รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ออมสิน 2565

มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้

หลังจากที่แบงก์ชาติได้ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาวในเดือนกันยายน 2564 ยังพบว่าลูกหนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง  ​จึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (refinance)* และการรวมหนี้เพิ่มเติม  เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19

*รีไฟแนนซ์  คือ การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง

สำหรับผู้ที่สนใจมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละธนาคาร >> คลิกที่นี่

1. มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ 

แบงก์ชาติออกมาตรการห้ามสถาบันการเงิน/ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของแบงก์ชาติ เรียกเก็บ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee)**  ของสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนด

**ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด คือ ค่าปรับที่ลูกหนี้ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ในกรณีที่ปิดสินเชื่อก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยทั่วไปการรีไฟแนนซ์อาจไม่คุ้มค่า หากค่าปรับส่วนนี้สูงกว่าดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ประหยัดจากการรีไฟแนนซ์ได้

รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ออมสิน 2565

2. มาตรการสนับสนุนการรวมหนี้ 

แบงก์ชาติออกมาตรการให้สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นเข้าด้วยกัน โดยขยายขอบเขตจากเดิมที่ดำเนินได้เฉพาะแบงก์เดียวกันให้สามารถรวมหนี้ข้ามแบงก์ได้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกหนี้ในระยะยาว

การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้ คืออะไร?

การรวมหนี้สินเชื่อบ้านกับสินเชื่อรายย่อยเพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม และในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ กำหนดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านภายหลังช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวก 2% ต่อปี

รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ออมสิน 2565

รูปแบบการรวมหนี้มีแบบไหนบ้าง?

การรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
1) การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน
2) การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
3) การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน

ประโยชน์จากการรวมหนี้

1)  อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น

2) ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น เพราะเหลือหนี้ก้อนเดียวและอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียว

3) ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจารวมหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย

1)  ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้

2) ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้

3) ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้

หลายคนมีหนี้หลายก้อน โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตหลายใบ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ขอยกตัวอย่าง สินเชื่อปิดบัตรเครดิต ที่น่าสนใจรวมถึงโครงการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ที่เป็นมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ดังนี้ 

1. สินเชื่อบุคคล Speedy Loan Balance Transfer ของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นบริการโอนยอดหนี้ของบัตรเครดิตอื่นๆ หรือ สินเชื่อบุคคลอื่นๆ มาไว้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ตัดจบหนี้ผ่อนหนัก แล้วมาผ่อนสบายๆ จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน รับเงินสดเข้าบัญชีธนาคาร พร้อมวงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท และสะดวกสบายกับหลายช่องทางการผ่อนชำระ

2. สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล ย้อนก่อนแย่ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อยเพื่อช่วยบรรเทาความกังวลของลูกค้า ด้วยการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในตลาดเพียง 9.99% ต่อปี นานสูงสุดถึง 2 ปี ไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน เพียงเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป และมีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน ก็สมัครใช้สินเชื่อได้แล้ว

3. สินเชื่อบุคคล Citi สินเชื่อเพื่อลดยอดผ่อน หรือปิดยอดบัตรเครดิต โดยให้วงเงินอนุมัติสินเชื่อบุคคลสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 12-60 งวด และไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน

4. UOB i-Cash ของธนาคารยูโอบี อนุมัติวงเงินสูงสุด 2,000,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายเดือนเท่าๆ กันทุกเดือน และคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก รวมถึงไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน

5. สินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช ธนาคารซีไอเอ็มบี ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 20,000-2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย แบบลดต้นลดดอก และผ่อนสูงสุดไม่เกิน 60 เดือน

6. สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan ของธนาคารกสิกรไทย มีรายได้ 7,500 บาทขึ้นไป ต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีภาระหนี้ต่อเดือน ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด สามารถสมัครผ่านแอปฯ K PLUS โดยสินเชื่อดังกล่าวไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน

นอกจากนี้ยังมีรวมหนี้ และรีไฟแนนซ์ไว้เป็นก้อนเดียว ที่ปัจจุบันหลายๆ ธนาคารได้เข้าร่วมโครงการกับธนาคารแห่งประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น

โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ "บ้านดี หนี้เบา" ของธนาคารออมสิน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ : ต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่เข้าเงื่อนไขของมาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องไม่เป็น NPL ปัจจุบันไม่มีหนี้ค้างชำระ และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้

วงเงินให้กู้ : วงเงินให้กู้สูงสุด (LTV) ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (โดยยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ เมื่อรวมกับยอดหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะต้องไม่เกินกว่ามูลค่าของราคาหลักประกัน)

ระยะเวลาสมัคร : ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566

ระยะเวลาผ่อนชำระ: ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สินเชื่อบ้าน ไม่เพิ่มจากเดิม ยกเว้นกรณีมีการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด, สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราดอกเบี้ยช่วงลอยตัวตามสัญญากู้เงิน บวกร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา

โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ของธนาคารกรุงไทย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ภายในธนาคารกรุงไทย : สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องไม่มีหนี้ค้างชำระ สินเชื่อบุคคล (ที่ไม่มีหลักประกัน) ได้ทั้งกรณีที่ไม่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ และกรณีที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบุคคลต้องไม่เป็นบัญชีที่มีคำสั่งศาลพิพากษา

คุณสมบัติรวมหนี้สินเชื่อบุคคลจากสถาบันการเงินอื่นมากรุงไทย : สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ลูกค้าที่มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กับธนาคารกรุงไทย และมีบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดสินเชื่อบุคคล ที่ไม่มีหลักประกันกับสถาบันการเงินอื่น และไม่มีประวัติการค้างชำระ

การให้ความช่วยเหลือรวมหนี้ภายในธนาคารกรุงไทย : ปรับลดงวดผ่อนชำระ, ขยายระยะเวลากู้, สำหรับสินเชื่อประเภทหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา หรือ Term Loan

การให้ความช่วยเหลือรวมหนี้สินเชื่อบุคคลจากสถาบันการเงินอื่นมากรุงไทย : ให้สินเชื่อ Home For Cash สำหรับปิดหนี้สินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด จากสถาบันการเงินอื่น หรือผู้ประกอบธุรกิจ แล้วนำมาผูกหลักประกันกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่มีอยู่กับธนาคารกรุงไทย

ระยะเวลามาตรการ : ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66

โครงการรวมหนี้สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยของธนาคารกรุงเทพ

คุณสมบัติของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ : มีทั้งรวมหนี้ภายในธนาคาร และการรีไฟแนนซ์โดยรวมหนี้ภายนอกธนาคาร ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ กับธนาคารกรุงเทพนำหนี้สินเชื่อรายย่อย (สินเชื่อบัตรเครดิตและ/หรือสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมาจดจำนองลำดับถัดไปบนหลักประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีกับธนาคาร)

คุณสมบัติผู้กู้ : เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้

รูปแบบการรวมหนี้ : กรณีมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารกรุงเทพ และมีสินเชื่อรายย่อย (บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล) กับธนาคารกรุงเทพและสถาบันการเงินอื่น, กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย และมีสินเชื่อรายย่อย (บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล) กับสถาบันการเงินอื่น

หลักประกัน : ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย

ส่วนธนาคารอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่