ธุรกิจที่มีหุ้น 2 ชนิด คือ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ”

        บริษัทจำกัด (Limited Company) คือ องค์การธุรกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่าๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงิน ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 บัญญัติว่า "บริษัทจำกัด คือ
บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน
โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ"
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ การประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก
เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก
การระดมเงินทุนกิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก
นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว
ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วย รวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

โดยผู้บริหารที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ
ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง

ธุรกิจที่มีหุ้น 2 ชนิด คือ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ”
ธุรกิจที่มีหุ้น 2 ชนิด คือ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ”
ธุรกิจที่มีหุ้น 2 ชนิด คือ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ”

ข้อดี ข้อจำกัดของบริษัทจำกัด

1. สามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนมากตามที่ต้องการ โดยการออกหุ้นจำหน่ายเพิ่ม หรือจัดหาโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ซึ่งจะได้รับ ความเชื่อถือมากกว่ากิจการประเภทอื่น
2. การดำเนินกิจการบริษัทไม่จำกัดระยะเวลาตามอายุของผู้ถือหุ้น ดังนั้นระยะเวลาในการดำเนินกิจการจึงยาวกว่าการดำเนินกิจการประเภทอื่น
3. ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท
4. การบริหารงานสามารถหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์จัดการแทนได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
5. ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถโอนหรือขายหุ้นให้ผู้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากบริษัทก่อน

ข้อจำกัดของบริษัทจำกัด

1. การจัดตั้งบริษัทมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ยุ่งยาก
2. กิจการบริษัทเนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
3. เนื่องจากในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ บริษัทและพนักงาน
ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมี บางส่วนที่ขาดความตั้งใจในการทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง
4. การเสียภาษีของกิจการประเภทบริษัทจะเสียภาษีค่อนข้างสูงและซ้ำซ้อนคือบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ ดังนั้น
จะต้องเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกด้วย

ประเภทของบริษัทจำกัด
สำหรับประเทศไทย บริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทมหาขน จำกัด
เปรียบเทียบ

บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทเอกชนจำกัด (Company Limited, Co., Ltd) หมายถึง บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1096
ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น
ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ”
มาตรา 1097 บัญญัติว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้
ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company) หมายถึงบริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า “บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป จะเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ
ตลาดหลักทรัพย์โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company)
เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)

เงินทุนของบริษัทจำกัด


ผู้ที่ลงทุนในบริษัทจำกัด จะเป็นผู้มีสิทธิส่วนได้เสียในทรัพย์สินของบริษัทในฐานะเจ้าของบริษัท โดยจะได้รับในหุ้นเป็นหลักฐาน แสดงความเป็นเจ้าของ
ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1117 และตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535  
บัญญัติว่า เงินทุนของบริษัทจำกัดจะแบ่งออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ  5  บาท   และตามมาตรา 1100    
ระบุว่าผู้เริ่มก่อการจะต้อง ถือหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1128   ระบุว่า
ในใบหุ้นจะต้องมีข้อความต่อไปนี้ คือ    

     
1. ชื่อบริษัท         
2. เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น         
3. มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเท่าใด         
4. ถ้าเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด         
5. ชื่อผู้ถือหุ้น หรือคำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ

ทุน (Capital) หรือทุนเรือนหุ้น (Capital stock) ของบริษัทจำกัดมักเรียกกันว่า "หุ้น"
ซึ่งหุ้นของบริษัทจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ         
1. หุ้นชนิดมีมูลค่า         
2. หุ้นชนิดไม่มีมูลค่า         
3. หุ้นที่ไม่มีมูลค่าแต่มีราคาที่กำหนด

ชนิดของหุ้นทุน
หุ้นทุนของบริษัทจำกัด  แบ่งออกได้เป็น  2  ชนิด   คือ หุ้นสามัญกับหุ้นบุริมสิทธิ
นอกจากนี้ยังมี หุ้นกู้


หุ้นสามัญ
หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หุ้นที่มีผู้ลงจองหุ้นด้วยเงิน เมื่อเริ่มตั้งแต่มีการให้จองหุ้น
ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมทุกเรื่อง มีสิทธิได้เงินปันผล และได้รับคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกดำเนินกิจการ


หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ หุ้นที่มีสิทธิพิเศษเหนือหุ้นสามัญโดยมีสิทธิได้เงินปันผลและคืนทุนก่อนหุ้นสามัญ
แต่ผู้ถือหุ้น บุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม มีหลายประเภท ได้แก่
2.1 หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล         
2.2 หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล         
2.3 หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับเงินปันผล         
2.4 หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับเงินปันผล         
2.5 หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมและร่วมรับเงินปันผล         
2.6 หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับเงินปันผลไม่เกินอัตราที่กำหนด         
2.7 หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผลและร่วมรับเงินปันผลไม่เกินอัตราที่กำหนด         
2.8 หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่คืนได้         
2.9 หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพ

การจัดตั้งบริษัท

ขั้นตอนการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัทจำกัด มี 2 ขั้นตอน คือ


1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
หนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association)
คือ หนังสือที่แสดงวัตถุประสงค์ในกาจัดตั้งบริษัท

2. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด


เมื่อจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็ให้ดำเนินการดังนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2. เมื่อมีการจองซื้อหุ้นหมดแล้ว ก็ให้ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือนัดประชุม
ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อประชุมจัดตั้งบริษัทการออกหนังสือนัดประชุมจะต้องห่างจากวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน
3. จัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัท
3.1 องค์ประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 2 คน นับจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด
3.2 วาระการประชุม

(1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับของบริษัท
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการต้องจ่ายในการเริ่มก่อตั้งบริษัท
(3) กำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ (ถ้ามี)
(4) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นบุริมสิทธิ ให้กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิพร้อมทั้ง
กำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิว่ามีสภาพหรือสิทธิอย่างไร
(5) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นเพื่อเป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน จะต้องกำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้น
บุริมสิทธิซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนเพราะได้ใช้ค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน โดยจะต้องระบุ
รายละเอียดให้ชัดเจนทั้งในหนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมแรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นค่าหุ้นของบริษัทต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว
(6) การเรียกชำระค่าหุ้น
(7) เลือกตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ
(8) เลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทั้งกำหนดค่าสินจ้างการตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงิน
ต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเท่านั้น จะแต่งตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีไม่ได้

4. ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการงานทั้งหมดให้แก่คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม
5. คณะกรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
6. เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
การยื่นจดทะเบียนจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและต้องยื่นจดทะเบียนภายใน
3 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะทำให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป
หากต่อไปต้องการจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ต้องดำเนินการจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม่

แบบประเมินผลการเรียนรู้ที่ 4