กิจการที่มี รูป แบบ ที่ เรียกว่า สามารถ เข้าไป จดทะเบียน กับ ตลาดหลักทรัพย์ แห่ง ประเทศไทย ได้

เกณฑ์และแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

นิติบุคคลต่างประเทศสามารถเข้าจดทะเบียนได้โดยตรงกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นตลาดแรก เรียกว่า Primary Listing
ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างประเทศสามารถระดมทุนจากตลาดทุนไทยเพื่อการขยายการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต

นิติบุคคลต่างประเทศสามารถเข้าจดทะเบียนได้โดยตรงกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นตลาดแรก เรียกว่า Primary Listing ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างประเทศสามารถระดมทุนจากตลาดทุนไทยเพื่อการขยายการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต

ค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียน / ภาษี



กิจการที่มี รูป แบบ ที่ เรียกว่า สามารถ เข้าไป จดทะเบียน กับ ตลาดหลักทรัพย์ แห่ง ประเทศไทย ได้

1. เตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียน

1. เตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียน


  • ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)
    ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความพร้อมของบริษัท และมีวิธีการชำระค่าบริการหลายวิธี เช่น 
          - คิดเป็นราคาเหมาจ่าย

          - คิดเป็นร้อยละของมูลค่าเงินทุนที่ระดมได้
          - คิดเป็นสัดส่วนตามงานที่ทำเสร็จ ฯลฯ
  • ค่าผู้สอบบัญชี (Auditor)
    ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความพร้อมของบริษัท
  • ค่าผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)
    ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความพร้อมของบริษัท

2. การยื่นคำขอเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและเข้าจดทะเบียน


ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนประเภทหุ้นต่อสำนักงาน ก.ล.ต.

  • ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุญาต : 50,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น (แบบ Filing) : 0.08% ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย แบ่งชำระดังนี้
    - 30,000 บาท ในวันที่ยื่นแบบ Filing

    - ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ในวันที่แบบ Filing มีผลบังคับใช้
  • ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี : คิดตามส่วนของผู้ถือหุ้น

ส่วนของผู้ถือหุ้น      ค่าธรรมเนียม
น้อยกว่า 500 ล้านบาท 50,000 บาท
ตั้งแต่ 500 แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท 100,000 บาท
ตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 300,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ค่าธรรมเนียม      รายละเอียด
ยื่นคำขอ 50,000 บาท
แรกเข้า 0.05% ของทุนชำระแล้ว
  • ขั้นต่ำ 100,000 บาท
  • ขั้นสูง 3,000,000 บาท
รายปี
ผันแปรตามทุนชำระแล้ว แบบอัตราถดถอย
  • ขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • ขั้นสูง 3,000,000 บาท
อัตราค่าธรรมเนียม :
  ทุนชำระแล้ว ≤ 200 ล้านบาท อัตรา 0.035%
200 ล้านบาท < ทุนชำระแล้ว ≤ 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.030%
1,000 ล้านบาท < ทุนชำระแล้ว ≤ 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.025%
5,000 ล้านบาท < ทุนชำระแล้ว ≤ 10,000 ล้านบาท อัตรา 0.020%
  ทุนชำระแล้ว > 10,000 ล้านบาท อัตรา 0.010%

ค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหุ้น
  • ค่าจัดพิมพ์หนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ
  • ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ / การจัดกิจกรรม Road show
  • ค่าธรรมเนียมรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์คิดเป็นร้อยละของมูลค่าการระดมทุน

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  • ค่าที่ปรึกษากฎหมาย
  • ค่าผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เป็นต้น

ภาษีที่เกี่ยวข้อง

ผู้ลงทุนเข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผู้ลงทุนมีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้องและครบถ้วน

กิจการที่มี รูป แบบ ที่ เรียกว่า สามารถ เข้าไป จดทะเบียน กับ ตลาดหลักทรัพย์ แห่ง ประเทศไทย ได้

การรับบริษัทจดทะเบียนต่างประเทศแบบ Primary Listing

หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 
ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอดังนี้

  • ชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด และกรณีที่มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) จะต้องไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท  
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท

เรื่อง คุณสมบัติ

สถานะ

เป็นบริษัทต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ*

ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)

≥ 300 ล้านบาท

ฐานะการเงินและสภาพคล่อง

  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น > 300 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ

ผลการดำเนินงาน

  • มีกำไรสุทธิในระยะเวลา 2 ปี หรือ 3 ปี ล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน > 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ > 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
  • มีผลการดำเนินงาน > 3 ปีโดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่
    กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง > 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ

กระจายการถือหุ้นรายย่อย**
(หลังเสนอขายหุ้นให้เเก่ประชาชน)

  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย > 1,000 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น
    1. ถือหุ้นรวมกัน > 25% ของทุนชำระแล้ว (300 ล้านบาท < ทุนชำระแล้ว < 3,000 ล้านบาท)
    2. ถือหุ้นรวมกัน > 20% ของทุนชำระแล้ว (ทุนชำระแล้ว > 3,000 ล้านบาท)
    3. แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน

  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 
    1. ทุนชำระแล้ว < 500 ล้านบาท: เสนอขาย > 15% ของทุนชำระแล้ว 
    2. ทุนชำระแล้ว > 500 ล้านบาท: เสนอขาย > 10% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นสามัญตามมูลค่าที่ตราไว้ > 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

การบริหารงาน

  • มีกรรมการซึ่งมีคุณสมบัติและองค์ประกอบตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ (ต้องมีกรรมการสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในไทยอย่างน้อย 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คน ต้องเป็นกรรมการตรวจสอบ)
  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    1. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ*
    2. ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทอย่างชัดเจน และในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบหมายอำนาจให้ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นปฏิบัติการแทนคณะกรรมการบริษัทในเรื่องใด การมอบอำนาจดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ*
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน

  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนด ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ* และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ*

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำหรับบริษัทต่างประเทศ*

งบการเงินและผู้สอบบัญชี

  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ*
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

การเปิดเผยข้อมูล

เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านข้อจำกัดของการบังคับใช้กฎหมายของบริษัท

นายทะเบียน

แต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์

การห้ามขายหุ้น*** (Silent Period)

ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders** จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา
ก) ธุรกิจทั่วไป: 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี สามารถทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย
ข) ธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน: 3 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี สามารถทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย และเมื่อครบทุก 6 เดือน สามารถทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย

ตัวแทนติดต่อประสานงาน

มีตัวแทนในการติดต่อประสานงานอยู่ในประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนสำหรับบริษัทต่างประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนในการเปิดเผยสารสนเทศหรือดำเนินการใดๆ ของผู้ยื่นคำขอ

ที่ปรึกษาการเงิน

ที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ในบัญชีที่สำนักงานก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบร่วมจัดทำคำขอเข้าจดทะเบียนและดูแลต่อเนื่อง 1 ปี นับแต่วันที่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

Opportunity Day

 

บริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้

หมายเหตุ
* ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.3/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับประมวล) 
** ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ

  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม

*** สำหรับบริษัทต่างประเทศที่มีบุคคลไทยถือหุ้นรวมกัน > 50% หรือ > 40% เนื่องจากมีข้อจำกัดตามกฎหมายอื่นหรือมีเงื่อนไขการร่วมทุนกับภาครัฐ (Thai Link) กำหนดระยะเวลาการห้ามขายหุ้น 1 ปี หลังวันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อครบ 6 เดือน สามารถทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.3/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับประมวล) 
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ.17/2551 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) 

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง