ขออน ม ต ให คร ไปด งานออกนอกสถานท กทม

คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวหากเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นอันสิ้นสุด แต่หากก่อนเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้ง จะสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เท่าระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่

วิธีการแจ้ง

1. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนพร้อมเงินค่าธรรมเนียม
  1. ติดต่อด้วยตนเอง ณ ที่ทำการของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

  1. หนังสือเดินทาง (Passport)
  2. แบบคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (ตม.8) พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 4×6 ซม. (ไม่เกิน 6 เดือน)
    • คลิกดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ตม. 8
  3. สำเนาเอกสารหนังสือเดินทาง อย่างละ 1 ฉบับ ดังต่อไปนี้
    • หน้าข้อมูลบุคคล
    • หน้าวันหมดอายุหนังสือเดินทาง
    • หน้าแก้ไขข้อมูลบุคคล (ถ้ามี)
    • หน้าตราประทับอนุญาตเข้าราชอาณาจักรครั้งล่าสุด
    • หน้าตราประทับอนุญาตการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร (ถ้ามี)
  4. บัตรขาออก (ตม.6) และสำเนา 1 ฉบับ
  5. เอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฉบับจริง และสำเนา 1 ฉบับ (กรณีปรากฏเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร)
  6. ค่าธรรมเนียมการยื่นขออนุญาต 1,000 บาท สำหรับหนึ่งครั้ง และ 3,800 บาท สำหรับเกินกว่าหนึ่งครั้ง

สถานที่ยื่นคำร้อง

สำหรับคนต่างด้าวที่พักอาศัยหรือประกอบกิจการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ยื่นที่ : กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ชั้น 2 อาคารบี (ด้านทิศใต้) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

สำหรับแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่พำนักอาศัยและทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

ยื่นที่

  1. ศูนย์บริการแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาราษฎร์บูรณะ
  2. ศูนย์บริการแรงงานต่างด้าว ณ ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว
  3. ศูนย์บริการแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาดอนเมือง

สำหรับคนต่างด้าวตามกฎหมายพิเศษ คือ กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม กฎหมายว่าด้วยการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมืองการแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด”

ในการแจ้งที่พักคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัยในเคหะสถานซึ่งได้แก่ โรงแรมที่ได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติโรงแรมฯและเกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการหรือบ้านเช่าทั่วๆไป ให้เจ้าของเคหสถานดังกล่าว เจ้าของบ้านเช่า หรือผู้ประกอบการแจ้งตามแบบ ตม. 30

กรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่ งานแจ้งที่พักอาศัย กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 กรณีที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ให้แจ้ง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในเขตพื้นที่ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

ในการดำเนินการแจ้งที่พักของคนต่างด้าวตาม มาตรา 38ฯ ดังกล่าวนั้น สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้กำหนดรูปแบบและวิธีให้บริการเพื่อผู้มาขอรับบริการได้เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการดังนี้

  • นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง หรือ
  • แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ
  • แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)

วิธีที่ 1 นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง

นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง ที่ช่องบริการแจ้งที่พักอาศัย (ตม.30) ชั้น 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ (ในวันและเวลาราชการ)

วิธีที่ 2 แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

  1. กรอกแบบฟอร์มการแจ้ง พร้อมลงชื่อผู้แจ้งให้เรียบร้อย
  2. ซองจดหมายขนาด 6.5 x 9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง เพื่อส่งใบรับแจ้งของเจ้าหน้าที่คืน
  3. นำเอกสารข้อ 1-2 ใส่ซองลงทะเบียน (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน) ส่งตามที่อยู่ทางไปรษณีย์ ดังนี้
    งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

วิธีที่ 3 แจ้งทางอินเตอร์เน็ต (Internet)

  1. ลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางระบบอินเตอร์เน็ตที่ www.immigration.go.th (บริการออนไลน์) เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว จะแจ้งรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้ระบบไปยัง e-mail ที่ลงทะเบียน
  2. สามารถ Download แบบขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ หน้าดาวน์โหลดเอกสาร
  3. สามารถ Download คู่มือการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตและแบบ ตม.30 ในหน้า login เข้าระบบ

** เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสถานประกอบการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้พัฒนาระบบแจ้งที่พักให้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทางในการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว สามารถตรวจสอบรายละเอียดรุ่น และยี่ห้อของเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง รวมทั้งดาวน์โหลด Driver เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมใช้งานเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง และคู่มือการใช้งานระบบฯ ได้จากหน้าจอ Log in เข้าระบบแจ้งที่พักอาศัย ผ่านทางเว็บไซต์ **

วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย(แบบ ตม.30)

กรณีมาแจ้งด้วยตนเองหรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ (ลิงก์ดาวน์โหลดอยู่ที่หน้า login) แบบการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะสถาน(ตม.30) ประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน (2 แผ่น) ด้วยกัน ส่วนแรก เป็นการกรอกรายละเอียดข้อมูลของเจ้าบ้านฯและที่ตั้งสถานที่ที่มีคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ส่วนที่ 2 เป็นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย การกรอกรายละเอียดในแบบตม.30 ส่วนที่ 2 ขอให้ท่านดำเนินการกรอกให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าว ซึ่งบุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้

  1. ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่องว่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อกลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัดเจน
  2. เลขที่หนังสือเดินทาง หากมีตัวหนังสือข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขให้เขียนลงไปด้วย
  3. ช่องบัตรขาเข้าเลขที่ ให้กรอกเลขที่บัตรขาเข้า(บัตร ตม.6) ซึ่งแนบอยู่ในหนังสือเดินทาง โดยกรอกเช่นเดียวกับการกรอกเลขที่หนังสือเดินทาง กล่าวคือ หากมีตัวหนังสือ ให้กรอกตัวหนังสือลงไปด้วย
  4. วันเดินทางเข้า หมายถึง วันที่คนต้างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับวันที่เข้าพัก ให้กรอกลงในแผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าว เข้าพักอาศัย

พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป