76 ม.1 ต.ตลาดขว ญ อ.เม องนนทบ ร นนทบ ร 11000

คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์

คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์ซึ่งอาจส่งผลกระทบจากใช้งานในบางส่วน กรุณาเลือกใช้เบราว์เซอร์หรืออัพเกรดเบราว์เซอร์ให้ตรงกับรายการข้างล่างเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเยี่ยมชมเว็บไซด์

ตำบลตลาดขวัญในอดีตยังเป็นชื่อชุมชนเก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรีที่เรียกว่า บ้านตลาดขวัญ ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ได้ทรงยกฐานะหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าบ้านตลาดขวัญแห่งนี้ให้มีฐานะเป็นเมืองนนทบุรีในปี พ.ศ. 2092 เพื่อประโยชน์ต่อการเกณฑ์ไพร่พลหากเกิดสงคราม รวมทั้งให้เป็นเมืองท่าและหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยา

ชุมชนตลาดขวัญตั้งอยู่ในริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้ของวัดท้ายเมือง โดยมีหอทะเบียนที่ดินเก่า (บริเวณโรงเรียนเทศบาล 1 ถนนนนทบุรี 1) เป็นสิ่งยืนยันความเก่าแก่ของชุมชนแห่งนี้ ปัจจุบันท้องที่ของตำบลในอำเภอเมืองนนทบุรีที่มีชื่อว่า "ตลาดขวัญ" นั้น ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา แต่อยู่ลึกเข้ามาตอนใน ส่วนบริเวณชุมชนบ้านตลาดขวัญอันเป็นที่ตั้งเมืองนนทบุรีโบราณนั้น ทุกวันนี้อยู่ในเขตตำบลบางกระสอและตำบลสวนใหญ่

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลตลาดขวัญตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองนนทบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางกระสอ (อำเภอเมืองนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางคลองบางซื่อและมีแนวกึ่งกลางซอยติวานนท์ 18 (ปิ่นประภาคม) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางเขน (อำเภอเมืองนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางซอยงามวงศ์วาน 2 (อัคนี) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางเขน (อำเภอเมืองนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางคลองบางตะนาวศรีและแนวเขตสมมุติระหว่างสุดซอยประชาราษฎร์ 3 (พันเอกหาญ) กับสุดซอยพิบูลสงคราม 10 (สุขนิรันดร์ 1) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสวนใหญ่ (อำเภอเมืองนนทบุรี) มีแนวเขตสมมุติตั้งแต่สุดซอยพิบูลสงคราม 10 (สุขนิรันดร์ 1) ผ่านปากซอยพิบูลสงคราม 13 (บุรีรังสรรค์) ถึงคลองบางแพรกเหนือ รวมทั้งแนวกึ่งกลางคลองบางแพรกเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ตำบลตลาดขวัญแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 หมู่บ้าน ปัจจุบันตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ถูกยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากตำบลตลาดขวัญอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีทั้งตำบล แต่ระบบหมู่ยังไม่ได้ถูกยกเลิกไปอย่างสิ้นเชิงและยังมีความสำคัญต่อการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของราชการ เช่น การกำหนดเลขหมายประจำบ้าน การระบุที่อยู่ทางไปรษณีย์ การแบ่งเขตเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การกำหนดพื้นที่บริการของโรงเรียน เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  • ฐานข้อมูลสารสนเทศจังหวัดนนทบุรี. รายชื่อตำบล หมู่บ้าน เทศบาล อบต. และขนาดพื้นที่ : อำเภอเมือง.[ลิงก์เสีย] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 40.