ม.รามคำแหง ค าร กษาสถานภาพน กศ กษา ป.โท ภาคพ เศษ

ข้อมูลการสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติ และพรีดีกรี(Pre-degree) ประจำภาคเรียนที่ 1/2566 ส่วนภูมิภาค รับสมัครผ่านระบบของมหาวิทยาลัย(ไม่ใช่ระบบ TCAS)

ม.รามคำแหง ค าร กษาสถานภาพน กศ กษา ป.โท ภาคพ เศษ

ประเภทที่รับสมัคร


เรียนจบมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้จบมัธยมศึกษาตอนต้น และ เป็นผู้ที่กำลังศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย

เป็นผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย /เทียบเท่า หรือสูงกว่า เท่านั้น และไม่ขอใช้สิทธิเทียบโอนหน่วยกิต

ใช้วุฒิ ม.6 เทียบเท่า หรือสูงกว่าสมัครเรียน

ปริญญาตรี(ใช้สิทธิเทียบโอน)

เป็นผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย /เทียบเท่าหรือสูงกว่าขึ้นไป และขอใช้สิทธิเทียบโอนหน่วยกิต ดังนี้ 1.จบการสถาบันอื่น (อนุปริญญา หรือเทียบเท่าขึ้นไป) 2.ย้ายโอนจากสถาบันการศึกษาอื่น (กรณีไม่จบการศึกษาจากสถาบันอื่น) 3.หมดสถานภาพ น.ศ. จาก ม.ร. 4.เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน 5.ปริญญาที่ 2 จาก ม.ร.

ใช้วุฒิ ม.6 เทียบเท่า หรือสูงกว่าสมัครเรียน

หลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติและพรีดีกรี


– ข้อมูลดังต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติ และพรีดีกรี ส่วนภูมิภาค – หลักสูตรที่ปรากฎในเว็บไซต์นี้เป็นหลักสูตรที่เปิดรับสมัครปีการศึกษา 2565 ตามรายที่ปรากฏในระเบียบการรับสมัครฯ

– สาขาวิชานิติศาสตร์ Code 0100

– สาขาวิชาวิชาการจัดการ Code 0201

– วิชาเอกการบริหารรัฐกิจ Code 0601

– สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล Code 5414

ความในใจของนักศึกษาที่เป็นแรงบันดาลใจ


ช่องทางการรับสมัครและวันรับสมัคร

— หมายเหตุ ผู้สมัครที่ต้องการเทียบโอนหน่วยกิต สามารถสมัครได้ผ่านระบบออนไลน์หรือสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น (ห้ามสมัครผ่านระบบไปรษณีย์)

ม.รามคำแหง ค าร กษาสถานภาพน กศ กษา ป.โท ภาคพ เศษ

สมัครผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 1 พฤษภาคม – 2กรกฎาคม 66 สมัครได้ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งแบบเทียบโอนและไม่เทียบโอนหน่วยกิต ผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.iregis2.ru.ac.th


สมัครด้วยตนเอง ที่มหาวิทยาลัย

รอบที่ 1 วันที่ 18-21 พฤษภาคม 66 รอบที่ 2 วันที่ 29 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 66 รับสมัครทั้งแบบเทียบโอนและไม่เทียบโอนหน่วยกิต รับสมัครที่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงราย


สมัครผ่านไปรษณีย์

วันที่ 1 พฤษภาคม – 23 มิถุนายน 66 สมัครได้ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เฉพาะผู้ที่ไม่เทียบโอนหน่วยกิต

การสมัครและเทียบโอนหน่วยกิต


ข้อมูลการสมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิต เมื่อยื่นสมัครด้วยวุฒิการศึกษาประเภทต่างๆ

“จบการศึกษาจากสถาบันอื่น”


หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุปริญญา เป็นต้นไป (ปวส. ปริญญาตรี-โท-เอก)


หมายถึง ผู้ที่เคยเรียนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถาบันต่างๆ(ยกเว้นม.รามคำแหง) แต่ไม่จบการศึกษา(รีไทร์, ลาออก,​ ซิ่ล) และต้องการนำหน่วยกิตจากสถาบันนั้นๆโอนมาเรียนต่อที่ม.รามคำแหง

“หมดสถานภาพนักศึกษาจาก ม.รามคำแหง”


หมายถึง นักศึกษาเก่ารามคำแหง ที่ขาดสถานภาพ, ครบ8ปียังไม่จบ, หมดสถานภาพ แต่มีหน่วยกิตที่เคยสะสมเอาไว้ ให้เทียบโอนประเภทนี้

“เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน”


หมายถึง ท่านเคยสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงมาก่อน และจบการศึกษาจากสถาบันอื่นๆแล้ว(ตั้งแต่วุฒิ ปวส.) และต้องการนำหน่วยกิตทั้งสองแห่งมารวมกัน ให้เลือกสมัครประเภทนี้

“ปริญญาที่ 2 จากม.รามคำแหง”


หมายถึง เฉพาะศิษย์เก่ารามคำแหง ที่จบปริญญาเรียบร้อยแล้ว และต้องการเทียบโอนเรียนเพิ่มอีกหนึ่งใบ

“เทียบโอน Pre-degree ม.รามคำแหง”


หมายถึง เมื่อนักศึกษาพรีดีกรีเรียนจบชั้น ม.6 เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นสมัครด้วยวุฒิ ม.6 พร้อมเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมไว้ในระบบพรีดีกรี

ระบบการศึกษาแบบเรียนครั้งละ 1 วิชา (Block course system) กล่าวคือ เรียนจนจบกระบวนวิชานั้นแล้วจึงเรียนวิชาถัดไป แต่ละวิชามีชั่วโมงการเรียนรวมไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง (รายละเอียดในการเรียนดูจากตารางเรียนที่กำหนดไว้) บรรยายโดยระบบ Video Conference และสื่อสารสองทางผ่านดาวเทียมและใยแก้วนำแสง ไปยังสาขาวิทยบริการฯ ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคและที่วิทยาเขตบางนา (สอนวันอังคาร - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น.วันเสาร์ 08.00 - 21.00 น. และวันอาทิตย์ 08.00 - 17.00 น.)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา

คุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษสาขาวิทยบริการฯ) มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัย หรือ ก.พ.รับรอง 2. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่เป็นอุปสรรต่อการศึกษา 3. ไม่เป็นผู้เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เนื่องจากการกระทำความผิด หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย 4. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ 5. คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงกำหนด

หลักฐานในการสมัคร

1. หลักฐานแสดงคุณวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่า 2. ใบรายงานผลการเรียน (Transcript) 3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป 4. หลักฐานแสดงการปฏิบัติงาน หรือการดำรงตำแหน่ง หรือใบแนะนำตัว (Recommendation) ของผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่อ้างอิงได้

วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

1. พิจารณาเบื้องต้นจากใบสมัคร ซึ่งจะครอบคลุมสาขาวิชาเป็นพื้นฐานในระดับปริญญาตรี ผลการศึกษา ทักษะในการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา 2. การสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครจะต้องผ่านการสัมภาษณ์ และ/หรือ ทดสอบศักยภาพตามที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงกำหนด โดยเป็นผู้มีบุคลิภาพที่เหมาะสม มีวิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ วุฒิภาวะ และการแสดงออกในด้านความพร้อมอื่น ๆ ที่สามารถเข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษาได้ 3. มหาวิทยารามคำแหง เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาผลการคัดเลือกและเป็นเอกสิทธิ ของมหาวิทยาลัยที่จะพิจารณารับผู้ใดเข้าศึกษาหรือไม่ ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาที่ 1 (First Semester) ภาคการศึกษาที่ 2 (Second Semester)

ระยะการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาเพื่อรับปริญญามหาบัณฑิต กำหนดให้ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยสอบผ่านได้คะแนนสะสม (G.P.A.) ไม่น้อยกว่า 3.0 การนับระยะเวลา 5 ปีการศึกษา ให้คำนวณเป็นภาคการศึกษาโดย 1ปีการศึกษา มี 2 ภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาจะต้องมีเวลาเรียนคิดเป็นร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมด

โครงสร้างหรือองค์ประกอบของหลักสูตร

1. องค์ประกอบของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ สาขาวิทยบริการฯ) มีดังนี้

1.1 หมวดวิชาเสริมปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 1.2 หมวดวิชาแกนบังคับ 1.3 หมวดวิชาเฉพาะ 1.4 หมวดวิชาเลือก 1.5 หมวดวิชาศึกษาค้นคว้าด้วยตังเอง 1.6 สอบประมวลความรู้ รวม

0 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต 3 หน่วยกิต 3 หน่วยกิต *_ หน่วยกิต 48 หน่วยกิต

2. องค์ประกอบของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) ภาคพิเศษ สาขาวิทยบริการฯ มีดังนี้

2.1 หมวดวิชาปรับพื้นฐาน 2 วิชา (ED 501,ED 502) (สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นความรู้ทางการศึกษา ยกเว้นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาไม่น้อยกว่า 3 ปี) 2.2 หมวดวิชาพื้นฐาน 3 วิชา 2.3 หมวดวิชาเอก 12 วิชา 2.4 หมวดการศึกษาอิสระ 1 วิชา 2.5 สอบประมวลความรู้ รวม

0 หน่วยกิต

9 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต 3 หน่วยกิต *_ หน่วยกิต 48 หน่วยกิต

3. องค์ประกอบของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาวิทยบริการฯ มีดังนี้

3.1 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (PS 503) 3.2 หมวดวิชาพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ 3.3 หมวดวิชาบังคับ 3.4 หมวดวิชาบังคับเลือก 3.5 หมวดวิชาการศึกษาแบบอิสระ 3.6 สอบประมวลความรู้ รวม 0 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต 18 หน่วยกิต 3 หน่วยกิต *_ หน่วยกิต 45 หน่วยกิต

การลงทะเบียน

1. มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน ในการลงทะเบียนเรียนนักศึกษาต้องใช้เอกสารต่าง ๆ สำหรับลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และต้องแสดงใบเสร็จรับเงิน ใบลงทะเบียนตามวัน เวลา และสถานที่ ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาที่มาลงทะเบียนเรียนช้ากว่ากำหนดต้องถูกปรับตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาจะต้องนำหลักฐานการลงทะเบียนและบัตรประจำตัวนักศึกษามาแสดงทุกครั้งที่มีการสอบ 2.นักศึกษาแต่ละคนมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่คณะแต่งตั้งและมอบหมายให้ทำหน้าที่ เป็นผู้แนะแนวและจัดแผนการศึกษา ตลอดจนการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) การลงทะเบียนและการสอบประมวลความรอบรู้ทุกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจาก อาจารย์ที่ปรึกษา รายละเอียดอื่น ๆ เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดการวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

วิธีการวัดผล

มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการวัดผลสำหรับกระบวนวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนไว้ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง การวัดผลอาจทำในระหว่างการศึกษาก็ได้ เมื่อสิ้นการศึกษาวิชาหนึ่งจะมีการสอบไล่ในแต่ละกระบวนวิชา บางกระบวนวิชาอาจไม่มีการสอบไล่ตอนปลายภาคการศึกษาแต่อาจใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลในลักษณะอื่น ซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ทราบไว้ในประกาศกระบวนวิชาที่เปิดสอน

การวัดและการประเมินผลของแต่ละกระบวนวิชาใช้อักษรระดับคะแนนดังนี้

อักษรระดับคะแนน A A- B+ B B- C+ C C- D I

แต้มระดับคะแนนต่อหน่วยกิต 4.00 3.67 3.33 3.00 2.67 2.33 2.00 1.67 1.00 สัญลักษณ์สำหรับวิชาที่ยังสอบไม่ผ่าน

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

มหาวิทยาลัยจะเสนอชื่อนักศึกษาเพื่อรับปริญญาหลังจากที่มหาวิทยาลัยได้ตรวจเงื่อนไขต่อไปนี้ครบถ้วนแล้วคือ สอบวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตรและวิชาเสริมพื้นฐานได้สัญลักษณ์ "S" ได้ศึกษากระบวนวิชาต่าง ๆ และสอบได้ตามหน่วยกิตครบตามหลักสูตร ได้ผลการศึกษาคิดเป็นแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สอบประมวลความรอบรู้ให้ได้สัญลักษณ์ "S" นักศึกษาแต่ละคนมีโอกาศ ที่จะสมัครสอบประมวลความรู้ ู้ได้สองครั้ง ได้ศึกษากระบวนวิชา RU 100 ความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งในปีการศึกษา 2544 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม เน้นการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสันติสุข จึงให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนวิชา RU 100 โดยไม่นับหน่วยกิต ละไม่เก็บค่าหน่วยกิตแต่เป็นวิชาบังคับทุกสาขาวิชาจะต้องสอบผ่านจึงจะสำเร็จการศึกษาได้ โดยมีผลการสอบเป็นสัณลักษณ์ "S"