ตัวอย่าง นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

  1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี

    แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation) นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้

    1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
    2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
    3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
    4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ
  2. ความหมายของเขตการค้าเสรี เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
  3. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA

ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ การค้าระหว่างประเทศ เป็นการนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง เนื่องจากความแตกต่างกันทางทรัพยากรและความสามารถในการผลิต นโยบายการค้า 1. การค้าแบบเสรี ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน, ไม่ให้สิทธิพิเศษ ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า 2. การค้าแบบคุ้มกัน มีการตั้งกำแพงภาษี, ไม่ให้สิทธิพิเศษ, ห้ามนำเข้า ห้ามส่งสินค้าบางชนิดออก ให้อุดหนุนเพื่อผลิตแข่งกับต่างประเทศ

ลักษณะการค้าระหว่างประเทศของไทย 1. ใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน 2. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว 3. ประเทศคู่ค้าสำคัญคือ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ซาอุดิอาระเบีย 4. สินค้าออก ส่วนใหญ่คือ สินค้าจากภาคเกษตรกรรม 5. สินค้าเข้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร และเชื้อเพลิง การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล 1. ลดการส่งสินค้าเข้า 2. ชักชวนชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว 3. ส่งเสริมการส่งออกมากขึ้น 4. ลดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย บัญชีดุลการค้าชำระเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 1. บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีรวมดุลการค้าและดุลบริการ 2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศรวมถึงเงินกู้ 3. บัญชีเงินโอนและเงินบริจาค เป็นเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ 4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีบอกจำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ และชี้ให้เห็นฐานะของดุลการชำระเงินของประเทศ ข้อเปรียบเทียบระหว่างดุลการค้ากับดุลการชำระเงิน 1. ดุลการชำระเงินนั้นรวมรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศทั้งหมดทั้งที่เป็นรายรับ รายจ่ายจากสินค้าและบริการ เงินลงทุน เงินกู้ เงินบริจาค 2. ดุลการค้า หมายถึง ส่วนต่างของสินค้าเข้าและสินค้าออก โดยดุลการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงิน 3. บางประเทศอาจมีการค้าขาดดุล แต่มีดุลการชำระเงินเกินดุลก็ได้ ทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ ทรัพย์สินของประเทศที่เป็นทองคำและเงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญ เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ สิทธิพิเศษในการเบิกเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินสำรองระหว่างประเทศมีประโยชน์คือ 1. ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราส่วนหนึ่ง 2. ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับชำระเงินให้กับต่างประเทศ 3. ใช้เป็นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีเสถียรภาพมั่นคง การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นการที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไร สาเหตุของการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อต้องการขยายการผลิตและการลดต้นทุน ผลที่เกิด 1. ประเทศกำลังพัฒนา ได้เรียนรู้วิทยาการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ 2. ประเทศกำลังพัฒนา มีการว่าจ้างงานมากขึ้น 3. เกิดการเอาเปรียบประเทศที่รับการลงทุน 4. อาจก่อความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ มีลักษณะการรวมกลุ่ม 6 ประเภทคือ 1. เขตลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร ลดหย่อนภาษีศุลกากรระหว่างกัน 2. เขตการค้าเสรี ยกเลิกโควตานำเข้าระหว่างสมาชิกและยกเลิกกำแพงภาษี 3. สหภาศุลกากร ยกเลิกตามเขตการค้าเสรีและให้กำหนดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศที่ 3 ในอัตราเดียวกัน 4. ตลาดร่วม สินค้าและปัจจัยการผลิตเคลื่อนไหวโยเสรี 5. สหภาพทางเศรษฐกิจ มีการประสานนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงิน 6. สหภาพเศรษฐกิจแบบสมบูรณ์ กำหนดนโยบายการเมือง สังคมแบบเดียวกัน

องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ 1. สหภาพยุโรป (Economic Union) สมาชิก 25 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอแลนด์ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส ไซปรัส เชค สโลวาเกีย สโลวีเนีย สวีเดน เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้าออสเตรีย ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี จุดประสงค์การก่อตั้ง เพื่อพัฒนาและยกมาตรฐานการครองชีพ ยกข้อจำกัดทางการค้าในกลุ่มสมาชิกและป้องกันประเทศนอกกลุ่ม ประเทศสมาชิกสหภาพนำเงินยูโรมาใช้ 1 ม.ค. 2002 มีสมาชิกที่ร่วมใช้เงิน ยูโร 12 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอแลนด์ ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส ออสเตรีย ฟินแลนด์ โปตุเกส 2. สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association Southeast Asean Nations) ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า และลาว จุดประสงค์เพื่อการร่วมมือกันด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม มีการคัดเลือกอุตสาหกรรมตามความถนัดและวัตถุดิบที่ประเทศสมาชิก มีการประกาศเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อลดหย่อนภาษีให้เหลือ 0-5% 3. กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 ประกอบด้วย อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ ลิเบีย สหรัฐอิมิเรต แอลจีเรีย กาบอง เวเนซูเอลา เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย อิรัก โอมาน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองราคาน้ำมัน โดยการกำหนดราคาและปริมาณการผลิต 4. ธนาคารเพื่อการบูรณะและพันฒนา (IBRD) หรือธนาคารโลก เป็นแหล่งให้กู้เงินสำหรับประเทศต่าง ๆ 5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตั้งขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือในด้านการเงินระหว่างประเทศ รักษาเสถียรภาพ ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินแก่ประเทศสมาชิก 6. องค์การค้าโลก (WTO) มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า แกตต์ General Agreement on Tariffs and Trade : GATT ตั้งเมื่อ 1 ม.ค. 2538 สำนักงานอยู่ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบัน 2548 มีสมาชิก 148 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ เป็นเวทีเจรจาเพื่อลดอุปสรรค์ และข้อกีดกันทางการค้า จัดทำกฏระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิก สถานการณ์การค้ากับต่างประเทศ ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ไทย-จีน ในกรณีของปิโตรเคมีเม็ดพลาสติกหากการเจรจาประสบความสำเร็จ การเปิดเสรีจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทยแต่ในกรณีอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก หากมีการเปิดเสรีจะทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องประสบปัญหาจากสินค้าราคาถูกจากจีนที่จะไหลเข้าไทยมากขึ้น

- การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าอาเซียน-จีน จะช่วยลดอุปสรรคการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี รวมทั้งการเปิดเสรีและส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน - นอกจากจีนแล้ว ไทยยังเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ร่วมกับอีกหลายประเทศ เช่น บาห์เรน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น - เดือนมกราคม 2547 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศ AD Duties (ในอัตราร้อยละ 2.26-122.88) สำหรับถุงพลาสติก PE ที่นำเข้าจากไทย (รวมทั้งจีน และมาเลเซีย แต่อัตราต่างกัน) - มาตรการป้องกันการทุ่มตลาด หรือการตอบโต้เมื่อถูกกล่าวหาว่าทุ่มตลาดยังไม่เข้มแข็ง

ตัวอย่าง นโยบายการค้าระหว่างประเทศ