เคร องหมายพ เศษ ล กเส อ ม.ๅ อย ข างไหน

สมช.ยุคทหารเส้นใหญ่ ล้วงลูกตั้ง ขรก.สไตล์แม้ว

เผยแพร่: 18 ต.ค. 2556 05:54 โดย: MGR Online

รายงานการเมือง

เป็นข่าวเล็กๆ ติดอยู่ตามหน้าสื่อ และนิ่งๆ มาเนียนๆ ไม่หวือหวา แต่เป็นอีกครั้งที่คนใน “ระบอบทักษิณ” กำลังซุ่มทำลายระบบราชการไทย

เมื่อคอยจับวางคนของตัวเองเข้าไปนั่งตำแหน่งสูงในหน่วยงานที่มีความสำคัญ โดยไม่สนใจธรมเนียบปฏิบัติของหน่วยงาน ตามคิวล่าสุดที่ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ชงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เห็นชอบแต่งตั้ง 2 รองเลขาธิการ สมช.

รายหนึ่งชื่อ “พรชาต บุนนาค” คนนี้ไม่มีปัญหา เป็น “ลูกหม้อ สมช.” ไต่เต้าขึ้นมาตามความอาวุโส จากที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง

แต่อีกราย “พล.ท.พงศกร รอดชมภู” ที่โดดข้ามห้วยมาไกลจาก กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วยเครื่องหมายคำถามว่า เป็นใคร มาจากไหน

แม้มองเผินๆเก้าอี้ “รองเลขาฯ สมช.” เป็นตำแหน่งธรรมดา ไม่มีอะไรใหญ่โตจนน่าตื่นเต้น เพราะไม่ถือว่าเป็นตำแหน่ง “หัวเรือ” ขององค์กรเหมือนตำแหน่ง “เลขาฯ สมช.” ที่ทรงอิทธิพลทางการเมือง โดยเฉพาะในยุครัฐบาลเพื่อไทยที่ใช้บริการจนดูเป็น “ยาสามัญประจำบ้าน”

แต่ในทางอ้อม หากล้วงไส้ล้วงพุงกันไปลึกๆ ก็เปลือยกายได้ล่อนจ้อนเหมือนกัน เพราะ 1 ใน 2 รองเลขาฯ สมช.คนใหม่ ดันเป็นประเภทพวก “เส้นใหญ่” มากันแบบระบบอุปถัมภ์ตามฟอร์ม “ระบอบแม้ว”

ยิ่งหากพลิกไปดูสาแหรกการทำงานของทั้งคู่แล้วยิ่งชัดแจ้งแดงแจ๋

เพราะในรายของ “พรชาต” จัดเป็นลูกหม้อขนานแท้ของสำนักงาน สมช. เติบโตมาตั้งแต่เป็นข้าราชการตัวเล็กๆ จนกระทั่งเติบใหญ่ งานด้านความมั่นคงได้รับการยอมรับในฝีมือลายมือ เรียกว่า ไต่เต้ามาตามลำดับอาวุโส ไม่ได้กระโดดข้ามหัวใครมา

แต่ในรายของ “พล.ท.พงศกร” คนนี้ ทำเอาหลายคนเซอร์ไพร์สกันไม่น้อย เพราะนอกจากไม่เป็นที่รู้จักแล้ว ยังไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามกันด้วยซ้ำ ที่สำคัญไม่ได้เป็นลูกหม้อสำนักงาน สมช. แต่อย่างใด เพราะถูกรับโอนมาจาก “กองบัญชาการกองทัพไทย” โดยตำแหน่งก่อนหน้านี้คือ “ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ” อยู่ดีๆ ก็ถูกจับยัดเข้ามานั่งในตำแหน่งรองเลขาฯ สมช.กันง่ายๆ

ทำเอาหลายคนงงเป็นไก่ตาแตก ก่อนจะถึงบางอ้อ เพราะที่แท้ “พล.ท.พงศกร” เป็นอีกหนึ่งผลิตผลของ นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 14 หรือ ตท.14 ที่กำลังเรืองอำนาจได้ดิบได้ดีกันในยุครัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”

โดย “ตท.14” ที่คุ้นหูกันดี ประกอบด้วย “บิ๊กโด่ง” พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก ที่รอคิวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งในอนาคต “บิ๊กแป๊ะ” พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม “บิ๊กแจ๊ด” พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล “บิ๊กโก้” พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ตลอดจน “เสธ.แมว” พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสมช. หัวหน้าคนใหม่ของ “พล.ท.พงศกร”

“พล.ท.พงศกร” จึงเข้าตำรา “มีวันนี้ เพราะเพื่อนให้” กันตามระเบียบ

กระนั้นก็ตาม แม้จะเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับ “เสธ.แมว” แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับฝีมือลายมือว่า ถึงหรือไม่ หรือมาได้เนื่องจากไม่เข้า “ทางตัน” สามารถเติบโตในสายทหารได้อีก เพราะต่างทราบกันดีในสายทหารว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ” ก็คือ ตำแหน่งบนหึ้งลอยๆที่รอวันเกษียณราชการนั่นเอง

ในความเป็นจริง “พล.ท.พงศกร” ก็ได้เริ่มฝึกงานมาพักใหญ่ เมื่อร่วมมาเป็นคณะทำงานของ “เสธ.แมว” ตั้งแต่เพื่อนรักเข้ารับตำแหน่งเบอร์หนึ่งของ สมช.ใหม่ๆ โดยร่วมทำงานอยู่ในคณะเจรจาสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็นกับเพื่อนๆ “ตท.14” เพียงแต่ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าใดนัก

กระทั่งเมื่อเดือนก่อน ตำแหน่ง “รองเลขาฯ สมช.” ต้องว่างลงถึง 2 ที่นั่ง เนื่องจากคนเก่าเกษียณอายุราชการ “เสธ.แมว” จึงสบช่องที่จะดึงคนของตัวเองเข้ามา

เดิมทีแว่วกันสนั่นว่า ตั้งใจจะใช้คนในเครือข่ายแบบกินเรียบ แต่เพื่อประคองสถานการณ์ภายในองค์กรไม่ให้ลุกเป็นไฟ จึงเอามาแค่หนึ่งคน แล้วปล่อยให้ตามลำดับอาวุโสอีกหนึ่งคน

อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาสถานการณ์ภายในองค์กรโดยไม่ตั้งคนของตัวเองกินเรียบทุกเก้าอี้ แต่การไปคว้าคนนอกเข้ามาในครั้งนี้ก็บั่นทอนกำลังใจของข้าราชการที่มีอายุงานในสมช.ไม่ต่ำกว่า 30 ปี ไม่น้อย เพราะตามลำดับชั้นจะต้องขยับขึ้นมาเติบโต

แต่กลายเป็นว่า “เสธ.แมว” ไปกอดคอเพื่อนตัวเองมาแซงคิวผู้ใต้บังคับบัญชาเสียอย่างนั้น

นับเป็นอีกครั้งที่สำนักงาน สมช.ในยุครัฐบาลเครือข่ายของ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” กำลังนำนายทหารที่ไม่สามารถเติบโตได้ในกองทัพมาสยายปีกในหน่วยงานพลเรือน

หากจำกันได้ก่อนหน้านี้ เหตุการณ์สร้างอาณาจักรทหารในหน่วยงานด้านความมั่นคงแห่งนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในยุครัฐบาลพรรคพลังประชาชน โดยสมัยนั้นมีการดึง “บิ๊กเผื่อน” พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 (ตท.10) รุ่นเดียวกับ “ทักษิณ” ข้ามห้วยจากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มานั่งในตำแหน่งเลขาฯ สมช.กันแบบโจษจันทั่วคุ้งทั่วแคว

แถมจากนั้นไม่นานก็มีการรุกคืบอีกทอดด้วยการดึง “เสธ.แมว” จากตำแหน่งโฆษกกระทรวงกลาโหม มานั่งในตำแหน่งรองเลขาฯ สมช. ในขณะนั้น

ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะทั้ง 2 รายไม่ได้หวือหวา หรือโดดเด่นอะไร แต่กลับได้ดิบได้ดี เพราะโดยปกติในอดีตการโยกย้ายนายทหารมานั่งในตำแหน่งเลขาฯ หรือรองเลขาฯ สมช.นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งจนเป็นที่ยอมรับ แล้วหน่วยงานราชการจะลงทุนไปสู่ขอหรือเชื้อเชิญให้โอนย้ายมา

โดยนายทหารดังๆ ที่มานั่งตำแหน่งเลขาธิการ สมช.ที่รู้จักกันดี อาทิ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา - พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ - น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ซึ่งแต่ละคนมักจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่โดดเด่นจนได้รับการยอมรับ

ครั้นพอมาถึงรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” บุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนใน สมช.เริ่มเติบโต และมีศักยภาพให้เลือกใช้มากขึ้น จึงไม่โอนนายทหารมานั่งคุมบังเหียน และเปิดโอกาสให้ลูกหม้อได้ไต่เต้าขึ้นมา

แต่แล้วเมื่อ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” กลับเข้ามามีอำนาจในฝ่ายบริหาร สำนักงาน สมช.จึงกลับเข้าสู่ยุคนายทหารใกล้ชิด “ฝ่ายการเมือง” เพ่นพ่านกันอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่กลับขึ้นแท่นเลขาฯสมช.ของ “เสธ.แมว” และล่าสุดกับการมาของ “พล.ท.พงศกร”

เข้าตำรา “ระบอบทักษิณ” เป๊ะๆ ผลงานไม่ต้อง สำคัญแค่คนของใคร!!

ขณะเดียวกัน การมาของ “พล.ท.พงศกร” ยังมีผลดีทางอ้อมกับ “เสธ.แมว” เองด้วย เพราะต้องอย่าลืมว่า วันนี้เก้าอี้ “เลขาฯ สมช.” ที่นั่งค่อมอยู่เพลินๆ กำลังร้อนผ่าว โครงเครงไม่มั่นคง ด้วยเร็วๆนี้ ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในคดีที่ “ถวิล เปลี่ยนศรี” ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ถูกเด้งเข้ากรุแบบไม่เป็นธรรม

หากศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้คืนตำแหน่งเลขาฯ สมช.ให้กับ “ถวิล” นั่นจะทำให้ “เสธ.แมว” สิ้นสภาพทันที ดังนั้น การวาง “พล.ท.พงศกร” เอาไว้ในตำแหน่งรองเลขาฯ สมช. แม้จะไม่ถึงขั้นจะเป็น “อะไหล่สำรอง” เอาไว้คอยเปลี่ยนยามฉุกเฉิน แต่ก็ถือว่าส่งเครือข่ายเข้าไปฝัง เพื่ออย่างน้อยจะได้เกาะติดความเคลื่อนไหวของฝั่งตรงข้าม ด้วยเพราะตำแหน่ง “รองเลขาฯ สมช.” นี้ จะต้องเข้าร่วมประชุมและทำงานกับเลขาฯ สมช.ด้วยตลอด

พยัญชนะต้นคืออะไร ยกตัวอย่างและอธิบาย

พยัญชนะต้น คือ พยัญชนะตัวแรกที่ประสมกับสระทำให้อ่านออก เสียงแปรไปต่าง ๆ เช่น “โรงเรียน” พยัญชนะต้นของพยางค์แรก “โรง” คือ “ร เรือ” เป็นต้น คำที่มี “ร” เป็นพยัญชนะต้น การอ่านคำที่มีร เรือเป็นพยัญชนะต้น เวลาอ่านออกเสียงจะกระดก ลิ้น เช่น แร้ง รถ รัก รกร้าง รองรับ รุกราน รสชาติเป็นต้น

พญัชณะภาษาไทยมีกี่รูป กี่เสียง

เสียงพยัญชนะไทย ๒๑ เสียง รูปพยัญชนะไทย ๔๔ รูป ๑. /ก/ ก ๒. /ค/ ข ฃ ค ฅ ฆ ๓. /ง/ ง ๔. /จ/ จ ๕. /ช/ ช ฌ ฉ ๖. /ซ/ ซ ส ศ ษ ๗. /ด/ ด ฎ ๘. /ต/ ต ฏ ๙. /ท/ ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ ๑๐. /น/ น ณ ๑๑. /บ/ บ ๑๒. /ป/ ป ๑๓. /พ/ พ ภ ผ ๑๔. /ฟ/ ฟ ฝ ๑๕. /ม/ ม ๑๖. /ย/ ย ญ ๑๗. /ร/ ร ๑๘. /ล/ ล ฬ ๑๙. /ว/ ว ๒๐. /ฮ/ ฮ ห ๒๑. /อ/ อ

21เสียง มีอะไรบ้าง

การใช้อักษรแทนเสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะ ในไทย มี 21 หน่วยเสียง คือ เสียง /ก/ /ค/ /ง/ /จ/ /ช/ /ซ/ /ด/ /ต/ /ท/ /น/ /บ/ /ป/ /พ/ /ฟ/ /ม/ /ย/ /ร/ /ล/ /ว/ /อ/ /ฮ/ มีตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะ 44 รูป พยัญชนะบางเสียงมีรูปมากกว่าเสียง ดังนี้

พยางค์มีลักษณะอย่างไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ 3 ตัวอย่าง

พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ พยางค์ประกอบด้วย เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอาจมีเสียงตัวสะกดด้วย เช่น มา ม เป็นเสียงพยัญชนะต้น+า เป็นเสียงสระ+เสียงวรรณยุกต์สามัญ บ้าน บ เป็นเสียงพยัญชนะต้น+า เป็นเสียงสระ+น เป็นเสียงตัวสะกดแม่กน+เสียงวรรณยุกต์โท