การประยุกต์ใช้ 5g มา 3 ข้อ

เทคโนโลยี 5G นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมสู่ระบบอัตโนมัติ หรือ Industry 4.0 โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยคุณสมบัติของ 5G ที่รองรับการถ่ายโอนข้อมูลปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว มีความเสถียร และความหน่วงต่ำ รวมถึงสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ในจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับ 4G ดังนั้น การนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์เข้ากับการใช้งานอุปกรณ์ (Internet of Things : IoT) หรือระบบประมวลผลอัตโนมัติ (Artificial Intelligence : AI) ภายในโรงงานอุตสาหกรรม จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต ระบบการติดตามเครื่องมือและอุปกรณ์ภายในโรงงาน และระบบการตรวจสภาพเครื่องจักรและซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยหลายประเทศทั่วโลกได้ทดลองนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อเป็นต้นแบบการใช้งาน (Use cases) เช่น การเชื่อมต่อเทคโนโลยี 5G กับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในระบบอัตโนมัติของโรงงานในจีนสามารถเพิ่มผลผลิต (Productivity) ได้กว่า 10% การตรวจสอบคุณภาพสินค้าระหว่างการผลิตของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G กับระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้าผ่านการถ่ายภาพของกล้องตรวจจับและการประมวลผลในระบบ Cloud ที่สามารถคัดแยกสินค้าที่มีข้อบกพร่องได้ทันที โดยมีความแม่นยำสูงถึง 99.96% และทำงานได้เร็วขึ้นถึง 30 เท่า และการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการทำเหมืองใต้ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตรายผ่านการตรวจสอบและควบคุมระยะไกล จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน รวมถึงการตรวจจับความผิดปกติของสภาพแวดล้อมภายในโรงงานผลิตเหล็กผ่านระบบเซนเซอร์และกล้องตรวจจับที่สามารถแจ้งเตือนความผิดปกติของอุณหภูมิและความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ทันที ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ราว 30% อีกทั้ง ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและลดความเสียหายในกรณีที่การผลิตหยุดชะงักได้

การประยุกต์ใช้ 5g มา 3 ข้อ

ทั้งนี้จากประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคการผลิตผ่าน Use cases ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานร่วมกับ 5G มากขึ้น สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของ Manufacturing Institute เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคการผลิต 105 บริษัท ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2020 พบว่า ผู้ประกอบการราว 90% เชื่อว่า เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในระยะข้างหน้า และผลสำรวจความคิดเห็นของ EY จาก 1,018 บริษัท ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2021 พบว่า ผู้ประกอบการมากกว่า 70% มีแผนลงทุนเพื่อใช้งานเทคโนโลยี 5G ภายในปี 2025 การนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้กับภาคการผลิตจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ โดย PwC ได้ประเมินผลของการใช้เทคโนโลยี 5G ต่อเศรษฐกิจโลก พบว่า การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G ของภาคธุรกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มแพร่หลายมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว อีกทั้ง ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก โดยการใช้งาน 5G ในภาคการผลิต จะสร้างมูลค่าเพิ่มกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2030 ได้สูงถึง 1.30 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดต้นทุนจากสินค้าที่มีความบกพร่องได้ถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับไทย ทางสำนักงาน กสทช. ได้ศึกษาประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี 5G ต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2018 พบว่า เทคโนโลยี 5G จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้สูงถึง 2.3 ล้านล้านบาทภายในปี 2030 โดยมูลค่าเพิ่มจากภาคการผลิตนับเป็นสัดส่วนที่สูงสุด ซึ่งคิดเป็น 6 แสนล้านบาท หรือ 27% ของมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยรวมจากการใช้งาน 5G ของประเทศในปี 2030 อย่างไรก็ดี วิกฤต COVID-19 ในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้โรงงานการผลิตที่พึ่งพาแรงงานในสัดส่วนสูงหลายแห่ง ต้องปิดดำเนินการชั่วคราวจากการแพร่ระบาดแบบคลัสเตอร์ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้กระตุ้นให้ภาคการผลิตมีการตื่นตัวในการปรับใช้เทคโนโลยีมากขึ้นโดยเฉพาะระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม นั่นถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคการผลิตที่อาจมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นกว่าที่สำนักงาน กสทช. ประเมินไว้ข้างต้น

ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่พร้อมใช้งานเทคโนโลยี 5G และครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ รวมถึงคุณภาพของสัญญาณสามารถรองรับการใช้งานระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างดี โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการเปิดให้บริการ 5G ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันของภาครัฐในการพัฒนาโครงข่ายระบบ 5G มาตั้งแต่ในปี 2019 และสำนักงาน กสทช. ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับระบบโครงข่าย 5G ให้กับผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 โดยผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละรายต่างเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบ 5G ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะด้านความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ซึ่งจากการทดสอบคุณภาพสัญญาณโครงข่ายระบบ 5G ทั่วโลกเมื่อเทียบกับ 4G ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2021 ของ Opensignal พบว่า การดาวน์โหลดข้อมูลผ่านโครงข่าย 5G ของไทย มีความเร็วสูงสุดถึง 219.6 Mbps ซึ่งสูงกว่า 4G ถึง 19 เท่า และมีความหน่วงต่ำสุดน้อยกว่า 1 มิลลิวินาที ลดลงจาก 4G ราว 10 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับในญี่ปุ่นและเยอรมนีที่มีการใช้งานจริงในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าระบบ 5G ในไทยนั้น สามารถรองรับการใช้งานในภาคการผลิตที่ต้องอาศัยการจัดส่งและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ โครงข่ายสัญญาณ 5G ของไทยมีความพร้อมใช้งานครอบคลุมมากกว่า 78% ของพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว ซึ่งครอบคลุมการใช้งานในกรุงเทพฯ เกือบเต็มพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะ EEC ที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมเต็มพื้นที่แล้วในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้ 5g มา 3 ข้อ

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเผชิญกับข้อจำกัด 3 ประการหลักในการตัดสินใจลงทุนเพื่อให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ 1. การขาดความเข้าใจนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายยังคงมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายในการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีรวมถึงเงื่อนไขในการสนับสนุนการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเชิงเทคนิคและประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตแบบเดิมและหันไปใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้น อีกทั้ง บุคลากรในองค์กรยังขาดทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงที่จะมารองรับการใช้งานเทคโนโลยีในอนาคต 3. ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งการลงทุนในเทคโนโลยี 5G ต้องใช้เม็ดเงินค่อนข้างสูงและมีระยะเวลาคืนทุนหลายปี จึงทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนตัดสินใจชะลอการลงทุนหรือผู้ประกอบการที่อยากจะลงทุนยังคงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้การใช้งานเทคโนโลยี 5G ยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการลงทุนเช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก จากข้อจำกัดทั้ง 3 ประการข้างต้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในระยะแรกจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบ

การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในยุคของเทคโนโลยี 5G

เทคโนโลยี 5G จะเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แม้การกระตุ้นและกำหนดมาตรการสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่การกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G อย่างแพร่หลายจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสารและมาตรการสนับสนุนอยู่เสมอ การเปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

การติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพื่อเข้าถึงการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยี 5G เช่น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกและร่วมกิจกรรมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข่าวสารและสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยี 5G สำหรับภาคการผลิตที่อาจมีการปรับปรุงเงื่อนไขหรือการประกาศใช้มาตรการสนับสนุนใหม่ในระยะต่อไปได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการได้รับคำแนะนำในการขอรับการสนับสนุนตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยี 5G ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศให้ก้าวสู่ Industry 4.0 โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่ง 5G อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็น 1 ใน 4 แกนนำอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในระยะต่อไปของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ EEC (ซึ่งอีก 3 แกนนำอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง และอุตสาหกรรมการขนส่งโลจิสติกส์) โดย EEC ตั้งเป้าส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ทั้ง 5G, ดิจิทัล, โรงงานอัจฉริยะ (Smart factory), Data center, Digital platforms เป็นมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท/ปี 

การเปิดรับและปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี 5G มาปรับใช้ เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้ระบบการผลิตมีความรวดเร็ว แม่นยำ และลดต้นทุนได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนให้ธุรกิจเติบโตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันระยะยาวได้ ในระยะเริ่มต้นผู้ประกอบการอาจเริ่มนำอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันบางส่วนมาทดลองเชื่อมต่อกับสัญญาณ 5G เพื่อให้บุคลากรในองค์กรได้ปรับตัวให้คุ้นชินและเกิดองค์ความรู้ในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี เช่น ระบบการติดตามทรัพย์สินและอุปกรณ์ภายในโรงงานที่สามารถช่วยให้เกิดการประหยัดเวลาในการสำรวจและตรวจเช็กได้ และการฝึกอบรมพนักงานในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรด้วยการจำลองสถานที่จริงผ่านเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ที่สามารถลดต้นทุนและความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างฝึกอบรมได้ และในระยะต่อไปผู้ประกอบการอาจนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีมาปรับใช้ในระบบการทำงานและระบบการผลิตมากขึ้น และอาจปรับปรุงเทคโนโลยีเดิมภายในโรงงานบางส่วนให้ทันสมัยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณระบบ 5G ได้เพื่อทดสอบการใช้งานก่อนตัดสินใจลงทุนเทคโนโลยี 5G ให้ครอบคลุมทั่วทั้งโรงงานอย่างเต็มรูปแบบ อย่างเช่นโรงงานปรับปรุงและซ่อมแซมเครื่องบินที่เริ่มนำเทคโนโลยี 5G มาใช้กับ Augmented Reality (AR) ในการจำลองภาพเครื่องบินในสถานที่จริงเพื่อออกแบบที่นั่งภายในห้องผู้โดยสาร ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงข้อจำกัดและปรับแก้ไขแบบได้ในทันที และในระยะต่อไปโรงงานดังกล่าวได้วางแผนขยายขอบเขตการใช้เทคโนโลยี 5G ไปยังระบบอื่นภายในโรงงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบการควบคุมแขนกลในการตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องบินผ่านระบบทางไกล และระบบการค้นหาพื้นที่จัดเก็บอะไหล่และชิ้นส่วนภายในคลังสินค้าให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

การพัฒนาทักษะแรงงาน (Upskill, Reskill) ในองค์กรอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะทักษะด้านดิจิทัล ที่ผ่านมา เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างเห็นได้ชัดส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างเร่งปรับตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ให้กับบุคลากรแล้ว ยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรในองค์กรเกิดความคุ้นชินในการใช้เทคโนโลยีและตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีได้อย่างทันท่วงที ซึ่งองค์กรที่บุคลากรมีความพร้อมด้านทักษะและเปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการทำงานจะช่วยให้การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G ในกระบวนการผลิตแบบเดิมเป็นไปได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ การให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพิ่มเติมในการปรับปรุงหรือจัดทำหลักสูตรการศึกษาจะทำให้กลุ่มแรงงานใหม่ในระยะต่อไปที่จะเข้ามารองรับตลาดมีทักษะที่ตรงตามความต้องการของภาคการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แนวทางการบรรเทาข้อจำกัดของผู้ประกอบการ

การบรรเทาข้อจำกัดของผู้ประกอบการ ทั้งการสร้างความเข้าใจเป้าหมายและทิศทางการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรดิจิทัล และการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายถือเป็นหนึ่งปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยี 5G อย่างแพร่หลายของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งปัจจุบันการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในไทยมุ่งเน้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นหลัก ขณะที่หลายประเทศอย่างเช่นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จีน และเกาหลีใต้ มีเป้าหมายในการส่งเสริมที่แยกเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่การจัดสรรคลื่นความถี่ การผลักดันให้เกิดการติดตั้งโครงข่าย 5G การสนับสนุนให้เกิดการใช้งานในทุกภาคส่วน รวมถึงการสร้าง 5G Ecosystem และแนวทางการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลให้พร้อมรองรับการใช้งาน 5G ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้ง ยังเร่งผลักดันให้เกิดต้นแบบการใช้งาน (Use cases) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักเช่นเดียวกับไทยด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นและเข้าใจเป้าหมายการใช้เทคโนโลยี 5G ได้ง่ายขึ้นเป็นผลให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศเหล่านี้เริ่มพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

การส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะแรงงานทางด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะช่วยผ่อนคลายปัญหาความต้องการแรงงานทักษะสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการทั่วโลกรวมถึงไทยได้เร่งลงทุนนำเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้ในภาคธุรกิจกันมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลขั้นสูง เช่น ทักษะทางด้าน Data science ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและควบคุม AI, การพัฒนา Software และ Application รวมถึงการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล Big data มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัลขั้นสูงเติบโตไม่ทันต่อความต้องการ ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานทักษะขั้นสูงทางด้านดิจิทัลในอนาคต ทำให้การสร้างทักษะแรงงานด้านดิจิทัลให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการใช้เทคโนโลยี 5G เช่น การให้สิทธิประโยชน์เพื่อดึงแรงงานทักษะสูงจากต่างประเทศควบคู่กับการดึงพลเมืองทักษะสูงในต่างประเทศให้กลับมาทำงานในไทย รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานเดิมและแรงงานรุ่นใหม่ในอนาคต

การให้สิทธิประโยชน์ทางการเงินจะทำให้ผู้ประกอบการเกิดแรงจูงใจในการลงทุนนวัตกรรมสมัยใหม่ผ่านการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น ซึ่งการใช้เม็ดเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงในภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการตัดสินใจลงทุนของผู้ประกอบการในทุกระดับโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs โดยปัจจุบัน ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้เป็นระบบอัตโนมัติหรือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีได้ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่, SMEs และ Startups  อย่างไรก็ดี ในหลายประเทศยังมีนโยบายสนับสนุนด้านการเงินเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและใช้งาน 5G ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เช่น สหราชอาณาจักรที่มีการสนับสนุนเงินทุนเต็มจำนวนเพื่อลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เข้าร่วมการทดลองใช้งานระบบ 5G และสิงคโปร์ที่ได้สนับสนุนเงินทุนบางส่วนให้ผู้ประกอบการเพื่อปรับปรุงโรงงานเป็นระบบอัตโนมัติ และทดลองใช้งาน 5G เพื่อพัฒนาเป็น Use cases 

การประยุกต์ใช้ 5g มา 3 ข้อ

1. การสร้างความเข้าใจเป้าหมายและทิศทางการใช้งานเทคโนโลยี 5G

  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้ยุทธศาตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 
  • จัดทำโครงการต้นแบบการใช้งาน 5G ด้านต่าง ๆ เช่น Smart hospital, Smart agricultural และ Smart manufacturing
  • กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักในการใช้งาน 5G และเร่งผลักดันให้เกิดต้นแบบการใช้งาน (Use cases) เช่น สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

2. การพัฒนาบุคลากรดิจิทัล

  • ปรับเงื่อนไขการพิจารณา Visa สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายกำหนด
  • มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 250% สำหรับการส่งพนักงานเข้าอบรมในหลักสูตรด้าน STEM ที่ภาครัฐรับรอง
  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เช่น การให้ทุนการศึกษา การฝึกงานและรับเข้าทำงานทันทีเมื่อเรียนจบ รวมถึงการเข้าร่วมจัดทำหลักสูตรการเรียน
  • ให้สิทธิประโยชน์ชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงด้านเทคโนโลยีสามารถทำงานได้อย่างอิสระและให้สิทธิในการนำครอบครัวมาอาศัยได้ เช่น สิงคโปร์ 
  • ให้สิทธิประโยชน์ในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับพลเมืองที่มีทักษะสูงด้านเทคโนโลยีที่กลับมาทำงานในประเทศ เช่น มาเลเซีย
  • ให้ส่วนลดค่าใช้จ่ายหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ กับผู้ประกอบการที่มีการปรับโรงงานเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น เกาหลีใต้

3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน

  • ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการที่ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้เป็นระบบอัตโนมัติหรือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
  • สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เข้าถึงแหล่งเงินลงทุนได้มากขึ้น เช่น สนับสนุนเงินทุนบางส่วนในการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ และแหล่งเงินทุนจากผู้ประกอบการรายใหญ่
  • สนับสนุนเงินลงทุนเต็มจำนวนให้กับภาคธุรกิจที่ติดตั้งเทคโนโลยีใหม่และเข้าร่วมการทดลองใช้งานระบบ 5G เช่น สหราชอาณาจักร
  • สนับสนุนเงินทุนบางส่วนให้ผู้ประกอบการปรับปรุงโรงงานเป็นระบบอัตโนมัติและทดลองเชื่อมต่อการใช้งาน 5G เพื่อพัฒนาเป็น Use cases เช่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
  • สนับสนุนเงินทุนสำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน 5G ทั้งสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน เช่น เยอรมนี 

ทั้งนี้แม้เทคโนโลยี 5G ในไทยจะสามารถใช้งานในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว อีกทั้ง คุณภาพรองรับการทำงานในระบบอัตโนมัติของภาคอุตสาหกรรมการผลิต แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านความเข้าใจในเป้าหมายและทิศทางการส่งเสริมการใช้งาน การขาดแคลนแรงงานทักษะสูงด้านดิจิทัล และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จึงยังเป็นความท้าทายในการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ได้อย่างเต็มที่ โดยการบรรเทาข้อจำกัดดังกล่าวควบคู่ไปกับการให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต

มีการประยุกต์ใช้ 5G ทำอะไรบ้าง

เทคโนโลยี 5G จะทำให้อัตรา ความเร็วในการส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้น เทียบเท่ากับการเชื่อ มต่อแบบไฟเบอร์เทคโนโลยี 5G จึงจะมีบทบาทสาคัญในด้านต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม ยานยนต์ การขนส่ง สิ่งก่อสร้าง พลังงาน การเงิน สุขภาพ อุตสาหกรรมการผลิต การบันเทิงความมั่นคงปลอดภัย และพฤติกรรมผู้บริโภค

รถยนต์ไร้คนขับสามารถประยุกต์ใช้ 5G อย่างไร

· การสื่อสารระหว่างรถกับรถ 5G ทำให้เกิดนวัตกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ที่เรียกว่า Vehicle to Vehicleหรือ V2Vเกิดขึ้น โดยรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ 2 คัน หรือทุก ๆ คันที่ใช้ระบบนี้สามารถสื่อสารกันเองได้ จะรู้เส้นทางกันและกัน จะหลบหลีกกันเองเมื่อต้องเคลื่อนที่มาใกล้กัน ซึ่ง 5G จะช่วยทำให้เกิดการสื่อสารกันได้ เกิดการตอบสนองที่รวดเร็วมาก ...

Internet 5G คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

ระบบการสื่อสารแบบไร้สายในยุคที่ 5 (fifth-generation wireless systems: 5G) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในโลกอินเตอร์เน็ต โดยมีคุณลักษณะสุดพิเศษที่สำคัญคือ มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงขึ้น เอาง่ายว่าจะมีความเร็วมากกว่าอินเตอร์เน็ต 4G ที่พวกเราใช้ในทุกวันถึง 20 เท่า ซึ่งมันจะช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรม Multimedia หรือ Interactive ...

5G มีประโยชน์อย่างไรต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

การนำเทคโนโลยี 5G เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คนจะช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจให้สามารถยกระดับการทำงานและการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่โลกได้เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์การระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นอย่าง ...