สื่อสารกับเพื่อนร่วมชาติทั้งมวลได้

ภาษากับวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคมวัฒนธรรม หมายถึง ขนบธรรมเนียมพิธีกรรมต่างๆ ศิลปะ การละเล่น อุปนิสัยเช่น ประเพณี
ความสัมพันธ์ของภาษากับวัฒนธรรม
ภาษาของชนชาติจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้น สะท้อนให้เห็นดังนี้ภาษาไทยก็เช่นกันภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่นิยมความประณีต
๑. ไม่เพียงใช้คำให้ตรงกับความหมายแล้วแต่ยังใช้ให้ละเมียดละไมในการใช้ภาษา ถูกต้องตามฐานะของบุคคลและเหมาะสมกับความสนิทสนมระหว่างบุคคลกาลเทศะ และระดับภาษาให้เหมาะสมด้วยเนื้อหาและสื่อซึ่งก็คือการใช้คำราชาศัพท์ เห็นได้จากภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมประสมประสาน
๒. มารวมกับภาษาไทยเราการที่ภาษาไทยได้ยืมคำจากภาษาอื่นๆ เราสามารถใช้คำเหล่านี้ได้กลมกลืนกันและเหมาะสมภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็น
๓. วัฒนธรรมที่เจริญด้านศิลปวัฒนธรรมแสดงความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งทัดเทียมชาติตะวันตก
นิยมใช้คำคล้องจองภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
๔. วานิตินิกร เห็นได้จากการตั้งชื่อต่างๆ เช่น ชื่อหนังสือสัมผัสคล้องจองกัน เช่น ไวพจน์พิธาน พิศาลการันต์ คำประพันธ์ทุกถ้อยคำสำนวนในภาษาไทยก็นิยมผูกให้คล้องจองกันอนันตวิภาค ประเภทของไทยมีบังคับสัมผัสคล้องจองแม้คำประพันธ์นั้นจะมาจากภาษาอื่นซึ่ง คำประพันธ์ประเภทฉันท์เช่นไม่บังคับก็ตาม เมื่อรับมาแล้วจึงเพิ่มเสียงสัมผัสให้เข้ากับลักษณะคำประพันธ์ของไทย
ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม ภาษาไทยและประเพณีที่ใช้กันอยู่ในเฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆนั้น มีค่าอย่างยิ่งแก่วัฒนธรรมของชนทั้งชาติ ควรมีการศึกษาและธำรงไว้ไม่ให้สูญสิ้นไปเท่าที่จะทำได้ เพราะประเพณีบางแห่งอาจเป็นเครื่องแสดงที่มาของประเพณีอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งคนยังรักษาไว้โดยไม่เข้าใจ
ภาษาของชุมชนต่างๆนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกันกับภาษาไทย แต่ก็ควรรักษาไว้และศึกษาให้รู้ว่ามีคำไทยเข้าไปปะปนมากน้อยเพียงใด เป็นคำสมันไหน แต่ชนทุกกลุ่มทุกท้องถิ่นก็จำเป็นต้องเรียนภาษาไทยมาตรฐาน เพื่อประโยชน์แก่การสื่อสารกับเพื่อนร่วมชาติทั้งมวล ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และทางสังคม
การธำรงรักษาวัฒนธรรม
นอกจากภาษาจะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาวัฒนธรรมของตนแล้ว ยังช่วยให้มนุษย์ สามารถดำรงและสืบทอดวัฒนธรรมได้อีกด้วย เช่น เราจดบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้ ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ผ่านมาในอดีตเรื่องใดบ้างที่ควรปรับปรุง หากเกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อจรรโลงวัฒนธรรมของเราไว้ เราได้รับทราบความเสียสละ ความเคร่งครัดในวินัย และคุณธรรมต่างๆ โดยอาศัยภาษาเป็นส่วนใหญ่ เราต้องอาศัยภาษาที่ใช้พูดกันในครอบครัว ในหมู่ครูกับลูกศิษย์ อาศัยภาษที่จารึกไว้บนหิน บนใบลาย บนกระดาษ ตลอดจนตำราที่เขียนให้ศึกษาได้ง่าย เพราะมีระบบระเบียบในการลำดับเนื้อหาและการใช้ถ้อยคำเป็นอย่างดี
ถ้าหมู่ชนใดสนใจที่จะรักษาแบบแผนชีวิตของตน หมั่นชี้แจงทำความเข้าใจกับอนุชน ให้เข้าใจในหลักการของบรรพชน วัฒนธรรมหรือแบบแผนชีวิตขิงมนุษย์หมู่นั้นก็จะดำรงอยู่ได้นาน ไม่เปลี่ยนแปลงจนสิ้นสูญรูปแบบ หรือถูกลืมไปจนไม่มีมนุษย์อื่นๆ ได้รู้จักอีก มนุษย์ที่มีความเจริญโดยาก มักนิยมให้มีความเปลี่ยนแปลงโดยพอประมาณ เพราะถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่คงรูปของสถาบันไว้ทุกสถาบัน คงค่านิยมเดิมไว้ทุกอย่าง ก็หมายความว่ามนุษย์หมู่นั้นจะไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ใหม่ที่หาเพิ่มเติม ขึ้นมาได้เลย อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดวัฒนธรรมและการใช้ภาษา ไม่ควรปล่อยให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วจนเกินไป จนคนรุ่นเก่าไม่สามารถสืบทอดประสบการณ์อันมีค่าให้แก่คนรุ่นใหม่ได้
การธำรงรักษามีสามารถทำได้หลายทางดังนี้
๑.การสะสม สามารถทำได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านประเพณี วรรณกรรม ศิลปะ ศีลธรรม คุณธรรม และเทคโนโลยีต่างๆ เป็นการเลือกสะสมสิ่งที่ดีงาม เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และมีการถ่ายทอดเป็นมรดกให้แก่คนรุ่นหลังเพื่อที่จะได้นำไปปฏิบัติ
๒.การสืบต่อทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องของการเรียนรู้จากบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้สิ่งที่ดีจากบรรพบุรุษ
๓.การปรับปรุงและการเผยแผ่วัฒนธรรม ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและเพื่อเผยแผ่
การธำรงรักษาวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุกที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ ธำรงรักษา คือ ภาษา เพราะภาษาจะเป็นสื่อในการทำความเข้าใจและถ่ายทอดวันธรรม ทั้งในด้านของการสะสมและการสืบทอด

แบบทดสอบกลางภาค  ภาคเรียนที่   วิชาภาษาไทย    ๓๒๑๐๑  .

โรงเรียนหนองแดงวิทโยดม  อำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี

คำชี้แจง     ข้อสอบ แบบปรนัย  ๔๐  ข้อ  ๒๐  คะแนน  ให้นักเรียนเลือกกากบาทข้อที่ถูกต้อง เพียงข้อเดียว

๑. เชื่อกันว่าการฟังเทศน์มหาชาติจะได้อานิสงส์อย่างไร

ก.  จะได้ไปเกิดบนสวรรค์

ข.  จะมีชีวิตยืนยาว

ค.  จะได้เกิดในสมัยพระศรีอาริยเมตไตรย์

ง.  จะรอดพ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ ตลอดไป

๒.  ชาดก  หมายถึง

ก.  นิทานที่มีคติสอนใจ

ข.  เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์

ค.  เรื่องราวของพระเวสสันดร

ง.  เรื่องราวของพระโพธิสัตว์

๓.  เพลงประจำกัณฑ์กุมาร  คือเพลงอะไร

ก.  เพลงสาธุการ       ข.  เพลงกราวนอก

ค.  เพลงทยอยโอด    ง.  เพลงโอดเชิดชิ่ง

๔.  ข้อใดมีการใช้สัทพจน์

ก.  แต่ย่างเหยียบเกรียบกรอบก็เหลียวหลัง

ข.  น้ำพระอัสสุสนาเธอไหลนองคลองพระเนตร

ค.  มัทรีนี้เป็นข้าเก่าแต่ก่อนมาดั่งเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน

ง.  ให้สายเลื่อมเห็นเป็นรูปคนละคุ่ม ๆ

 อยู่คล้าย ๆ แล้วหายไป

๕.  ข้อใดใช้ภาพพจน์ต่างชนิดกันข้ออื่น

ก.  ทั้งขอบฟ้าก็ดาดแดงเป็นสายเลือด

ข.  อุปมาแม้นเหมือนสีดา อันภักดีต่อสามีรามบัณฑิต

ค.  มัทรีนี้เป็นข้าเก่าแต่ก่อนมาเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน

ง.  นางก็เศร้าสร้อยสลดพระทัย ดั่งเอาเหล็กแดงมาแทงหัวใจให้เจ็บจิตนี่เหลือทน

๖.  แทรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากพระอังสาทั้งขอน้อยในหัตถาที่เคยถือ ก็เลื่อนหลุดลงจากมือ ไม่เคยเป็นเห็นอนาถ

ขอน้อย มีไว้ใช้ประโยชน์โดยตรงอย่างไร

.  เกี่ยวผลไม้               ข.  ตัดสิ่งกีดขวาง

ค.  ป้องกันตัว                ง. ไล่สัตว์ร้าย

๗.  จากข้อ    พระอังสา  หมายถึงอะไร

ก.  ไหล่                   ข.  มือ

ค.  แขน                   ง.  ไม่มีข้อถูก

๘.  จากข้อ    คำใดแสดงการเคลื่อนไหว

ก.  พลิก                 ข.  เลื่อน

ค.  หลุด                 ง.  ถูกทุกข้อ

  ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๙-๑๐

(๑)  ทั้งจักจั่นพรรณลองในเรไรร้องอยู่หริ่ง ๆ ระเรื่อยโรย ( ๒) โหยสำเนียงดั่งเสียงสังคีตขับประโคมไพร  (๓)  โอ  เหตุไฉนเหงาเงียบเมื่อยามนี้

๙.  ข้อความดังกล่าว กล่าวถึงสัตว์กี่ชนิด

ก.     ชนิด                 ข.    ชนิด

ค.    ชนิด                  ง.    ชนิด

๑๐.  ข้อความใดภาพพจน์ใช้อุปมา

ก. ข้อความที่ ๑      ข. ข้อความที่ ๒

ค. ข้อความที่ ๓      ง. ข้อความที่ ๔

๑๑.  การเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรี  จะต้องจัดธูปเทียนคาถาประจำกัณฑ์เท่าใด

ก.  ๖๙                   ข.  ๙๐

ค.  ๑๐๑                ง.  ๑๓๔
๑๒.  มหาเวสสันดรชาดกมีจำนวนคาถาเท่าใด

ก.  ๑๐๐  คาถา

ข.  ๕๐๐  คาถา

ค.  ๑,๐๐๐ คาถา

ง.  ๑,๕๐๐  คาถา

๑๓.  พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีใด
ก.  ปัญญาบารมี      ข.  ขันติบารมี

ค.  ทานบารมี         ง.  เมตตาบารมี

แบบทดสอบกลางภาค   วิชาภาษาไทย    ๓๒๑๐๑  .

๑๔.  มหาเวสสันดรชาดกแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

ก.  กลอนแปด                ข.  กาพย์ยานี  ๑๑

ค.  ร่ายยาว                      ง.  ฉันท์

๑๕.  ข้อใดไม่ปรากฏในข้อความดังกล่าว

ก. อุปมา

ข. อุปลักษณ์

ค.  ใช้คำซ้ำ

ง.  เล่นเสียงสัมผัสยัญชนะ

๑๖.  สื่อสารกับเพื่อนร่วมชาติทั้งมวลได้ ข้อความนี้หมายถึงข้อใด

ก.  ภาษาถิ่น             ข.  ภาษาปาก

ค.  ภาษากลาง          ง.  ภาษามาตรฐาน

๑๗.  ข้อใดไม่มีภาษาถิ่น

ก.  พินไปดูหนังกันไหมจ๊ะ

ข.  กินส้มตำเผ็ด ๆ แซบอีหลี

ค.  อ้าย ช่วยยกของให้น้องหน่อย

ง.  อุ้ยคำชอบไปเก็บผักบุ้งที่หนองน้ำ

๑๘.  ข้อใดไม่มีภาษาถิ่น

ก.  นักเรียนยืนตรงเคารพธงชาติ

ข.  แดงชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยวตลาด

ค.  น้ำผึ้งชวนคุณแม่ไปเที่ยวแอ่วเมืองเหนือ

ง.  วิทยาและราตรีตื่นเต้นมากที่จะได้ไปเบิ่งแม่น้ำโขง

๑๙.  ข้อใดไม่ใช่การสืบทอดวัฒนธรรม

ก.  วัชรีฝึกอ่านทำนองเสนาะ

ข.  คุณครูสอนนักเรียนร้องเพลงไทย

ค.  นิยมอ่านวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี

ง.  ฤทัยชอบดูภาพยนตร์ฝรั่งเศสสยองขวัญ

๒๐.  การที่คนไทยสามารถร่วมฉลองเทศกาลของชาติอื่นได้สะท้อนให้เห็นสิ่งใด

ก.  ความรักสงบ    

ข.  เสรีภาพทางศาสนา
ค.  ความพอใจในความประนีประนอม

ง.  ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา

๒๑.  การที่ลูกสาวมีนิสัยเหมือนกับแม่ตรงกับสำนวนใด

ก.  ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น

ข.  เดินตามรอยเท้าผู้ใหญ่หมาไม่กัด

ค.  สมกันราวกับกิ่งทองใบหยก

ง.  คบเด็กสร้างบ้าน 

๒๒.  ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ก.  ที่ตั้ง             ข. ภูมิอากาศ

ค.  สุขภาพ        ง.  ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น
๒๓.  นักสังคมศาสตร์ให้ความหมายของ
วัฒนธรรม

หมายถึงอะไร

ก.  แบบแผนชีวิต               ข.  ประเพณีต่าง ๆ

ค.  สิ่งหนึ่งในโอกาสหนึ่ง  ง.  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

๒๔.  สำนวนใดแสดงให้เห็นว่าคนไทยสมัยก่อนมีคำนิยม

ชอบอาชีพรับราชการ

ก.  เมื่อน้อยให้เรียนวิชา

ข.  ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ
ค. สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง

ง.  รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา

๒๕.  ข้อใดสะท้อนภาพวัฒนธรรมต่างจากข้ออื่น
ก.  นึกน้องนุ่งจีบถวาย  ชายพกจีบกลีบแนบเนียน

ข.  คิดสีสไบคลุม  หุ้มห่มม่วงดวงพุดตาล

ค.  ทองหยิบทิพย์เทียมทัด  สามหยิบชัดน่าเชยชม
ง.  คิดความยามเยาวมาลย์  เย็บชุนใช้ไหมทองจีน

๒๖.  ข้อใดใช้ชื่อรวมเพื่อแสดงความหมายกลาง ๆ

ก.  บ้านเราเลี้ยงวัวควายไว้ไถนา

ข.  เราเห็นชะนีหลายตัวอยู่ในกรง

ค.  ปีนี้ฝนแล้งเรือกสวนไร่นาเสียหายหมด

ง.  พ่อไปไถนา ส่วนแม่เก็บผักผลไม้อยู่ในสวน

๒๗.  เอกลักษณ์ของชาติข้อใดไม่เป็นรูปธรรม

ก.  ธงชาติไทย             ข.  เพลงชาติไทย

ค.  ภาษาไทย               ง.  เสรีภาพทางศาสนา

แบบทดสอบกลางภาค    วิชาภาษาไทย    ๓๒๑๐๑  .

๒๘.ข้อใดมีพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด

ก.  ชื่นชม  ทรุดโทรม       ข.  วนเวียน  น้องน้อย

ค.  ผุดผ่อง  ภาคภูมิ           ง.  เรียกร้อง  ลวดลาย
๒๙.ข้อใดมีพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด

ก.  ธงชาติไทย                 ข.   ข่าวรอบโลก

ค.  ปีการศึกษา                 ง.  ศูนย์การเรียนรู้
๓๐. ข้อใดมีรูปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง

ก.  ชื่นชีวานารี                ข. น้องไปโรงเรียน

ค. ฉันสอบได้ที่หนึ่ง       ง.  โปรดส่งคืนมา

๓๑.  ข้อใดมีคำประสมด้วยสระเสียงเดียวกันแต่เขียนรูปต่างกัน

ก.  เคยรักกันหวานชื่นวันคืนสุข

ข.  กลับมาทุกข์เธอเบื่อหน่ายไม่มาหา

ค.  เห็นเธอเดินจากไปไกลลับตา

ง.  เศร้าอุราแสนระทมตรอมตรมใจ
๓๒.
  ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ ๕  เสียง

ก.  น้องนั้นไม่เคยนิ่งเลย

ข.  บนแผ่นดินไทยไพศาล

ค.  เกิดร่วมแผ่นดินทั้งผอง

ง.  ผู้นำไทยเราแต่เดิมมา
๓๓.
  จากข้อ  ๓๒  ข้อความใดมีเสียงวรรณยุกต์สามัญมากที่สุด

ก.   ข้อ ๑

ข.   ข้อ ๒

ค.   ข้อ ๓

ง.    ข้อ ๔
ใช้คำต่อไปนี้ตอบคำถาม  (ข้อ๓๔-๓๗)

  โกรธ       เลข         เพชร    ลิฟต์        วรรค

   ภูต           บาท       ภาพ      จิตร        เทอญ

๓๔.  เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์เสียงใดมีจำนวนมากที่สุด

ก.   /ก/                ข.   /ป/

ค.  /ต/                 ง.  /น/

๓๕.  เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์เสียงใดมีจำนวนน้อยที่สุด

ก.   /ก/                ข.   /ป/

ค.  /ต/                 ง.  /น/

๓๖.  จากตารางข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ตรีกี่คำ

ก.    คำ           ข.    คำ

ค. ๔  คำ            ง.    คำ

๓๗. จากตารางข้างต้น ไม่ปรากฎวรรณยุกต์ใด

ก.  เสียงเอก           ข.  เสียงโท

ค.  เสียงจัตวา        ง.  เสียงสามัญ
๓๘.
  ข้อใดมีคำบอกท่าทีของผู้พูด

ก.  เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดนะ

ข.  ควรแต่จะคุกเข่ากราบเท้าแม่

ค.  รำลึกถึงพระคุณอบอุ่นแด

ง.  อย่ามัวแต่จัดงานประจานตัว
๓๙. ข้อความใดมีน้ำเสียงชักชวน

ก.  ไปเที่ยวแล้วนะ  

ข. ไปเที่ยวก่อนละ

ค.  ไปเที่ยวกันอีกแล้วซิ   

ง.  ไปเที่ยวกันหน่อยเถอะ
๔๐.
กรรมดีเป็นสิ่งที่ควรกระทำ...................นำความสุขมาให้ทั้งในชาตินี้..................ชาติหน้า  ควรเติมคำคู่ใดลงในช่องว่างจึงจะเหมาะสมกับข้อความ

ก.    จึง          กับ

ข.    ดังนั้น   จึง

ค.    และ      กับ 

ง.    เพราะ    และ