แนวโน้ม ธุรกิจค้าปลีก สมัยใหม่ ในปัจจุบัน

แชร์:

มิถุนายน 2562

การค้าสมัยใหม่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีการซื้อของชำของผู้บริโภค โดยรูปแบบใหม่ของการขายนี้มีการเสนอขายในราคาที่ถูกกว่า มีชั่วโมงการขายที่นานขึ้น พร้อมทั้งสภาพแวดล้อมในการซื้อสินค้าที่สะอาด และสะดวกสบาย ตลอดจนการขนส่งออนไลน์ก็สะดวกสบายอีกด้วย

รูปแบบการค้าสมัยใหม่ขนาดใหญ่ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีลูกโซ่มักจะให้บริการ “การซื้อขายให้แล้วเสร็จในจุดเดียว” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคส่วนมาก นอกเหนือจากการให้บริการอาหารสดและของชำแล้วร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ยังเสนอขายสินค้าที่ไม่ใช่ของชำ เช่น เสื้อผ้า ของเล่นและเกมส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการบริโภคด้วย

รูปแบบการค้าสมัยใหม่ที่มีขนาดเล็กลงมา เช่น ร้านสะดวกซื้อก็มีการขยายระยะเวลาการขายให้นานขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคที่มีเวลาจำกัด เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่สตรีได้รับโอกาสทางการศึกษาและก้าวสู่การทำงานมากขึ้น ทำให้ความแพร่หลายของครอบครัวซึ่งมีรายได้มาจากทั้งสองช่องทางมีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านความสะดวกสบายและความยืดหยุ่น นอกจากนี้ ในชุมชนเมือง ผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อพยายามที่จะสร้างประโยชน์จากพื้นที่ที่มีผู้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ด้วยร้านขนาดเล็ก และอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ดี

เนื่องจากสัดส่วนตลาดของอินเตอร์เน็ตและมือถืออยู่ในอัตราหน่วยหลักสิบที่สูง การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคทำให้เกิดการให้บริการการค้าปลีกของชำออนไลน์ขึ้น ซึ่งจากการสำรวจตลาดหลายแห่ง มีเพียง หนึ่งใน 10 ของผู้ตอบออนไลน์ที่ซื้อของชำออนไลน์ ทั้งๆ ที่ในปี 2559 สัดส่วนของตลาดออนไลน์มีเพียงแค่ 1% เท่านั้นจากยอดการขายของชำทั้งหมดในอาเซียน อย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคยังคงนิยมการเลือกซื้อของสดด้วยตนเองอยู่ เราจึงคาดการณ์ว่าช่องทางการขายแบบเดิมจะยังคงอยู่และเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคยังคงนิยมต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

ไม่ว่าการให้บริการการค้าปลีกของชำออนไลน์จะเป็นที่นิยมในอีก 2-5 ปีข้างหรือไม่ก็ตาม ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในการขยายฐานและปรับปรุงรูปแบบธุรกิจของตนเองที่สอดรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้เล่นในตลาดออนไลน์โดยแท้จะต้องปรับตัวให้ทันเพราะส่วนมากแล้วตลาดนี้ยังคงไม่สร้างกำไรอยู่ในปัจจุบัน โดยในรายงานฉบับนี้ เราได้ทำการตรวจสอบอนาคตการค้าสมัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และไทยขึ้น

UOB ได้ริเริ่มโครงการการจัดการเงินสดและการให้สินเชื่อแก่ซัพพลายเออร์เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้เล่นทางการค้าสมัยใหม่ในภูมิภาคอาเซียน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรด คลิกที่นี่

แนวโน้มธุรกิจค้าปลีก

1 นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น ธุรกิจค้าปลีกเป็นภาคธุรกิจที่มีความสําคัญเนื่องจากเป็นตัวสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ อนาคตเมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกจะทวีความรุนแรงมากขึ้นอีก เนื่องจากจะมีคู่แข่งรายใหม่จากต่างประเทศ เช่น ห้างวอลมาร์ท (Wal Mart) ห้างเมโทรอย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันดังกล่าว คือ ได้ซื้อสินค้าและบริการในราคาตํ่า และมีทางเลือกในการตัดสินใจเพิ่มขึ้น

2 ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมหรือร้านโชห่วยมีแนวโน้มจะลดลงเป็นลําดับ จากสาเหตุประการแรก คือการถูกแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดโดยธุรกิจดิสเคาท์สโตร์และร้านสะดวกซื้อ ประการที่สอง คือ การไม่ปรับตัวเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างธุรกิจค้าปลีก ประการที่สาม คือ รสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

3 ธุรกิจค้าปลีกโดยนักลงทุนต่างชาตินําเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการทําธุรกิจแบบใหม่มากขึ้น อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ Internet ในการบริหารจัดการการนํา Logistics ด้านการขนส่งมาใช้มากขึ้น การจัดการเกี่ยวกับสินค้าคงคลังผ่านศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) รวมทั้งการก้าวไปสู่การทําธุรกิจค้าปลีกบนE-Commerce หรือการซื้อขายผ่านระบบสื่อสารหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แม้จะอยู่ในระยะเริ่มต้นและต้องมีการออกกฎหมายรองรับ แต่ในระยะต่อไปธุรกรรมนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการ

4 แต่ละธุรกิจค้าปลีกต่างปรับตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน อาทิ การผลิตสินค้า Own Brand หรือ House Brand มากขึ้น เพื่อให้ราคาสินค้าตํ่าสุดการขยายเวลาเปิด-ปิดบริการ แบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเร่งขยายสาขาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด

5 ผู้ค้าปลีกร้องรัฐออกกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย สถานการณ์การแข่งขันธุรกิจค้าปลีกรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการไทย จึงเรียกร้องให้ภาครัฐเข้าดูแล และแก้ไขปัญหาเหมือนเช่นในต่างประเทศ อาทิเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ฟินแลนด์ เยอรมนี ญี่ปุ่นอินโดนีเซีย หรือเดนมาร์ก ฯ ซึ่งต่างมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยท้องถิ่น โดยการกําหนดโซนที่ตั้ง กําหนดเวลาการเปิด-ปิดทําการ และการตั้งราคาจําหน่ายที่ต้องสอดคล้องกับราคาต้นทุน เป็นต้น อย่างไรก็ดีภาครัฐโดยกรมการค้าภายใน รับทราบปัญหาของภาคเอกชนจึงได้เตรียมเสนอกฎกระทรวง 8 ฉบับ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงานกฤษฎีกา) ในการกําหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

แนวโน้ม ธุรกิจค้าปลีก สมัยใหม่ ในปัจจุบัน

Advertisement

เคพีเอ็มจีเปิดเผยผลการศึกษาประเทศไทยเรื่อง แนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกในปี 2020 : ความเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเป็นจริงในรูปแบบใหม่ พบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธุรกิจการค้าปลีกมีให้เห็นตั้งแต่ก่อนจะเกิดวิกฤติโควิด-19 และในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

ธุรกิจค้าปลีกบางแห่งยังมีการเติบโตในขณะที่บางแห่งต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบันโควิด-19 ได้กระตุ้นให้แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกเกิดเร็วขึ้นใน 4 ด้านหลักๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจ, ความสำคัญของจุดยืนขององค์กร, การมุ่งเน้นในการลดต้นทุน และอำนาจที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค

แนวโน้ม ธุรกิจค้าปลีก สมัยใหม่ ในปัจจุบัน

นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าวว่า แทนที่สถานการณ์ปัจจุบันจะหยุดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ กลับกลายเป็นว่าทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้น ใน 4 แนวทาง คือ

แนวทางที่ 1 : การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจ

ก่อนวิกฤติการณ์โควิด-19 การค้าปลีกผ่านหน้าร้านได้รับความนิยมผ่านจุดสูงสุดแล้ว ถึงแม้ว่าร้านค้าที่มีหน้าร้านยังจะสามารถกลับมาเติบโตได้ แต่เห็นได้ชัดว่าจากนี้ไปการเพิ่มยอดขายผ่านหน้าร้านอย่างเดียวนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น ธุรกิจที่ยังไม่มีช่องทางออนไลน์หรือช่องทางการส่งสินค้าจะดำเนินไปได้ยากลำบากขึ้น แต่ละองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรเสียใหม่ นอกจากการซื้อและการขายสินค้าแล้ว ธุรกิจยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปัจจัยอื่นให้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ การจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) และการใช้เครื่องจักรในระบบปฏิบัติการอัตโนมัติ ซึ่งหลายองค์กรเองก็กำลังมองหาแพลตฟอร์มที่จะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

แนวทางที่ 2 : จุดยืนองค์กรได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

ผู้บริโภคตัดสินแบรนด์จากการกระทำและจุดยืนขององค์กร แบรนด์ที่แสดงให้เห็นว่าทำประโยชน์ให้กับประชาชนจะมีการเติบโตมากกว่าแบรนด์ที่ไม่ได้ทำประโยชน์ถึง 2.5 เท่า (ในระยะเวลา 12 ปี) ดังนั้นผู้ประกอบการค้าปลีกจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความโปร่งใสให้กับองค์กร แบรนด์ที่สนับสนุนเกื้อกูลลูกค้าและพนักงานของตนมากกว่าแบรนด์อื่นจะได้รับความไว้วางใจจากสังคมมากขึ้น

แนวทางที่ 3 : พิจารณาทบทวนต้นทุนในการทำธุรกิจ

ผู้ประกอบการค้าปลีกต่างเล็งเห็นว่าการลดต้นทุนโดยใช้วิธีดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอต่อการประคับประคองผลประกอบการและฟื้นฟูธุรกิจได้ ซึ่งรวมไปถึงกลยุทธ์รัดเข็มขัดอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ด้วย ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ตระหนักถึงความจำเป็นที่พวกเขาต้องมีมาตรการที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและต้องมีความชัดเจนหากต้องการที่จะมีกำไรในปีถัดๆ ไป เราคาดว่าจะได้เห็นองค์กรลงทุนเพิ่มคุณค่าให้กับต้นทุนที่มีอยู่เดิมในเร็วๆ นี้ นอกจากนั้นการพิจารณาทบทวนค่าใช้จ่ายในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการสินค้าคงคลัง และการวางแผนต้นทุนในการขนส่งและรับสินค้าแล้ว เราจะได้เห็นผู้ค้าปลีกเริ่มทบทวนมูลค่าสินทรัพย์อื่นๆ ขององค์กร โดยเฉพาะร้านค้า พนักงาน และความภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ (Customer loyalty)

แนวทางที่ 4 : ตัวเลือกของผู้บริโภคกลายเป็นที่เพ่งเล็ง

ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการตัวเลือกที่หลากหลายเท่ากับความพร้อมของสินค้าในคลังและการเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงล็อคดาวน์ของสถานการณ์โควิด-19 นั้น ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคต่างหาวิธีลดจำนวนชนิดของสินค้าที่ขาย โดยเน้นเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการสูง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการจัดการเงินทุนหมุนเวียนขององค์กรให้ดีขึ้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ธุรกิจค้าปลีกที่จะสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้มี 2 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจที่เสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และธุรกิจที่เสนอขายสินค้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการของผู้บริโภค

จาก 4 แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในปี 2020 นี้ ทำให้เห็นได้ชัดว่า องค์กรจะต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่พวกเขาจะต้องพัฒนาโครงการ Customer loyalty หาวิธีการและลักษณะการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าใหม่ๆ มีจุดยืนที่ชัดเจนและโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ และลงทุนในแพล็ตฟอร์มที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจได้

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่คืออะไร

ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มักจะหมายถึงร้านค้าปลีกในรูปแบบห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์สโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง ซึ่งใช้ระบบเข้ามาบริหารการจัดเก็บ ขายสินค้า และบริหารงาน ควบคู่กับการใช้พนักงานในการขายและให้บริการลูกค้าแทนที่จะเป็นเจ้าของกิจการแบบร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม

ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ข้อดีของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ 1.ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ค่อนข้างง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะมีรูปแบบการทำงานที่เป็นระบบ 2.การทำธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่นั้นจะช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีมากกว่าธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม

ธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันเป็นแบบใด

ธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ หรือที่รู้จักกันในนาม Modern trade ยกตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีการตกแต่งร้านค้าปลีกให้มีความสวยงาม มีรูปแบบในการตกแต่งร้านให้คล้ายคลึงกันกรณีมีหลายสาขา ใช้ระบบเข้ามาจัดเก็บ ขายสินค้า และบริหารงานควบคู่กับการใช้พนักงานในการขายและให้บริการลูกค้าแทนที่จะเป็นเจ้าซึ่งต่าง ...

ธุรกิจการค้าสมัยใหม่มีความท้าทายอย่างไรบ้าง

ความท้าทายของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การปฏิบัติตามเกณฑ์ทางการที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย (2) รูปแบบธุรกิจเปลี่ยนจากการทำตลาดแบบ Mass marketing เป็นแบบเฉพาะเจาะจง (Customization) มากขึ้น (3) การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ...