เมื่อ เสร็จ สิ้น กระบวนการ transcription จะ ได้ RNA สาย ใหม่ จาก ทิศทาง ใด ไป ยัง ทิศทาง ใด

1. สายและทิศทางของการสังเคราะห์

   สำหรับแต่ละสายจะถูกสังเคราะห์จากด้านปลาย 5 ไพร์ม > > > ไปยังปลาย 3 ไพร์ม ทั้งในดีเอ็นเอและอาร์เอนเอ
   แต่ในสายของโปรตีน(สายโพลีเปปไทด์) จะถูกสังเคราะห์จากด้านปลายอะมิโน (amino-terminal) > > > ไปยังปลายคาร์บ็อกซี (carboxy terminal)
สัญลัษณ์ของสี: ด้านปลายเดิม หรือเรียกว่า cold-end (สีฟ้า); ด้านปลายใหม่ หรือเรียกว่า hot-end (ซึ่งเป็นด้านที่เติมนิวคลีโอไทด์ใหม่เข้าไป) (สีแดง).

ดีเอ็นเอสายกำหนดรหัส
(โคดอน)
5' > > > - - - - - - T T C - - - - - - > > > 3'
สายต้นแบบ
(แอนติโคดอน)
3' < < < - - - - - - A A G - - - - - - > > > 5'
เอ็ม-อาร์เอนเอข้อมูลสารพันธุกรรม
(โคดอน)
5' > > > - - - - - - U U C - - - - - - > > > 3'
ที-อาร์เอนเอตัวนำรหัสพันธุกรรม
(แอนติโคดอน)
3' < < < A A G < < < 5'
โปรตีน กรดอะมิโน Amino > > > Phenylalanine > > > Carboxy

ดังแผนภาพแสดงข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาร์เอนเอนำรหัส(messenger RNA: mRNA) ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลของสารพันธุกรรมที่ต้องการ จะถูกสังเคราะห์ขึ้นจากสายดีเอ็นเอตรงข้ามของสายดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่กำหนดรหัส(Coding Strand) หรือเรียกสายดีเอ็นเอนี้ว่า สายดีเอ็นเอต้นแบบ(template strand หรือ anticodons) ดังนั้นสายอาร์เอนเอนำรหัส ที่ได้จะประกอบไปด้วย โคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) ที่สอดคล้องกับข้อมูลของสารพันธุกรรมที่ต้องการที่อยู่ในสายดีเอ็นเอกำหนดรหัส โดยที่แอนติโคดอนแต่ละชุดที่มีอยู่ในอาร์เอนเอตัวนำรหัส(transfer RNA) จะสื่อถึงโคดอนหรือข้อมูลสารพันธุกรรมที่ประกอบขึ้นด้วยเบสชุดละ 3 ตัว เพื่อที่ถอดรหัสให้สอดคล้องกับกรดอะมิโนแต่ละตัวที่ต้องการตามที่กำหนดไว้ในสายดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่กำหนดรหัส ซึ่งจะเป็นไปตามการกำหนดรหัสสารพันธุกรรม

2. คำอธิบายเกี่ยวกับโคดอนอะนิเมชั่น

  • ในแต่ละรูป ส่วนใหญ่จะแสดงทั้งสิน 17 เบส สำหรับโคดอนอะนิเมชั่นนั้น 2 เบสทางด้านซ้ายสุดจะถูกซ่อนไว้ โดยจะคงไว้เฉพาะ โคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) จำนวน 5 ชุดซึ่งประกอบด้วยชุดละ 3 เบส รวมทั้งสิ้น 15 คู่เบส
  • สายดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่กำหนดรหัส[Coding Strand] จะเปลี่ยนเป็นสีเทาแล้วจะหายไป จะคงไว้เฉพาะสายดีเอ็นเอต้นแบบ[template strand] (ดูเพิ่มเติมที่ สายและทิศทางของการสังเคราะห์ ด้านบน)
  • แอนติโคดอนในสายต้นแบบ จะถูกกำหนดโดย เบสจำนวน 3 ตัว เคลื่อนที่จากทางด้านขวา(ปลาย 5 ไพร์ม) ไปยังทางด้านซ้าย(ปลาย3 ไพร์ม) ซึ่งก๊คือเคลื่อรที่ไปตามทิศทางของการสังเคราะห์ (ในการพิจารณาปลาย 5 ไพร์ม หรือ ปลาย3 ไพร์ม ทำได้โดยกดปุม Back ที่บราวเซอร์ และศึกษาได้จากข้อมูลในส้วนของ "Ends and Antiparallelism")
  • โคดอนหรือข้อมูลสารพันธุกรรมในอาร์เอนเอนำรหัส จะแสดงอยู่ในรูปตัวหนังสือสีขาว อันจะเป็นคู่สมกับแอนติโคดอนที่อยู่ในดีเอ็นเอสายต้นแบบ โดยรหัสต่าง ๆ จะแสดงจากซ้ายไปขวา ในทิศทางซึ่ง อาร์เอนเอนำรหัส(messenger RNA: mRNA) จะถูกสังเคราะห์ขึ้น (จากปลาย 5 ไพร์ม ไปยังปลาย 3 ไพร์ม) ในทิศทางตรงกันข้ามกับสายดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่กำหนดรหัส(Coding Strand)
  • ในท้ายสุด หลังจากการเติมแต่ละโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) "=" แล้วจะแสดงกรดอะมิโนที่ถูกถอดรหัสออกมาได้ (ดูเพิ่มเติมที่ รหัสพันธุกรรม ด้านล่าง)

3. รหัสพันธุกรรม

The Genetic Code (mRNA)
1st position
(5' end)
2nd position (middle)3rd position
(3' end)
UCAG
UPhe F
Phe F
Leu L
Leu L
Ser S
Ser S
Ser S
Ser S
Tyr Y
Tyr Y
stop
stop
Cys C
Cys C
stop
Trp W
U
C
A
G
CLeu L
Leu L
Leu L
Leu L
Pro P
Pro P
Pro P
Pro P
His H
His H
Gln Q
Gln Q
Arg R
Arg R
Arg R
Arg R
U
C
A
G
AIle I
Ile I
Ile I
Met M
Thr T
Thr T
Thr T
Thr T
Asn N
Asn N
Lys K
Lys K
Ser S
Ser S
Arg R
Arg R
U
C
A
G
GVal V
Val V
Val V
Val V
Ala A
Ala A
Ala A
Ala A
Asp D
Asp D
Glu E
Glu E
Gly G
Gly G
Gly G
Gly G
U
C
A
G
  1. กรดอะมิโนที่แปลจากโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) 1 แบบ: Met, Trp.
  2. กรดอะมิโนที่แปลจากโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) 2 แบบ: Asn, Asp, Cys, Gln, Glu, His, Lys, Phe, Tyr.
  3. กรดอะมิโนที่แปลจากโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) 3 แบบ: Ile, stop ("nonsense").
  4. กรดอะมิโนที่แปลจากโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) 4 แบบ: Ala, Gly, Pro, Thr, Val.
  5. กรดอะมิโนที่แปลจากโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) 5 แบบ: ไม่ ไม่
  6. กรดอะมิโนที่แปลจากโคดอน(ข้อมูลสารพันธุกรรม) 6 แบบ: Arg, Leu, Ser.

ผู้จัดทำขอขอบคุณ Steve Sandler and Klaus Nüsslein จาก Microbiology Department, Life Sciences, University of Massachusetts, Amherst.

เป็นอย่างมากที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ในการจัดทำข้อมูลสำหรับเว็บไซต์นี้