รายงาน ว ชาการ ม เร อง อะไรบ าง

ประเด็นเรื่องของ Plagiarism หรือ การคัดลอก ขโมยผลงาน ในแวดวงวิชาการ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ ๆ ที่สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในสหราชอาณาจักร กำลังตื่นตัวและให้ความสนใจ สถิติเมื่อปี 2016 เว็บไซต์ Independent ได้รายงานว่า พบว่ามีกรณี Plagiarism เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร ในช่วงปี 2014-2016 มากถึง 50,000 เคส ปลุกกระแสให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพิ่มมาตรการที่เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันการ Plagiarism ที่อาจทำลายชื่อเสียงทางวิชาการของมหาวิทยาลัยลง

Plagiarism คืออะไร

Plagiarism คือ การคัดลอกผลงาน หรือขโมยผลงาน/ความคิดของคนอื่นโดยไม่มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง บางคนอาจเรียกว่า “โจรกรรมทางวิชาการ” หรือ “โจรกรรมทางวรรณกรรม” ก็ได้ Plagiarism เป็นรูปแบบหนึ่งของการโกงและเป็นการกระทำผิดทางวิชาการอย่างร้ายแรงที่สุด

อ้างอิงตามเอกสารของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกล่าวถึงพจนานุกรม The Compact Edition of the Oxford English Dictionary (COED) ที่ให้ความหมายของคําว่า Plagiarism ไว้ว่า

“การกระทําหรือการปฏิบัติที่ถือว่าเป็นการคัดลอก นั่นก็คือ การนําผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเองโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง (wrongful appropriation) การขโมย (Purloining) และการตีพิมพ์ข้อความของคนอื่น หรือการแสดงความคิด แนวคิด (วรรรณกรรม งานศิลป ดนตรี งานประดิษฐ์ เป็นต้น) ของผู้อื่นเสมือนว่าเป็นงานของตนเอง หรือการนําเสนอความคิด แนวคิด ตอนแบบ ข้อความ ส่วนของข้อความ หรืองาน ที่ได้มีการขโมยมา”

“Plagiarism คือ ความพยายามชักจูงผู้อื่น ด้วยการนําเอางาน คําพูด หรือคําของคนอื่นมาเป็นของตนเอง เช่น การคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Academic plagiarism) เกิดขึ้นเมื่อผู้เขียนรายงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ลอกคําจากต้นฉบับมากกว่า 4 คําโดยปราศจากการใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) หรือ เครื่องหมายคําพูดตรงข้อความที่คัดลอก ทําให้เสมือนว่าเป็นผลงานของตนเอง การถอดความหรือการเขียน ในลักษณะแตกต่างจากเดิมแต่ยังมีความหมายเช่นเดิม (Paraphrasing) โดยปราศจากการอ้างความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างจริงจัง หรือปราศจากการเพิ่มเติมผสมผสานข้อความใหม่อย่างเข้าใจถ่องแท้ ถือเป็นแบบอย่างหนึ่งของการคัดลอกผลงานทางวิชาการ”

ลักษณะที่เข้าข่าย Plagiarism โดยทั่วไป

  • การคัดลอกผลงาน ทำซ้ำ (copying)
  • การพิมพ์ซ้ำผลงานของตัวเอง (self-plagiarism - also called auto-plagiarism)
  • การสมรู้ร่วมคิดเพื่อขโมยผลงาน (collusion)
  • การประดิษฐ์หรือบิดเบือนเนื้อหา/ ต้นฉบับให้ต่างจากเดิม (fabrication or misrepresentation)
  • การว่าจ้างให้ทำหรือเขียนวิทยานิพนธ์แทนและซอฟท์แวร์ต่างๆ (commissioning work/buying essays and software)
  • การพิสูจน์ทางอักษร ที่ไม่ได้รับการรับรองความเป็นต้นฉบับ (unacceptable proof-reading)
  • การตัดแปะข้อมูล บทความ หรืองานเขียนของผู้ขึ้นมาใช้ในผลงานของตนโดยไม่อ้างอิง (cut & paste)

ทั้งนี้ Plagiarism อาจเกิดขึ้นในหลายๆ รูปแบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็คือการคัดลอกผลงาน ขโมยไอเดียของผู้อื่น หรือการทำที่โกงในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง กุญแจสำคัญในการป้องกัน คือการระบุแหล่งที่มาของไอเดียอ้างอิงอย่างเหมาะสม

Plagiarism เป็นเรื่องร้ายแรงสำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งหากไม่มีการจัดการใดๆ จากมหาวิทยาลัย มันอาจสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและคุณภาพทั้งของนักศึกษาและมหาวิทยาลัยโดยรวม และไม่เป็นธรรมกับนักศึกษาคนอื่นๆ ที่พยายามศึกษาทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่ผลการเรียนกลับออกมาแย่กว่าคนที่ขโมยความคิดของคนอื่นมาใช้

ความรับผิดชอบในฐานะนักศึกษา

โดยทั่วไป นักศึกษามหาวิทยาลัย ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดเบื้องต้นที่สำคัญ ได้แก่ การอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลทั้งหมดที่นำมาใช้ ทั้งภายในเนื้อหาหลักของงานที่ส่ง และในส่วนอ้างอิงแยกต่างหาก การคัดลอก บิดเบือน หรือพยายามปิดบัง ไม่อ้างอิงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน อาจเสี่ยงต่อการถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งไม่เป็นผลดีกับสถานะทางการศึกษาด้วย

สำหรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยจะมองว่าเรามี First Degree คือจบปริญาตรีมาอยู่ก่อนแล้ว และเขาจะความคาดหวังว่าน้องๆ น่าจะคุ้นเคยกับวิธีการอ้างอิงเนื้อหา ตามอนุสัญญาด้านการศึกษาที่ใช้ในสหราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น Plagiarism จึงไม่เป็นที่ยอมรับไม่ว่าจะในกรณีใดๆ

นักศึกษาระดับ ป.โท โดยทั่วไปแล้วจะต้องทำวิจัยร่วมกับ supervisor อย่างใกล้ชิด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ควรขอคำแนะนำจากอาจารย์ของเราโดยตรง ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอ้างอิงต่างๆ

ปัจจุบันมีการนำซอฟต์แวร์ที่สามารถตรวจจับการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism-detecting software) มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่นโปรแกรม Turnitin ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบัน Plagiarism ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ความน่าเชื่อถือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ ลดลง มหาวิทยาลัยเองจึงมีสิทิ์ที่จะปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ทางวิชาการของตนเองเช่นกัน

วิธีจัดการกับ plagiarism ของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร

โดยทั่วไป หากสงสัยว่าอาจมีการ plagiarism เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านความเข้มงวดทางวิชาการของมหาวิทยาลัย จะดำเนินการสอบสวนเพื่อหาข้อชัดเจน โดยจะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงรายงานที่ได้รับการตรวจสอบโดยซอฟต์แวร์ด้วย หากพบว่ามีการ plagiarism เกิดขึ้นจริง มหาวิทยาลัยก็อาจจะมีการเชิญนักศึกษามาพูดคุยสอบถาม และกำหนดโทษเป็นลำดับ ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการ plagiarism นั้น ซึ่งโทษร้ายแรง อาจถึงขั้นให้พ้นจากการศึกษาหรือริบคืนวิทยฐานะ ซึ่งน้อง ๆ ควรใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการอ้างอิงบทความใด ๆ ก็ตามครับ

อ้างอิง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555, สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ การคัดลอกผลงานวิจัย ประเด็นสำคัญที่ควรรู้, สืบค้นจาก http://www.grad.chula.ac.th/download/files/Plagiarism.pdf Stang Mongkolsuk, 2551, Plagiarism คืออะไร, สืบค้นจาก https://stanglibrary.wordpress.com University of Birmingham, 2018, Guidance for students, สืบค้นจาก https://intranet.birmingham.ac.uk/as/studentservices/conduct/plagiarism/guidance-students.aspx

พบกับตัวแทนสถาบันที่งาน SI-UK University Fair 2024

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ เรียนต่ออังกฤษ และ UK ไม่ว่าจะเป็นระดับ ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท และ ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หลักสูตร คุณสมบัติ และขั้นตอนการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ UK สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานเรียนต่ออังกฤษ และ UK ได้ที่งาน SI-UK University Fair 2024 เพื่อพูดคุย ปรึกษาตรงกับตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ UK ฟรี!