แก้อาการนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก

ความหมาย นอนไม่หลับ

Share:

นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน นอนยาก ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน นอนหลับไม่สนิท นอนแล้วตื่นกลางดึก ตื่นแล้วกลับไปนอนไม่ได้อีก หรือแม้จะรู้สึกอ่อนเพลียเพียงใดก็ไม่สามารถนอนหลับได้ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

อาการของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับมีอาการสำคัญ ดังนี้

  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้
  • หลับยาก นอนดึก ตื่นสาย
  • นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก
  • ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้อีก
  • อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
  • ง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในตอนกลางคืน
  • ร่างกายอ่อนเพลีย ต้องการการพักผ่อน แต่ก็ยังนอนไม่หลับ หลับยาก
  • ไม่มีสมาธิ ทำงานผิดพลาด ความจำไม่ดี

โดยปกติ คนเรามีชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันตามช่วงอายุ โดยจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัยเป็นดังนี้

  • เด็กแรกเกิด: 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 1 ปี: 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 2 ปี: 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 3-5 ปี: 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 6-13 ปี: 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 14-17 ปี: 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่: 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

ส่วนผู้สูงอายุจะมีชั่วโมงการนอนที่สั้นลง เพราะร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุปัจจัย ดังนี้

ปัจจัยทางด้านร่างกาย
มีอาการเจ็บป่วยของโรคอยู่แล้ว หรือเจ็บปวดตามจุดและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับแทรกซ้อน เช่น โรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง หรือ
โรคการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ (Sleep Related Breathing Disorders) หรือกรนขณะนอนหลับก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สัมพันธ์ต่ออาการนอนไม่หลับ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะหยุดหายใจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆในขณะนอนหลับ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเกร็งและการกระตุก อาจทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นกลางดึก นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับอีกเลยได้เช่นกัน

อีกส่วนหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ปกติเมื่อร่างกายเจริญเติบโตตามช่วงวัยต่าง ๆ และมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความต้องการในการนอนหลับพักผ่อนจะลดน้อยลง เพราะร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดลง จึงมักพบปัญหาการนอนไม่หลับได้มากในช่วงวัยกลางคนเข้าสู่วัยชรา ในวัยชรา และผู้หญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งการนอนไม่หลับเกิดจากฮอร์โมนและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

ปัจจัยทางด้านจิตใจ
มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ ดีใจ หรือตื่นเต้นประหม่าเกิดเป็นความเครียด จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนอนหลับตามปกติได้

ปัจจัยภายนอก
มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมมารบกวนประสาทสัมผัสในขณะนอนหลับ เช่น เสียงดังรบกวน แสงที่สว่างจ้า และการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ ที่มากจนรบกวนสภาวะผ่อนคลายก่อนการนอนหลับ และการเข้ารับการรักษาบางชนิดก็มีผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดจนนอนไม่หลับ เช่น การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกกันติดปากว่าคีโมในผู้ป่วยมะเร็ง ความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด เป็นต้น

ส่วนการรักษาด้วยยาบางชนิดก็มีผลต่อการนอนไม่หลับ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อย่างคอร์ติโซน (Cortisone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) และเพรดนิโซน (Prednisone) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ยากลุ่มนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลต่อประสาทการรับรู้และการตอบสนอง ทำให้ร่างกายตื่นตัวจนนอนไม่หลับ และกลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressants) อย่างซิตาโลแพรม (Citalopram) เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) และฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เป็นยาที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมประสาทการรับรู้ ความรู้สึก และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การใช้ยาเหล่านี้จึงอาจกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ตื่นตัว รู้สึกตัว จนอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ดังนั้น การรักษาและใช้ยาบางชนิดจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์

ปัจจัยอื่น ๆ
นอกจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว การนอนผิดเวลาไปจากเวลาปกติที่ร่างกายคุ้นเคย เช่น การทำงานเป็นกะ หรือการปรับตัวไม่ทันจากการเดินทางข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) การกินอาหารที่มากเกินไปก่อนนอนทำให้นอนหลับไม่สบายตัว การดื่มและใช้สารเสพติด เช่น คาเฟอีนในกาแฟหรือชา นิโคตินในบุหรี่ และยาเสพติดต่าง ๆ ที่มีสารกดประสาททำให้นอนไม่หลับ รวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแม้จะทำให้ผู้ดื่มง่วงนอนในตอนแรก แต่จะมีฤทธิ์กระตุ้นให้นอนหลับไม่สนิทหรือตื่นขึ้นมากลางดึกได้

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ

  • การวินิจฉัยด้วยตนเอง สามารถทำได้โดยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการนอนในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เช่น นอนยากหรือไม่ ต้องใช้เวลานานเกินกว่า 30 นาทีเพื่อนอนให้หลับ หรือตื่นขึ้นกลางดึกแล้วไม่สามารถกลับไปนอนหลับได้อีก มีสภาพแวดล้อมที่รบกวนในขณะนอนหรือไม่ มีเรื่องให้คิดรบกวนจิตใจหรือไม่ และมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้ามากผิดปกติในเวลากลางวันหรือไม่
  • การวินิจฉัยโดยแพทย์ แพทย์จะซักถามประวัติการนอนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หาสาเหตุทางด้านร่างกาย เช่น มีโรคประจำตัว หรือมีการเจ็บป่วยอื่นด้วยหรือไม่ นอนกรนหรือไม่ และหาสาเหตุทางด้านจิตใจ เช่น มีความเครียด อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีความวิตกกังวลใดอยู่หรือไม่ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

การรักษาด้วยตนเอง
เข้านอนและตื่นนอนตามเวลาเดิมเป็นประจำ นอนหลับให้เพียงพอตามกับความต้องการตามวัยของตน หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นอยู่กับความคิดฟุ้งซ่าน ความเครียดและความวิตกกังวล ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างชา กาแฟ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด

การรักษาด้วยยา
โดยยาบางชนิดต้องใช้ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์และสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น ยาที่ใช้จะอยู่ในกลุ่มยาเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน มักใช้เมื่อเกิดปัญหาการปรับตัวไม่ทันเมื่อข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) Antidepressants หรือยาต้านเศร้า และ Antipsychotics หรือยารักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท โดยจะใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ของภาวะซึมเศร้าหรืออาการทางจิตที่เกิดขึ้นร่วมกับการนอนไม่หลับเท่านั้น Benzodiazepines หรือยานอนหลับที่มีฤทธิ์ช่วยคลายเครียด คลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้นอนหลับลึกและยาวนาน

การบำบัดและการรักษาทางการแพทย์
ประกอบด้วยการวัดระดับความรุนแรงของอาการด้วยเครื่องมือและแบบทดสอบทางการแพทย์ การให้คำปรึกษา การบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดภาวะผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคนอนไม่หลับ

สิ่งที่อาจตามมาหลังเผชิญกับโรคไม่หลับ คือ ผลกระทบต่อสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และการใช้ชีวิต เช่น

  • ร่างกายอ่อนล้าในตอนกลางวัน ระบบความจำมีปัญหา ทำให้เรียนหรือทำงานอย่างขาดประสิทธิภาพ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอันเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นด้วย เช่น การวูบหลับในขณะใช้รถใช้ถนนหรือใช้เครื่องจักร
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานภายในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเกิดภาวะอ้วนตามมา
  • การนอนไม่หลับอย่างเรื้อรัง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์เพื่อช่วยในการนอนหลับ

การป้องกันโรคนอนไม่หลับ

การแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ ควรพิจารณาตามความรุนแรงของอาการ หากมีอาการนอนไม่หลับไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการเพียงบางช่วงที่มีปัจจัยต่าง ๆ มากระทบ และไม่ได้มีอาการอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง ผู้มีอาการสามารถดูแลตนเองให้ผ่านพ้นภาวะนี้ได้โดย…

  • ปรับพฤติกรรมการนอน - เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับในระหว่างวัน และนอนเมื่อง่วงนอน ไม่พยายามกดดันตัวเองเพื่อให้นอนหลับ เพราะจะเกิดผลข้างเคียงเป็นความวิตกกังวลและทำให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น แต่ควรหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำก่อนนอน เช่น การอ่านหนังสือหรือการฟังเพลงเบา ๆ
  • เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้มีความผ่อนคลาย - จัดห้องใหม่ให้อากาศถ่ายเทสะดวก กำจัดสิ่งรบกวนในบริเวณห้อง หรือย้ายที่พักไปสู่สภาพแวดล้อมที่สงบ สบาย และน่าอยู่อาศัย
  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและมีประโยชน์ทางโภชนาการ - เพื่อสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยและความเจ็บป่วย งดรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มและการใช้ยาที่มีสารกระตุ้นต่าง ๆ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ - ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย แต่ควรเว้นระยะการออกกำลังกายให้ห่างจากการเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้นอนหลับยากมากยิ่งขึ้น
  • ลดความตึงเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน - หลีกเลี่ยงความขัดแย้งอันเป็นที่มาของการเกิดความเครียด เปลี่ยนมุมมองใหม่ให้ชีวิต คิดในแง่บวก มองหาความสุขง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัว เข้าใจชีวิต และรู้จักการปล่อยวาง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด