ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง

การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์

การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์

การแบ่งภูมิภาคมีประโยชน์ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในกรอบของพื้นที่รวมทั้งหมด แต่การแบ่งภูมิภาคอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้เนื่องจากการแบ่งนั้นกระทำได้หลายวิธีแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการแบ่งก็จะแตกต่างกันสุดแต่ว่าจะเป็นวิธีการของหน่วยงานใดหรือนักวิชาการสาขาใด สำหรับงานจัดทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ของราชบัณฑิตยสถานยึดถือตามการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ การแบ่งดังกล่าวนี้ ได้อาศัยเกณฑ์ในด้านลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ แต่ก็ได้นำลักษณะทางด้านภูมิอากาศ วัฒนธรรมด้านเชื้อชาติ ภาษา และความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภูมิภาค คือ ๑. ภาคเหนือ มี ๙ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์ ๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ๔. ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ๕. ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ๖. ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา นอกจากการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ตามข้อเสนอของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติแล้ว ยังมีหน่วยงานที่จัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยที่สำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งคือ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภาค และมีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้ –ภาคเหนือ มี ๑๗ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี –ภาคกลาง มี ๙ จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร –ภาคตะวันออก มี ๙ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด –ภาคตะวันตก มี ๘ จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

นางสาวนฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ ๗ ว กองธรรมศาสตร์และการเมือง

แผนที่ประเทศไทย 77 จังหวัด เป็นการจำแนกตามภูมิประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ด้านรัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รวมถึงแบ่งตามการดูแลของระบบราชการ เพื่อจัดเก็บภาษีและรายได้ แผนที่ประเทศไทย ถือเป็นความรู้รอบตัวสำหรับการเดินทาง และวางแผนต่างๆ ในอนาคต

แผนที่ประเทศไทย แบ่งภาค 6 ภาคอะไรบ้าง

ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง

แผนที่ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 6 ภาค ตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งใช้เกณฑ์ภูมิประเทศเป็นหลัก ดังนี้

  1. ภาคเหนือ
  2. ภาคตะวันตก
  3. ภาคกลาง
  4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  5. ภาคตะวันออก
  6. ภาคใต้

ราชบัณฑิตยสภา ยึดการแบ่งภูมิภาคตามความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2520 ตามเกณฑ์ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางด้านภูมิอากาศ วัฒนธรรมด้านเชื้อชาติ ภาษา และความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น และแบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคเช่นกัน ได้แก่

1. ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์

2. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก 21 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม 3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 19 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

4. ภาคตะวันออก มี 7 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 5. ภาคตะวันตก มี 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 6. ภาคใต้ มี 14 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค และมีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้

1. ภาคเหนือ มี 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี

2. ภาคกลาง มี 9 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

3. ภาคตะวันออก มี 9 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

4. ภาคตะวันตก มี 8 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

แผนที่ประเทศไทยภาคต่างๆ ประกอบด้วยจังหวัดอะไรบ้าง

แผนที่ประเทศไทย ภาคเหนือ

ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง
แผนที่ประเทศไทย : ภาคเหนือ

ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่สูง มีภูเขาสูง อากาศเย็นในช่วงฤดูหนาว และมีพืชพรรณนานาชนิดที่สวยงาม อากาศเย็นสบาย และมักปรับปรุงพื้นที่ทำเป็นไร่ชา ไร่กาแฟ รวมถึงปลูกพืชผัก ความสำคัญของภาคเหนือ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะ แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นต้นทางของสาขาแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ คือฤดูหนาว นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปบนภู หรือที่เรียกว่า ม่อน ต่างๆ เพื่อสัมผัสอากาศเย็น และถ่ายรูปกับดอกไม้ที่บานในฤดูหนาวอย่างสวยงาม

  • น่าน
  • พะเยา
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • อุตรดิตถ์
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน

แผนที่ประเทศไทย ภาคกลาง

ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง
แผนที่ประเทศไทย : ภาคกลาง

ภาคกลาง คือพื้นที่ราบลุ่ม เป็นทางผ่านของแม่น้ำสำคัญหลายสาย ทำให้พื้นที่เหมาะกับการเพาะปลูก รวมถึงเป็นแหล่งตั้งบ้านเรือนของประชาชนตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งชุมชนเก่าจะมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เช่น จังหวัดสุโขทัย จังหวัดลพบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนพื้นที่ติดริมทะเลอย่างกรุงเทพมหานคร และจังหวัดข้างเคียงก็เป็นเมืองท่าในการแลกเปลี่ยนสินค้านำเข้า ส่งออก

  • กรุงเทพมหานคร
  • กำแพงเพชร
  • ชัยนาท
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ลพบุรี
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุโขทัย
  • อุทัยธานี
  • อ่างทอง
  • เพชรบูรณ์

แผนที่ประเทศไทย ภาคอีสาน หรือภาคจะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง
แผนที่ประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคอีสาน คือพื้นที่ราบสูง ไม่ติดทะเล ประกอบด้วยเทือกเขาล้อมรอบทำให้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแม่น้ำโขงเป็นแหล่งกั้นพรมแดนธรรมชาติ ส่วนพื้นที่โดยรอบแม่น้ำโขงก็เป็นพื้นที่เพาะปลูก และแหล่งที่อยู่ของผู้คนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังค้นพบแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ และค้นพบภาพวาดมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตามถ้ำต่างๆ รวมถึงตำนานเรื่องเล่า ที่สร้างให้เมืองอีสานเป็นเมืองที่น่าค้นหา

  • กาฬสินธุ์
  • ขอนแก่น
  • ชัยภูมิ
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สุรินทร์
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ
  • อุดรธานี
  • อุบลราชธานี
  • เลย

แผนที่ประเทศไทย ภาคใต้

ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง
แผนที่ประเทศไทย : ภาคใต้

ภาคใต้ คือ แผ่นดินด้านล่างสุดของประเทศไทย ที่มีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงตามลักษณะด้ามขวาน และมีทะเล มหาสมุทรประกบทั้งสองฝั่ง มีทะเลทอดยาวรวมกันกว่า 2,400 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ 13.78% ของที่ดินในประเทศไทย มีสภาพอากาศฝนตกมากที่สุดของประเทศไทย และอุณหภูมิเฉลี่ย 20 - 28.1 องศาเซลเซียสตลอดปี มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี เป็นต้น จังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ มีดังนี้

  • กระบี่
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • นครศรีธรรมราช
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • พังงา
  • พัทลุง
  • ภูเก็ต
  • ยะลา
  • ระนอง
  • สงขลา
  • สตูล
  • สุราษฎร์ธานี

แผนที่ประเทศไทย ภาคตะวันออก

ภาคตะว นเหน อ ม จ งหว ดอะไรบ าง
แผนที่ประเทศไทย : ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก คือพื้นที่ติดทะเล และไม่ติดทะเล มีจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ ชลบุรี, ระยอง และตราด แหล่งท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะช้าง เกาะล้าน เกาะหมาก รวมถึงเป็นภูมิภาคที่เหมาะแก่การเพาะปลูกผลไม้ ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศอย่าง ทุเรียน

  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ตราด
  • ปราจีนบุรี
  • ระยอง
  • สระแก้ว

แผนที่ประเทศไทย ภาคตะวันตก

ภาคตะวันตก บางหน่วยงานรวมไปอยู่กับภาคเหนือ หรือภาคใต้ แต่เมื่อแบ่งตามภูมิศาสตร์ ภาคตะวันตกแบ่งเป็น 5 จังหวัด ได้แก่

ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด มี อะไร บ้าง

จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ สุโขทัย อุทัยธานี และ อุตรดิตถ์ เพื่อทบทวนแนวนโยบาย ทิศทางการปฏิบัติ

ภาคเหนือมีกี่จังหวัด ล่าสุด

–ภาคเหนือ มี ๑๗ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี –ภาคกลาง มี ๙ จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

ภาคแต่ละภาคมีจังหวัดอะไรบ้าง

การเปรียบเทียบ.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทั้งหมดกี่จังหวัด อะไรบ้าง

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลําภู จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบึงกาฬ (จังหวัดบึงกาฬก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554) โดยมี จังหวัดอุดรธานี เป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และสํานักบริหาร ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด มีผู้ ...