คนไทยในภาคใต ม ค ณภาพช ว ตเป นอย างไร

ภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำเป็นระยะเวลานานเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี โดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอเกิดฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เกิดผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิต การเกษตร และระบบนิเวศในพื้นที่เกิดภัย

สาเหตุการเกิดภัยแล้ง อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  1. โดยธรรมชาติ
    • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก เช่น ระบบการหมุนเวียนหรือส่วนผสมของบรรยากาศเปลี่ยนแปลง สภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ
    • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย ดินเก็บความชื้นต่ำได้ไม่ดี ปริมาณน้ำใต้ดินมีน้อย
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
    • ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง
    • ความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศน้อยกว่าปกติ
  2. โดยการกระทำของมนุษย์
    • การใช้น้ำอย่างไม่เหมาะสมหรือสิ้นเปลืองเกินไป ทั้งการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำใต้ดินลดลง
    • พฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ทำลายชั้นโอโซน เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เช่น การเผาพลาสติก น้ำมัน และถ่านหิน
    • การพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดต้นไม้ซึมซับน้ำ และเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า ถือครองกรรมสิทธิ์ปลูกพืชไร่
    • ระบบการเพาะปลูกและความถี่ของการเพาะปลูก
    • ขาดการวางแผนการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์จากน้ำฝน

(ที่มา หนังสืออยู่กับภัยใกล้ตัว สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร)

ผลกระทบของภัยแล้ง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะภัยแล้งมีดังนี้

  1. ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค และการเลี้ยงปศุสัตว์
  2. เกิดการกัดเซาะ กัดกร่อนภูมิทัศน์ พื้นดินแห้งแล้งและเกิดการพังทลายของผิวดิน
  3. เกิดฝุ่นละออง พายุฝุ่น เพราะพื้นดินแห้งแล้งขาดน้ำ
  4. ประชาชนเกิดความอดอยากเนื่องจากการขาดน้ำในการอุปโภคบริโภค
  5. เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบทั้งบนบกและในน้ำ
  6. เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร และเพิ่มโอกาสเกิดโรคระบาด
  7. เกิดการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
  8. ผลผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการไหลของน้ำผ่านเขื่อนลดลง
  9. การประกอบการด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เพราะขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการขบวนการผลิต
  10. เพิ่มโอกาสการเกิดไฟป่าในช่วงเกิดภัยแล้ง

ช่วงเวลาการเกิดภัยแล้งในประเทศไทย

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน โดยเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
  2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71)

พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนวดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง

ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ ธปท. ในการดูแลเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินไทย ทั้งในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไทยปกติและในช่วงวิกฤต

มาตรการแก้หนี้ระยะยาว

  • กฎหมายและประกาศ

    ค้นหากฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และหนังสือเวียนที่ ธปท. ใช้ในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ รวมถึงกฎหมายที่ ธปท. เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันให้สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายดังกล่าว
  • เศรษฐกิจการเงินไทย

    ค้นหาข้อมูลและบทวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจการเงิน และตลาดการเงิน
  • วิจัยและเอกสารเผยแพร่

    บทความวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายสาธารณะให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมถึงเอกสารเผยแพร่ที่จัดทำขึ้นโดย ธปท.

สถิติและข้อมูลเผยแพร่

ข้อมูลสถิติที่สะท้อนกิจกรรมหรือภาวะต่าง ๆ ของภาคเศรษฐกิจ การคลัง การเงิน และสถาบันการเงิน ซึ่งสนับสนุนการปฏิบัติงานตามพันธกิจของ ธปท. รวมถึงกรอบการใช้ประโยชน์และจัดการข้อมูลของ ธปท. และข้อมูลที่เผยแพร่แก่องค์กรภายนอกระหว่างประเทศ