทำให้ประเทศเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารการปกครองเป็นแบบอย่างตะวันตก มีกระทรวง ทบวง กรม และส่งเสริมให้ข้าราชการได้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ จ้างชาวต่างประเทศให้มาปฏิบัติงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการสู่คนไทย และให้ทุนนักเรียนไปศึกษา ณ ต่างประเทศ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศ

จากการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารการปกครอง ได้มีการแบ่งราชการให้มีการเกษตรเป็นเอกเทศและขยายงานจากกรมไปสู่กระทรวง เช่น กรมนา ซึ่งแต่เดิมเน้นเรื่องไร่นา เมื่อตั้งเป็นกระทรวงเกษตราธิการก็ต้องมีกรมดูแลให้ครอบคลุมถึงงานด้านอื่นๆ ทั้งด้านสัตว์ ชลประทาน แร่ ไหม ป่าไม้ และการประมง อีกทั้งได้ตั้งโรงเรียนช่างไหม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการเพาะปลูก) ซึ่งในระยะหลังได้รวมกับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ ฯลฯ ส่งผลให้วิทยาการเกษตรได้ก้าวหน้าไปตามยุคสมัย กิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการนั้น ให้ส่งผลถึงประชาชนด้วย

การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศด้านการเกษตร ระยะแรกเน้นไปทางด้านการปลูกพืช เพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศ ทางด้านปศุสัตว์นั้นตามมาภายหลัง ซึ่งในระยะแรกได้มีการสั่งพันธุ์สัตว์จากต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงกันบ้างแล้ว แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงริเริ่มและทดลองด้วยพระองค์เอง โดยสั่งพันธุ์ไก่ไข่ คือ เล็กฮอร์น เข้ามาทดลองเลี้ยงในพระบรมมหาราชวังและต่อมาเมื่อทรงเห็นว่าดีก็ได้พระราชทานให้กระทรวงเกษตราธิการนำไปทดลองเลี้ยงต่อจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย จากนั้นได้มีการสั่งพันธุ์อื่นอีก ได้แก่พันธุ์ โรด ไอร์แลนด์ และ บาร์ พลีมัส ร็อค เป็นต้น นำเข้ามาทดลองเลี้ยงมากขึ้น เมื่อพระยาเทพศาสตร์สถิตสำเร็จการศึกษากลับมา ก็ได้นำโคพันธุ์ดีของอังกฤษมาทดลองเลี้ยง และมีการประกวดสัตว์ในงานแสดงกสิกรรมและพาณิชยการ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2454ในสมัยรัชกาลที่ 6

ในรัชสมัยพระมหาธีรราชเจ้า ได้ทรงสั่งพันธุ์สุกร อันได้แก่ พันธุ์ ลาร์จแบล็ก และเอสเสค มาเลี้ยงที่วังพญาไท ต่อมาก็ได้ส่งไปเลี้ยงในโรงเรียนเกษตรกรรม ใน พ.ศ. 2482 คณะทูตสันถวไมตรีมี พระนรราชจำนงเป็นหัวหน้าก็ได้นำสุกรพันธุ์ เบอร์กเชียร์ มิดเดิลไวต์ลาร์จไวต์ และแท็บเอิอร์น เข้ามาในพระราชอาณาจักร และทดลองเลี้ยงที่สถานีกสิกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ อันที่จริงมีบุคคลที่มีความโดดเด่นในการนำความรู้ทางวิชาการมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ของประเทศในยุคหลังๆ คือ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ซึ่งสำเร็จการศึกษาจาก University of the Philippines at Los Banos เป็นผู้ริเริ่มค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร โคนม แพะนม และปลา โดยนำพันธุ์จากต่างประเทศมาทดลอง และใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ ในสมัยนั้น เช่น การเลี้ยงไก่ขังกรงเดี่ยว การฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก การเลี้ยงปลาจีนในบ่อ ขณะเดียวกันก็สนใจค้นคว้าทดลองในด้านพืชด้วย ทั้งเรื่องยางพารา ผัก และพืชอาหารสัตว์

ทางด้านสัตวแพทย์ ค่อนข้างจะมาพัฒนาในยุคหลังในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อการเลี้ยงสัตว์และการค้าสัตว์ได้ขยายตัวออกไปทำให้โรคสัตว์มีความสำคัญมากขึ้น จึงได้มีการตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 พันโทหลวงชัยอัศวรักษ์ซึ่งจบปริญญาสัตว์แพทย์จากประเทศอังกฤษได้เป็นหัวหน้ากองสัตวรักษ์ และต่อมาเมื่อกองฯ ยกฐานะขึ้นเป็นกรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ พันโทหลวงชัยอัศวรักษ์ก็ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีคนแรก

งานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศ คือ การป่าไม้ เมื่อมีการตั้งกรมป่าไม้ขึ้นใน พ.ศ. 2439 นายเอช สเลด (H. Slade) ชาวอังกฤษ ได้รับการโปรดเกล้าฯ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมคนแรก และมีการแต่งตั้งชาวอังกฤษให้เป็นเจ้ากรมติดต่อกันมาอีก 2 คน จนถึง พ.ศ. 2467 นับเป็นเวลานาน 27 ปี จึงได้มีคนไทยคนแรกซึ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษขึ้นเป็นเจ้ากรม คือ พระยาดรุพันพิทักษ์

นักเรียนป่าไม้รุ่นต่อมาที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอินเดีย คือ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ได้นำเอาเทคนิคการปลูกสร้างสวนสักที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศพม่ามาทดลองปลูก ปรากฏว่าได้ผลดีและเป็นบุคคลแรกที่ได้เรียบเรียงหนังสือ List of common Trees, Shrub, etc. in Siam อันเป็นพื้นฐานที่นักพฤกษศาสตร์รุ่นต่อมาใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและเก็บรวบรวมเพิ่มเติม นอกจากนี้ก็มี พระยาพนานุจร และพระยาวินิจวนันดรในสมัยที่พระยาพนานุจรเป็นอธิบดีใน พ.ศ. 2478 นั้น มีผู้สำเร็จการศึกษาจากประเทศพม่าถึง 30 คน จึงอาจสรุปได้ว่าวิชาการป่าไม้ของไทยในสมัยนั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียและพม่าซึ่งใช้ระบบของอังกฤษเป็นส่วนใหญ่

การประมง อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง จนกระทั่งใน พ.ศ. 2464 อันเป็นปลายสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว จึงได้แบ่งงานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตราธิการ ได้มีการว่าจ้าง ดร.ฮิวจ์แมคคอร์มิค สมิท (Huge McCormick Smith) ชาวอเมริกันมาสำรวจพันธุ์สัตว์น้ำทั้งในน้ำจืดและทะเลสำเร็จเรียบน้อยใน พ.ศ. 2468 และเมื่อมีการตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นใน พ.ศ. 2469 อันเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว ดร.สมิท ก็ได้เป็นเจ้ากรมคนแรกและมาเปลี่ยนเป็นหลวงจุลชีพพิชชาธรใน พ.ศ. 2473 ด้านการประมง มีผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง (จากสมเด็จพระราชบิดา) ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาทิ นายบุญ อินทรัมพรรย์ นายโชติ สุวัตถิ ไปศึกษาต่อที่ Cornell University เมื่อกลับมาแล้วมีส่วนอย่างมากที่ช่วยพัฒนาการประมงของประเทศ

การชลประทาน งานชลประทานนั้นผูกพันกับการเกษตรมาโดยตลอด เริ่มแรกรัฐบาลได้ขอตัวนาย เจ ฮอร์แมน วันเดอร์ ไฮเด (J. Hormam Van der Heide) ชาวฮอลันดา จากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์มาตรวจระดับพื้นที่สำหรับการชลประทาน และเมื่อเกิดกรมคลองขึ้นก็ได้เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก นายไฮเด ได้จัดทำโครงการหลายแบบ แต่โครงการที่จัดว่าสำคัญที่สุดในสมัยนั้นก็คือโครงการชัยนาท (Chai Nat Scheme) หรือที่เรียกกันว่าโครงการเขื่อนเจ้าพระยา โดยสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาททดน้ำให้มีระดับสูงส่งไปตามคลองส่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ ผู้ที่ปฏิบัติงานต่อมาเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์ โทมัส วอร์ด (Sir Thomas Ward) นาย อาร์ ซี วิลสัน (R. C. Wilson) ตามลำดับ ได้วางโครงการอีกหลายโครงการ งานชลประทานต้องอาศัยชาวต่างประเทศเป็นหัวหน้าถึง 20 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2465 ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนให้เจ้าพระยาพลเทพเป็นเจ้ากรม แต่เนื่องจากเจ้าพระยาพลเทพมีความเชี่ยวชาญทางการคลังมากกว่างานช่าง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นพระยาชลมารคพิจารณ์ เมื่อปี 2466 ตำแหน่งในขณะนั้นเรียกว่าเจ้ากรมทดน้ำ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า กรมชลประทาน ในปี 2470

การกสิกรรม พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม) ทรงสำเร็จวิชาการเพาะปลูกจากประเทศอังกฤษใน พ.ศ. 2444 ได้ทรงงานร่วมกับนายโทยามา (Toyama) ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงไหมจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งรัฐบาลไทยได้จ้างมา มีการเปิดสอนวิชาการเลี้ยงไหมและสร้างสวนหม่อน จัดตั้งสถานีทดลองการเลี้ยงไหมขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นแห่งแรกที่ตำบลศาลาแดง เมื่อตั้งขึ้นเป็นกรมช่างไหมในปี 2446 กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมทรงเป็นเจ้ากรม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมเพาะปลูกในปี 2451) ในเดือนมกราคม 2447 ได้มีการตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้นที่ทุ่งศาลาแดง อยู่ในเขตของกรมช่างไหมและสถานีทดลองการเลี้ยงไหม โรงเรียนนี้สอนวิชาเลี้ยงไหมชั้นสูง เพื่อให้ผู้จบหลักสูตร 2 ปีแล้ว ออกไปเป็นพนักงานไหมแทนชาวญี่ปุ่นที่ได้จ้างมา

การจัดตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของการให้การศึกษาทางด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบโรงเรียน ซึ่งต่อมาได้ขยายงานเป็นโรงเรียนการเพาะปลูกใน พ.ศ. 2448 ที่เปิดทำการสอนนักเรียนในด้านการเกษตร สามารถผลิตนักเรียนและส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ เช่น พระยาโภชากร ได้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ Cornell University เมื่อกลับมาแล้วได้ช่วยพัฒนางานเกษตรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งนาทดลอง สถานีทดลองพืชไร่ สถานีทดลองไม้ผล เป็นต้น อันที่จริงบุคคลที่ไปเรียนวิชาการเกษตรในต่างประเทศแล้วกลับมาทำงานที่มุ่งไปทางการพัฒนาและจัดการศึกษาทางเกษตรมีหลายท่าน อาทิ อำมาตย์เอกพระยาเทพศาสตร์สถิต พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ หลวงสัมฤทธิ์ผลกสิกรรม ซึ่งจะได้กล่าวถึงในงานด้านการศึกษาทางเกษตรโดยเฉพาะต่อไป

ยังมีบุคคลสำคัญซึ่งเป็นผู้นำในการเกษตรที่สมควรกล่าวถึงอีก คือ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และหม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ หม่อมเจ้าสิทธิพรทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกระทรวงพระคลัง เป็นอธิบดีกรมฝิ่น (กรมเกษตร) แล้วทรงลาออกจากราชการในปี 2463 เสด็จไปเป็นเกษตรกร ทรงทำไร่นาสวนผสมที่ฟาร์มบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงใช้ความรู้และประสบการณ์จากการทดลองได้พืชและผลผลิตพันธุ์ดีออกสู่ตลาด โดยเฉพาะแตงโมพันธุ์บางเบิดอันมีชื่อเสียงในสมัยนั้นจัดเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นเชื้อพระวงศ์และนักวิชาการออกทำการเกษตรเป็นอาชีพจนเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป และได้รับสมญานามว่า "บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่" และในพ.ศ. 2470 ได้ทรงร่วมกับผู้นำทางเกษตรที่รับราชการอยู่ลงทุนพิมพ์หนังสือ "กสิกร" เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ สู่เกษตรกรนับเป็นวารสารทางวิชาการเกษตรเล่มแรกของไทยและยังยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วน หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ สำเร็จการศึกษาทางกีฏวิทยาจากสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2475 นับเป็นคนไทยคนแรกที่จบทางสาขานี้ ขณะรับราชการในกรมเกษตรและประมงได้เก็บตัวอย่างแมลงจากหลายจังหวัดของประเทศจัดหมวดหมู่เป็นพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งศึกษาและอ้างอิงของนักกีฏวิทยาไทยจนทุกวันนี้ และได้รับเกียรติจากชาวต่างประเทศตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของแมลงให้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล 3 ชนิด หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาทางกีฏวิทยาของไทยในเวลาต่อมา

รัชกาลที่ 4 ด้านเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

1. ลูกค้าจะซื้อสินค้าส่งออกนอกประเทศได้ทุกชนิด โดยเสรี แต่รัฐบาลไทยสามารถสงวนสิทธิที่จะห้ามส่งสินค้าออกนอกประเทศได้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย 2. พ่อค้าจะนำสินค้าเข้ามาขายในกรุงได้ทุกชนิด นอกจากอาวุธยุทธภัณฑ์ต้องขายให้กับรัฐบาลเท่านั้นและฝิ่นต้องขายให้กับเจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น 3. พ่อค้าและลูกค้าสามารถติดต่อซื้อขายกันได้โดยเสรี

รัชกาลที่ 4 อยู่ในสมัยใด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครองราชย์
2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
ราชาภิเษก
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบรมมหาราชวัง
ก่อนหน้า
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวnull

รัชกาลที่ 4 ทรงปรับปรุงด้านการเงินของประเทศด้วยวิธีการใด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์เงินตราขาดแคลนในครั้งนี้ ด้วยการโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ “เงินกระดาษ” นำออกใช้หมุนเวียนในระบบเงินตราของประเทศสยามเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2396 เรียกว่า “หมาย” หรือ “หมายแทนเงิน” โดยมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรใช้หมายแทนการใช้เงินพดด้วง แต่กลับไม่เป็นที่นิยมใน ...

พระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 4 มีอะไรบ้าง

พระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ที่สำคัญประการหนึ่งคือ วิชาการด้านโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทรงสามารถคำนวณระยะเวลา การเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ดังได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระราชอาคันตุกะทั้งปวง ไปชมสุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ.2411.