ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

"บิ๊กโจ๊ก" พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ตัวแทนรัฐบาลไทย รับ 56 เหยื่อแก๊ง "คอลเซ็นเตอร์" ที่ได้รับความช่วยเหลือกลับประเทศ พร้อมปรับแผนจัดการ การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จ่อนำกฎหมายอาชญากรข้ามชาติเข้ามาดำเนินการ

2 มี.ค.2565  พลตำรวจโทสุรเชษฐ์  หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรอง ผอ.สพดส.ตร. เดินทางไปเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการรับตัวคนไทยที่ถูกหลอกทำงานที่เมืองสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา ทั้งหมด 56 คนกลับเข้าประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการประสานเจ้าหน้าที่กัมพูชาให้ความช่วยเหลือคนไทยถูกหลอกทำงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ออกมาได้อย่างปลอดภัย

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ เปิดเผยว่า กระบวนการรับตัวคนไทยหลังกลับมาจากประเทศกัมพูชาแล้วในครั้งนี้ มีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือการรับตัวคนไทยที่ถูกหลอกไปทำออนไลน์จริง ๆ กับส่วนที่เป็นคนไทยสมัครใจลักลอบข้ามแดนไปทำงานฝั่งกัมพูชา ซึ่งในขณะนี้ ศพดส.ตร.ได้ปรับแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะแยกดำเนินการให้ชัดเจน โดยเฉพาะคนไทยที่สมัครใจไปทำงานในฝั่งกัมพูชาเพื่อหลอกลวงคนไทยในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ด้วยกันเอง นอกจากจะดำเนินคดีในการลักลอบข้ามแดนแล้ว จะเพิ่มกฎหมายในเรื่องของอาชญากรข้ามชาติเข้ามาเพิ่มเติมอีก เพื่อเป็นการเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

นอกจากนี้ การรับตัวคนไทยถูกหลอกทำออนไลน์ในฝั่งกัมพูชาวันนี้ เป็นล็อตที่ 9 แล้วมีคนไทยข้ามแดนกลับเข้ามาแล้วเกือบ 600 คน และยังมีคนไทยที่ยังอยู่ในฝั่งกัมพูชาอีกเกือบ 3,000 คน เร็ว ๆ นี้ ทางตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย จะเข้าพบกับผู้นำตำรวจของกัมพูชา เพื่อให้เนรเทศคนไทยที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายทั้งหมด เมื่อกลุ่มนายทุนชาวจีน ไม่มีคนไทยคอยทำงานให้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ น่าจะดีขึ้น

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

"ขณะเดียวกัน กลุ่มชาวบ้านในเขตอำเภออรัญประเทศ นำโดยนางสาวโชติกา แก้วขำ และนางสาวฐิติมา พ่วงเพชร ได้เข้าพบพลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หลังจากประชุมภายในกองกำกับการชุดควบคุมตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 โดยกลุ่มชาวบ้าน ได้ทวงถามความคืบหน้าคดีถูกโกงแชร์ยอดรวม 36 ล้านบาทมีผู้เสียหายกว่า 100 คน และเป็นคดีความเมื่อ 3 ปีที่แล้วพื้นที่สถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศ

โดยชาวบ้านอ้างว่า คดีนี้มีการจับกุมผู้ต้องหาไปแล้ว 2 คนและได้ประกันตัวออกไป แต่เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี ผู้เสียหายไม่เคยได้รับการติดต่อจากตำรวจ จึงอยากฝากบิ๊กโจ๊กให้เร่งรัดคดีนี้ให้ด้วย ก่อนที่บิ๊กโจ๊ก จึงกำชับให้ พันตำรวจเอกอรรถพล พงษ์สุพรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว รักษาราชการแทนผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศ เร่งรัดในเรื่องนี้ด้วย

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

นายยุทธนา  พึ่งน้อย  ผู้สื่อข่าวจังหวัดสระแก้ว

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

บทความนี้ อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป กรุณาปรับปรุงนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลทุติยภูมิหรือตติยภูมิ (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

สุรเชษฐ์​ หัก​พาล
รองผู้​บัญชาการ​ตำรวจ​แห่งชาติ​
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม​ พ.ศ. 2565
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (52 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
บิดา ไสว หักพาล
มารดา สุมิตรา หักพาล
คู่สมรส ศิรินัดดา หักพาล
ศิษย์เก่า โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
การเข้าเป็นทหาร
รับใช้ ไทย
สังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการ พ.ศ. 2537 – 2562
พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน​
ยศ
ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก
พลตำรวจเอก​

พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล​ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513) เป็นนายตำรวจชาวไทย​ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1] นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษา​สำ​นักงาน​ตำรวจแห่ง​ชาติ​ (สบ.9) อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง[2] อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.)[3] และผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[4][5] นอกจากนี้ เขายังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว รองผู้บังคับการจังหวัดสงขลา ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ ผู้กำกับการกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)[3] พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งโอนย้ายเขาเป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562[6][7] ปัจจุบันได้โอนย้ายกลับมารับราชการที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล ชื่อเล่น โจ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายดาบตำรวจ ไสว และนางสุมิตรา หักพาล สมรสกับ ดร.ศิรินัดดา (สกุลเดิม พานิชพงษ์) สำเร็จการศึกษาในชั้นอนุบาล โรงเรียนกลับเพชรศึกษาซึ่งมารดาเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนนี้ สำเร็จการศึกษาในชั้นประถม โรงเรียนวิเชียรชม สำเร็จการศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ และโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 31 ระดับชั้นปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 47 เป็นหัวหน้านักเรียนของนรต.รุ่น47 ระดับปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนได้เป็นอันดับ 1 และระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และระดับ ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล [3][8] ปัจจุบันกำลังศึกษา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคค่ำ (นอกเวลาราชการ) หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน นอกจากนี้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ยังจบหลักสูตร และ รับมอบประกาศเกียรติบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 21 (ปปร.21) จาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี

ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 เขาได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสถาบันพระปกเกล้า จาก นาย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา

การทำงาน[แก้]

เริ่มต้นรับราชการตำรวจ[แก้]

ร.ต.ต. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น เริ่มรับราชการตำรวจในตำแหน่งรองสารวัตร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จนได้รับการแต่งตั้งเลื่อนขั้นเป็นสารวัตรในกองวินัย ต่อมาเป็นสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 4 กองกำกับการ 5 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 2 กองกำกับการ 3 จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จนได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[9] และเป็นผู้ช่วยนายเวรตำรวจราชสำนักประจำให้กับ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[10][11]

ระดับผู้กำกับการ[แก้]

หลังจากได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพันตำรวจเอก พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น ได้รับตำแหน่งผู้กำกับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่อำนวยการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[11] จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 จึงได้เป็นผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์[10] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ได้เป็นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 ถูกส่งไปเป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[11] และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการณ์ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาส่วนหน้า รับผิดชอบพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาที่เป็น 'พื้นที่สีแดง' เสี่ยงต่อภัยความไม่สงบบริเวณชายแดนภาคใต้[6]

ระดับผู้บังคับการและผู้บัญชาการ[แก้]

ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจตรี ในตำแหน่งผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[12][13]ทำหน้าที่ประสานงานกับนายกรัฐมนตรี รายงานต่อ พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น หลังจากนั้นทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557[11][6] จนในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว[14]จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ[15]จนกระทั่งวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 เข้ามาทำหน้าที่รักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว จนได้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[16]จนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลตำรวจตรี สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจโท และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง[17][18]

ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

คำสั่งย้าย[แก้]

ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย จนวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ขาดจากตำแหน่งหน้าที่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อโอนไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทนักบริหารระดับสูง ในตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[10][11] และให้ถูกเพิ่มรายชื่อในบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558 เพื่อได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องด้วยมีมูลกรณี เมื่อถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ทำให้เสียหายแก่ทางราชการหรือทำให้ประชาชนเดือดร้อน[19]

ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 รถยนต์ส่วนตัวของ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ถูกยิง ณ บริเวณถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กทม. โดยในขณะนั้น พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไม่ได้อยู่ภายในรถ[20] โดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ รวมถึงสื่อหลายแห่งได้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์นี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับกรณีที่ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับความผิดปกติในโครงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจสอบและพิสูจน์อัตลักษณ์และโครงการจัดซื้อจัดจ้างรถตรวจการณ์ไฟฟ้าของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยกล่าวหาว่าบริษัทผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด แต่ สตช. ตรวจรับงานไว้ก่อน ทำให้ผู้รับจ้างไม่ต้องเสียค่าปรับ[21][22][23] ในขณะอีกส่วนหนึ่งก็ตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นการจัดฉากโดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์เอง[24]

ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้มีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าคำสั่งนี้ออกมาเนื่องจากมีการร้องเรียน จึงต้องเตือนไว้ก่อน[25]

ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นหนังสือลากิจเพื่อขอบวชที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 9 วัน[26] และกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2563[27]

ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เรื่องคำสั่งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม กรณีถูกย้ายจาก ผบช.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีออก เนื่องจาก พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ขอให้พิจารณามีคำสั่งกลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการดังเดิม แต่ยังไม่พ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับหนังสือ จึงถือว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยังไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนตามที่ได้ยื่นฟ้องศาลไว้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี[28][29]

การกลับมาเป็นข้าราชการตำรวจ[แก้]

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจมีมติเห็นชอบให้รับโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ.9) เทียบเท่าผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564[30][31] เมื่อวันที่ 10 ก.ย.พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ จำนวน 273 ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ยกเว้นลำดับที่ 169 ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป โดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล เลื่อนจาก ที่ปรึกษา (สบ 9) สตช. สไลด์ขึ้นเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร.

ขณะดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติใน วันที่ 6 ตุลาคม 2565 เขาลงพื้นที่พร้อมกับ พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ พลตำรวจโท สำราญ นวลมา เพื่อตรวจสอบเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  • พ.ศ. 2564 –
    ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[32]
  • พ.ศ. 2560 –
    ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[33]
  • พ.ศ. 2558 –
    ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก
    เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[34]
  • พ.ศ. 2560 –
    ช่อง ทาง ติดต่อ บิ๊ ก โจ๊ก
    เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[35]

อ้างอิง[แก้]

  1. ด่วน! โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำรวจ 255 ราย “พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์"นั่งผบ.ตร.
  2. โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ตำรวจดำรง 254 ตำแหน่ง-"บิ๊กโจ๊ก" นั่ง ผบช.สตม.เต็มตัว
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 31 เลขประจำตัว 17592 รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2560 สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ
  4. ตั้ง 'สุรเชษฐ์ หักพาล' นั่งผู้ช่วยโฆษก 'ประวิตร' ช่วยด้านกฎหมาย
  5. ""ประวิตร"ตั้ง"สุรเชษฐ์"ผช.โฆษกรองนายกฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  6. ↑ 6.0 6.1 6.2 ด่วน!”บิ๊กตู่”ใช้ม.44 โอน”บิ๊กโจ๊ก”เป็นขรก.พลเรือน นั่งที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกฯ โดนสอบด้วย
  7. คำสั่ง หัวหน้าคสช. โอนย้าย"บิ๊กโจ๊ก" เป็นข้าราชการพลเรือน
  8. ชะตาชีวิต "นายพล" คนดัง "สุรเชษฐ์ หักพาล" ในเส้นทางสีกากีก่อนถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุ
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก (หน้า ๕)[ลิงก์เสีย]
  10. ↑ 10.0 10.1 10.2 ย้อนอ่าน เส้นทาง ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล’ ฉายา ‘โจ๊ก หวานเจี๊ยบ’ ก่อนเป็น ขรก.พลเรือน
  11. ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 เส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๐)
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๐)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๓)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๖)
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๙)
  19. หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งเด้ง "บิ๊กโจ๊ก" พ้น สตช. ไปเป็น ขรก. พลเรือน
  20. ระทึก ! บุกยิงรถ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล[ลิงก์เสีย]
  21. “บิ๊กโจ๊ก” หักพาล ออกจากกรุทำเนียบ ท้ารบ “บิ๊กแป๊ะ”
  22. ไขปม บิ๊กแป๊ะ VS บิ๊กโจ๊ก เอาใจ 'นายยี้ห้อย' ปูทางการเมือง
  23. ยังไม่รู้มือยิงรถ ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์’-ชุดสืบสอบบอก ‘บิ๊กโจ๊ก’ ไม่ห่วงรถเท่าไหร่ โยงแต่ไบโอแมตริกซ์
  24. เบื้องลึก เบื้องหลัง ยิงรถ “บิ๊กโจ๊ก”
  25. บิ๊กช้างย่องเงียบ ดอดรายงานตัว หึ่ง‘โจ๊ก’งานเข้า
  26. "อาชญากรรม | หนีร้อนไปพึ่งเย็น "บิ๊กโจ๊ก" ลาบวช ศึก "สีกากี" นี้วุ่นวายหนอ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  27. 'บิ๊กโจ๊ก' กลับจากบวชแล้ว รับงานใหม่ที่สำนักนายกฯ เรื่องข้อเสนอร้องทุกข์
  28. ศาลไม่รับฟ้องคดี"บิ๊กโจ๊ก"ฟ้องนายกฯ-ปลัด สปน.สั่งย้ายมิชอบ
  29. ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้อง “บิ๊กโจ๊ก” ยื่นฟ้อง “บิ๊กตู่” กรณีคำสั่งย้าย
  30. "สุรเชษฐ์ หักพาล" เริ่มงานพรุ่งนี้ ย้อนประวัติสำนักปทุมวัน บิ๊กตร. ย้ายไป ย้ายกลับมาใหญ่กว่าเก่า ไม่ใช่คนแรก!
  31. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  33. ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/047/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐] หน้า ๑๗๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข, ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
  34. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๗ ข, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘
  35. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐