O-net ม.6 ส งคม พาร ท2ตอบถ กข อเด ยว

อดัม สมิท ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยแต่งหนังสือสำคัญเรื่อง ความมั่งคั่งแห่งชาติ (The Wealth of Nations) 2 .ข้อความใดให้ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ถูกต้องที่สุด ก. วิชาที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการ ข. วิชาที่เกี่ยวกับการสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิกในสังคม ค. วิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมือง ง. วิชาที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

3 การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค พฤติกรรมของผู้ผลิต จัดอยู่ในขอบข่ายสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในข้อใด ก. เศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ข. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ค. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ง. เศรษฐศาสตร์มหภาค

4 ข้อใดไม่ใช่ ทุนตามความหมายของทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ ก. เครื่องจักร ข. โรงงาน ค. เงินตรา ง. อุปกรณ์การผลิต เงินตราไม่ใช่ทุน เป็นเพียงเครื่องมือที่ผู้ผลิตนำไปซื้อปัจจัยการผลิตมาใช้ผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนจากการลงทุน คือ ดอกเบี้ย

5. ผู้ที่รวบรวมปัจจัยการผลิตคือใคร ก. ผู้ผลิต ข. ผู้ประกอบการ ค. ผู้บริโภค ง. ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการคือผู้รวบรวมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุน มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ 6. การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดไม่สอดคล้องกับความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ จะทำให้เกิดอะไรขึ้น ก. การขาดทุน ข. ความขาดแคลน ค. สินค้าล้นตลาด ง. การกักตุนผลผลิต

7. นายดำมีเวลาว่างช่วงเย็นเหลือพอที่จะทำงานบ้าน แต่เมื่อเพื่อนมาชวนไปเล่นกีฬา เขาจึงเลือกที่จะไปกับเพื่อน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคิดในทางเศรษฐศาสตร์ ก. ค่าเสียโอกาส ข. ค่าสูญเปล่า ค. การใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ง. การเสียประโยชน์

8 ข้อความใดตรงกับความหมายของการบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด ก. การซื้อสินค้ามาใช้ในครัวเรือน ข. การรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการ ค. การรับฟังข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ง. การใช้สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์

9 ข้อความใดแสดงถึงลักษณะของการบริโภคแบบยั่งยืน ก. เอกใช้ถุงผ้าเวลาไปซื้อของ ข. ณัฐเปิดไฟไว้รอบบ้านในเวลากลางคืน ค. กรเปิดน้ำรดต้นไม้ทุกเช้าเย็นแม้จะมีฝนตก ง. พัทเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ เพื่อความทันสมัย

10. ข้อใดไม่ใช่หลักการบริโภคที่ดี ก. สุดาซื้ออาหารมารับประทานพออิ่ม ข. ปราณีซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่ในฤดูหนาวนี้ ค. มณีวัลย์ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ที่โฆษณาว่ามีความทันสมัยสูง ง. กรรณิการ์นำข้าวที่เหลือมาทำเป็นข้าวตังไว้รับประทานเป็นอาหารว่าง

11. สุธีชอบใช้นาฬิกายี่ห้อโรเล็กซ์ เพราะเขาเป็นคนมีรสนิยม การกระทำของสุธีสอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคในเรื่องใด ก. ความจำเป็น ข. กระแสสังคม ค. การประชาสัมพันธ์ ง. เทคโนโลยีสมัยใหม่

12. ข้อใดแสดงความหมายของอุปสงค์ได้ดีที่สุด ก. แก้วตาต้องการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่มีเงินไม่พอ ข. ก้านทำแจกันที่โชว์อยู่ที่ร้านตกแตก จึงต้องจ่ายค่าเสียหาย ค. ก้อนมีเงินพอที่จะซื้อนาฬิกาแต่ยังไม่อยากซื้อ ง. กล้วยนำเงินเก็บไปซื้อคอมพิวเตอร์ที่อยากได้มานานแล้ว เพราะเป็นความต้องการซื้อสินค้าด้วยความเต็มใจและมีกำลังในการซื้อสินค้านั้น 13. จากข้อ 12. พฤติกรรมในข้อใดเป็นการแสดงออกถึงความต้องการเท่านั้น ไม่ใช่อุปสงค์ ก. ข้อ ก. ข้อเดียว ข. ข้อ ง. ข้อเดียว ค. ข้อ ก. และข้อ ข. ง. ข้อ ค. และข้อ ง. เพราะ แก้วยังไม่มีกำลังซื้อหรือไม่มีเงินพอที่จะซื้อ จึงไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นแค่เพียงความต้องการธรรมดา

สวัสดีค่ะ ข้อสอบ O-NET 61 ที่เพิ่งสอบไปเมื่อ 2-3 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา มีคำถามแปลกๆ หลายข้อที่ไม่เคยรู้และเป็นที่พูดถึงอยู่หลายวัน เช่น หมีน้ำ หรือ วันกตัญญูแห่งชาติ แต่นอกจากคำถามที่พูดคุยกันแล้ว ก็มีคำถามเกี่ยวกับการสอบที่น้องๆ ถามมาเยอะ ก็คือ การคิดคะแนน O-NET ในพาร์ทที่มีวิธีคิดคะแนนแตกต่างออกไป

O-net ม.6 ส งคม พาร ท2ตอบถ กข อเด ยว

ทั้งนี้ ข้อสอบ O-NET จะมีอยู่ 3 วิชาที่มีรูปแบบการคิดคะแนนต่างจากวิชาอื่นๆ คือ ภาษาไทย สังคมวิทยา และวิทยาศาสตร์ โดยจะมีพาร์ทที่ต้องตอบมากกว่า 1 คำตอบใน 1 ข้อ พี่มิ้นท์ได้สอบถามไปยัง สทศ. เรื่องการคำนวณคะแนนแล้ว ได้คำตอบมาแบบนี้ค่ะ

วิชาภาษาไทย พาร์ท : ตอนที่ 1 ให้ระบาย 2 คำตอบจากตัวเลือก ก. และ ข. ให้สัมพันธ์กัน คะแนน : 10 ข้อ 10 คะแนน (ข้อละ 1 คะแนน)

O-net ม.6 ส งคม พาร ท2ตอบถ กข อเด ยว

วิธีการให้คะแนน --> ตอบถูกทั้ง 2 คำตอบ ได้ 1 คะแนน --> ตอบถูก 1 คำตอบ ได้ 0.5 คะแนน

วิชาสังคมศึกษา พาร์ท : ตอนที่ 2 ให้ระบาย 2 คำตอบ จาก 5 ตัวเลือก คะแนน : 10 ข้อ 20 คะแนน (ข้อละ 2 คะแนน)

วิธีการให้คะแนน --> ตอบถูกทั้ง 2 คำตอบ ได้ 2 คะแนน --> ตอบถูก 1 คำตอบ ได้ 1 คะแนน

วิชาวิทยาศาสตร์ พาร์ท : ตอนที่ 2 ปรนัยเลือกตอบเชิงซ้อน ให้ตอบ "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" คะแนน : 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน (ข้อละ 4 คะแนน) *หมายเหตุ : 1 ข้อของพาร์ทนี้ จะต้องตอบอีก 3 ข้อย่อย เช่น ข้อ 51 จะมีข้อย่อยที่ต้องตอบคือ 51.1 , 51.2 และ 51.3

วิธีการให้คะแนน --> ตอบถูกหมดทั้ง 3 ข้อย่อย ได้ 4 คะแนน --> ตอบถูก 2 ข้อย่อย ได้ 2 คะแนน --> ตอบถูก 1 ข้อย่อย ได้ 0 คะแนน --> ตอบผิดหมด ได้ 0 คะแนน

เมื่อรู้วิธีคิดคะแนน O-NET ทั้งวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์แล้ว อย่าลืมบอกต่อเพื่อนๆ ด้วยนะคะ จะได้หายข้องใจกันสักที

ทิ้งท้ายไว้สำหรับน้อง ม.4 -5 ปีนี้ ใครกำลังเตรียมตัวสอบ อยากได้เทคนิคสอบ GAT และ PAT1 เพิ่มเติมเพื่อเตรียมสอบอย่างมั่นใจมากขึ้น ไปเจอกันได้ที่งาน Dek-D on Stage ติวพุ่งเป้า GAT PAT1 ที่ไบเทค บางนา 20 เมษายนนี้