พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป

พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป

บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ
พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป

ประวัติ

  • เส้นเวลา
  • พระโคตมพุทธเจ้า
  • พุทธศาสนาก่อนแบ่งนิกาย
  • การสังคายนา
  • การเผยแผ่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม
  • การเสื่อมถอยในอนุทวีปอินเดีย
  • ชาวพุทธยุคหลัง
  • พุทธศาสนาสมัยใหม่

  • ธรรม
  • แนวคิด

  • อริยสัจ 4
  • มรรคมีองค์แปด
    • ธรรมจักร
  • ขันธ์ 5
  • อนิจจัง
  • ทุกข์
  • อนัตตา
  • ปฏิจจสมุปบาท
  • มัชฌิมาปฏิปทา
  • สุญตา
  • ศีลธรรม
  • กรรม
  • การเกิดใหม่
  • สังสารวัฏ
  • จักรวาลวิทยา

คัมภีร์

  • พุทธพจน์
  • ตำราพุทธศาสนาช่วงต้น
  • พระไตรปิฎก
  • พระสูตรมหายาน
  • ภาษาบาลี
  • ภาษาทิเบต
  • ภาษาจีน

การปฏิบัติ

  • ไตรสรณคมน์
  • เส้นทางสู่การปลดปล่อยในศาสนาพุทธ
  • เบญจศีล
  • บารมี
  • การทำสมาธิ
  • เหตุผลทางปรัชญา
  • การบูชา
  • การทำบุญ
  • อนุสสติ 10
  • การมีสติ
  • ปัญญา
  • พรหมวิหาร 4
  • โพธิปักขิยธรรม 37
  • อรัญวาสี
  • คฤหัสถ์
  • บทสวดมนต์
  • การแสวงบุญ
  • ลัทธิมังสวิรัติ

นิพพาน

  • การตรัสรู้
  • อริยบุคคล
  • พระอรหันต์
  • พระปัจเจกพุทธเจ้า
  • พระโพธิสัตว์
  • พระพุทธเจ้า

ธรรมเนียม

  • เถรวาท
  • พระบาลี
  • มหายาน
  • หีนยาน
  • แบบจีน
  • วัชรยาน
  • แบบทิเบต
  • นวยาน
  • แบบเนวาร

ศาสนาพุทธในแต่ละประเทศ

  • ภูฏาน
  • กัมพูชา
  • จีน
  • อินเดีย
  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลี
  • ลาว
  • มองโกเลีย
  • พม่า
  • รัสเซีย
  • ศรีลังกา
  • ไต้หวัน
  • ไทย
  • ทิเบต
  • เวียดนาม

  • โครงเรื่อง
  • พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป
    สถานีย่อยศาสนา

พระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่าง ๆ เช่น หิน งาช้าง ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นด้วยดิน หรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน

กำเนิดพระพุทธรูป[แก้]

พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป

พระคันธารราฐ

พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป

พระพุทธชินราช

พระอจนะ

แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุกในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

ครั้งแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน), ตรัสรู้ (พุทธคยา), ปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้สักการะบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า

ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธารราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา" แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน

พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า ในตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ได้พรรณาเรื่องพระพุทธรูปองค์แรกไว้ว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงโปรดฯให้ช่างหาไม้แก่นจันทน์หอมที่ดีที่สุด มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จกลับจากดาวดึงส์ และเสด็จมายังเมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลอาราธนาให้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ครั้นพระพุทธองค์เสด็จไปถึง พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ได้ขยับองค์จากพระแท่นที่ประดิษฐาน เพื่อถวายความเคารพพระศาสดา ครานั้นพระพุทธองค์จึงทรงยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้าม พระไม้แก่นจันทน์จึงกลับไปประทับยังพระแท่นที่เดิม พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นเช่นนั้นก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสศรัทธา แต่ตำนานนั้นถือว่ายังไม่สามารถหาหลักฐานได้

ส่วนการสร้างพระพุทธรูปจริง ๆ นั้นเริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธารราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ มิลินทปัญหาได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธารราฐ ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีลักษณะต่าง ๆ ตามพุทธประวัติ (ปางพระพุทธรูป)

พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธารราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธารราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธารราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็ก ๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์

ตำแหน่งของการปิดทองพระพุทธรูป[แก้]

ชาวพุทธต่างพากันบูชาพระรัตนตรัย ชาวพุทธ มีความเชื่อที่ว่าการปิดทองพระพุทธรูป ถือเป็นบุญบารมีมหาศาล ที่จะทำให้ผู้ที่ปิด ได้อานิสงส์ผลบุญ ส่งผลให้บังเกิดสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต และสิ่งที่หลายท่านอาจยังไม่ทราบคือ การปิดทองในตำแหน่งต่าง ๆ ของพระพุทธรูป จะส่งอานิสงส์ผลบุญในด้านที่แตกต่างกันด้วย

  • ปิดทองบริเวณเศียรพระ (หัว) จะมีสติปัญญาแหลมคม จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
  • ปิดทองบริเวณพระพักตร์ (ใบหน้า) จะประสบความสำเร็จในชีวิต ทางด้านการทำงานก็จะเจริญรุ่งเรือง
  • ปิดทองบริเวณพระอุระ (อก) จะมีผู้คนชื่นชอบ เอ็นดู มีบุคลิกสง่า มีราศี
  • ปิดทองบริเวณพระอุทธ (ท้อง) จะมีกินมีใช้ ร่ำรวย มั่งมี
  • ปิดทองบริเวณพระหัตถ์ (มือ) จะมีผู้คนเคารพยำเกรง เป็นที่น่ายกย่อง
  • ปิดทองบริเวณพระบาท (เท้า) จะมีความเป็นอยู่ที่ดี มียานพาหนะที่ดี[1]

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ[แก้]

  • ปางสมาธิ (ขัดสมาธิราบ ปางตรัสรู้) และ ปางขัดสมาธิเพชร
  • ปางมารวิชัย
  • ปางหมอยา
  • ปางปฐมเทศนา
  • ปางอุ้มบาตร
  • ปางประทานอภัย
  • ปางประทานพร
  • ปางปาฏิหาริย์
  • ปางลีลา
  • ปางปรินิพพาน
  • ปางนาคปรก
  • ปางประสูติ
  • ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
  • ปางทรงทรมานช้างนาฬาคิรี
  • ปางทรงทรมานพระยาวานร
  • ปางเปิดโลก
  • ปางทรมานพระยามหาชมพู (พระทรงเครื่อง)
  • ปางทรงตัดเมาลี
  • ปางทรงรับมธุปายาส
  • ปางลอยถาด
  • ปางถวายเนตร
  • ปางเรือนแก้ว
  • ปางประสานบาตร
  • ปางพระเกศธาตุ
  • ปางภัตตกิจ
  • ปางชี้อัครสาวก
  • ปางทรงรับผลมะม่วง
  • ปางมหาภิเนษกรมณ์
  • ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
  • ปางเสวยมธุปายาส
  • ปางทรงรับหญ้าคา
  • ปางจงกรมแก้ว
  • ปางห้ามมาร
  • ปางฉันสมอ
  • ปางชี้มาร
  • ปางชี้อสุภะ
  • ปางปฐมบัญญัติ
  • ปางรับสัตตูก้อนสัตตูผง
  • ปางรำพึง
  • ปางป่าเลไลย
  • ปางทรงพระสุบิน
  • ปางประทานเอหิภิกขุ
  • ปางห้ามสมุทร
  • ปางห้ามญาติ
  • ปางประทับเรือขนาน
  • ปางแสดงยมกปาฎิหารย์
  • ปางห้ามพระแก่นจันทร์
  • ปางสรงน้ำฝน
  • ปางโปรดสัตว์
  • ปางสนเข็ม
  • ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
  • ปางทรงพิจารณาชราธรรม
  • ปางแสดงโอฬาริกนิมิต
  • ปางทรงรับอุทกัง
  • ปางขับพระวักกลิ
  • ปางนาคาวโลก
  • ปางปลงอายุสังขาร
  • ปางทรงจีวร
  • ปางห้ามพยาธิ
  • ปางโปรดพุทธบิดา
  • ปางโปรดพุทธมารดา
  • ปางปัจเจกขณะ
  • ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
  • ปางโปรดองคุลีมาโจร
  • ปางทรงพยากรณ์
  • ปางประทานธรรม
  • ปางโปรดอสุรินทราหู
  • ปางโปรดพกาพรหรม
  • ปางโปรดสุภัททปริพาชก
  • ปางโปรดอาฬาวกยักษ์
  • ปางขอฝน
  • ปางปลงกรรมฐาน หรือ ปางชักผ้าบังสุกุล
  • ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อพระพุทธรูปสำคัญในประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]

  • กำเนิดพระพุทธรูป[ลิงก์เสีย]

  1. "การปิดทองพระ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ 2013-04-09.

พระพุทธเจ้า ห้ามสร้าง พระพุทธ รูป
บทความเกี่ยวกับศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล
ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา