สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย

ประเทศไทย ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระพระมุขของชาติ แต่ก็ทรงอยู่ “ภายใต้” บทบัญญัติหรือ “ข้อจำกัด” ของรัฐธรรมนูญอีกทีหนึ่ง

พูดง่าย ๆ ก็คือ พระมหากษัตริย์ทรงสละ “พระราชอำนาจส่วนใหญ่ที่มีมาแต่เดิม” ให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และปกครองประเทศชาติร่วมกันผ่านอำนาจอธิปไตยนี้ นั่นคือ ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล), สภานิติบัญญัติ (ส.ส. และ ส.ว.) และฝ่ายตุลาการ (ศาล)

ทุกวันนี้รัฐบาลมีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน จะพิจารณางบประมาณก็พิจารณาผ่านการประชุมและลงมติในสภาฯ ฝ่ายการเมืองจะทำโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนำข้าว ประกันรายได้ ทำรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง หรืออะไรก็แล้วแต่ ล้วนเป็นอำนาจของฝ่ายการเมือง

พระมหากษัตริย์มิได้เข้ามาก้าวก่ายนโยบายการบริหารประเทศของแต่ละรัฐบาลเลย

โดยพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก ล้วนแต่ทรงมีบทบาทและพระราชอำนาจอันพึงมีคล้ายคลึงกัน หากแต่มีรายละเอียดปลีกย่อยของพระราชอำนาจ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมากน้อยไม่เท่ากัน แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ของชาติ และวัฒนธรรมที่ต่างกัน

เมื่อ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” หมายถึง ระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว ถืออำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ วาทกรรม “สมบูรณาญาสิทธิราชย์จำแลง” จึงเป็นเพียงคำพูด “โกหก” และมีเจตนา “บิดเบือน” เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ผิด เพราะพระมหากษัตริย์ไทยมิได้ทรงบริหารประเทศด้วยตนเอง เหมือนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาตั้งแต่หลังคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475

และคณะราษฎรเองต่างหากที่ได้ปล้นพระราชอำนาจ โดยอ้างว่าทำในนามของราษฎรและเพื่อราษฎร แต่กลับถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยมาสู่คณะปกครองเสียเอง ไม่ได้ทำอำนาจอธิปไตยให้เป็นของปวงชนอย่างแท้จริง รูปแบบการปกครองในทางปฏิบัตินับตั้งแต่นั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันจึงเป็น “คณาธิปไตย” ที่อำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่ “คณะปกครอง” มาโดยตลอด ในขณะที่ประชาชนกลายเป็นตัวประกอบในเกมการเมืองเท่านั้น และในปัจจุบันประชาชนยังกลายเป็น “เครื่องมือ” ของนักการเมืองบางคนด้วยซ้ำ

ดังนั้นการที่พรรคการเมืองบางพรรค ตลอดจนกลุ่มม็อบปลดแอก พยายามปั่นกระแสเรื่อง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์จำแลง” จึงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเล่น “วาทกรรมทางการเมือง” ซึ่งเป็นการดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้เป็น “เครื่องมือทางการเมือง” ให้มวลชนพุ่งเป้าความเกลียดชังไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์

และนักการเมืองกลุ่มนี้ ยังสร้างภาพประหนึ่งว่า การที่ประเทศชาติถดถอย จากการบริหารประเทศที่ไม่ดี มีการคอร์รัปชัน รวมถึงสิ่งเลวร้ายทั้งหมด ล้วนแต่เป็นความผิดของพระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้สั่งการอยู่เบื้องหลัง และหากอยากหลุดพ้นสภาพนั้น ต้องเลือกพวกเขาให้มีอำนาจเท่านั้น

ซึ่งเป็นการเล่นการเมืองสกปรก ที่หากินกับความไม่รู้ของมวลชน และเป็นการดูถูกสติปัญญาคนไทยทั้งประเทศ

กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่เคยชี้ให้เห็นถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการบริหารบ้านเมืองของฝ่ายรัฐบาล หรือแม้แต่ปัญหาระบอบเผด็จการ ที่มาจากคณาธิปไตยของบรรดานักธุรกิจการเมืองนับตั้งแต่คณะราษฎรเป็นต้นมา แต่กลับบิดเบือนและโยนความผิดให้สถาบันพระมหากษัตริย์ และหมกมุ่นอยู่แต่กับคำว่า “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” และ “การปฏิวัติ”

ถามว่าแบบนี้ใครกันแน่ที่ยังล้าหลัง และวนเวียนอยู่แต่กับอดีต

เราทุกคนทราบดีว่า ในหลวงทรงประกาศไว้ในปฐมบรมราชโองการ จะสืบสาน ต่อยอดสิ่งต่าง ๆ ที่ในหลวงรัชกาลก่อนหน้าได้ทรงสร้างไว้ และสิ่งนั้นรวมถึง การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญและนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน ต่อยอดพระราชประสงค์ของบูรพกษัตริย์ ที่จะทำให้ประเทศชาติเป็นประชาธิปไตยต่อไป

ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอย่างยิ่ง ในการพยายามใส่ความสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยวาทกรรม “สมบูรณาญาสิทธิราชย์จำแลง”

การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ปฏิรูปตัวเองเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด และหลอมรวมประยุกต์เข้ากับสังคมไทยเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ยืนยันชัดเจนว่า เรามาไกลเกินกว่าคำว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากแล้ว และไม่มีวันที่จะหวนกลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อีก

วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords : The king’s power as the head of the government in the democratic regime, The constitutional provisions, Royal authority บทนำ� นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนธรรม) ได้อธิบายถึง ผู้ที่เป็น ประมุขของอ�ำนาจบริหารว่าเป็นบุคคลชนิดใด ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (กษัตริย์) ก็เรียกว่า “ราชาธิปไตย” (Monarchy) ถ้าเป็นเป็นบุคคลอื่นไม่ใช้พระเจ้าแผ่นดิน (กษัตริย์) (King) เรียกว่า “ประชาธิปไตย” 1 (Democracy) จากค�ำอธิบาย ของปรีดี พนมยงค์ ท�ำให้ทราบถึงรูปแบบการปกครองของรัฐมีประมุข อยู่ 2 รูปแบบ คือ 2 ราชอาณาจักร (Kingdom) กับ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะศึกษาวิเคราะห์ถึงการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขเท่านั้น และการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พบว่าในปัจจุบันจะมีการปกครองอยู่ 2 ระบอบ คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ 3 1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบที่มีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐและ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอ�ำนาจเป็นล้นพ้น กล่าวคือ ไม่ตกอยู่ภายใต้ ข้อจ�ำกัดใด ๆ ในทางกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมายทั้งหลาย ทั้งปวง ซึ่งพระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์จึงเป็นล้นพ้นมีพระราชอ�ำนาจ ในทุกทางไม่มีข้อจ�ำกัด หากแต่จะมีข้อจ�ำกัดก็เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงจ�ำกัด 1 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “การปฏิวัติสยาม 2475 (ชั่วคราว) ? พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์และอ�ำนาจ ตุลาการหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง” วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2553 หน้า 70 2 วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ “ทฤษฎีหลักกฎหมายมหาชน” ค�ำบรรยายในชั้นปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภาคการศึกษา 1/2540 (อัดส�ำเนา) และโปรดดูรายละเอียด ในสิทธิกร ศักดิ์แสง “หลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม, 2554 3 สิทธิกร ศักดิ์แสง “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง” นนทบุรี : ภีมปริ้นติ้งเฮ้าส์ แอน ดีไซน์, 2551 หน้า 178-182 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 71

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3