ร อายาต ดด น อ ล-ม สตาฟา บ ลละฮ ชะฮ

หมายถึง : รู้สึกยินดีในสิ่งต่างๆซึ่งแปลว่า พระประสงค์ของอัลลอฮฺ เมื่อพอใจสิ่งใดที่เกิดกับเรา หรือเมื่อเราเห็นสิ่งที่เราพอใจ

3- อัลฮัมดุลิลลาฮ.. الحمدلله

หมายถึง : บรรดาการสรรเสริญ เป็นของอัลลอฮฺ เป็นการสรรเสริญพระเจ้า เมื่อพอใจสิ่งใดที่เกิดกับเรา

4- อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ.. استغفرالله

หมายถึง : ใช้พูดเมื่อ สำนึกผิดจากการกระทำบาป ซึ่งแปลว่าฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัย

5- ลิฮุบ บิลลาฮฺ.. لحب الله

หมายถึง : ใช้พูดเมื่อเกิดความรักกับผู้ใด ซึ่งแปลว่า รักเพื่ออัลลอฮฺ

6- ฟีอะมานิลลาฮฺ.. في أمان الله

หมายถึง : ใช้พูดเมื่อจะจากกัน ซึ่งแปลว่าขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง

7- อัลลอฮุอักบัร.. الله اكبر

หมายถึง : คำสดุดีพระผู้เป็นเจ้ามีความหมายว่า อัลลอฮฺ พระผู้ทรงเกรียงไกร

8- ฟีซะบี่ลิลลาฮฺ.. في سبيل الله

หมายถึง : ในหนทางของอัลลอฮฺ เช่น บริจาคสิ่งของ หรือจ่ายทรัพย์สินเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ

9- วัลอิยาซุบิลลาฮฺ.. وعياذبالله

หมายถึง : ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ให้ห่างไกลจากสิ่งนี้) เป็นคำกล่าว ที่มักกล่าวกันเมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดี เรื่องที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น

10- นะอูซุบิลลาฮิ มินซาลิก

.نعوذ بالله من ذلك

หมายถึง : ขออัลลอฮฺคุ้มครองเราให้ห่างไกลจากสิ่งนั้น

11- อินนาลิลลาฮฺ วะอินนา อิลัยฮิรอญิอูน

انّالله وانّاإليه راجعون

หมายถึง : แท้จริงนั้น ตัวเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนว่า เราจะต้องกลับไปยังพระองค์"

*โดยส่วนใหญ่แล้ว ใช้กล่าวเมื่อได้รับข่าวการเสียชีวิตของพี่น้องมุสลิม เป็นการเตือนสติตนเอง และผู้คนรอบข้างแต่ในบางครั้ง ก็อาจจะใช้กล่าวเมื่อประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือเรื่องที่ไม่ดี เสมือนการอุทาน .

12- ญะซากัลลอฮฺค็อยร็อน

جزاكَ الله خيرا

หมายถึง : ใช้เวลา ขอบคุณ ผู้ชาย ความหมายประมาณว่า..ขออัลลอฮฺ ซ.บ. ทรงตอบแทนท่านชาย

13- ญะซากิลลาฮฺค็อยร็อน

جزاكِ الله خيرا

หมายถึง : ใช้เวลา ขอบคุณ ผู้หญิง ความหมายคือ ขออัลลอฮฺ ซ.บ.ทรงตอบแทนท่านหญิง

14- ญะซากุมุลลอฮฺค็อยร็อน

جزاكُمُ الله خيرا

หมายถึง ใช้เวลา ขอบคุณคนหลายๆคน อาจมีทั้งชายและหญิงรวมกัน หรือในกรณีที่เราไม่ทราบว่าคนพวกนั้นเป็น "เขา" หรือ "เธอ" ความหมายก็จะประมาณ.. ขออัลลอฮฺ ซ.บ.ทรงตอบแทนพวกท่าน !

* คำว่า ขอบคุณ กับ ญะซากัลลอฮฺ จะต่างกันก็ตรงความหมายที่เกินกว่าและลึกซึ้ง เพราะ "ขอบคุณ" ก็คือ คำแสดงความขอบใจในน้ำใจที่อีกฝ่ายมีให้ ส่วน "ญะซากัลลอฮฺค็อยร็อน" ในทางภาษาอาหรับแล้วความหมายจะกินเกินขึ้นไปอีก เพราะนอกจากจะเป็นคำแสดงความขอบคุณไปในตัวแล้ว ยังเป็นคล้ายๆกับการวิงวอน~วอนขอ ให้อัลลอฮฺ ซ.บ. ทรงตอบแทนบุคคลที่มีน้ำใจกับเราคนนั้นอีกทีหนึ่งด้วย

การกล่าว "ญาซากั้ลลอฮุ..." ที่ถูกต้อง

คำว่า "ญาซา" มีความหมายว่า "ตอบแทน"หรือ "ให้รางวัล" -- ซึ่ง "รางวัล" นั้น ก็มีอยู่สองประเภท นั่นคือ "รางวัลที่ดี และ "รางวัลที่เลว"

การกล่าวเพียงแค่ "ญาซากั้ลลอฮฺ" นั้น จึงมีความหมายได้สองแบบว่า "ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่ดีงาม" หรือ "ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่เลวทราม"

ดังนั้น การกล่าวเพียงแค่ "ญาซากั้ลลอฮฺ" จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจเป็นการดุอาอฺที่สาปแช่งผู้ที่เรากล่าวด้วย

การกล่าว "ญาซากั้ลลอฮฺ..." จึง ต้องมีคำมาเติมต่อท้ายให้สมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่สองแบบ คือ...

1. ญาซากั้ลลอฮุ ชัรฺรอน

جزاكَ الله شرا

มีความหมายว่า : ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่เลวทราม"

2. "ญาซากั้ลลอฮฺ ค็อยร็อน

جزاكَ الله خيرا

มีความหมายว่า : ขออัลลอฮฺทรงแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่ดีงาม"

สรุปแล้ว คำว่า "ญาซากั้ลลอฮฺ ..." นั้น จำต้องตามด้วยคำต่อท้าย ไม่ว่าจะเป็น "ชัรฺร็อน" หรือ "ค็อยร็อน"

พี่น้องก็เลือกเอาว่าเราควรจะกล่าวในสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลบุญต่อตัวเราและ พี่น้องของเรา หรือจะกล่าวคำที่สร้างความหายนะให้ทั้งตัวเราและพี่น้องของเรา

หากเราต้องการกล่าวต่อพี่น้องของเรา เพื่อเป็นการขอบคุณและขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีงามให้แก่ผู้คนผู้นั้น ก็จงกล่าวเต็มๆ ว่า "ญาซากั้ลลอฮุ ค็อยร็อน" อย่ากล่าวเพียงแค่ว่า "ญาซากั้ลลอฮฺ"

ร อายาต ดด น อ ล-ม สตาฟา บ ลละฮ ชะฮ

มารยาทและความประเสริฐของวันอะเราะฟะฮฺ

อับดุลวาเฮด สุคนธา

อะเราะฟะฮฺ คือ ภูเขาที่ตั้งอยู่ห่างจากนครมักกะห์ประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากมีนาประมาน 10 กิโลเมตร และห่างจากมุซดะริฟะห์ประมาน 6 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุด ในการใช้ประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งถูกเรียกว่า การวุกูฟ ซึ่งหมายถึง คนที่ทำฮัจญ์ทั้งหมดจะต้องไปขอดุอาอฺ ณ สถานที่ตรงนี้

การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺจะเกิดขึ้นในวันที่ 9 ซุ้ลฮิจยะห์ และการวุกุฟที่อะเราะฟะฮฺท่านนบีกล่าวว่า

((«الحَجُّ عَرَفَةُ)) ฮัจย์ คือ การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ

อารอฟะห์ แปลว่า การทำความรู้จัก

มีสายรายงาน ว่า ท่านนบีอาดัม กับพระนางฮาวาได้มาพบกัน ณ สถานที่ ตรงนี้จากหลังที่อัลลอฮฺให้ออกจากสวรรค์ เรียกว่า อารอฟะห์

มีอีกรายงานหนึ่งว่า ญิบรีลได้พาท่านนบีอิบรอมฮีมไปยังสถานที่ต่างๆในการทำฮัจญ์ทั้งหมด

ญิบรีล กล่าวแก่ท่านนบีอิบรอมฮีม ว่า ท่านรู้หรือยัง ทราบแล้วหรือยัง

ท่านนบี อิบรอมฮีมตอบ ว่า ฉันรู้แล้ว ฉันรู้แล้ว

(ที่มาของการเรียกว่า อารอฟะห์ ในหนังสือ อิมาม อธิบายกรุอ่านของอิม่าม กุรตุบีย์)

ความประเสริฐของ วันอะเราะฟะฮฺ

  • วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันหนึ่งในเดือนต้องห้าม

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

(إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِنْدَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِي كِتَابِ اللَّهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ) [سورة التوبة : 36]

“แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือน ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินจากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม”

  • วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันหนึ่งในวันต่างๆของเดือนฮัจญ์

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

(الْحَجُّ أَشْهُرٌ مَعْلُومَاتٌ) [سورة البقرة : 197]

“เวลาของ การทำฮัจญ์นั้นมีหลายเดือนอันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว”

เดือนแห่งการทำฮัจญ์ เดือนเชาวาล ชุลเกาะดะฮฺ สิบวันของเดือนซุลฮิจยะห์

  • วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันหนึ่งถูกกล่าวเอาไว้ในกรุอาน

ในคัมภีร์อัล-กุรอาน พระองค์อัลลอฮ์จะสาบานด้วยสิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เช่นพระองค์ได้สาบานด้วยวันอะเราะฟะฮ์ โดยมีหลักฐานจากหะดีษที่ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า

أنَّ النبِيَّ قالَ : اليومُ المَوعُودُ : يومُ القِيامة واليومُ المشْهودُ يومُ عرفة والشاهِد يومُ الجُمُعة) (رواه التِّرمدي)

“ (اليوم الموعود )

“วันที่ได้นัดไว้ที่พระองค์ได้สาบานในอัล-กุรอาน หมายถึงวันโลกหน้า (اليوم المشهود )”

“วันที่มนุษย์ได้เห็น คือวันอะเราะฟะฮฺ “

“ส่วนวัน (الشاهِد ) วันที่เป็นพยาน คือวันศุกร์”

อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

(لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ) [سورة الحج:28].

“เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วม เป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮ์ในวันที่รู้กันอยู่แล้ว”

ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวว่า (أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ) สิบวันแรกของเดือนซุลอิจญะฮ์

  • วันอะเราะฟะฮฺ เป็นวันที่อัลลอฮฺได้สาบาน

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

والفجْرِ ، وليالٍ عشْرٍ ، والشَّفْعِ ، والوَتْرِ ، واللَّيْلِ إدا يَسْرِ هل في دلك قسَمٌ لِدي حجْرٍ الفجْر/1-5

“ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ และด้วยสิ่งที่เป็นคู่และที่เป็นคี่ และด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันโคจรไป ดังกล่าวนั้นเป็นการสาบานสำหรับผู้ที่มีปัญญามิใช่หรือ”

อธิบายของอิบนุอับบาส อิบนุ ซุบัยรฺ มุญาฮิด “และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ” คือ 10 วันของเดือนซุลฮิจญะฮฺ และคำกล่าวอีกหลาย ๆ ท่าน

  • วันอะเราะฟะฮฺ เป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบปี

จากอิบนุอับบาส จากท่านศาสดา ขออัลลอฮฺทรงให้พรและความสันติแด่ท่าน ได้กล่าวว่า

"مَا مِنْ أَيَّامٍ العَمَلُ الصَّالِحُ فِيهِنَّ أَحَبُّ إِلَى اللَّهِ مِنْ هَذِهِ الأَيَّامِ العَشْرِ"، فَقَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ، وَلَا الجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ؟ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: "وَلَا الجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ"

"ไม่มีวันใดที่การทำความดีในนั้นจะเป็นที่รักสำหรับอัลลอฮฺมากไปกว่าสิบวันนี้"

พวกเขาถามว่า "ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ไม่แม้แต่การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺหรือ?"

ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ตอบว่า "ไม่ แม้แต่การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ นอกจากผู้ที่ออกไปทั้งตัวและทรัพย์สิน และไม่ได้กลับมาอีกเลย"

(บันทึกโดยบุคอรีย์)

รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ عَمَلٍ أَزْكَى عِنْدَ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ ، وَلَا أَعْظَمَ أَجْرًا ، مِنْ خَيْرٍ يَعْمَلُهُ فِي عَشْرِ الْأَضْحَى " . قِيلَ : وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ ؟ قَالَ : " وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ

“ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)”

เศาะฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ”

ท่านนบีตอบว่า “แม้ กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทาง ของอัลลอฮฺ)

และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย(คือ เสียทรัพย์สมบัติและชีวิตของเขาไปในการญิฮาดเพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่การญิฮาดอื่นๆจากนี้ก็ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของ ซุลฮิจญะฮฺ )”

(บันทึกบุคอรีย์และอบูดาวูด)

  • วันอะเราะฟะฮฺ เป็นวันที่ศาสนาสมบูรณ์

จากท่านอุมัร บิน ค็อตต็อบ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ

“มีชายคนหนึ่งจากเผ่ายิวได้กล่าวต่อหน้าท่านอุมัร บิน อัล-ค๊อฏฏ็อบว่า โอ้ อะมีรของบรรดามุอมิน มีอายะฮ์ที่พวกท่านได้อ่าน หากว่าอายะฮ์นี้ได้ประทานมาให้แก่พวกเราบรรดาชาวยิว พวกเราจะถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญของพวกเรา

อุมัรถามว่า อายะฮ์อะไรที่คุณหมายถึง ชาวยิวท่านนั้นกล่าวว่า อายะฮ์ที่มีความหมายว่า

( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمْ الْإِسْلَامَ دِينًا) [ سورة المائدة:5].

“วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว”

ท่านอุมัรได้ตอบว่า “พวกเรารู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นและสถานที่ที่ประทานอายะฮ์นั้น คือประทานลงมาในขณะที่ท่านเราะซูล ยืนอยู่ ณ ที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ในวันศุกร์ “

(บันทึกโดยบุคคอรี,และมุสลิม )

  • ส่งเสริมให้ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ

มีรายงานจากบรรดาภรรยาของท่านนบีกล่าวว่า

(كان النبي صلى الله عليه وسلم يصوم تسع ذي الحجة ويوم عاشوراء وثلاثة أيام من كل شهر)

“ปรากฎว่าท่านนบนีนั้น ถือศิลอดในวันที่ 9 เดือนซุ้ลฮิจยะห์ และวัน อาชูรอ และทุกๆสามวันกลางเดือน”

( บันทึก อบูดาวูด)

  • ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ จะถูกลบล้างความผิด

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

صِيَامُ يَوْمِ عَرَفَةَ أَحْتَسِبُ عَلَى اللَّهِ أَنْ يُكَفِّرَ السَّنَةَ الَّتِي قَبْلَهُ وَالسَّنَةَ الَّتِي بَعْدَهُ

"การถือศีลอดในวันอะร่อฟะฮ์นั้น ข้าพเจ้าหวังว่า อัลเลาะฮ์ จะทรงลบล้างความผิดในปีที่ก่อนวันอะรอฟะฮ์และในปีหลังจากวันอะเราะฟะฮฺ"

(บันทึกโดยมุสลิม)

  • วันอะเราะฟะฮฺ คือ อีดของคนฮัจญ์

รายงานจากท่านอุกบะ บิน อามีร ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

يَوْمُ عَرَفَةَ وَيَوْمُ النَّحْرِ وَأَيَّامُ التَّشْرِيْقِ عِيْدُنَا أَهْلَ الإِسْلاَمِ وَهِيَ أَيَّامُ أَكْلٍ وَشُرْبٍ

" วันอะรอฟะฮฺ วันนะหฺรุและวันตัชรีก เป็นวันรื่นเริงของเรา โอ้ชาวอิสลามมันคือวันแห่งการกิน และดื่ม”

( บันทึกโดย อบูดาวูด ติรมีซีย์)

  • ดุอาอฺที่ประเสริฐที่สุดคือดุอาอ์ในวันอะเราะฟะฮฺ

ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

خَيْرُ الدُّعَاءِ دُعَاءُ يَوْمِ عَرَفَةَ

“ดุอาอ์ที่ประเสริฐที่สุดคือดุอาอ์ในวันอะเราะฟะฮฺ”

และบทดุอาอ์ที่ประเสริฐที่สุดที่ฉันและบรรดานบีก่อนหน้าฉันกล่าว (ในวันนั้น) คือ

«لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ، وَلَهُ الْحَمْدُ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ»

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยปราศจากการตั้งภาคีใดๆ พร้อมพระองค์ การปกครองดูแลเป็นของพระองค์ และมวลการสรรเสริญก็เป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงปรีชาสามารถเหนือทุกๆ สิ่ง “

(บันทึกโดย อิมาม มาลิก ใน อัล-มุวัฏเฏาะอ์ อัต-ติรมิซีย์)

อิบนุ อับดิลบัร กล่าวว่า การขอดุอาอ์ในวันอะเราะฟะฮฺเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าการขอดุอาอ์ในวันอื่นๆ

  • วันอะเราะฟะฮฺ คือ วันที่ อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรกมากที่สุด

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ يَوْمٍ أَكْثَرَ مِنْ أَنْ يُعْتِقَ اللَّهُ فِيهِ عَبْدًا مِنْ النَّارِ مِنْ يَوْمِ عَرَفَةَ

"ไม่มีวันใดที่อัลเลาะฮ์จะปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรก ที่จะมากไปกว่า วันอะเราะฟะฮฺ"

(บันทึกโดยมุสลิม)

  • วันอะเราะฟะฮฺ คือ วันที่ อัลลอฮฺทรงเอาบ่าวไปอวดต่อบรรดามะลาอิกะฮ์

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮารายงานว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ما مِن يومٍ أكْثَرَ مِن أن يعْتِقَ اللهُ فيهِ عبْداً منِن النَّارِ مِن يومِ عرفةَ وإنَّه لَيدنُو ثمَّ يباهِي بِهم الملائكةُ فيقولُ : ما أرادَ هؤلاء ؟

“ไม่มีวันใดที่พระองค์อัลลฮฺจะปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ให้พ้นจากขุมนรกมาก นอกจากในวันอะเราะฟะฮ์ มะลาอิกะฮ์จะเข้าใกล้พวกเขาและจะอวดพวกเขาโดยกล่าวว่า พวกเขาอยากได้อะไร”

(บันทึกโดยมุสลิม)

  • วันนะหัร (วันอีด)

อับดุลลอฮฺ บิน กุรฏ์ อัษษะมาลีย์ เล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِنَّ أَعْظَمَ الْأَيَّامِ عِنْدَ اللهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى يَوْمُ النَّحْرِ، ثُمَّ يَوْمُ الْقَرِّ»

“บรรดาวันต่างๆที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือวันนะหัร หลังจากนั้นวันก็อร (วันที่พักอยู่กับที่ หมายถึงวันที่บรรดาหุจญาจญ์ พักอยู่ที่ทุ่งมีนาในวันที่ 11-13 หลังจากวันนะหัร)”

(อะหมัด อบูดาวูด)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ

“และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในบรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว ตามที่พระองค์ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า”

(อัลหัจญฺ : 28)

  • ส่งเสริมให้มีการกล่าวตักบีรให้มากๆ

การตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดนั้น จะรวมกันอยู่ทั้งหมดห้าวัน ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของอุละมาอ์ นั่นคือ เริ่มตั้งแต่วันอะเราะฟะฮฺ วันนะห์รฺ(วันอีด) และวันตัชรีกทั้งสาม ส่วนแปดวันก่อนหน้านั้นจะมีแต่ตักบีรมุฏลักเท่านั้น ไม่มีตักบีรมุก็อยยัด

จากอิบนุ อุมัร และอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ว่า

يخرجون إلى السوق يكبرون ويكبر الناس بتكبيرهما

“ทั้งสองคนได้ออกไปกล่าวตักบีรที่ตลาดในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ แล้วผู้คนก็กล่าวตักบีรเนื่องด้วยการตักบีรของท่านทั้งสอง”

มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งว่า พวกเขาจะกล่าวตักบีรหลังละหมาดห้าเวลา นับตั้งแต่เวลาศุบฮี่ ของเช้าวันอะเราะฟะฮฺจนกระทั่งเวลาอัศรฺของวันที่สิบสามของซุลหิจญะฮฺ นี่เป็นในกรณีของผู้ที่ไม่ได้ทำหัจญ์

ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุเล่าว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ أَيَّامٍ أَعْظَمُ عِنْدَ اللَّهِ وَلَا أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنْ الْعَمَلِ فِيهِنَّ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ فَأَكْثِرُوا فِيهِنَّ مِنْ التَّهْلِيلِ وَالتَّكْبِيرِ وَالتَّحْمِيدِ

"ไม่มีวันใดอีกแล้วที่การทำความดีจะมีคุณค่าความยิ่งใหญ่และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺ มากไปกว่าการทำความดีในช่วงสิบวันแรก ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ ดังนั้นพวกท่านจงพยายามกล่าว ตะฮลีล ตักบีร และตะหฺมีด ให้มากๆ เถิด"

(บันทึกโดยอะหมัด)

  • วันอะเราะฟะฮฺ คือ(รุกุ่น)สำคัญในการทำฮัจญ์

ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

{الحَجُّ عَرَفَةُ ) ฮัจย์ คือ การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ

(บันทึกโดย บุคครีย์และมุสลิม)

ท่านอิบนุ กุดามะ กล่าวว่า ใครที่ไม่ทำการวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ ถือว่าฮัจญ์นั้นไม่ถูกต้อง

  • วันต่างๆของ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

((إن العشر: عشر الأضحى، والوتر: يوم عرفة، والشفع: يوم النحر)).

“ในสิบวันหมายถึง วันอีด, ส่วนคำว่า วิตร วันคี่ หมายถึง วันอารอฟะ, วันคู่ คือ วันเชือด “

(อิบนุกะซีร ในตัฟซีรอัลกุร อ่านนุลอะซีม ซูเราะฮฺอัลหัจญฺ อายะฮฺที่ 28)

ข้อปฏิบัติมุสลิม(มาทำฮัจญ์)ในวันอะเราะฟะฮฺ

♦ จะต้องมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ

♦ จะต้องปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านนบีในการทำฮัจญ์ (ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ)

♦ จะต้องขอดุอาอฺต่อพระองค์ ขออภัยโทษและขอพระองค์ทรงปลดปล่อยจากไฟนรก

♦ จะต้องกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ด้วยการสารภาพบาป

♦ ยกมือขอดุอาอฺและหันหน้าไปทางบัยตุลลอฮฺ

♦ ทำการวุกูฟในเขตอะเราะฟะฮฺตั้งแต่ตะวันคล้อย(เข้าเวลาดุฮรี)จนตะวันลับขอบฟ้า (เข้าเวลามักริบ)

♦ ทำการละหมาดย่อและรวมดุฮรีสองร็อกอะ และ ฮัศรี สองร็อกอะ ในเวลาดุฮรี่ เรียกว่า (ตัมตักดีม) การรวมในเวลาแรก

♦ สมควรจะมีน้ำละหมาดในขณะขอดุอาอฺ

♦ จะต้องทำความดีให้มากในวันนั้น เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคทาน การรำลึกถึงอัลลอฮฺ